นายพิษณุ เหรียญมหาสาร ในฐานะประธานคณะทำงานเตือนภัยล่วงหน้าของกรมการค้าต่างประเทศ ได้ส่งสัญญาณ ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะกรมการค้าต่างประเทศและกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ต้องเร่งร่วมมือรวมพลังกันในการหักด่านข้อกีดกันทางการค้ามิใช่ภาษี โดยกรมการค้าต่างประเทศเป็นทัพหน้าในการรุกทะลวง ด้วยการติดตาม ศึกษา วิเคราะห์ ให้ได้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและถูกต้องของข้อมูลกีดกันทางการค้าในตลาดคู่ค้าและทำการเผยแพร่ให้เอกชนไทย ที่จะต้องพร้อมให้ความร่วมมือต่อภาคราชการในการโน้มน้าวในเบื้องแรกกับประเทศคู่ค้า ขณะที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นทัพสนับสนุน เสริมด้านเจรจาการค้าโดยนำข้อมูลทั้งหมดที่กรมการค้าต่างประเทศได้มาพิจารณา ประกอบกับกรอบความตกลง ขององค์การการค้าโลก WTO เพื่อใช้ในการเจรจากับประเทศคู่ค้า
ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นต้องรวมพลังปฏิบัติการโดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศที่สำคัญประกอบด้วย คณะผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO และสำนักงานพาณิชย์ที่ดูแลด้านกฏระเบียบการค้าและนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้า (Regime) ของไทย เพื่อเป็นแนวร่วมปฏิบัติการขจัดหรือลดข้อกีดกันทางการค้าลงให้ได้
นายพิษณุฯ กล่าวว่า ปัจจุบันในโลกการค้าแม้จะอยู่ภายใต้กรอบข้อตกลง WTO แต่ประเทศต่าง ๆ ยังมีการเพิ่มข้อกีดกันทางการค้ามิใช่ภาษีทั้งที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับ WTO อย่างถ้วนทั่ว ตั้งแต่สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และแม้กระทั่งเพื่อนสมาชิกอาเซียนของเรา คือ มาเลเซีย และสหภาพพม่า รูปแบบข้อกีดกันมีตั้งแต่ การตั้งโควต้าภาษี การอุดหนุนการผลิตและการส่งออก การตอบโต้ทุ่มตลาด ตลอดจนมาตรการด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม การบริการการนำเข้า การกำหนดราคา การกำหนดเงื่อนไขประมูล ปัจจุบันจึงสรุปได้ว่าประเทศไทยยังต้องเผชิญปัญหาสงครามข้อกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีรอบด้านทั้งจากประเทศใหญ่และเล็กเป็นจำนวนเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่กรมการค้าต่างประเทศและกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการประสานพลังเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ด้วยการใช้ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านข้อกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ดังกล่าวมาประกอบกับกติกาการค้าโลก หรือกรอบความตกลงต่าง ๆ ภายใต้ WTO ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดโดยใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองให้ประเทศคู่ค้าเหล่านั้นลดข้อกีดกันทางการค้าให้ได้
นอกจากการรวมพลังภายในประเทศระหว่างหน่วยงานด้านกฎระเบียบ นโยบายการค้าและ WTO ของไทยเองแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องหาแนวร่วมจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจา เช่น การร่วมกับกลุ่มแครนส์ เพื่อเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้ WTO เป็นต้น นายพิษณุฯ เชื่อว่าภายใต้ภาวะการสร้างข้อกีดกันทางการค้าในประเทศต่าง ๆ ที่รุนแรงมากนี้หากกระทรวงพาณิชย์สามารถจัดเตรียมผู้บริหารการค้าต่างประเทศที่มีวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคข้อกีดกันทางการค้าเป็นสำคัญอันดับแรกแล้ว โอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อการส่งออกของไทยก็จะลดลงได้ ผู้บริหารที่ว่านี้นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีวิสัยทัศน์ในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านข้อกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีของประเทศคู่ค้าสำคัญต่าง ๆ ร่วมกับกติกาความตกลง WTO ผนวกกับมาตรการพัฒนาการส่งออกอย่างมีประสิทธิผลแล้วยังจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการเตรียมความพร้อมในการกำหนดทิศทางรองรับการขจัดปัญหาข้อกีดกันทางการค้าในอนาคตไว้เป็นการล่วงหน้าด้วย จึงจะนำพาให้การค้าการส่งออกสินค้าไทยรอดพ้นจากการถูกประเทศต่าง ๆ ตั้งข้อกีดกันทางการค้ามิใช่ภาษีได้ พร้อมนี้ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า หากประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่กับข้อกีดกันทางการค้า โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาข้อกีดกันทางการค้าและ WTO ที่ดีพอก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้และก็ต้องยอมรับว่าการส่งออกสินค้าไทยคงมีอนาคตที่ริบหรี่ทั้งนี้เพราะข้อกีดกันทางการค้าที่มีอยู่ย่อมเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการส่งออกสินค้าไทยเข้าในตลาดนั้น ๆ
ในช่วงเกือบ 20 ปี ที่ผ่านมาภาคเอกชนมีการปรับตัวและพัฒนาตนเองมาโดยตลอดจนมีความสามารถในด้านการตลาดต่างประเทศสูงมาก ปัจจุบันกล่าวได้ว่าภาคเอกชนมีบทบาทนำภาครัฐบาลในการเจาะตลาดและหาตลาด แต่แม้จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการส่งเสริมส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีกว่าภาครัฐ หรือได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลมากเพียงไรก็ตามหากรัฐบาลไม่ดำเนินการแก้ไขขจัดปัญหาข้อกีดกันทางการค้าได้แล้วโอกาสที่จะหักอุปสรรคซึ่งเป็นข้อกีดกันทางการค้าเหล่านี้เพื่อเข้าสู่ตลาดก็จะประสบกับความมืดมน
นายพิษณุฯ กล่าวสรุปด้วยว่า ความอยู่รอดด้านการค้าการส่งออกของไทยในตลาดมีอยู่ทางเดียวคือความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ โดยผู้ส่งออกต้องเป็นผู้นำด้านการตลาด ขณะที่ภาครัฐจะเน้นการขจัดปัญหาข้อกีดกันทางการค้าในตลาดโลกให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุด ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดนี้จะยังผลให้ภาคเอกชนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการขจัดปัญหาอุปสรรคข้อกีดกันทางการค้าเป็นอันดับแรกและจะต้องร่วมมือกับภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องในการสร้างวิสัยทัศน์ต่อกรอบความตกลง WTO และร่วมกันศึกษาเข้าใจกรณีต่าง ๆ ของการกีดกันทางการค้าในประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งและชัดเจนเพื่อนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์ ผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วยกเลิกการกีดกันทางการค้าซึ่งรวมถึงการอุดหนุนทั้งการผลิตและการส่งออก เพราะฉะนั้นภาคราชการจะต้องมีบทบาทนำในเรื่องความรอบรู้ด้าน (Regime) และมีความรู้เรื่อง WTO เป็นอย่างดีและภายใต้การค้าโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้ หากกระทรวงพาณิชย์สามารถเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์ด้าน Regime และ WTO ได้ก็จะช่วยให้การ ส่งออกของไทยมีความราบรื่นขยายตัวอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จลุล่วงด้วยดีในที่สุด
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-
ทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นต้องรวมพลังปฏิบัติการโดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศที่สำคัญประกอบด้วย คณะผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO และสำนักงานพาณิชย์ที่ดูแลด้านกฏระเบียบการค้าและนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้า (Regime) ของไทย เพื่อเป็นแนวร่วมปฏิบัติการขจัดหรือลดข้อกีดกันทางการค้าลงให้ได้
นายพิษณุฯ กล่าวว่า ปัจจุบันในโลกการค้าแม้จะอยู่ภายใต้กรอบข้อตกลง WTO แต่ประเทศต่าง ๆ ยังมีการเพิ่มข้อกีดกันทางการค้ามิใช่ภาษีทั้งที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับ WTO อย่างถ้วนทั่ว ตั้งแต่สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และแม้กระทั่งเพื่อนสมาชิกอาเซียนของเรา คือ มาเลเซีย และสหภาพพม่า รูปแบบข้อกีดกันมีตั้งแต่ การตั้งโควต้าภาษี การอุดหนุนการผลิตและการส่งออก การตอบโต้ทุ่มตลาด ตลอดจนมาตรการด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม การบริการการนำเข้า การกำหนดราคา การกำหนดเงื่อนไขประมูล ปัจจุบันจึงสรุปได้ว่าประเทศไทยยังต้องเผชิญปัญหาสงครามข้อกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีรอบด้านทั้งจากประเทศใหญ่และเล็กเป็นจำนวนเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่กรมการค้าต่างประเทศและกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการประสานพลังเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ด้วยการใช้ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านข้อกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ดังกล่าวมาประกอบกับกติกาการค้าโลก หรือกรอบความตกลงต่าง ๆ ภายใต้ WTO ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดโดยใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรองให้ประเทศคู่ค้าเหล่านั้นลดข้อกีดกันทางการค้าให้ได้
นอกจากการรวมพลังภายในประเทศระหว่างหน่วยงานด้านกฎระเบียบ นโยบายการค้าและ WTO ของไทยเองแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องหาแนวร่วมจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจา เช่น การร่วมกับกลุ่มแครนส์ เพื่อเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้ WTO เป็นต้น นายพิษณุฯ เชื่อว่าภายใต้ภาวะการสร้างข้อกีดกันทางการค้าในประเทศต่าง ๆ ที่รุนแรงมากนี้หากกระทรวงพาณิชย์สามารถจัดเตรียมผู้บริหารการค้าต่างประเทศที่มีวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคข้อกีดกันทางการค้าเป็นสำคัญอันดับแรกแล้ว โอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อการส่งออกของไทยก็จะลดลงได้ ผู้บริหารที่ว่านี้นอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีวิสัยทัศน์ในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านข้อกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษีของประเทศคู่ค้าสำคัญต่าง ๆ ร่วมกับกติกาความตกลง WTO ผนวกกับมาตรการพัฒนาการส่งออกอย่างมีประสิทธิผลแล้วยังจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการเตรียมความพร้อมในการกำหนดทิศทางรองรับการขจัดปัญหาข้อกีดกันทางการค้าในอนาคตไว้เป็นการล่วงหน้าด้วย จึงจะนำพาให้การค้าการส่งออกสินค้าไทยรอดพ้นจากการถูกประเทศต่าง ๆ ตั้งข้อกีดกันทางการค้ามิใช่ภาษีได้ พร้อมนี้ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า หากประเทศไทยยังต้องเผชิญอยู่กับข้อกีดกันทางการค้า โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาข้อกีดกันทางการค้าและ WTO ที่ดีพอก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้และก็ต้องยอมรับว่าการส่งออกสินค้าไทยคงมีอนาคตที่ริบหรี่ทั้งนี้เพราะข้อกีดกันทางการค้าที่มีอยู่ย่อมเป็นอุปสรรคอย่างใหญ่หลวงต่อการส่งออกสินค้าไทยเข้าในตลาดนั้น ๆ
ในช่วงเกือบ 20 ปี ที่ผ่านมาภาคเอกชนมีการปรับตัวและพัฒนาตนเองมาโดยตลอดจนมีความสามารถในด้านการตลาดต่างประเทศสูงมาก ปัจจุบันกล่าวได้ว่าภาคเอกชนมีบทบาทนำภาครัฐบาลในการเจาะตลาดและหาตลาด แต่แม้จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการส่งเสริมส่งออกอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีกว่าภาครัฐ หรือได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลมากเพียงไรก็ตามหากรัฐบาลไม่ดำเนินการแก้ไขขจัดปัญหาข้อกีดกันทางการค้าได้แล้วโอกาสที่จะหักอุปสรรคซึ่งเป็นข้อกีดกันทางการค้าเหล่านี้เพื่อเข้าสู่ตลาดก็จะประสบกับความมืดมน
นายพิษณุฯ กล่าวสรุปด้วยว่า ความอยู่รอดด้านการค้าการส่งออกของไทยในตลาดมีอยู่ทางเดียวคือความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ โดยผู้ส่งออกต้องเป็นผู้นำด้านการตลาด ขณะที่ภาครัฐจะเน้นการขจัดปัญหาข้อกีดกันทางการค้าในตลาดโลกให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุด ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดนี้จะยังผลให้ภาคเอกชนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการขจัดปัญหาอุปสรรคข้อกีดกันทางการค้าเป็นอันดับแรกและจะต้องร่วมมือกับภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องในการสร้างวิสัยทัศน์ต่อกรอบความตกลง WTO และร่วมกันศึกษาเข้าใจกรณีต่าง ๆ ของการกีดกันทางการค้าในประเทศคู่ค้าต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งและชัดเจนเพื่อนำมาใช้ในการวางกลยุทธ์ ผลักดันให้ประเทศพัฒนาแล้วยกเลิกการกีดกันทางการค้าซึ่งรวมถึงการอุดหนุนทั้งการผลิตและการส่งออก เพราะฉะนั้นภาคราชการจะต้องมีบทบาทนำในเรื่องความรอบรู้ด้าน (Regime) และมีความรู้เรื่อง WTO เป็นอย่างดีและภายใต้การค้าโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้ หากกระทรวงพาณิชย์สามารถเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่มีวิสัยทัศน์ด้าน Regime และ WTO ได้ก็จะช่วยให้การ ส่งออกของไทยมีความราบรื่นขยายตัวอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จลุล่วงด้วยดีในที่สุด
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-