กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (17 พฤษภาคม 2544 ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเยือนกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาระหว่าง วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2544 ว่าการเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการเปิดสถานทูตไทยแห่งใหม่ ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 สำหรับการเดินทางเยือนกัมพูชาอย่าง เป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นั้นจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2544 หลังจากพิธีเปิดสถานทูตฯ แล้ว ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะสมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในโอกาสนี้ สมเด็จฮุน เซ็น ได้กล่าวแสดงความยินดีกับรัฐบาลใหม่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และแสดงความเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับไทย จะแน่นแฟ้นเป็นพิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า การเยือนกัมพูชาของตนระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2544 จะเป็นการปูทางไปสู่การเยือนกัมพูชาของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ต่อไป
นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือระหว่างไทยและกัมพูชาที่อาจมีปัญหาบ้าง แต่ทุกเรื่องสามารถแก้ไขได้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ คาดว่า การเยือนกัมพูชาของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ จะนำมาซึ่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น จากการซักถามของผู้สื่อข่าวในประเด็นเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ของสถาบัน IISS (International Institution of Strategic Study) ในกรุงลอนดอน ต่อการรวมกลุ่มของอาเซียนว่าเป็นการรวมตัวแบบหลวมๆ และความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกมักเป็นระดับทวิภาคีมากกว่าความร่วมมือทั้งกลุ่มประเทศสมาชิก ในเรื่องนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวตอบว่า ประเด็นการรวมกลุ่มของอาเซียนเป็นประเด็นที่ รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกได้นำมาหารือในการประชุม ณ กรุงย่างกุ้ง (ASEAN Retreat) ว่า การที่ภายนอกมองอาเซียนอย่างนั้น
เพราะว่าสมาชิกบางประเทศอาจจะมีปัญหาทางด้านการเมืองหรือ ทางด้านเศรษฐกิจที่จะต้องแก้ไข อย่างไรก็ตามที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก ยังมีความเชื่อมั่นในการรวมกลุ่มของอาเซียน ทั้งนี้หากพิจารณาจากความร่วมมือทางด้านต่างๆ จะพบว่า ยังไม่มีความบกพร่อง อาทิ ความร่วมมือทางด้านเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความร่วมมือด้านการ ลงทุน การหารือเกี่ยวกับการส่งออกนอกตลาดอาเซียนที่ยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การร่วม ลงทุนระหว่างมาเลเซียกับไทยในเรื่องยางพารา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ แปรรูปยางพารามีมูลค่าสูงและลดการแย่งตลาดที่ 3 และการริเริ่มความร่วมมือเรื่องข้าวระหว่าง เวียดนามกับไทย ทางด้านประเด็นทาง ความมั่นคง ความร่วมมือในกรอบของ ARF (ASEAN Regional Forum) ที่ไทยริเริ่มขึ้นมาก็ยังคงดำเนินอยู่
เพราะฉะนั้นอาเซียนจึงมีความจำเป็นที่จะทำให้ภายนอกเห็นว่าแท้จริงอาเซียนไม่ได้มีความอ่อนแอลงแต่อย่างใด ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศอาเซียน ณ กรุงย่างกุ้ง ได้มีการตกลงว่าอาเซียนก็ควรแสดงบทบาทสำคัญในความร่วมมือ กับประเทศนอกกลุ่มระหว่างอาเซียนกับจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น (ASEAN+3) ดร.สุรเกียรติ์ฯ ให้สัมภาษณ์ต่อไปว่า ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความกังวลต่อภาพพจน์ ของอาเซียนต้องการให้ประเทศในอาเซียนมีการเมืองที่เข้มแข็ง เพื่อให้ความร่วมมือดำเนินไปอย่างราบรื่น ดร. สุรเกียรติ์ฯ มีความเห็นว่าอาเซียนยังเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งไม่เปลี่ยนไป นอกจากนั้น การร่วมมือกันระดับทวิภาคีมิได้เป็นปัญหาต่ออาเซียนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ความร่วมมือระดับทวิภาคีจะยิ่งช่วยให้อาเซียนแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของไทยที่ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะกับสหรัฐฯ ในเรื่องความมั่นคงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกร่วม Cobra Gold นั้น ดร. สุรเกียรติ์ฯ ชี้แจงว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านแต่อย่างใด ทั้งนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ย้ำว่านโยบายของรัฐบาลต้องการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าไทยต้องการสันติภาพ การดำเนินนโยบายต่างๆ ทั้งกับประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศตะวันตกก็เป็นการดำเนินนโยบายที่มีจุดยืนของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยที่สมดุลกับความร่วมมือกับต่างประเทศซึ่งตลอดระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา นโยบายต่างประเทศของไทยก็เป็นที่ยอมรับไม่ว่าจะเป็นประเด็นสิทธิมนุษยชน หรือความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (17 พฤษภาคม 2544 ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการเยือนกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาระหว่าง วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2544 ว่าการเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อรับเสด็จฯสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการเปิดสถานทูตไทยแห่งใหม่ ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2541 สำหรับการเดินทางเยือนกัมพูชาอย่าง เป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นั้นจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2544 หลังจากพิธีเปิดสถานทูตฯ แล้ว ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะสมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในโอกาสนี้ สมเด็จฮุน เซ็น ได้กล่าวแสดงความยินดีกับรัฐบาลใหม่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และแสดงความเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชากับไทย จะแน่นแฟ้นเป็นพิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า การเยือนกัมพูชาของตนระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2544 จะเป็นการปูทางไปสู่การเยือนกัมพูชาของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ต่อไป
นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือระหว่างไทยและกัมพูชาที่อาจมีปัญหาบ้าง แต่ทุกเรื่องสามารถแก้ไขได้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ คาดว่า การเยือนกัมพูชาของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ จะนำมาซึ่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น จากการซักถามของผู้สื่อข่าวในประเด็นเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์ของสถาบัน IISS (International Institution of Strategic Study) ในกรุงลอนดอน ต่อการรวมกลุ่มของอาเซียนว่าเป็นการรวมตัวแบบหลวมๆ และความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกมักเป็นระดับทวิภาคีมากกว่าความร่วมมือทั้งกลุ่มประเทศสมาชิก ในเรื่องนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวตอบว่า ประเด็นการรวมกลุ่มของอาเซียนเป็นประเด็นที่ รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกได้นำมาหารือในการประชุม ณ กรุงย่างกุ้ง (ASEAN Retreat) ว่า การที่ภายนอกมองอาเซียนอย่างนั้น
เพราะว่าสมาชิกบางประเทศอาจจะมีปัญหาทางด้านการเมืองหรือ ทางด้านเศรษฐกิจที่จะต้องแก้ไข อย่างไรก็ตามที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก ยังมีความเชื่อมั่นในการรวมกลุ่มของอาเซียน ทั้งนี้หากพิจารณาจากความร่วมมือทางด้านต่างๆ จะพบว่า ยังไม่มีความบกพร่อง อาทิ ความร่วมมือทางด้านเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ความร่วมมือด้านการ ลงทุน การหารือเกี่ยวกับการส่งออกนอกตลาดอาเซียนที่ยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น การร่วม ลงทุนระหว่างมาเลเซียกับไทยในเรื่องยางพารา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ แปรรูปยางพารามีมูลค่าสูงและลดการแย่งตลาดที่ 3 และการริเริ่มความร่วมมือเรื่องข้าวระหว่าง เวียดนามกับไทย ทางด้านประเด็นทาง ความมั่นคง ความร่วมมือในกรอบของ ARF (ASEAN Regional Forum) ที่ไทยริเริ่มขึ้นมาก็ยังคงดำเนินอยู่
เพราะฉะนั้นอาเซียนจึงมีความจำเป็นที่จะทำให้ภายนอกเห็นว่าแท้จริงอาเซียนไม่ได้มีความอ่อนแอลงแต่อย่างใด ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศอาเซียน ณ กรุงย่างกุ้ง ได้มีการตกลงว่าอาเซียนก็ควรแสดงบทบาทสำคัญในความร่วมมือ กับประเทศนอกกลุ่มระหว่างอาเซียนกับจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น (ASEAN+3) ดร.สุรเกียรติ์ฯ ให้สัมภาษณ์ต่อไปว่า ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนมีความกังวลต่อภาพพจน์ ของอาเซียนต้องการให้ประเทศในอาเซียนมีการเมืองที่เข้มแข็ง เพื่อให้ความร่วมมือดำเนินไปอย่างราบรื่น ดร. สุรเกียรติ์ฯ มีความเห็นว่าอาเซียนยังเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งไม่เปลี่ยนไป นอกจากนั้น การร่วมมือกันระดับทวิภาคีมิได้เป็นปัญหาต่ออาเซียนแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ความร่วมมือระดับทวิภาคีจะยิ่งช่วยให้อาเซียนแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ต่อข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของไทยที่ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตกโดยเฉพาะกับสหรัฐฯ ในเรื่องความมั่นคงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกร่วม Cobra Gold นั้น ดร. สุรเกียรติ์ฯ ชี้แจงว่า ความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านแต่อย่างใด ทั้งนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ย้ำว่านโยบายของรัฐบาลต้องการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าไทยต้องการสันติภาพ การดำเนินนโยบายต่างๆ ทั้งกับประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศตะวันตกก็เป็นการดำเนินนโยบายที่มีจุดยืนของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยที่สมดุลกับความร่วมมือกับต่างประเทศซึ่งตลอดระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา นโยบายต่างประเทศของไทยก็เป็นที่ยอมรับไม่ว่าจะเป็นประเด็นสิทธิมนุษยชน หรือความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-