กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำกล่าวเปิดการสัมมนาเรื่อง โลกาภิวัฒน์กับทิศทางการต่างประเทศของไทยโดย ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.กต. วันที่ 10 เม.ย. 2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ (1)
ท่านประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา
ท่านผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ท่านเลขาธิการสมาคมสโมสรสราญรมย์
ท่านนายกสมาคมสหประชาติแห่งประเทศไทย
ท่านวิทยากร และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศได้รับเกียรติจากทุกๆ ท่าน สละเวลามาร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการสัมมนาหัวข้อ “โลกาภิวัตน์กับทิศทาง การต่างประเทศของไทย” ซึ่งสมาคมสโมสรสราญรมย์ กองนโยบายและวางแผน และสถาบัน การต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย
ทุกวันนี้ ไม่ว่าท่านจะเข้าร่วมในวงสัมมนาที่ใดก็ตาม ทุกแห่งพูดถึงกระแส โลกาภิวัตน์และผลกระทบในด้านต่างๆ ทั้งในทางที่เป็นประโยชน์ และในทางที่เป็นโทษ การสัมมนาในวันนี้ ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่นำเอากระแสโลกาภิวัตน์มาพิจารณาควบคู่กับทิศทางการต่างประเทศของไทย
ก่อนอื่น ผมขอเรียนว่ากระแสโลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่ประชาคมโลกทั้งหมด ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องให้ความสำคัญและศึกษา เพื่อให้รู้เท่าทัน เนื่องจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน
ประการแรก “โลกาภิวัตน์” หรือการเชื่อมโยงกันในลักษณะพึ่งพาและแข่งขันของ รัฐ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ได้กลายเป็นกระแสหลักในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก โดยมีการปฎิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกเร่งการเปลี่ยนแปลงให้รวดเร็ว รุนแรง และกว้างขวางทุกทิศทาง ที่ผ่านมา กระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดระเบียบใหม่ของโลกในหลายๆ ด้าน ทั้งที่มีผลกระทบในทางบวก และทางลบต่อไทย ที่สำคัญได้แก่
- กระแสเสรีนิยมประชาธิปไตย (democratization)
- กระแสการเปิดการค้าและการลงทุนเสรี (economic liberalization)
- กระแสส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การให้ความสำคัญต่อความมั่นคงในความหมายใหม่ ซึ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนาทั้งหลาย เป็นความมั่นคงของมนุษย์ หรือ human security
- การขยายตัวของปัญหาข้ามชาติ อาทิ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ โรคเอดส์ และ อาชญากรรมข้ามชาติ
- การมีบทบาทมากขึ้นของตัวแสดงต่างๆ ที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actors) เช่น บรรษัทข้ามชาติ องค์กร NGOs หรือ Credit Rating Agencies ตัวแสดงเหล่านี้ กำลังมีบทบาทแข่งขันกับรัฐมากขึ้น ในการกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง และกระแสวัฒนธรรมทั่วโลก
ประการที่สอง กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้การกำหนดนโยบายภายในประเทศ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเศรษฐกิจ การค้า แรงงาน สิ่งแวดล้อม หรือสิทธิมนุษยชน ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับกระแสเศรษฐกิจการเมืองโลกตลอดจนค่านิยมระหว่างประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
อีกนัยหนึ่งคือ “รัฐ” ไม่สามารถมีอิสระอย่างเต็มที่ในการกำหนดนโยบายภายใน ประเทศอีกต่อไป ท่าทีและนโยบายภายในประเทศที่ขาดความเชื่อมโยงกับกระแสโลกาภิวัตน์ อาจส่งผล backfire กลับมายังประเทศ ในรูปของการถูกตัดสิทธิทางการค้าและภาษี หรือในรูปของการที่นักลงทุนต่างชาติย้ายทุนหนี ตลอดจนการถูกกดดันทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประเทศไทยก็ได้เคยมีบทเรียนจากการการขาดความรู้เท่าทัน กระแสโลกาภิวัตน์มาแล้ว ในรูปของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างชาติ- ถอนเงินออกจากระบบการเงินในประเทศอย่างฉับพลัน ซึ่งในช่วงก่อนเกิดวิกฤต หากประเทศไทย เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทุนเสรีมากพอ ไทยก็อาจจะมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสร้างวินัยทางการเงินได้ก่อนที่จะเกิด massive capital outflow ออกจากประเทศ
ประการที่สาม ระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเน้น Washington Consensus หรือการเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน เป็นระเบียบที่กระทบปากท้องของประชาชน ในประเทศโดยตรง เพราะเป็นแนวโน้มที่ทำให้การแข่งขันทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และ ทำให้ผู้ประกอบการ เกษตรกรภายในประเทศที่ยังขาดความพร้อม และยังไม่สามารถพัฒนาผลผลิตของตนให้เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล อาจต้องสูญเสียกิจการ เพราะต้องเผชิญกับการแข่งขัน จากสินค้า และบริการประเภทเดียวกันจากทั่วโลก
ประเด็นพิจารณาที่สำคัญก็คือ ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยจะต้องคอยติดตามกระแสการแข่งขัน เพื่อพิจารณามาตรการรองรับให้ภาคธุรกิจ และภาคเกษตรต่างๆ ภายในประเทศ มีความเข้มแข็ง และสามารถแข่งขันได้
ประการที่สี่ ในกระบวนการที่โลกมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นนี้ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ กลายเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความรวดเร็ว ในการรวบรวม การเข้าถึง และการตีความ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีอยู่มากมายทั่วโลก ดังนั้น ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจ ติดตาม รู้เท่าทันความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลก ประการที่ห้า กระบวนการโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีด้านเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นที่สังคมไทยจะต้องสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งสร้างขีดความสามารถของชุมชน ท้องถิ่นในการรับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ โดยเสริมสร้าง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ให้มีรากฐานมั่นคงในชุมชน
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
หลังจากที่ได้พูดถึงความสำคัญและเหตุผลของการที่เราจะต้องรู้เท่าทันกระแส โลกาภิวัตน์ไปแล้ว ประเด็นที่สำคัญมากในการที่จะช่วยให้เรารู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์ก็คือ เราจะต้องเสริมสร้างศักยภาพของตัวเราเอง หรือที่เรียกว่า capacity building ในหลายๆ ด้าน สังคมไทยต้องปรับไปสู่สังคมแห่งความรู้ (knowledge based society) และลด digital divide เพราะในปัจจุบันความรู้ คือ พลังอำนาจแห่งชาติอย่างแท้จริง นอกจากความรู้ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญแล้ว เรายังต้องมีกลไกหรือเครื่องมือในการเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ เครื่องมือหนึ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญมากคือ การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th (ยังมีต่อ)
-อน-
คำกล่าวเปิดการสัมมนาเรื่อง โลกาภิวัฒน์กับทิศทางการต่างประเทศของไทยโดย ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รมว.กต. วันที่ 10 เม.ย. 2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ (1)
ท่านประธานคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา
ท่านผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ท่านเลขาธิการสมาคมสโมสรสราญรมย์
ท่านนายกสมาคมสหประชาติแห่งประเทศไทย
ท่านวิทยากร และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศได้รับเกียรติจากทุกๆ ท่าน สละเวลามาร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการสัมมนาหัวข้อ “โลกาภิวัตน์กับทิศทาง การต่างประเทศของไทย” ซึ่งสมาคมสโมสรสราญรมย์ กองนโยบายและวางแผน และสถาบัน การต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย
ทุกวันนี้ ไม่ว่าท่านจะเข้าร่วมในวงสัมมนาที่ใดก็ตาม ทุกแห่งพูดถึงกระแส โลกาภิวัตน์และผลกระทบในด้านต่างๆ ทั้งในทางที่เป็นประโยชน์ และในทางที่เป็นโทษ การสัมมนาในวันนี้ ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่นำเอากระแสโลกาภิวัตน์มาพิจารณาควบคู่กับทิศทางการต่างประเทศของไทย
ก่อนอื่น ผมขอเรียนว่ากระแสโลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่ประชาคมโลกทั้งหมด ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และเป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องให้ความสำคัญและศึกษา เพื่อให้รู้เท่าทัน เนื่องจากเหตุผลหลายประการด้วยกัน
ประการแรก “โลกาภิวัตน์” หรือการเชื่อมโยงกันในลักษณะพึ่งพาและแข่งขันของ รัฐ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจทั่วโลก ได้กลายเป็นกระแสหลักในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลก โดยมีการปฎิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกเร่งการเปลี่ยนแปลงให้รวดเร็ว รุนแรง และกว้างขวางทุกทิศทาง ที่ผ่านมา กระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดระเบียบใหม่ของโลกในหลายๆ ด้าน ทั้งที่มีผลกระทบในทางบวก และทางลบต่อไทย ที่สำคัญได้แก่
- กระแสเสรีนิยมประชาธิปไตย (democratization)
- กระแสการเปิดการค้าและการลงทุนเสรี (economic liberalization)
- กระแสส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การให้ความสำคัญต่อความมั่นคงในความหมายใหม่ ซึ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ของการพัฒนาทั้งหลาย เป็นความมั่นคงของมนุษย์ หรือ human security
- การขยายตัวของปัญหาข้ามชาติ อาทิ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ โรคเอดส์ และ อาชญากรรมข้ามชาติ
- การมีบทบาทมากขึ้นของตัวแสดงต่างๆ ที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actors) เช่น บรรษัทข้ามชาติ องค์กร NGOs หรือ Credit Rating Agencies ตัวแสดงเหล่านี้ กำลังมีบทบาทแข่งขันกับรัฐมากขึ้น ในการกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจ การเมือง และกระแสวัฒนธรรมทั่วโลก
ประการที่สอง กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้การกำหนดนโยบายภายในประเทศ ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเศรษฐกิจ การค้า แรงงาน สิ่งแวดล้อม หรือสิทธิมนุษยชน ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับกระแสเศรษฐกิจการเมืองโลกตลอดจนค่านิยมระหว่างประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
อีกนัยหนึ่งคือ “รัฐ” ไม่สามารถมีอิสระอย่างเต็มที่ในการกำหนดนโยบายภายใน ประเทศอีกต่อไป ท่าทีและนโยบายภายในประเทศที่ขาดความเชื่อมโยงกับกระแสโลกาภิวัตน์ อาจส่งผล backfire กลับมายังประเทศ ในรูปของการถูกตัดสิทธิทางการค้าและภาษี หรือในรูปของการที่นักลงทุนต่างชาติย้ายทุนหนี ตลอดจนการถูกกดดันทางการเมืองในเวทีระหว่างประเทศต่างๆ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประเทศไทยก็ได้เคยมีบทเรียนจากการการขาดความรู้เท่าทัน กระแสโลกาภิวัตน์มาแล้ว ในรูปของการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างชาติ- ถอนเงินออกจากระบบการเงินในประเทศอย่างฉับพลัน ซึ่งในช่วงก่อนเกิดวิกฤต หากประเทศไทย เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทุนเสรีมากพอ ไทยก็อาจจะมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสร้างวินัยทางการเงินได้ก่อนที่จะเกิด massive capital outflow ออกจากประเทศ
ประการที่สาม ระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเน้น Washington Consensus หรือการเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน เป็นระเบียบที่กระทบปากท้องของประชาชน ในประเทศโดยตรง เพราะเป็นแนวโน้มที่ทำให้การแข่งขันทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และ ทำให้ผู้ประกอบการ เกษตรกรภายในประเทศที่ยังขาดความพร้อม และยังไม่สามารถพัฒนาผลผลิตของตนให้เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล อาจต้องสูญเสียกิจการ เพราะต้องเผชิญกับการแข่งขัน จากสินค้า และบริการประเภทเดียวกันจากทั่วโลก
ประเด็นพิจารณาที่สำคัญก็คือ ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยจะต้องคอยติดตามกระแสการแข่งขัน เพื่อพิจารณามาตรการรองรับให้ภาคธุรกิจ และภาคเกษตรต่างๆ ภายในประเทศ มีความเข้มแข็ง และสามารถแข่งขันได้
ประการที่สี่ ในกระบวนการที่โลกมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นนี้ การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ กลายเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความรวดเร็ว ในการรวบรวม การเข้าถึง และการตีความ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มีอยู่มากมายทั่วโลก ดังนั้น ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจ ติดตาม รู้เท่าทันความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจและการเมืองโลก ประการที่ห้า กระบวนการโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีด้านเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนท้องถิ่น จึงมีความจำเป็นที่สังคมไทยจะต้องสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งสร้างขีดความสามารถของชุมชน ท้องถิ่นในการรับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ โดยเสริมสร้าง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ให้มีรากฐานมั่นคงในชุมชน
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
หลังจากที่ได้พูดถึงความสำคัญและเหตุผลของการที่เราจะต้องรู้เท่าทันกระแส โลกาภิวัตน์ไปแล้ว ประเด็นที่สำคัญมากในการที่จะช่วยให้เรารู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์ก็คือ เราจะต้องเสริมสร้างศักยภาพของตัวเราเอง หรือที่เรียกว่า capacity building ในหลายๆ ด้าน สังคมไทยต้องปรับไปสู่สังคมแห่งความรู้ (knowledge based society) และลด digital divide เพราะในปัจจุบันความรู้ คือ พลังอำนาจแห่งชาติอย่างแท้จริง นอกจากความรู้ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญแล้ว เรายังต้องมีกลไกหรือเครื่องมือในการเผชิญกับกระแสโลกาภิวัตน์ เครื่องมือหนึ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญมากคือ การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th (ยังมีต่อ)
-อน-