สหรัฐฯ เป็นประเทศมหาอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญของโลก นอกจากนี้ กฎหมายการค้าของสหรัฐฯ ยังสามารถบังคับใช้นอกอาณาเขต (Extraterritoriality) ได้อีกด้วย ทำให้ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายการค้าสหรัฐฯ โดยเฉพาะมาตรา 301 (Section 301) ในพระราชบัญญัติการค้าปี 2517 (Trade Act of 1974) ซึ่งว่าด้วยการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้าของสหรัฐฯ เดิมมาตรา 301 ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในการดำเนินมาตรการตอบโต้ประเทศคู่ค้าที่ปฏิบัติหรือดำเนินการทางการค้าที่ไม่ยุติธรรม (Unfair) ต่อสหรัฐฯ อันส่งผลกระทบทางลบต่อการส่งออกของสหรัฐฯ ล่าสุดสหรัฐฯ ได้แก้ไขมาตรา 301 ตาม Omnibus Trade and Competitiveness Act of 1988 โดยได้เปลี่ยนผู้มีอำนาจตัดสินใจตามมาตรา 301 จากประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ (United States Trade Representative: USTR) สาระสำคัญของมาตรา 301 ของสหรัฐฯ ที่น่าสนใจมีดังนี้
- การเปิดเจรจากับประเทศคู่ค้า แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
- Regular 301 ใช้กับประเทศคู่ค้าที่ละเมิดข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอ ไม่เปิดตลาดให้แก่สินค้าของสหรัฐฯ ไม่ให้การคุ้มครองสิทธิแรงงาน หรือมีการเลือกปฏิบัติระหว่างสินค้าที่นำเข้าจากสหรัฐฯ กับสินค้าที่ผลิตได้เองภายในประเทศ อันส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐฯ มาตรา Regular 301 นี้ใช้เป็นการทั่วไปในกรณีที่เอกชนร้องขอให้มีการไต่สวนประเทศคู่ค้าหรือกรณีที่ USTR ร้องขอให้มีการไต่สวน ทั้งนี้ กระบวนการไต่สวน เจรจา หรือตอบโต้ ประเทศคู่ค้าดังกล่าวต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 12 — 18 เดือน
- Super 301 ใช้กับประเทศคู่ค้าที่ดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า อันเป็นอุปสรรคต่อการค้าของ สหรัฐฯ อย่างรุนแรง โดย USTR พิจารณาข้อมูลจากรายงาน National Trade Estimate (NTE) ที่ USTR จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อรัฐสภาของสหรัฐฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ หลังจากการเสนอรายงาน NTE แล้วภายใน 30 วัน USTR จะต้องเปิดการเจรจากับประเทศคู่ค้าที่ดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรงต่อสหรัฐฯ เพื่อให้ประเทศคู่ค้าลดหรือยกเลิกมาตรการดังกล่าวให้บรรลุผลภายใน 90 วัน หากไม่บรรลุผลสำเร็จ USTR จะดำเนินการไต่สวนหรือตอบโต้ตาม Regular 301 ต่อไป
- Special 301 ใช้กับประเทศคู่ค้าที่ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดย USTR พิจารณาจากรายชื่อประเทศที่ไม่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ หรือ Priority Foreign Countries (PFC) ที่ USTR จัดทำขึ้นเป็นประจำภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปี ทั้งนี้ หลังการประกาศชื่อประเทศในกลุ่ม PFC แล้ว USTR จะต้องดำเนินการไต่สวนภายใน 30 วัน และจะต้องเปิดการเจรจาหรือตอบโต้ประเทศคู่ค้าให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 — 9 เดือน หลังจากนั้นหากประเทศในกลุ่ม PFC ดำเนินการคืบหน้าในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ จะได้เลื่อนจากกลุ่ม PFC เป็น Priority Watch List (PWL) และหากมีความคืบหน้าในการให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ดีขึ้น จะได้เลื่อนเป็น Watch Lists (WL) ตามลำดับ
- การตอบโต้ประเทศคู่ค้า มาตรา 301 ทั้ง 3 ประเภทให้อำนาจแก่ USTR ในการตอบโต้ประเทศคู่ค้าที่ปฏิบัติไม่ยุติธรรมต่อสหรัฐฯ ได้หลายวิธี อาทิ ระงับหรือเพิกถอนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) หรือสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ Caribbean Basin Recovery Act จำกัดการนำเข้าหรือเก็บค่าธรรมเนียมในการนำเข้า เปิดการเจรจาเพื่อให้ยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐฯ หรือการเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ที่เกิดขึ้น
การใช้มาตรา 301 ของสหรัฐฯ กับประเทศไทย
สหรัฐฯ ได้ใช้มาตรา 301 กับไทยหลายครั้ง พอสรุปได้ดังนี้
ปี 2532 สหรัฐฯ ประกาศว่าไทยไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ โดยไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม PFC ตาม Special 301 โดยสหรัฐฯ ได้ดำเนินการตอบโต้ไทยด้วยการประกาศตัด GSP สินค้าไทย จำนวน 16 รายการ
ปี 2537 ไทยเลื่อนจากกลุ่ม PFC เป็น WL และสหรัฐฯ คืนสิทธิ GSP แก่สินค้าไทย จำนวน 11 รายการ เนื่องจากไทยเร่งแก้ไขการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าอย่างจริงจัง
ปี 2541 สหรัฐฯ ยังคงจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่ม WL แต่ได้คืนสิทธิ GSP ให้สินค้าไทยเพิ่มขึ้นอีก 4 รายการ เนื่องจากไทยได้จัดทำข้อตกลง Intellectual Property Rights Action Plan กับสหรัฐฯ เพื่อเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ว่าไทยจะปรับปรุงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ให้ดีขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)
ปี 2544 สหรัฐฯ ยังคงจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่ม WL แม้ว่าไทยได้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้ว 5 ฉบับ แต่สหรัฐฯ มีความเห็นว่ากฎหมายที่สำคัญอีก 2 ฉบับ คือ กฎหมายคุ้มครองความลับทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ยังเป็นเพียงร่างกฎหมายที่ค้างอยู่ในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ มิได้ดำเนินมาตรการตอบโต้ทางการค้าต่อไทยเพิ่มขึ้นแต่ประการใด--จบ--
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2544--
-อน-
- การเปิดเจรจากับประเทศคู่ค้า แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
- Regular 301 ใช้กับประเทศคู่ค้าที่ละเมิดข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอ ไม่เปิดตลาดให้แก่สินค้าของสหรัฐฯ ไม่ให้การคุ้มครองสิทธิแรงงาน หรือมีการเลือกปฏิบัติระหว่างสินค้าที่นำเข้าจากสหรัฐฯ กับสินค้าที่ผลิตได้เองภายในประเทศ อันส่งผลกระทบต่อการส่งออกของสหรัฐฯ มาตรา Regular 301 นี้ใช้เป็นการทั่วไปในกรณีที่เอกชนร้องขอให้มีการไต่สวนประเทศคู่ค้าหรือกรณีที่ USTR ร้องขอให้มีการไต่สวน ทั้งนี้ กระบวนการไต่สวน เจรจา หรือตอบโต้ ประเทศคู่ค้าดังกล่าวต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 12 — 18 เดือน
- Super 301 ใช้กับประเทศคู่ค้าที่ดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า อันเป็นอุปสรรคต่อการค้าของ สหรัฐฯ อย่างรุนแรง โดย USTR พิจารณาข้อมูลจากรายงาน National Trade Estimate (NTE) ที่ USTR จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อรัฐสภาของสหรัฐฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี ทั้งนี้ หลังจากการเสนอรายงาน NTE แล้วภายใน 30 วัน USTR จะต้องเปิดการเจรจากับประเทศคู่ค้าที่ดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรงต่อสหรัฐฯ เพื่อให้ประเทศคู่ค้าลดหรือยกเลิกมาตรการดังกล่าวให้บรรลุผลภายใน 90 วัน หากไม่บรรลุผลสำเร็จ USTR จะดำเนินการไต่สวนหรือตอบโต้ตาม Regular 301 ต่อไป
- Special 301 ใช้กับประเทศคู่ค้าที่ไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ โดย USTR พิจารณาจากรายชื่อประเทศที่ไม่ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ หรือ Priority Foreign Countries (PFC) ที่ USTR จัดทำขึ้นเป็นประจำภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปี ทั้งนี้ หลังการประกาศชื่อประเทศในกลุ่ม PFC แล้ว USTR จะต้องดำเนินการไต่สวนภายใน 30 วัน และจะต้องเปิดการเจรจาหรือตอบโต้ประเทศคู่ค้าให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 — 9 เดือน หลังจากนั้นหากประเทศในกลุ่ม PFC ดำเนินการคืบหน้าในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ จะได้เลื่อนจากกลุ่ม PFC เป็น Priority Watch List (PWL) และหากมีความคืบหน้าในการให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ดีขึ้น จะได้เลื่อนเป็น Watch Lists (WL) ตามลำดับ
- การตอบโต้ประเทศคู่ค้า มาตรา 301 ทั้ง 3 ประเภทให้อำนาจแก่ USTR ในการตอบโต้ประเทศคู่ค้าที่ปฏิบัติไม่ยุติธรรมต่อสหรัฐฯ ได้หลายวิธี อาทิ ระงับหรือเพิกถอนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) หรือสิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้ Caribbean Basin Recovery Act จำกัดการนำเข้าหรือเก็บค่าธรรมเนียมในการนำเข้า เปิดการเจรจาเพื่อให้ยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐฯ หรือการเรียกร้องค่าชดเชยจากการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ที่เกิดขึ้น
การใช้มาตรา 301 ของสหรัฐฯ กับประเทศไทย
สหรัฐฯ ได้ใช้มาตรา 301 กับไทยหลายครั้ง พอสรุปได้ดังนี้
ปี 2532 สหรัฐฯ ประกาศว่าไทยไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ โดยไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม PFC ตาม Special 301 โดยสหรัฐฯ ได้ดำเนินการตอบโต้ไทยด้วยการประกาศตัด GSP สินค้าไทย จำนวน 16 รายการ
ปี 2537 ไทยเลื่อนจากกลุ่ม PFC เป็น WL และสหรัฐฯ คืนสิทธิ GSP แก่สินค้าไทย จำนวน 11 รายการ เนื่องจากไทยเร่งแก้ไขการละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าอย่างจริงจัง
ปี 2541 สหรัฐฯ ยังคงจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่ม WL แต่ได้คืนสิทธิ GSP ให้สินค้าไทยเพิ่มขึ้นอีก 4 รายการ เนื่องจากไทยได้จัดทำข้อตกลง Intellectual Property Rights Action Plan กับสหรัฐฯ เพื่อเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ว่าไทยจะปรับปรุงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ให้ดีขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO)
ปี 2544 สหรัฐฯ ยังคงจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่ม WL แม้ว่าไทยได้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้ว 5 ฉบับ แต่สหรัฐฯ มีความเห็นว่ากฎหมายที่สำคัญอีก 2 ฉบับ คือ กฎหมายคุ้มครองความลับทางการค้าและกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ยังเป็นเพียงร่างกฎหมายที่ค้างอยู่ในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ มิได้ดำเนินมาตรการตอบโต้ทางการค้าต่อไทยเพิ่มขึ้นแต่ประการใด--จบ--
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2544--
-อน-