ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ห่วงเอ็นพีแอลไม่ลดตามเป้าหมาย นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินให้เหลือ 2%
ของสินเชื่อรวมในปี 49 ตามเป้าหมายที่เคยกำหนดไว้ในปี 47 นั้น อาจจะล่าช้ากว่าเดิม เพราะเป็นการคาดการณ์
ภายใต้เงื่อนไขว่าจะใช้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (เอเอ็มซี) เข้าไปซื้อเอ็นพีแอล แต่จนถึงปัจจุบัน
กระบวนการยังไม่ได้เริ่ม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะให้เอเอ็มซีใดเข้าไปซื้อเอ็นพีแอล โดยจะคำนึงว่า
ไม่ให้เอเอ็มซีมีภาระหนี้เดิมมากเกินไป และสามารถบริหารหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ คาดว่าหากเอเอ็มซี
เริ่มกระบวนการซื้อเอ็นพีแอลได้เมื่อใด จะทำให้เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินลดลงได้เป็นจำนวนมากและรวด
เร็วในทันที อนึ่ง ณ สิ้นเดือน ส.ค. เอ็นพีแอลอยู่ที่ 583,976.03 ล.บาท คิดเป็น 10.32% ของสินเชื่อรวม
(โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. คลังตั้งเป้าสร้างมาร์เก็ตแคปให้มีมูลค่าเท่ากับจีดีพีภายใน 10 ปี ปลัด ก.คลัง ในฐานะรอง
ประธานคณะกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง ก้าวสู่ทศวรรษ
ที่ 2 ของตลาดตราสารหนี้ไทย ในงานแถลงการดำเนินงานของคณะกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ใน
ประเทศว่า การระดมทุนของรัฐในช่วงต่อไปต้องเป็นการระดมทุนเพื่อใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางเศรษฐกิจและ
สังคม เพื่อพัฒนาประเทศ โดยจะใช้วิธีการพึ่งพิงการออมของประเทศเป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลได้มีเป้าหมายที่จะพัฒนา
ตลาดตราสารหนี้ให้เข้มแข็งเทียบเท่าตลาดทุนและตลาดเงิน โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการทำให้
มูลค่ารวมของตลาดตราสารหนี้ไทยอยู่ในระดับเดียวกับจีดีพีของประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณ 7 ล้านล้าน
บาท โดยอาศัยกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ 1) การพัฒนาตลาดแรก โดย ก.คลังมีกำหนดออก พธบ.อายุ 7-10 ปีอย่างต่อ
เนื่อง และให้รัฐวิสาหกิจทยอยออก พธบ.เพื่อระดมทุน 2) การพัฒนาตลาดรอง โดยพัฒนามาตรการจูงใจให้นักลง
ทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดรองให้มากขึ้น และ 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสาร
หนี้ รวมทั้งปรับโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มากขึ้น และเร่งดูแลพัฒนาองค์กรกำกับ
ดูแลให้มีคุณภาพดีขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. คลังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 48 จะขยายตัวในระดับ 4.2% รมว.คลัง เปิดเผยว่า
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 48 จะขยายตัวดีขึ้นจนส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 48 เติบโตในระดับ
4.2% อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะขยายตัว 20% แต่จะอยู่ในระดับ
การขยายตัว 18% ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลไม่เกิน 4,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขาดดุลไม่เกิน 2% ของจี
ดีพี สำหรับเศรษฐกิจปี 49 จะพยายามผลักดันให้เติบโตในระดับ 5% (ข่าวสด, ไทยโพสต์)
4. ธ.กรุงไทยยืนยันยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ ธ.กรุง
ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ว่า ในขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยน
แปลง เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังมีสูง โดยทั้งระบบมีสภาพคล่องส่วนเกินมากกว่า 300,000 ล.บาท ส่วนการ
แข่งขันยังมีสูงมาก เนื่องจากบางแห่งสภาพคล่องเริ่มขาดไป คาดว่าต้นปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยเงิน
ฝากออมทรัพย์ (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของสรอ.เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนเม.ย.
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 48 บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงิน
กู้จำนองของสรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 เม.ย.
48 โดยอัตราดอกเบี้ยฯ ระยะเวลา 30 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.91 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.80 เมื่อสัปดาห์ก่อน
และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 15 ปีอยู่ที่ร้อย
ละ 5.48 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.37 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ระยะเวลา 1 ปี
(one-year Adustable Rate Morgages — ARM) อยู่ที่ร้อยละ 4.68 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.48 เมื่อสัปดาห์ที่
แล้ว ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปี และ ARM อยู่ที่ร้อยละ 5.72 5.12
และร้อยละ 3.97 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามประธานบ. Freddie Mac กล่าวว่าในวันที่ 7 ต.ค.ทางการสรอ.มี
กำหนดจะเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสรอ.ที่ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาซึ่งหากตัวเลขดัง
กล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยในอัตราการว่างงานและตำแหน่ง
งานที่หายไปประมาณ 200,000ตำแหน่ง อัตราดอกเบี้ยฯ อาจจะปรับเพิ่มขึ้นไม่มากในปีนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งภายในสิ้นเดือน มี.ค.49 รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 29 ก.ย.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ 50 คน ระหว่างวันที่ 27-29 ก.ย.48 ว่า ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจและการบริโภค แต่ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงิน
เฟ้อ จึงอาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จนถึงไตรมาสแรกปีหน้า โดยนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมดคาดการณ์ว่าคณะ
กรรมการนโยบายการเงิน (MPC) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 4.50 ในการประชุมสัปดาห์หน้า
และคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25 ภายในสิ้นเดือน มี.ค.49 และคงไว้ที่ระดับนั้น
จนถึงสิ้นปี 49 อย่างไรก็ตาม มีความเห็นที่ก้ำกึ่งกันระหว่างผู้ที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน พ.
ย.48 กับผู้ที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเดือน ก.พ.49 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงเกินระดับเป้าหมายที่
ธ.กลางอังกฤษตั้งไว้ร้อยละ 2.0 โดยอัตราเงินเฟ้อของเดือน ส.ค.48 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 เนื่องจากต้นทุน
ด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังไม่อ่อนตัวมากพอ
ที่จะกระตุ้นให้ ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษเดือน ก.ย.48 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบมากกว่า 9 ปี สวนทางกับการอนุมัติ
วงเงินกู้จำนองที่เพิ่มขึ้นอยู่สูงสุดในรอบมากกว่า 1 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 ก.ย.48 สมาคมก่อสร้างที่อยู่
อาศัยของอังกฤษ (The Nationwide building society) เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ก.
ย.48 ลดลงอยู่ระดับต่ำสุดในรอบมากกว่า 9 ปี (ตั้งแต่ พ.ค.39) โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี ขณะที่
เทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สำหรับราคาบ้านเฉลี่ยต่อหลังอยู่ที่ราคา
156,517 ปอนด์ ลดลงจากราคา 157,310 ปอนด์ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ตัวเลขราคาบ้านในอังกฤษในเดือนนี้ยัง
คงเป็นตัวเลขที่สวนทางกับการอนุมัติวงเงินกู้จำนอง (การอนุมัติวงเงินกู้จำนองเพิ่มขึ้นถึงจำนวน 107,000 ใน
เดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นจากจำนวน 99,000 ในเดือน ก.ค.48 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.47) ซึ่ง
นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ตลาดที่อยู่อาศัยอาจมีสัญญาณของการฟื้นตัวหลังจากที่ราคาบ้านลดลงในเดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ราคาบ้านในอังกฤษเคยพุ่งสูงขึ้นถึงเกือบร้อยละ 20 แต่ผู้กำหนดนโยบาย
ของ ธ.กลางอังกฤษ (Richard Lambert) ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า โอกาสที่ราคา
บ้านจะขยายตัวเท่าเดิมมีน้อยมาก อนึ่ง ผู้ให้กู้จำนองเห็นว่า การที่ ธ.กลางอังกฤษปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราการเติบโตของราคาบ้านในอังกฤษชะลอตัวลงนั้น ก็เพื่อช่วยสนับ
สนุนกิจกรรมในตลาดที่อยู่อาศัยให้กระเตื้องขึ้น (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดการผลิต PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 30 ก.ย.48 ดัชนีชี้วัดการผลิต PMI ของญี่ปุ่นจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้าน
จัดซื้อของธุรกิจการผลิตจำนวน 350 แห่งโดย NTC Research, Nomura และ JMMA เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 54.5 ในเดือน ก.ย.48 อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 และเพิ่มขึ้น
จากระดับ 53.8 ในเดือนก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากความต้องการในประเทศเริ่มฟื้นตัวหลังจากอยู่ในภาวะซบเซาเมื่อปีที่
แล้ว โดยยอดค้าปลีกของเดือน ส.ค.48 ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ในขณะที่ดัชนีชี้วัดคำสั่ง
ซื้อใหม่ซึ่งชี้แนวโน้มความต้องการสินค้าในอนาคตทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.6 สูง
สุดในรอบ 14 เดือนจากระดับ 54.9 ในเดือนก่อน เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.2
จากระดับ 51.9 ในเดือนก่อน และดัชนีชี้วัดผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 57.0 สูงสุดในรอบ 17 เดือนจากระดับ
56.3 ในเดือนก่อน โดยตัวเลขดัชนีที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัว ในขณะที่ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงถึงการ
หดตัว อย่างไรก็ดีต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันได้ทำให้กำไรของผู้ผลิตลดลง เนื่องจากไม่
สามารถผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้บริโภคได้จากสภาพการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด โดยดัชนีชี้วัดราคาวัตถุดิบ
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 63.6 จาก 62.8 ในเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีชี้วัดราคาผลผลิตกลับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.9
จากระดับ 51.7 ในเดือนก่อน ส่งผลให้ธุรกิจลดการจ้างพนักงานประจำลง โดยหันไปจ้างพนักงานชั่วคราวแทน
โดยดัชนีชี้วัดการจ้างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.7 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ทั้งนี้ยกเว้นอุตสาหกรรมการผลิต
รถยนต์และเครื่องจักรกลที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ก.ย. 48 29 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.099 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9202/41.2076 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.46958 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 722.83/ 16.97 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,150/9,250 9,100/9,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.84 57.35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ห่วงเอ็นพีแอลไม่ลดตามเป้าหมาย นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงินให้เหลือ 2%
ของสินเชื่อรวมในปี 49 ตามเป้าหมายที่เคยกำหนดไว้ในปี 47 นั้น อาจจะล่าช้ากว่าเดิม เพราะเป็นการคาดการณ์
ภายใต้เงื่อนไขว่าจะใช้บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (เอเอ็มซี) เข้าไปซื้อเอ็นพีแอล แต่จนถึงปัจจุบัน
กระบวนการยังไม่ได้เริ่ม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะให้เอเอ็มซีใดเข้าไปซื้อเอ็นพีแอล โดยจะคำนึงว่า
ไม่ให้เอเอ็มซีมีภาระหนี้เดิมมากเกินไป และสามารถบริหารหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ คาดว่าหากเอเอ็มซี
เริ่มกระบวนการซื้อเอ็นพีแอลได้เมื่อใด จะทำให้เอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินลดลงได้เป็นจำนวนมากและรวด
เร็วในทันที อนึ่ง ณ สิ้นเดือน ส.ค. เอ็นพีแอลอยู่ที่ 583,976.03 ล.บาท คิดเป็น 10.32% ของสินเชื่อรวม
(โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. คลังตั้งเป้าสร้างมาร์เก็ตแคปให้มีมูลค่าเท่ากับจีดีพีภายใน 10 ปี ปลัด ก.คลัง ในฐานะรอง
ประธานคณะกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง ก้าวสู่ทศวรรษ
ที่ 2 ของตลาดตราสารหนี้ไทย ในงานแถลงการดำเนินงานของคณะกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ใน
ประเทศว่า การระดมทุนของรัฐในช่วงต่อไปต้องเป็นการระดมทุนเพื่อใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางเศรษฐกิจและ
สังคม เพื่อพัฒนาประเทศ โดยจะใช้วิธีการพึ่งพิงการออมของประเทศเป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลได้มีเป้าหมายที่จะพัฒนา
ตลาดตราสารหนี้ให้เข้มแข็งเทียบเท่าตลาดทุนและตลาดเงิน โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการทำให้
มูลค่ารวมของตลาดตราสารหนี้ไทยอยู่ในระดับเดียวกับจีดีพีของประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณ 7 ล้านล้าน
บาท โดยอาศัยกลยุทธ์ 3 ด้าน คือ 1) การพัฒนาตลาดแรก โดย ก.คลังมีกำหนดออก พธบ.อายุ 7-10 ปีอย่างต่อ
เนื่อง และให้รัฐวิสาหกิจทยอยออก พธบ.เพื่อระดมทุน 2) การพัฒนาตลาดรอง โดยพัฒนามาตรการจูงใจให้นักลง
ทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตลาดรองให้มากขึ้น และ 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสาร
หนี้ รวมทั้งปรับโครงสร้างภาษีให้สอดคล้องกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มากขึ้น และเร่งดูแลพัฒนาองค์กรกำกับ
ดูแลให้มีคุณภาพดีขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. คลังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในปี 48 จะขยายตัวในระดับ 4.2% รมว.คลัง เปิดเผยว่า
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 48 จะขยายตัวดีขึ้นจนส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 48 เติบโตในระดับ
4.2% อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ว่าจะขยายตัว 20% แต่จะอยู่ในระดับ
การขยายตัว 18% ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุลไม่เกิน 4,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขาดดุลไม่เกิน 2% ของจี
ดีพี สำหรับเศรษฐกิจปี 49 จะพยายามผลักดันให้เติบโตในระดับ 5% (ข่าวสด, ไทยโพสต์)
4. ธ.กรุงไทยยืนยันยังไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ ธ.กรุง
ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ว่า ในขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยน
แปลง เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังมีสูง โดยทั้งระบบมีสภาพคล่องส่วนเกินมากกว่า 300,000 ล.บาท ส่วนการ
แข่งขันยังมีสูงมาก เนื่องจากบางแห่งสภาพคล่องเริ่มขาดไป คาดว่าต้นปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยเงิน
ฝากออมทรัพย์ (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของสรอ.เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนเม.ย.
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 48 บริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่า อัตราดอกเบี้ยเงิน
กู้จำนองของสรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 เม.ย.
48 โดยอัตราดอกเบี้ยฯ ระยะเวลา 30 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.91 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.80 เมื่อสัปดาห์ก่อน
และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 15 ปีอยู่ที่ร้อย
ละ 5.48 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.37 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ระยะเวลา 1 ปี
(one-year Adustable Rate Morgages — ARM) อยู่ที่ร้อยละ 4.68 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.48 เมื่อสัปดาห์ที่
แล้ว ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปี และ ARM อยู่ที่ร้อยละ 5.72 5.12
และร้อยละ 3.97 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามประธานบ. Freddie Mac กล่าวว่าในวันที่ 7 ต.ค.ทางการสรอ.มี
กำหนดจะเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสรอ.ที่ได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนแคทรีนาซึ่งหากตัวเลขดัง
กล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาดที่คาดว่าได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยในอัตราการว่างงานและตำแหน่ง
งานที่หายไปประมาณ 200,000ตำแหน่ง อัตราดอกเบี้ยฯ อาจจะปรับเพิ่มขึ้นไม่มากในปีนี้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งภายในสิ้นเดือน มี.ค.49 รายงานจากกรุง
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 29 ก.ย.48 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนัก
เศรษฐศาสตร์ 50 คน ระหว่างวันที่ 27-29 ก.ย.48 ว่า ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยอีกครั้งเพื่อช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจและการบริโภค แต่ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงิน
เฟ้อ จึงอาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จนถึงไตรมาสแรกปีหน้า โดยนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมดคาดการณ์ว่าคณะ
กรรมการนโยบายการเงิน (MPC) จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมคือร้อยละ 4.50 ในการประชุมสัปดาห์หน้า
และคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25 ภายในสิ้นเดือน มี.ค.49 และคงไว้ที่ระดับนั้น
จนถึงสิ้นปี 49 อย่างไรก็ตาม มีความเห็นที่ก้ำกึ่งกันระหว่างผู้ที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน พ.
ย.48 กับผู้ที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในเดือน ก.พ.49 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงเกินระดับเป้าหมายที่
ธ.กลางอังกฤษตั้งไว้ร้อยละ 2.0 โดยอัตราเงินเฟ้อของเดือน ส.ค.48 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 เนื่องจากต้นทุน
ด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์บางคนกล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังไม่อ่อนตัวมากพอ
ที่จะกระตุ้นให้ ธ.กลางอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษเดือน ก.ย.48 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบมากกว่า 9 ปี สวนทางกับการอนุมัติ
วงเงินกู้จำนองที่เพิ่มขึ้นอยู่สูงสุดในรอบมากกว่า 1 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ 29 ก.ย.48 สมาคมก่อสร้างที่อยู่
อาศัยของอังกฤษ (The Nationwide building society) เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ก.
ย.48 ลดลงอยู่ระดับต่ำสุดในรอบมากกว่า 9 ปี (ตั้งแต่ พ.ค.39) โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี ขณะที่
เทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สำหรับราคาบ้านเฉลี่ยต่อหลังอยู่ที่ราคา
156,517 ปอนด์ ลดลงจากราคา 157,310 ปอนด์ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ตัวเลขราคาบ้านในอังกฤษในเดือนนี้ยัง
คงเป็นตัวเลขที่สวนทางกับการอนุมัติวงเงินกู้จำนอง (การอนุมัติวงเงินกู้จำนองเพิ่มขึ้นถึงจำนวน 107,000 ใน
เดือน ส.ค.48 เพิ่มขึ้นจากจำนวน 99,000 ในเดือน ก.ค.48 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.47) ซึ่ง
นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ตลาดที่อยู่อาศัยอาจมีสัญญาณของการฟื้นตัวหลังจากที่ราคาบ้านลดลงในเดือนก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ราคาบ้านในอังกฤษเคยพุ่งสูงขึ้นถึงเกือบร้อยละ 20 แต่ผู้กำหนดนโยบาย
ของ ธ.กลางอังกฤษ (Richard Lambert) ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า โอกาสที่ราคา
บ้านจะขยายตัวเท่าเดิมมีน้อยมาก อนึ่ง ผู้ให้กู้จำนองเห็นว่า การที่ ธ.กลางอังกฤษปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราการเติบโตของราคาบ้านในอังกฤษชะลอตัวลงนั้น ก็เพื่อช่วยสนับ
สนุนกิจกรรมในตลาดที่อยู่อาศัยให้กระเตื้องขึ้น (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดการผลิต PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ก.ย.48 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือน
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 30 ก.ย.48 ดัชนีชี้วัดการผลิต PMI ของญี่ปุ่นจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้าน
จัดซื้อของธุรกิจการผลิตจำนวน 350 แห่งโดย NTC Research, Nomura และ JMMA เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 54.5 ในเดือน ก.ย.48 อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 และเพิ่มขึ้น
จากระดับ 53.8 ในเดือนก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากความต้องการในประเทศเริ่มฟื้นตัวหลังจากอยู่ในภาวะซบเซาเมื่อปีที่
แล้ว โดยยอดค้าปลีกของเดือน ส.ค.48 ซึ่งเป็นตัวเลขล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ในขณะที่ดัชนีชี้วัดคำสั่ง
ซื้อใหม่ซึ่งชี้แนวโน้มความต้องการสินค้าในอนาคตทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.6 สูง
สุดในรอบ 14 เดือนจากระดับ 54.9 ในเดือนก่อน เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 52.2
จากระดับ 51.9 ในเดือนก่อน และดัชนีชี้วัดผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 57.0 สูงสุดในรอบ 17 เดือนจากระดับ
56.3 ในเดือนก่อน โดยตัวเลขดัชนีที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการขยายตัว ในขณะที่ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 แสดงถึงการ
หดตัว อย่างไรก็ดีต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของราคาน้ำมันได้ทำให้กำไรของผู้ผลิตลดลง เนื่องจากไม่
สามารถผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้บริโภคได้จากสภาพการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด โดยดัชนีชี้วัดราคาวัตถุดิบ
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 63.6 จาก 62.8 ในเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีชี้วัดราคาผลผลิตกลับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.9
จากระดับ 51.7 ในเดือนก่อน ส่งผลให้ธุรกิจลดการจ้างพนักงานประจำลง โดยหันไปจ้างพนักงานชั่วคราวแทน
โดยดัชนีชี้วัดการจ้างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.7 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.48 ทั้งนี้ยกเว้นอุตสาหกรรมการผลิต
รถยนต์และเครื่องจักรกลที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ก.ย. 48 29 ก.ย. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.099 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.9202/41.2076 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.46958 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 722.83/ 16.97 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 9,150/9,250 9,100/9,200 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.84 57.35 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.74*/24.19* 27.74*/24.19 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.ย. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--