สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มชะลอตัวลง แต่ก็ยังเป็นราคาที่ค่อนข้างสูงและจูงใจให้มีการนำลูกสุกรเข้าเลี้ยงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การซื้อขายมีแนวโน้มอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.70 บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.70 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 40.19 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 42.39 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.33 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.46
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดโดยรวมยังค่อนข้างดี เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศได้รับผลกระทบจากการเกิดโรควัวบ้า โรคปากและเท้าเปื่อย รวมทั้งโรคไข้หวัดนก ส่งผลให้โอกาสในการส่งออกเนื้อไก่ของไทยมีมากขึ้น และราคามีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ
ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 31.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 30.78 บาท
ภาคกลางกิโลกรัมละ 32.08 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.70 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 13.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ยังคล่องตัว แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่จากผลผลิตที่ลดปริมาณลง คาดว่าภาวะการซื้อขายไข่ไก่จะยังคงแจ่มใสและราคายังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 161 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 163 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 174 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 153 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 159 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 168 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 184 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 186 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 182 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 172 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 183 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 199 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 180 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 255 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 39.27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 23 ประจำวันที่ 18-24 มิ.ย. 2544--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มชะลอตัวลง แต่ก็ยังเป็นราคาที่ค่อนข้างสูงและจูงใจให้มีการนำลูกสุกรเข้าเลี้ยงมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การซื้อขายมีแนวโน้มอ่อนตัวลงอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 40.70 บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 40.70 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 40.19 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 42.39 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.33 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.46
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดโดยรวมยังค่อนข้างดี เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศได้รับผลกระทบจากการเกิดโรควัวบ้า โรคปากและเท้าเปื่อย รวมทั้งโรคไข้หวัดนก ส่งผลให้โอกาสในการส่งออกเนื้อไก่ของไทยมีมากขึ้น และราคามีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.28 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ
ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 31.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 30.78 บาท
ภาคกลางกิโลกรัมละ 32.08 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.70 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 13.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ยังคล่องตัว แม้ว่าราคาจะอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่จากผลผลิตที่ลดปริมาณลง คาดว่าภาวะการซื้อขายไข่ไก่จะยังคงแจ่มใสและราคายังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 161 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 163 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 174 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 153 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 159 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 168 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 184 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 186 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 182 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 172 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 183 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 199 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 180 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 255 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 39.27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.27 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 23 ประจำวันที่ 18-24 มิ.ย. 2544--
-สส-