เศรษฐกิจการเงินภาคเหนือในครึ่งแรกปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ภาคเกษตร ปริมาณผลผลิต พืชสำคัญเกือบทุกชนิดเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แต่ราคาพืชผลเกษตรลดลง ค่อนข้างมาก ทำให้รายได้และอำนาจซื้อของเกษตรกรลดลงประมาณร้อยละ 8.5 ภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม ส่งออกที่สำคัญเพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซรามิกตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารก็ขยายตัวในเกณฑ์ดีเช่นกัน แต่อุตสาหกรรมที่จำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่ยังไม่ กระเตื้องขึ้น เนื่องจากกำลังซื้อเริ่มชะลอตัว ขณะที่ ภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสูงอายุจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา แต่สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยลดลงตามภาวะ เศรษฐกิจและการประชุมสัมมนาลดลง การลงทุนภาคเอกชน เริ่มมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมีการขยายกำลังการผลิตตอบสนองความต้องการของต่างประเทศ แต่โครงการลงทุนยังมีไม่มาก และเป็นที่น่าสังเกตว่านักลงทุนชาวไทยเริ่มสนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน อุตสาหกรรมเบาประเภทตัดเย็บเสื้อผ้า ตัดและเจียระไนอัญมณี ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในโครงการ ใหม่ยังมีน้อย เนื่องจากปัญหาอุปทานส่วนเกินที่มีมาก ในส่วนโครงการที่ได้หยุดชะงักลงแล้วเริ่มมีความเคลื่อนไหวบ้าง โดยเฉพาะหลังจากเจรจาปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จ และมีการให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นบ้าง สำหรับ การใช้จ่ายภาคเอกชน อยู่ในเกณฑ์ขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเครื่องชี้เกือบทุกรายการขยายตัว อย่างไรก็ตาม การบริโภคสินค้าบางประเภทเริ่มชะลอตัว
ทางด้าน การส่งออก ช่วงครึ่งแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) โดยเพิ่มขึ้น ทั้งการผ่านท่าอากาศยานและการค้าชายแดน ส่วนการนำเข้าก็เพิ่มในเกณฑ์สูงร้อยละ 39.2 จากการนำเข้า เครื่องจักรของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน เพื่อมาขยายกำลังผลิต ทางด้าน ฐานะ การคลังรัฐบาล ในภาคเหนือ การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในภาคเหนือลดลงร้อยละ 12.1 โดยลดลงในรายได้ ที่จัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยเป็นสำคัญ ทางด้านรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำประเภท เงินเดือน สำหรับการใช้จ่ายตามโครงการมิยาซาวาเบิกจ่ายแล้ว 7,773.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.1 ของวงเงิน อนุมัติ ภาคการเงิน สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือในภาพรวมยังลดลง อย่างไรก็ดี เริ่มมีการ ให้สินเชื่อใหม่ในบางประเภท เช่น สินเชื่อเพื่อการส่งออก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อแรงงานต่างประเทศ สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือครึ่งแรกปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าเนื้อที่เพาะปลูกพืชหลายชนิดจะลดลง แต่จากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำฝนมากและกระจายตัวดี รวมทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนพอเพียง ทำให้ภาพรวมผลผลิตเพิ่มขึ้น โดย ข้าวนาปรัง ผลผลิตฤดูการผลิต 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เป็น 1.7 ล้านเมตริกตัน อ้อยโรงงาน ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็น 12.6 ล้านเมตริกตัน มันสำปะหลัง ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เป็น 2.3 ล้านเมตริกตัน หอมหัวใหญ่ ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากทำให้ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ถั่วเขียวรุ่นแล้ง ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 กระเทียม เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น จากราคาปีก่อนจูงใจ และมีการเพาะปลูกกระเทียมหัวใหญ่สายพันธุ์จากจีนเพื่อสนองความต้องการของตลาด ทำให้ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ลิ้นจี่ ผลผลิตปี 2543 จากแหล่งผลิตสำคัญในจังหวัด เชียงใหม่และเชียงรายคาดว่าเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม มีพืชบางชนิดที่ผลผลิต ลดลง ได้แก่ ถั่วเหลืองรุ่นแล้ง ลดลงร้อยละ 0.1 และ ถั่วลิสงรุ่นแล้ง ลดลงร้อยละ 7.9 จากการลดเนื้อที่ปลูก เพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ ส่วน ใบยาเวอร์จิเนีย และ ใบยาเบอร์เลย์ ผลผลิตลดลงจากการลดโควตาการผลิต เพราะสต็อกยาสูบอยู่ในระดับสูง ทำให้ปริมาณการรับซื้อลดลงร้อยละ 27.3 และ 27.9 ตามลำดับ
แม้ว่าภาพรวมผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือครึ่งแรกปี 2543 จะเพิ่มขึ้น แต่จากภาวะราคาสินค้า เกษตรที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตรกรในพืชสำคัญดังกล่าวลดลง ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
นอกภาคเกษตร
ภาคอุตสาหกรรม
ภาคอุตสาหกรรมของภาคเหนือในครึ่งแรกปี 2543 ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน มีภาวะเร่งตัวมาก โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียว กันปีก่อนร้อยละ 44.7 ตามความต้องการ ของตลาดต่างประเทศ เช่น เอเชีย ยุโรปและ สหรัฐอเมริกา โรงงานส่วนใหญ่ใช้กำลังการ ผลิตเต็มที่เพื่อผลิตสินค้าให้ทันกับความ ต้องการและโรงงานหลายแห่งเริ่มนำเข้า เครื่องจักร เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ผลผลิตน้ำตาลขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เป็น 1,181,937.4 เมตริกตัน เทียบกับที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามปริมาณอ้อยที่แม้จะเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มขึ้น ในอัตราที่ต่ำกว่าปีก่อน สำหรับการผลิต เซรามิกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน ตามความต้องการเพื่อการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง ทำให้ผู้ประกอบการ สามารถแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น โรงงานเซรามิกที่ผลิตเพื่อส่งออกส่วนใหญ่ใช้กำลังการผลิตค่อนข้างเต็มที่ และบางโรงงานเริ่มมีแนวโน้มที่จะขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศยังคงชะลอตัวตามความต้องการภายในประเทศที่ยังไม่เร่งตัว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น ลูกกรงแก้ว สำหรับการผลิตปูนซิเมนต์ยังคงหดตัว แต่อัตราการหดตัวลดลง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากเริ่มมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นบ้าง การผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 3.7 เป็น 45,761.0 เมตริกตัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามความต้องการในประเทศ ที่ชะลอตัวตามการก่อสร้างในภาครัฐ
ภาคเหมืองแร่
ผลผลิตน้ำมันดิบ ในช่วงครึ่งแรก ปี 2543 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 2.3 เหลือ 4.2 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการผลิตจากหลุมใหม่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ขณะที่การผลิต ก๊าซ ธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.6 เป็น 10.3 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นทดแทนน้ำมันเตา ที่มีราคาสูงขึ้น ลิกไนต์ ลดลงร้อยละ 8.3 เหลือ 7.0 ล้านเมตริกตัน เนื่องจากผู้ใช้สำคัญคือ โรงไฟฟ้าลิกไนต์ที่อำเภอแม่เมาะมีการปรับปรุง เครื่องจักรช่วงต้นปี หินปูน ลดลงร้อยละ 27.6 เหลือ 2.0 ล้านเมตริกตัน ขณะที่สังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เป็น 107.1 พันเมตริกตัน
ภาคบริการ
ภาคบริการยังคงแสดงแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปัจจัยด้านการใช้จ่ายทางภาคเอกชนและการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วง มกราคม — เมษายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 เป็น 594,422 คน เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.8 ปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เช่น การเปิดตลาดนักท่องเที่ยว กลุ่มผู้สูงอายุจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีผลดีต่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม เพราะมีระยะเวลาพำนักยาวและใช้บริการภายในโรงแรมเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงนอกฤดูการ นักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอโดยเฉพาะจากยุโรป ส่วนหนึ่งเพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัว ส่วนการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2543 ก็มีผลต่อการท่องเที่ยวบ้างแต่ไม่มากนัก สำหรับนักท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ และการ ประชุมที่ลดลง ส่วนจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็น 1,420,410 คน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.4 ปีก่อน แม้ว่ามีการปรับค่าโดยสาร สำหรับเส้นทางการบินในประเทศและต่างประเทศของการบินไทยขึ้น ประมาณร้อยละ 13.5 และประมาณร้อยละ 3-7 ในเดือนเมษายน 2543 โดยผลกระทบต่อผู้ใช้บริการมีเพียงเล็กน้อย เพราะราคาค่าโดยสารที่ปรับขึ้นยัง สามารถแข่งขันกับสายการบินต่างประเทศได้
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวพิจารณาจากเครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายภาคเอกชน หลายประเภท โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.3 เป็น 12,123 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เป็น 48,040 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 34.5 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเร่งจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การจูงใจผู้บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะเวลาผ่อน ชำระนาน รวมทั้งการเสนอบริการพิเศษหลังการขาย ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยในเดือนมกราคม-มีนาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บ ได้ในครึ่งแรกปี 2543 (คำนวณจากฐานภาษีร้อยละ 7) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 มียอดคงค้าง 39,746.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.1 เทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 14.7 ระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม การบริโภค ในบางประเภทเริ่มชะลอในช่วงไตรมาสที่สองโดยเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
การลงทุน/ก่อสร้าง
การลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ภาคเหนือในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เป็น 199,292 ตารางเมตร เทียบกับ ที่ลดลงร้อยละ 14.1 ของระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นทุกประเภทโดยเฉพาะที่อยู่อาศัย และค่าธรรมเนียม ขายที่ดิน ในเดือนมกราคม — พฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เป็น 71.3 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.8 ในระยะเดียวกันปีก่อน ด้านกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนส่งสัญญาณดี โดยในครึ่งปีแรกมีผู้ได้รับ อนุมัติส่งเสริมการลงทุน 28 ราย เงินลงทุนรวม 5,726.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.4 และร้อยละ 51.5 ตามลำดับ เทียบกับจำนวนผู้ได้รับอนุมัติฯที่ลดลงร้อยละ 56.8 และเงินลงทุนของกิจการ ที่ได้รับอนุมัติฯที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกิจการที่ได้รับอนุมัติฯในครึ่งปีแรก มีนักลงทุน ชาวไทยขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น ประกอบด้วยหมวดอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตเสื้อผ้า การผลิต เลนส์ อุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูปผลิตผลเกษตร อุตสาหกรรมผลิตอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า และอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค เช่น การผลิต Software ในเดือนมกราคม —เมษายน 2543 มีโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ 264 โรงงานเงินลงทุน 1,247.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 และร้อยละ 58.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านสินเชื่อเพื่อก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ยังคงลดลงต่อเนื่อง แต่อัตราการลดลงปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นดือนเมษายน 2543 เท่ากับ 27,856 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเทียบกับการลดลงร้อยละ 8.3 ปีก่อน ในครึ่งแรกปี 2543 อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก เช่น อุตสาหกรมมอิเลคทรอนิกส์ เริ่มมีการขยายกำลังการผลิต และนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ แต่การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ยังมีน้อย เนื่องจาก ปัญหาอุปทานส่วนเกินที่มีมาก ในส่วนของโครงการที่ได้หยุดชะงักลงแล้วเริ่มมีความเคลื่อนไหวบ้าง โดยเฉพาะ หลังจากการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
การลงทุนภาครัฐในครึ่งแรกปี 2543 ในส่วนของงบประมาณปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เป็น 15,171.0 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.4 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลภาคเหนือในช่วงครึ่งแรกปี 2543 (มกราคม—มิถุนายน 2543) ในส่วนของ เงินในงบประมาณขาดดุล 48,624.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 46,933.5 ล้านบาท ระยะเดียวกัน ปีก่อน
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือลดลงร้อยละ 12.1 เหลือ 5,258.0 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.3 ระยะเดียวกันปีก่อน จากรายได้ที่จัด เก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษี มูลค่าเพิ่มลดลงเป็นสำคัญ โดยภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 22.9 เหลือ 2,027.3 ล้านบาท ลดลงมากในส่วนที่เก็บ จากเงินได้ดอกเบี้ยถึงร้อยละ 44.4 จาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 17.9 เหลือ 1,458.5 ล้านบาท ขณะที่ภาษีเงินได้นิติ บุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เป็น 843.9 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งรัด จัดเก็บภาษี ประกอบกับบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่ เริ่มมีผลการประกอบการที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนทำให้มีการยื่นชำระภาษีเพิ่มขึ้น รายจ่ายรัฐบาลภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เป็น 53,882.1 ล้านบาท เทียบ กับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ระยะเดียวกัน ปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำ เป็นสำคัญ โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เป็น 34,499.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากใน หมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง และหมวดค่า สาธารณูปโภคร้อยละ 17.3 ร้อยละ 14.6 และร้อยละ 13.5 เป็น 1,094.5 ล้านบาท 5,740.0 ล้านบาท และ 496.9 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่รายจ่าย ลงทุนลดลงร้อยละ 3.0 เหลือ 19,382.7 ล้านบาท โดยรายจ่ายลงทุนจากงบประมาณปีก่อนๆลดลงร้อยละ 36.5 เหลือ 4,211.7 ล้านบาท เนื่องจากรัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ทำให้การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีลดลง ขณะที่ รายจ่ายลงทุน จากงบประมาณปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เป็น 15,171.0 ล้านบาท ตามการเร่งการใช้จ่าย งบประมาณ อย่างไรก็ตาม รายจ่ายจากงบประมาณของรัฐเมื่อรวมกับรายจ่ายตาม มาตรการเพิ่มการ ใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ที่เบิกจ่ายในช่วงครึ่งแรกปี 2543 จำนวน 980.4 ล้านบาทแล้ว ยอดรวมรายจ่ายลดลงร้อยละ 3.6 เหลือ 54,862.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 ระยะเดียวกันปีก่อน
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 8,531.7 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,773.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.1 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีการเบิกจ่ายสูงที่สุดได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และพะเยา อัตราการ เบิกจ่ายร้อยละ 96.9 ร้อยละ 96.5 และร้อยละ 95.9 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ช่วงครึ่งแรกปี 2543 มีมูลค่า 618.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 จากช่วง เดียวกันปีก่อน เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 15.2 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 23,292.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการส่งออกสินค้าผ่าน ชายแดน โดย การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 519.4 ล้านดอลล่าร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 19,567.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวตาม ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ดีขึ้น และความต้องการบริโภคสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น การส่งออก นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีมูลค่า 59.8 ล้านดอลล่าร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2,259.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) จากการขยายตัว ของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น และผู้ประกอบการได้เริ่มใช้ การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อติดต่อและโฆษณาสินค้า อย่างไรก็ตาม อัตราเพิ่มนี้ยังต่ำกว่า ร้อยละ 21.6 ช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากตลาดมีการแข่งขันด้านราคา ประกอบกับผลผลิตในประเทศผู้นำเข้า สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 3,725.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 จากช่วง เดียวกันปีก่อน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6 ในปีก่อน โดย การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 3,270.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าจะเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าร้อยละ 45.1 ในครึ่งแรกปี 2542 เนื่องจาก ในเดือนมีนาคม-เมษายน 2543 เกิดปัญหาด้านการส่งออกผ่านด่านแม่สอด จังหวัดตาก อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์สูง การส่งออกไปลาว มีมูลค่า 257.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการมีเพิ่มขึ้นประกอบกับค่าเงินกีบค่อนข้างมีเสถียรภาพ การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 197.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับ ที่ลดลงร้อยละ 40.9 ในปีก่อน เนื่องจากการส่งออกลำไยนอกฤดูกาล เมล็ดข้าวโพดในน้ำเกลือ และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ช่วงครึ่งแรกปี 2543 มีมูลค่า 550.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 จากช่วง เดียวกันปีก่อน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 20,758.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) โดย การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 529.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 ในปีก่อน (ในรูป เงินบาทมีมูลค่า 19,969.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) ตามความต้องการวัตถุดิบ และเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ด้าน การนำเข้าผ่านด่านชายแดน มีมูลค่า 788.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.4 ในปีก่อน โดยลดลงในทั้ง การนำเข้าจากพม่า ซึ่งมีมูลค่า 452.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการนำเข้าโค-กระบือ ไม้ซุง และอัญมณีลดลงมาก และ การนำเข้าจากจีน ซึ่งมีมูลค่า 75.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการนำเข้าแอ๊ปเปิล ลดลงเพราะมีสินค้าคุณภาพสูงจากสหรัฐอเมริกาและนิวซีแลนด์มาทดแทน ส่วน การนำเข้าจากลาว ยังเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่า 260.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากนำเข้าโค-กระบือ และ ไม้ซุงเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคในครึ่งแรกปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ทั้งนี้เป็นผล จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มในอัตราร้อยละ 3.7 ขณะที่ดัชนีราคา สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงในอัตราร้อยละ 2.5
หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ตามการลดลงของราคา สินค้ากลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 4.6 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ระดับราคาลดลงร้อยละ 5.0 กลุ่มผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 9.1 และกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 7.6 ตามปริมาณผลผลิต ที่ออกสู่ตลาดมาก กลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงร้อยละ 9.0 และกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.9 ตามภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการ ขณะที่กลุ่มอาหารที่ซื้อบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากภาวะต้นทุนด้านการขนส่งที่สูงขึ้น
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 จากการเพิ่มขึ้นของราคา สินค้าหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารในอัตราร้อยละ 8.5 โดยเฉพาะราคาสินค้ากลุ่มยานพาหนะมีอัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 9.7 ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก ขณะที่หมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้น เล็กน้อย เช่น หมวดเครื่องนุ่งห่ม ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หมวดเคหสถาน ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หมวดการ ตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา ราคา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
ดัชนีราคาขายส่ง
ดัชนีราคาขายส่งของภาคเหนือในครึ่งแรกปี 2543 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 2.5 เป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าในหมวดสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารร้อยละ 8.2 ขณะที่ ราคาหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
หมวดสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.2 เป็นผลจากการลดลงของราคากลุ่มสินค้าเกษตรกรรมร้อยละ 17.5 กลุ่มเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 5.2 กลุ่มอาหาร สัตว์ลดลงร้อยละ 2.9 จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อภาคเกษตรกรรม ทำให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มขึ้น
หมวดสินค้าอุตสาหกรรมราคาเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมถึงร้อยละ 40.6 ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง สินค้ากลุ่มหนังสัตว์และผลิตภัณฑ์หนังราคาเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 เนื่องจากตลาด มีความต้องการเพิ่มขึ้นทำให้วัตถุดิบประเภทหนังดิบมีราคาสูงขึ้น ราคาสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพียงร้อยละ 0.3 เนื่องจากราคาไม้สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ขณะที่สินค้าเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีมีราคาลดลงร้อยละ 8.6 เนื่องจากมีการแข่งขันกันลดราคาเพื่อระบายสินค้า โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี และสินค้ากลุ่มสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ราคาลดลงร้อยละ 2.1จากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น
การเงินการธนาคาร
เงินฝาก ณ สิ้นมิถุนายน 2543 ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้าง 267,138.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.2 ปีก่อน เนื่องจากในช่วงกลางไตรมาสสอง ผู้ฝาก มีรายได้จากการจำหน่ายพืชผลที่สำคัญทางการเกษตร เช่น ข้าวนาปรัง อ้อย และลิ้นจี่ เป็นต้น ประกอบกับ เงินฝากที่ประชาชนได้ถอนออกไปในช่วงสิ้นปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการเบิกถอนเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า รวมทั้งเพื่อใช้ซื้อสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ นอกจากนั้นยังมีการนำเงินฝากที่เคยใช้ค้ำประกันเงินกู้มาชำระหนี้ เงินฝากเพิ่มขึ้นที่ จังหวัดตาก ลำปาง เชียงใหม่และลำพูน
สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ในภาพรวมยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดย ณ สิ้นมิถุนายน 2543 มียอดคงค้าง 203,002.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 ชะลอลง เมื่อเทียบกับลดลงร้อยละ 11.9 ปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังการให้สินเชื่อในบางประเภท ธุรกิจ เช่น สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อเพื่อการค้าภายในประเทศ เป็นต้น ประกอบกับมีการชำระคืนหนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความก้าวหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ อีกทั้งสินเชื่อบางส่วนโอนไปบริหารที่ส่วนกลาง อย่างไรก็ตาม สินเชื่อเริ่มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสอง เริ่มมีการให้สินเชื่อในบางประเภท ผลจาก การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการขยายตัวของบางธุรกิจ เช่น สินเชื่อส่งออก สินเชื่ออยู่อาศัย สินเชื่อแก่ แรงงานที่ไปต่างประเทศ สินเชื่อแก่ธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะที่รับงานของภาครัฐ และสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ทั้งนี้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิษณุโลก และอุทัยธานี แต่เพิ่มขึ้น ที่จังหวัดลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ในช่วงครึ่งแรกปี 2543 ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ตามสภาพคล่องของระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ยังอยู่ในระดับสูง ถึงแม้จะตึงตัวขึ้นบ้างก็ตาม โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.75-4.00 ต่อปีจากสิ้นปีก่อน และปรับตัวลดลงจากร้อยละ 4.75 ต่อปี ของระยะเดียวกัน ปีก่อน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับ 8.00-8.25 ต่อปี ลดลงเทียบกับร้อยละ 8.25-8.75 ต่อปีจากสิ้นปีก่อน และร้อยละ 8.75-9.25 ต่อปีของระยะเดียวกันปีก่อน
ปริมาณการใช้เช็คในช่วงครึ่งแรกปี 2543 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 2,141,958 ฉบับ มูลค่า 141,974 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ จากการใช้เช็ค ของโรงงานน้ำตาลและความต้องการเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ทางด้านเช็คคืนมีปริมาณ 40,913 ฉบับ มูลค่า 2,321 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 และร้อยละ 24.2 ตามลำดับ สัดส่วน ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 และร้อยละ1.6 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.2 ช่วงเดียวกันปีก่อน
แนวโน้มในครึ่งหลังปี 2543
สำหรับในครึ่งหลังปี 2543 คาดว่าเศรษฐกิจภาคเหนือยังมีแนวโน้มขยายตัว การผลิตภาคเกษตร ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญ คาดว่าจะขยายตัวในเกณฑ์ดี จากพืชผลสำคัญ เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพด และลำไย ที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมหลักขยายตัวได้ดี ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเซรามิก ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทำให้ อุตสาหกรรมมีการลงทุนขยายกำลังการผลิต ภาคบริการ ยังขยายตัวโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เช่น นักท่องเที่ยวในกลุ่มผู้สูงอายุจากยุโรปและสหรัฐฯ และได้มีการจองที่พักล่วงหน้ามาแล้วในเกณฑ์ที่ดี
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจในครึ่งหลังปี 2543 จะฟื้นตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกได้มากน้อย เพียงใด คงจะขึ้นอยู่กับปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญใน 3 ส่วน คือ ในทางการเงินมีความจำเป็นต้องเน้นนโยบาย การเงินที่ผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายภาคเอกชนให้สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง ในส่วนที่สองคือ กลไกการทำงานทางด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ถึงแม้จะเริ่มมีสินเชื่อใหม่เข้าสู่ระบบมากขึ้น แต่สินเชื่อ ยังคงลดลงถ้ากลไกนี้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะจากความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบ สถาบันการเงินโดยการปรับโครงสร้างหนี้ ปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจก็จะเริ่มผ่อนคลายได้มากขึ้น ในส่วนที่สาม คือ ความต่อเนื่องของนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังมีความจำเป็นอยู่ ปัจจัยทั้ง 3 ส่วนนี้จะช่วย ทำให้เศรษฐกิจภาคเหนือมีพื้นฐานที่สมบูรณ์ขึ้นและสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นในครึ่งหลังปี 2543
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/27 กรกฎาคม 2543--
-ยก-
ทางด้าน การส่งออก ช่วงครึ่งแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) โดยเพิ่มขึ้น ทั้งการผ่านท่าอากาศยานและการค้าชายแดน ส่วนการนำเข้าก็เพิ่มในเกณฑ์สูงร้อยละ 39.2 จากการนำเข้า เครื่องจักรของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน เพื่อมาขยายกำลังผลิต ทางด้าน ฐานะ การคลังรัฐบาล ในภาคเหนือ การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในภาคเหนือลดลงร้อยละ 12.1 โดยลดลงในรายได้ ที่จัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยเป็นสำคัญ ทางด้านรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำประเภท เงินเดือน สำหรับการใช้จ่ายตามโครงการมิยาซาวาเบิกจ่ายแล้ว 7,773.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.1 ของวงเงิน อนุมัติ ภาคการเงิน สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือในภาพรวมยังลดลง อย่างไรก็ดี เริ่มมีการ ให้สินเชื่อใหม่ในบางประเภท เช่น สินเชื่อเพื่อการส่งออก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อแรงงานต่างประเทศ สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือครึ่งแรกปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าเนื้อที่เพาะปลูกพืชหลายชนิดจะลดลง แต่จากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำฝนมากและกระจายตัวดี รวมทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนพอเพียง ทำให้ภาพรวมผลผลิตเพิ่มขึ้น โดย ข้าวนาปรัง ผลผลิตฤดูการผลิต 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เป็น 1.7 ล้านเมตริกตัน อ้อยโรงงาน ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เป็น 12.6 ล้านเมตริกตัน มันสำปะหลัง ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0 เป็น 2.3 ล้านเมตริกตัน หอมหัวใหญ่ ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากทำให้ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ถั่วเขียวรุ่นแล้ง ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 กระเทียม เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น จากราคาปีก่อนจูงใจ และมีการเพาะปลูกกระเทียมหัวใหญ่สายพันธุ์จากจีนเพื่อสนองความต้องการของตลาด ทำให้ผลผลิตฤดูการผลิต 2542/43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ลิ้นจี่ ผลผลิตปี 2543 จากแหล่งผลิตสำคัญในจังหวัด เชียงใหม่และเชียงรายคาดว่าเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม มีพืชบางชนิดที่ผลผลิต ลดลง ได้แก่ ถั่วเหลืองรุ่นแล้ง ลดลงร้อยละ 0.1 และ ถั่วลิสงรุ่นแล้ง ลดลงร้อยละ 7.9 จากการลดเนื้อที่ปลูก เพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ ส่วน ใบยาเวอร์จิเนีย และ ใบยาเบอร์เลย์ ผลผลิตลดลงจากการลดโควตาการผลิต เพราะสต็อกยาสูบอยู่ในระดับสูง ทำให้ปริมาณการรับซื้อลดลงร้อยละ 27.3 และ 27.9 ตามลำดับ
แม้ว่าภาพรวมผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือครึ่งแรกปี 2543 จะเพิ่มขึ้น แต่จากภาวะราคาสินค้า เกษตรที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตรกรในพืชสำคัญดังกล่าวลดลง ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
นอกภาคเกษตร
ภาคอุตสาหกรรม
ภาคอุตสาหกรรมของภาคเหนือในครึ่งแรกปี 2543 ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน มีภาวะเร่งตัวมาก โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียว กันปีก่อนร้อยละ 44.7 ตามความต้องการ ของตลาดต่างประเทศ เช่น เอเชีย ยุโรปและ สหรัฐอเมริกา โรงงานส่วนใหญ่ใช้กำลังการ ผลิตเต็มที่เพื่อผลิตสินค้าให้ทันกับความ ต้องการและโรงงานหลายแห่งเริ่มนำเข้า เครื่องจักร เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ผลผลิตน้ำตาลขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เป็น 1,181,937.4 เมตริกตัน เทียบกับที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามปริมาณอ้อยที่แม้จะเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มขึ้น ในอัตราที่ต่ำกว่าปีก่อน สำหรับการผลิต เซรามิกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน ตามความต้องการเพื่อการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง ทำให้ผู้ประกอบการ สามารถแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น โรงงานเซรามิกที่ผลิตเพื่อส่งออกส่วนใหญ่ใช้กำลังการผลิตค่อนข้างเต็มที่ และบางโรงงานเริ่มมีแนวโน้มที่จะขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศยังคงชะลอตัวตามความต้องการภายในประเทศที่ยังไม่เร่งตัว โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น ลูกกรงแก้ว สำหรับการผลิตปูนซิเมนต์ยังคงหดตัว แต่อัตราการหดตัวลดลง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากเริ่มมีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นบ้าง การผลิตสังกะสีลดลงร้อยละ 3.7 เป็น 45,761.0 เมตริกตัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามความต้องการในประเทศ ที่ชะลอตัวตามการก่อสร้างในภาครัฐ
ภาคเหมืองแร่
ผลผลิตน้ำมันดิบ ในช่วงครึ่งแรก ปี 2543 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 2.3 เหลือ 4.2 ล้านบาร์เรล เนื่องจากการผลิตจากหลุมใหม่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ขณะที่การผลิต ก๊าซ ธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 10.6 เป็น 10.3 พันล้านลูกบาศก์ฟุต ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นทดแทนน้ำมันเตา ที่มีราคาสูงขึ้น ลิกไนต์ ลดลงร้อยละ 8.3 เหลือ 7.0 ล้านเมตริกตัน เนื่องจากผู้ใช้สำคัญคือ โรงไฟฟ้าลิกไนต์ที่อำเภอแม่เมาะมีการปรับปรุง เครื่องจักรช่วงต้นปี หินปูน ลดลงร้อยละ 27.6 เหลือ 2.0 ล้านเมตริกตัน ขณะที่สังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เป็น 107.1 พันเมตริกตัน
ภาคบริการ
ภาคบริการยังคงแสดงแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปัจจัยด้านการใช้จ่ายทางภาคเอกชนและการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในภาคเหนือตอนบน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วง มกราคม — เมษายน 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 เป็น 594,422 คน เทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.8 ปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เช่น การเปิดตลาดนักท่องเที่ยว กลุ่มผู้สูงอายุจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีผลดีต่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม เพราะมีระยะเวลาพำนักยาวและใช้บริการภายในโรงแรมเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในช่วงนอกฤดูการ นักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอโดยเฉพาะจากยุโรป ส่วนหนึ่งเพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัว ส่วนการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2543 ก็มีผลต่อการท่องเที่ยวบ้างแต่ไม่มากนัก สำหรับนักท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ และการ ประชุมที่ลดลง ส่วนจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็น 1,420,410 คน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.4 ปีก่อน แม้ว่ามีการปรับค่าโดยสาร สำหรับเส้นทางการบินในประเทศและต่างประเทศของการบินไทยขึ้น ประมาณร้อยละ 13.5 และประมาณร้อยละ 3-7 ในเดือนเมษายน 2543 โดยผลกระทบต่อผู้ใช้บริการมีเพียงเล็กน้อย เพราะราคาค่าโดยสารที่ปรับขึ้นยัง สามารถแข่งขันกับสายการบินต่างประเทศได้
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวพิจารณาจากเครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายภาคเอกชน หลายประเภท โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.3 เป็น 12,123 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 7.0 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เป็น 48,040 คัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 34.5 ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเร่งจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ การจูงใจผู้บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะเวลาผ่อน ชำระนาน รวมทั้งการเสนอบริการพิเศษหลังการขาย ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยในเดือนมกราคม-มีนาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บ ได้ในครึ่งแรกปี 2543 (คำนวณจากฐานภาษีร้อยละ 7) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.9 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543 มียอดคงค้าง 39,746.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.1 เทียบกับที่ลดลงถึงร้อยละ 14.7 ระยะเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม การบริโภค ในบางประเภทเริ่มชะลอในช่วงไตรมาสที่สองโดยเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
การลงทุน/ก่อสร้าง
การลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้น พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ภาคเหนือในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เป็น 199,292 ตารางเมตร เทียบกับ ที่ลดลงร้อยละ 14.1 ของระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นทุกประเภทโดยเฉพาะที่อยู่อาศัย และค่าธรรมเนียม ขายที่ดิน ในเดือนมกราคม — พฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เป็น 71.3 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.8 ในระยะเดียวกันปีก่อน ด้านกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนส่งสัญญาณดี โดยในครึ่งปีแรกมีผู้ได้รับ อนุมัติส่งเสริมการลงทุน 28 ราย เงินลงทุนรวม 5,726.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.4 และร้อยละ 51.5 ตามลำดับ เทียบกับจำนวนผู้ได้รับอนุมัติฯที่ลดลงร้อยละ 56.8 และเงินลงทุนของกิจการ ที่ได้รับอนุมัติฯที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกิจการที่ได้รับอนุมัติฯในครึ่งปีแรก มีนักลงทุน ชาวไทยขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น ประกอบด้วยหมวดอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตเสื้อผ้า การผลิต เลนส์ อุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูปผลิตผลเกษตร อุตสาหกรรมผลิตอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า และอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค เช่น การผลิต Software ในเดือนมกราคม —เมษายน 2543 มีโรงงานอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่ 264 โรงงานเงินลงทุน 1,247.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 และร้อยละ 58.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านสินเชื่อเพื่อก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ยังคงลดลงต่อเนื่อง แต่อัตราการลดลงปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นดือนเมษายน 2543 เท่ากับ 27,856 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเทียบกับการลดลงร้อยละ 8.3 ปีก่อน ในครึ่งแรกปี 2543 อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก เช่น อุตสาหกรมมอิเลคทรอนิกส์ เริ่มมีการขยายกำลังการผลิต และนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ แต่การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ยังมีน้อย เนื่องจาก ปัญหาอุปทานส่วนเกินที่มีมาก ในส่วนของโครงการที่ได้หยุดชะงักลงแล้วเริ่มมีความเคลื่อนไหวบ้าง โดยเฉพาะ หลังจากการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
การลงทุนภาครัฐในครึ่งแรกปี 2543 ในส่วนของงบประมาณปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เป็น 15,171.0 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.4 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลภาคเหนือในช่วงครึ่งแรกปี 2543 (มกราคม—มิถุนายน 2543) ในส่วนของ เงินในงบประมาณขาดดุล 48,624.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 46,933.5 ล้านบาท ระยะเดียวกัน ปีก่อน
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 19 แห่งในภาคเหนือลดลงร้อยละ 12.1 เหลือ 5,258.0 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 15.3 ระยะเดียวกันปีก่อน จากรายได้ที่จัด เก็บจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษี มูลค่าเพิ่มลดลงเป็นสำคัญ โดยภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 22.9 เหลือ 2,027.3 ล้านบาท ลดลงมากในส่วนที่เก็บ จากเงินได้ดอกเบี้ยถึงร้อยละ 44.4 จาก อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 17.9 เหลือ 1,458.5 ล้านบาท ขณะที่ภาษีเงินได้นิติ บุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เป็น 843.9 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งรัด จัดเก็บภาษี ประกอบกับบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่ เริ่มมีผลการประกอบการที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนทำให้มีการยื่นชำระภาษีเพิ่มขึ้น รายจ่ายรัฐบาลภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เป็น 53,882.1 ล้านบาท เทียบ กับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 ระยะเดียวกัน ปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจำ เป็นสำคัญ โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เป็น 34,499.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากใน หมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง และหมวดค่า สาธารณูปโภคร้อยละ 17.3 ร้อยละ 14.6 และร้อยละ 13.5 เป็น 1,094.5 ล้านบาท 5,740.0 ล้านบาท และ 496.9 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่รายจ่าย ลงทุนลดลงร้อยละ 3.0 เหลือ 19,382.7 ล้านบาท โดยรายจ่ายลงทุนจากงบประมาณปีก่อนๆลดลงร้อยละ 36.5 เหลือ 4,211.7 ล้านบาท เนื่องจากรัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ทำให้การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีลดลง ขณะที่ รายจ่ายลงทุน จากงบประมาณปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เป็น 15,171.0 ล้านบาท ตามการเร่งการใช้จ่าย งบประมาณ อย่างไรก็ตาม รายจ่ายจากงบประมาณของรัฐเมื่อรวมกับรายจ่ายตาม มาตรการเพิ่มการ ใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ที่เบิกจ่ายในช่วงครึ่งแรกปี 2543 จำนวน 980.4 ล้านบาทแล้ว ยอดรวมรายจ่ายลดลงร้อยละ 3.6 เหลือ 54,862.5 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 ระยะเดียวกันปีก่อน
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 8,531.7 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,773.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.1 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีการเบิกจ่ายสูงที่สุดได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และพะเยา อัตราการ เบิกจ่ายร้อยละ 96.9 ร้อยละ 96.5 และร้อยละ 95.9 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ช่วงครึ่งแรกปี 2543 มีมูลค่า 618.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 จากช่วง เดียวกันปีก่อน เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 15.2 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 23,292.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ และการส่งออกสินค้าผ่าน ชายแดน โดย การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 519.4 ล้านดอลล่าร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 19,567.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวตาม ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ดีขึ้น และความต้องการบริโภคสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น การส่งออก นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีมูลค่า 59.8 ล้านดอลล่าร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 2,259.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) จากการขยายตัว ของการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น และผู้ประกอบการได้เริ่มใช้ การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อติดต่อและโฆษณาสินค้า อย่างไรก็ตาม อัตราเพิ่มนี้ยังต่ำกว่า ร้อยละ 21.6 ช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากตลาดมีการแข่งขันด้านราคา ประกอบกับผลผลิตในประเทศผู้นำเข้า สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 3,725.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 จากช่วง เดียวกันปีก่อน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6 ในปีก่อน โดย การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 3,270.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าจะเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าร้อยละ 45.1 ในครึ่งแรกปี 2542 เนื่องจาก ในเดือนมีนาคม-เมษายน 2543 เกิดปัญหาด้านการส่งออกผ่านด่านแม่สอด จังหวัดตาก อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์สูง การส่งออกไปลาว มีมูลค่า 257.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการมีเพิ่มขึ้นประกอบกับค่าเงินกีบค่อนข้างมีเสถียรภาพ การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 197.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับ ที่ลดลงร้อยละ 40.9 ในปีก่อน เนื่องจากการส่งออกลำไยนอกฤดูกาล เมล็ดข้าวโพดในน้ำเกลือ และยางรถยนต์ เพิ่มขึ้น
การนำเข้า ช่วงครึ่งแรกปี 2543 มีมูลค่า 550.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 จากช่วง เดียวกันปีก่อน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 ในปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 20,758.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) โดย การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 529.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 ในปีก่อน (ในรูป เงินบาทมีมูลค่า 19,969.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน) ตามความต้องการวัตถุดิบ และเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ด้าน การนำเข้าผ่านด่านชายแดน มีมูลค่า 788.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบกับ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.4 ในปีก่อน โดยลดลงในทั้ง การนำเข้าจากพม่า ซึ่งมีมูลค่า 452.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการนำเข้าโค-กระบือ ไม้ซุง และอัญมณีลดลงมาก และ การนำเข้าจากจีน ซึ่งมีมูลค่า 75.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการนำเข้าแอ๊ปเปิล ลดลงเพราะมีสินค้าคุณภาพสูงจากสหรัฐอเมริกาและนิวซีแลนด์มาทดแทน ส่วน การนำเข้าจากลาว ยังเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่า 260.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากนำเข้าโค-กระบือ และ ไม้ซุงเพิ่มขึ้น
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคในครึ่งแรกปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ทั้งนี้เป็นผล จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มในอัตราร้อยละ 3.7 ขณะที่ดัชนีราคา สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงในอัตราร้อยละ 2.5
หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ตามการลดลงของราคา สินค้ากลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 4.6 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ระดับราคาลดลงร้อยละ 5.0 กลุ่มผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 9.1 และกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 7.6 ตามปริมาณผลผลิต ที่ออกสู่ตลาดมาก กลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงร้อยละ 9.0 และกลุ่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.9 ตามภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการ ขณะที่กลุ่มอาหารที่ซื้อบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากภาวะต้นทุนด้านการขนส่งที่สูงขึ้น
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 จากการเพิ่มขึ้นของราคา สินค้าหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารในอัตราร้อยละ 8.5 โดยเฉพาะราคาสินค้ากลุ่มยานพาหนะมีอัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 9.7 ตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นมาก ขณะที่หมวดอื่นๆ เพิ่มขึ้น เล็กน้อย เช่น หมวดเครื่องนุ่งห่ม ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หมวดเคหสถาน ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 หมวดการ ตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา ราคา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
ดัชนีราคาขายส่ง
ดัชนีราคาขายส่งของภาคเหนือในครึ่งแรกปี 2543 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนลดลงร้อยละ 2.5 เป็นผลจากการลดลงของราคาสินค้าในหมวดสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารร้อยละ 8.2 ขณะที่ ราคาหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7
หมวดสินค้าเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์อาหารลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.2 เป็นผลจากการลดลงของราคากลุ่มสินค้าเกษตรกรรมร้อยละ 17.5 กลุ่มเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 5.2 กลุ่มอาหาร สัตว์ลดลงร้อยละ 2.9 จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อภาคเกษตรกรรม ทำให้ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มขึ้น
หมวดสินค้าอุตสาหกรรมราคาเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 เป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมถึงร้อยละ 40.6 ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง สินค้ากลุ่มหนังสัตว์และผลิตภัณฑ์หนังราคาเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 เนื่องจากตลาด มีความต้องการเพิ่มขึ้นทำให้วัตถุดิบประเภทหนังดิบมีราคาสูงขึ้น ราคาสินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพียงร้อยละ 0.3 เนื่องจากราคาไม้สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ขณะที่สินค้าเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีมีราคาลดลงร้อยละ 8.6 เนื่องจากมีการแข่งขันกันลดราคาเพื่อระบายสินค้า โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี และสินค้ากลุ่มสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ราคาลดลงร้อยละ 2.1จากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น
การเงินการธนาคาร
เงินฝาก ณ สิ้นมิถุนายน 2543 ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้าง 267,138.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.2 ปีก่อน เนื่องจากในช่วงกลางไตรมาสสอง ผู้ฝาก มีรายได้จากการจำหน่ายพืชผลที่สำคัญทางการเกษตร เช่น ข้าวนาปรัง อ้อย และลิ้นจี่ เป็นต้น ประกอบกับ เงินฝากที่ประชาชนได้ถอนออกไปในช่วงสิ้นปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มีการเบิกถอนเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่า รวมทั้งเพื่อใช้ซื้อสินค้าคงทน เช่น รถยนต์ นอกจากนั้นยังมีการนำเงินฝากที่เคยใช้ค้ำประกันเงินกู้มาชำระหนี้ เงินฝากเพิ่มขึ้นที่ จังหวัดตาก ลำปาง เชียงใหม่และลำพูน
สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ในภาพรวมยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน โดย ณ สิ้นมิถุนายน 2543 มียอดคงค้าง 203,002.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 ชะลอลง เมื่อเทียบกับลดลงร้อยละ 11.9 ปีก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังการให้สินเชื่อในบางประเภท ธุรกิจ เช่น สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อเพื่อการค้าภายในประเทศ เป็นต้น ประกอบกับมีการชำระคืนหนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากความก้าวหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ อีกทั้งสินเชื่อบางส่วนโอนไปบริหารที่ส่วนกลาง อย่างไรก็ตาม สินเชื่อเริ่มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสอง เริ่มมีการให้สินเชื่อในบางประเภท ผลจาก การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการขยายตัวของบางธุรกิจ เช่น สินเชื่อส่งออก สินเชื่ออยู่อาศัย สินเชื่อแก่ แรงงานที่ไปต่างประเทศ สินเชื่อแก่ธุรกิจก่อสร้างโดยเฉพาะที่รับงานของภาครัฐ และสินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ทั้งนี้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิษณุโลก และอุทัยธานี แต่เพิ่มขึ้น ที่จังหวัดลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ในช่วงครึ่งแรกปี 2543 ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ตามสภาพคล่องของระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ยังอยู่ในระดับสูง ถึงแม้จะตึงตัวขึ้นบ้างก็ตาม โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 3.75-4.00 ต่อปีจากสิ้นปีก่อน และปรับตัวลดลงจากร้อยละ 4.75 ต่อปี ของระยะเดียวกัน ปีก่อน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับ 8.00-8.25 ต่อปี ลดลงเทียบกับร้อยละ 8.25-8.75 ต่อปีจากสิ้นปีก่อน และร้อยละ 8.75-9.25 ต่อปีของระยะเดียวกันปีก่อน
ปริมาณการใช้เช็คในช่วงครึ่งแรกปี 2543 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 2,141,958 ฉบับ มูลค่า 141,974 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 และร้อยละ 1.3 ตามลำดับ จากการใช้เช็ค ของโรงงานน้ำตาลและความต้องการเพื่อซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของรัฐบาล ทางด้านเช็คคืนมีปริมาณ 40,913 ฉบับ มูลค่า 2,321 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 และร้อยละ 24.2 ตามลำดับ สัดส่วน ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 และร้อยละ1.6 ตามลำดับ เทียบกับร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.2 ช่วงเดียวกันปีก่อน
แนวโน้มในครึ่งหลังปี 2543
สำหรับในครึ่งหลังปี 2543 คาดว่าเศรษฐกิจภาคเหนือยังมีแนวโน้มขยายตัว การผลิตภาคเกษตร ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญ คาดว่าจะขยายตัวในเกณฑ์ดี จากพืชผลสำคัญ เช่น ข้าวนาปี ข้าวโพด และลำไย ที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวย ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมหลักขยายตัวได้ดี ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเซรามิก ตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทำให้ อุตสาหกรรมมีการลงทุนขยายกำลังการผลิต ภาคบริการ ยังขยายตัวโดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เช่น นักท่องเที่ยวในกลุ่มผู้สูงอายุจากยุโรปและสหรัฐฯ และได้มีการจองที่พักล่วงหน้ามาแล้วในเกณฑ์ที่ดี
อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจในครึ่งหลังปี 2543 จะฟื้นตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกได้มากน้อย เพียงใด คงจะขึ้นอยู่กับปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญใน 3 ส่วน คือ ในทางการเงินมีความจำเป็นต้องเน้นนโยบาย การเงินที่ผ่อนคลาย เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายภาคเอกชนให้สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง ในส่วนที่สองคือ กลไกการทำงานทางด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ถึงแม้จะเริ่มมีสินเชื่อใหม่เข้าสู่ระบบมากขึ้น แต่สินเชื่อ ยังคงลดลงถ้ากลไกนี้สามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะจากความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในระบบ สถาบันการเงินโดยการปรับโครงสร้างหนี้ ปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจก็จะเริ่มผ่อนคลายได้มากขึ้น ในส่วนที่สาม คือ ความต่อเนื่องของนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังมีความจำเป็นอยู่ ปัจจัยทั้ง 3 ส่วนนี้จะช่วย ทำให้เศรษฐกิจภาคเหนือมีพื้นฐานที่สมบูรณ์ขึ้นและสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นในครึ่งหลังปี 2543
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ/27 กรกฎาคม 2543--
-ยก-