บทสรุปนักลงทุน
อุตสาหกรรมธูปเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีแนวโน้มดี แม้ว่าในระยะหลังมีคู่แข่งมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยความต้องการธูปขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการประกอบพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนาที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับธูปเป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไปแนวโน้มความต้องการใช้ธูปในอนาคตจึงน่าจะเพิ่มขึ้นได้ในอัตราการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ การลงทุนหรือการประกอบการด้านอุตสาหกรรมธูปใช้วงเงินลงทุนไม่มากนัก โดยขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมธูปในปัจจุบันที่มีขนาดเล็กที่สุดตามที่ปรากฏในข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นโรงงานที่ใช้เงินลงทุนขั้นต้นประมาณ 30,000 บาท ขณะที่แรงงานที่ใช้สามารถฝึกฝนฝีมือได้ไม่ยาก โดยจำนวนคนงานตามข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป ใช้วัตถุดิบในประเทศโดยเฉพาะวัตถุดิบในท้องถิ่นชนบทเป็นหลัก การจำหน่ายมุ่งเน้นจำหน่ายในประเทศแต่มีแนวโน้มว่าจะสามารถส่งออกได้มากขึ้นในอนาคต กรรมวิธีการผลิตไม่ยุ่งยากหรือไม่ได้ใช้ระดับเทคโลยีขั้นสูง ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมธูป คือ ในแถบชานเมืองหรือชนบทที่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนเนื่องจากจำเป็นต้องมีความระมัดระวังปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกรรมวิธีการผลิตธูป
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
เนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ การกราบไหว้บูชาหรือการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจำเป็นต้องใช้ธูปเป็นวัสดุสำคัญ ประกอบกับประเทศไทยมีวัด ศาลเจ้า กิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งการกราบไหว้บูชาพระประจำบ้าน ความต้องการใช้ธูปจึงขึ้นอยู่กับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมดังกล่าว ทั้งนี้ในปัจจุบันปริมาณความต้องการใช้ธูปโดยเฉลี่ยมีเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านดอก ต่อปี สำหรับแนวโน้มในอนาคตขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรที่พิ่มขึ้น รวมทั้งความเชื่อถือ ศรัทธาที่มีต่อการประกอบพิธีทางศาสนา ตลอดจนแนวโน้มของการสร้างวัดวาอารามที่เพิ่มขึ้นก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการกำหนดความต้องการใช้ธูปในอนาคต ขณะเดียวกันธูปเป็นสินค้าประเภทที่ใช้แล้วหมดไปทำให้ความต้องการธูปจะต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแนวโน้มที่จะส่งออกธูปไปยังประเทศในเอเชียที่มีวัฒนธรรมทางศาสนาใกล้เคียงกับไทย ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่คาดว่าตลาดธูปจะยังคงมีแนวโน้มสดใส
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมธูปตามข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมปี 2542 มีทั้งสิ้น 110 โรงงาน ประกอบด้วย โรงงานทำธูป รวม 34 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานที่ทำเฉพาะธูป 31 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 7 โรงงาน ภาคเหนือ 5 โรงงาน ภาคกลาง 10 โรงงาน และภาคใต้ 9 โรงงาน และโรงงานที่ทำธูปเป็นผลิตภัณฑ์หลักร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้กับธูป 3 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ 1 โรงงานภาคกลาง 2 โรงงาน
โรงงานทำผงธูป รวม 53 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานที่ทำเฉพาะผงธูป 48 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 6 โรงงาน ภาคเหนือ 34 โรงงาน ภาคใต้ 2 โรงงาน ภาคกลาง 5 โรงงาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 โรงงาน และโรงงานที่ทำผงธูปเป็นผลิตภัณฑ์หลักร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ยากันยุงบดสมุนไพร กะลามะพร้าว เป็นต้น 5 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 1 โรงงาน ภาคกลาง 3 โรงงานและภาคใต้ 1 โรงงาน
โรงงานทำก้านธูป รวม 13 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานที่ทำเฉพาะก้านธูป 3 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 1 โรงงาน ภาคเหนือ 2 โรงงาน และโรงงานที่ทำก้านธูปเป็นผลิตภัณฑ์หลักร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไม้จิ้มฟัน ไม้ตะเกียบ ไม้เสียบลูกชิ้น เป็นต้น 10 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ 5 โรงงาน ภาคกลาง 3 โรงงาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 โรงงาน
นอกจากนี้ยังมีโรงงานที่ทำกระถางธูป รวม 7 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร 6 โรงงานและภาคกลาง 1 โรงงาน
รายชื่อผู้ประกอบการธูปที่สำคัญ
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด อึ้งยงหลี 5,900,000
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยู.พี.เอช.อินเซนต์ 13,750,000
ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงธูปเสียงหลงเคซี 525,000
โรงธูป ว่านเซียงหัง 700,000
ศรีมงคล 680,000
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธูปหอมอรุณี 3,450,000
ชัยเจริญธูปทอง 80,000
ธูปมงคลไทย 130,000
ธูปหอมนพมาศ 2,835,000
ธูปหอมเอราวัณ (ตั้งย่งฮะ) 880,000
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
นางจริงจิตร ศิริชีวกุล 872,000
นายชรินทร์ อมรเวชยกุล 5,670,000
นายชาญวิทย์ เยี่ยงยงพันธุ์ 90,000
นายนิคม เพชรพิฆาฎ 205,000
นายฟอง วรรณมณี 110,000
นายวิสุทธิ์ ประเสริฐผล 115,000
นางอุ่นเรือน ศิริวาณิชย์ยล 80,000
บริษัท ธูปเทวา จำกัด 400,000
ราษฎรโอสถ-ธูปหอมสมเด็จ 270,000
บริษัท บุญวัฒนะสิน จำกัด 7,000,000
บริษัท ผงธูปเจริญชัยพาณิชย์ จำกัด 1,320,000
บริษัท อีลี่(ไทย) จำกัด 7,070,000
บริษัท ริต้า (โคราช) จำกัด 43,410,000
เม้งเฮียงเส็ง 9,000,000
อมรมาศ 5,200,000
อุตสาหกรรมธูปไทย 30,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายภายในประเทศประมาณร้อยละ 90 และส่งออกร้อยละ 10 การจำหน่ายมีทั้งที่จำหน่ายโดยตรง และผ่านผู้แทนจำหน่าย สำหรับการส่งออก เป็นการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาหรับด้วย
การผลิต
วัตถุดิบ/อุปกรณ์ที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตธูป ได้แก่
- ก้านไม้ไผ่ ใช้ทำก้านธูปขนาดต่างๆ โดยซื้อมาจากแหล่งจำหน่ายวัสดุเป็นมัดๆ มัดหนึ่งน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม
- โกบั๊ว หรือตัวเหนียว หรือที่ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า ผงยางบง ตัวนี้จะเป็นตัวช่วยทำให้ขี้เลื่อยติดกับก้านธูป - ขี้เลื่อยที่ร่อนแล้ว
- ผงขัดเฟอร์นิเจอร์ ที่เรียกว่า จันขาว
- ผงขัดเฟอร์นิเจอร์ผสมสี ที่เรียกว่าจันเหลือง จันเขียว หรือจันดำ
- สีชุบก้าน
- น้ำหอม
- น้ำ
- ยางรัดรูป
- พลาสติกและกล่องสำหรับบรรจุ
- เครื่องหมายการค้า
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
- กระบะผสมเนื้อธูป โดยใช้กระบะไม้ที่มีขนาด 1.20 เมตร คูณ 1.20 เมตร สูง 90-100เซนติเมตร
- ถังใส่น้ำ
- ลังใส่ธูป มีขนาดความกว้างประมาณตัวธูป ความยาวไม่จำกัด โดยจะทำเป็นลักษณะลังสี่เหลี่ยมไม่มีฝาลังเปิดด้านความยาวออก 1 ด้าน
- ไม้วัดก้านธูป
- ไม้กระดานสำหรับบดผสมขี้เลื่อย ขนาด 1.5 นิ้ว สูง 4.5 นิ้ว ยาวประมาณ 20 นิ้ว
- ตะแกรงร่อนขี้เลื่อย
- เชื่อมัดชุบก้านธูป
- ถังผสมสีชุบก้านธูป
- หัวแร้งสำหรับเชื่อมบรรจุถุง
3. ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้
- ก้านไม้ไผ่ จำนวน 20 กิโลกรัม
- ผงยางบง หรือโกบั๊ว 9 กิโลกรัม
- ขี้เลื่อยที่ร่อนแล้ว 15 กิโลกรัม
- ผงขัดเฟอร์นิเจอร์ ที่เรียกว่าจันขาว 10 กิโลกรัม
- จันเหลือง จันเขียว หรือจันดำ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ช้อนโต๊ะ
- ถุงพลาสติก 0.5 กิโลกรัม
- น้ำ 1 ถัง
แหล่งวัตถุดิบ ส่วนใหญ่มาจากท้องถิ่นในชนบทภายในประเทศเป็นหลัก มีการนำเข้าวัตถุดิบจากลาวและพม่าบ้าง
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนวัตถุดิบและแรงงานเป็นหลัก และส่วนมากจะใช้แรงงานที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ !60
- วัตถุดิบในประเทศ !90
- วัตถุดิบนำเข้า !10
!2. ค่าแรงงาน !30
!3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ !10
!รวม !100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
ราคาจำหน่าย
ราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยประมาณห่อละ 5 บาท และขายส่งประมาณห่อละ 4 บาท
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 การเตรียมไม้ก้านธูป โดยเทผงยางบงลงบนกระบะประมาณ 4-5 กิโลกรัม ก่อนจะนำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้สำหรับทำก้านธูปชุบน้ำตามขนาดของธูปที่จะทำ แล้วยกขึ้นสะบัดน้ำออก แล้วนำไปคลุกกับยางบงที่เตรียมไว้ในกระบะ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เก็บผงยางบงที่เหลือในกระบะแอบไว้ข้างหนึ่งของกระบะ
ขั้นที่ 2 การผสมผงธูป โดยใช้ขี้เลื่อยที่มีความชื้นพอหมาดๆ แล้วใช้ไม้กระดานบดให้ขี้เลื่อยไม่จับกันเป็นก้อน ผสมผงยางบงหรือโกบั๊ว 1 กิโลกรัม แล้วคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ถ้าแฉะเกินไป ให้เติมขี้เลื่อยและโกบั๊วตามอัตราส่วน 3 ต่อ 1
ขั้นที่ 3 การคลุกไม้ก้านธูปกับผงธูป โดยนำไม้ที่คลุกไว้ตามข้อ 1 ไปชุบน้ำอีกครั้ง โดยชุบให้เท่ากับครั้งแรก ยกขึ้นให้น้ำไหลซึมถึงความยาวของเนื้อธูป แล้วสะบัดน้ำออก นำไปผสมเนื้อธูปที่เตรียมไว้ ทำเช่นนี้3 ครั้ง และระหว่างที่ทำให้ผงธูปติดนั้น ต้องคอยกระแทกให้ผงธูปติดก้านธูปและไม่ให้ก้านธูปเหนียวติดกันเป็นก้อน และเมื่อทำครั้งที่ 3 แล้ว ต้องคลึงให้เนื้อธูปกลมดูสวยงาม เสร็จแล้วนำไปใส่ลังเก็บธูปที่เตรียมไว้
ขั้นที่ 4 การแต่งสีธูป เป็นการแต่งหน้าธูปให้สวยงามด้วยผงจันขาวผสมกับสีตามความต้องการซึ่งสีที่เลือกใช้มี 3 สี คือ สีเหลือง (ได้จากจันเหลือง) สีเขียว (ได้จากจันเขียว) และสีดำ (ได้จากจันดำ)โดยนำจันขาว 10 กิโลกรัม ผสมกับจันสีที่ต้องการ จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน และผสมผงโกบั๊วพอประมาณ คลุกให้เข้ากันโดยอย่าให้โกบั๊วจับเป็นก้อน ใช้ตะแกรงร่อนให้หมด จึงจะให้แต่งหน้าได้ นำธูปจากขั้นตอนที่แล้วไปชุบน้ำเปล่าอีกครั้ง แล้วผึ่งไว้พอให้ธูปหมาด ก่อนจะนำไปแต่งหน้ากับส่วนผสมของผงจันขาว ผงจันสี และผงโกบั๊วที่เตรียมไว้แล้ว คลึงให้กลม การแต่งหน้าธูปจะผสมผงแต่งหน้าจนกว่าเนื้อธูปจะไม่มีความชื้น เสร็จแล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง
ขั้นที่ 5 การตากธูป อาจตากเพียงแดดเดียวก็เพียงพอหากแดดดี อนึ่ง วิธีการตากจะต้องหมุนก้านธูปทั้งกำไปทางเดียวกัน จะมีลักษณะเหมือนดอกเห็ด ซึ่งจะเป็นวิธีการตากให้ธูปแห้งอย่างได้ผลดีที่สุด
ขั้นที่ 6 การชุบก้านธูป จะใช้สีย้อมผ้า ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้อยู่ 2 สี ได้แก่ สีแดงและสีชมพู โดยการใช้สีผสมกับน้ำ 1 กระป๋อง ซึ่งน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำต้มสุก เพราะเมื่อผสมแล้วจะสามารถใช้ได้นาน การชุบก้านธูปต้องชุบให้ถึงปลายของตัวธูป เมื่อเสร็จแล้วจะนำไปตากอีกครั้ง วิธีการตากในคราวนี้ จะวางเรียงตามกันเป็นแถวๆ ใช้เวลาตากประมาณ 1 ชั่วโมง
ขั้นที่ 7 การบรรจุ โดยการเก็บธูปที่ย้อมก้านเรียบร้อยแล้วมาวางเรียงกันเป็นวงกลมโดยหันหัวธูปไปในทางเดียวกันเพื่อสะดวกในการหยิบจับมากำ ซึ่งหากเป็นธูปธรรมดา เบอร์ 2 อาจทำเป็น 2 แบบโดยแบบที่หนึ่ง มัดเล็ก กำประมาณ 50-60 ดอก และเมื่อวัดความยาวได้ 4 นิ้ว แบบที่ 2 เป็นมัดขนาดกลาง 1 กำ จำนวน 100 ดอก และเมื่อมัดแล้ววัดความยาวได้ 8 นิ้ว สำหรับธูปธรรมดาเบอร์ 3 มักจะมีขนาดเดียวมัดละ 12 ดอก และธูปธรรมดาเบอร์ 3 และธูปหอมเบอร์ 1 ชนิดเป็นแหนบเรียงดอก บรรจุห่อละ 9 ดอก
ขั้นที่ 8 การหีบห่อ ผู้ผลิตอาจฉีดน้ำหอมให้ธูปก่อนการห่อพลาสติก โดยน้ำหอมกลิ่นที่เป็นที่นิยมได้แก่ กลิ่นมะลิ และกลิ่นรวมมิตร และอาจติดเครื่องหมายการค้า ก่อนการใช้พลาสติกห่อให้ปลายก้านธูปเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่หากไม่มีเครื่องหมายการค้า หรือขายตามน้ำหนักหรือที่เรียกว่าธูปเปลือย ซึ่งจะไม่มีการบรรจุเป็นห่อ
เตรียมไม้ก้านธูป
|
V
ผสมผงธูป
|
V
คลุกไม้ก้านธูปกับผงธูป
|
V
แต่งสีธูป
|
V
ตากธูป
|
v
ชุบก้านธูป
|
V
บรรจุหีบห่อ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เป็นเครื่องจักรที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 0.5 แรงม้า จนกระทั่งถึงขนาดใหญ่ถึง285 แรงม้า โดยขนาดของเครื่องจักรขึ้นอยู่กับขนาดของอุตสาหกรรม
การลงทุนและการเงิน
อุตสาหกรรมธูปเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงินลงทุนมีขนาดตั้งแต่ 6,000 บาทจนถึงกว่า 40 ล้านบาท โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน
บุคลากร บริหารโดยเจ้าของกิจการเป็นหลัก มีการใช้แรงงานทั่วไป 4-50 คน
ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การลงทุนในอุตสาหกรรมธูป ทำเลที่เหมาะสมควรตั้งอยู่ในบริเวณหรือทำเลที่อยู่ห่างไกลจากชุมชน (ไม่เหมาะสมที่จะตั้งอยู่ในเมือง) เนื่องจากอุตสาหกรรมธูปจะมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก
ปัญหาอุปสรรค ในระยะหลังอุตสาหกรรมธูปมีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญจากการมีคู่แข่งมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศจีนที่มักจะมีการลดราคาลงมากเพื่อตัดราคากับไทย ขณะเดียวกันการพัฒนาด้านการผลิตของไทยยังค่อนข้างล่าช้าไปมาก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรที่สนใจจะเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะ รัฐควรส่งเสริมอย่างเป็นระบบและจริงจังมากขึ้น รวมทั้งควรมุ่งเน้นให้มีการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
อุตสาหกรรมธูปเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีแนวโน้มดี แม้ว่าในระยะหลังมีคู่แข่งมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยความต้องการธูปขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการประกอบพิธีกรรมหรือความเชื่อทางศาสนาที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับธูปเป็นสินค้าที่ใช้แล้วหมดไปแนวโน้มความต้องการใช้ธูปในอนาคตจึงน่าจะเพิ่มขึ้นได้ในอัตราการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ การลงทุนหรือการประกอบการด้านอุตสาหกรรมธูปใช้วงเงินลงทุนไม่มากนัก โดยขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมธูปในปัจจุบันที่มีขนาดเล็กที่สุดตามที่ปรากฏในข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นโรงงานที่ใช้เงินลงทุนขั้นต้นประมาณ 30,000 บาท ขณะที่แรงงานที่ใช้สามารถฝึกฝนฝีมือได้ไม่ยาก โดยจำนวนคนงานตามข้อมูลกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป ใช้วัตถุดิบในประเทศโดยเฉพาะวัตถุดิบในท้องถิ่นชนบทเป็นหลัก การจำหน่ายมุ่งเน้นจำหน่ายในประเทศแต่มีแนวโน้มว่าจะสามารถส่งออกได้มากขึ้นในอนาคต กรรมวิธีการผลิตไม่ยุ่งยากหรือไม่ได้ใช้ระดับเทคโลยีขั้นสูง ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมธูป คือ ในแถบชานเมืองหรือชนบทที่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนเนื่องจากจำเป็นต้องมีความระมัดระวังปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกรรมวิธีการผลิตธูป
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
เนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ การกราบไหว้บูชาหรือการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจำเป็นต้องใช้ธูปเป็นวัสดุสำคัญ ประกอบกับประเทศไทยมีวัด ศาลเจ้า กิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งการกราบไหว้บูชาพระประจำบ้าน ความต้องการใช้ธูปจึงขึ้นอยู่กับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมดังกล่าว ทั้งนี้ในปัจจุบันปริมาณความต้องการใช้ธูปโดยเฉลี่ยมีเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านดอก ต่อปี สำหรับแนวโน้มในอนาคตขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรที่พิ่มขึ้น รวมทั้งความเชื่อถือ ศรัทธาที่มีต่อการประกอบพิธีทางศาสนา ตลอดจนแนวโน้มของการสร้างวัดวาอารามที่เพิ่มขึ้นก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการกำหนดความต้องการใช้ธูปในอนาคต ขณะเดียวกันธูปเป็นสินค้าประเภทที่ใช้แล้วหมดไปทำให้ความต้องการธูปจะต้องมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งแนวโน้มที่จะส่งออกธูปไปยังประเทศในเอเชียที่มีวัฒนธรรมทางศาสนาใกล้เคียงกับไทย ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่คาดว่าตลาดธูปจะยังคงมีแนวโน้มสดใส
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมธูปตามข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมปี 2542 มีทั้งสิ้น 110 โรงงาน ประกอบด้วย โรงงานทำธูป รวม 34 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานที่ทำเฉพาะธูป 31 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 7 โรงงาน ภาคเหนือ 5 โรงงาน ภาคกลาง 10 โรงงาน และภาคใต้ 9 โรงงาน และโรงงานที่ทำธูปเป็นผลิตภัณฑ์หลักร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้กับธูป 3 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ 1 โรงงานภาคกลาง 2 โรงงาน
โรงงานทำผงธูป รวม 53 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานที่ทำเฉพาะผงธูป 48 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 6 โรงงาน ภาคเหนือ 34 โรงงาน ภาคใต้ 2 โรงงาน ภาคกลาง 5 โรงงาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 โรงงาน และโรงงานที่ทำผงธูปเป็นผลิตภัณฑ์หลักร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ยากันยุงบดสมุนไพร กะลามะพร้าว เป็นต้น 5 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 1 โรงงาน ภาคกลาง 3 โรงงานและภาคใต้ 1 โรงงาน
โรงงานทำก้านธูป รวม 13 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานที่ทำเฉพาะก้านธูป 3 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร 1 โรงงาน ภาคเหนือ 2 โรงงาน และโรงงานที่ทำก้านธูปเป็นผลิตภัณฑ์หลักร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไม้จิ้มฟัน ไม้ตะเกียบ ไม้เสียบลูกชิ้น เป็นต้น 10 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ 5 โรงงาน ภาคกลาง 3 โรงงาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 โรงงาน
นอกจากนี้ยังมีโรงงานที่ทำกระถางธูป รวม 7 โรงงาน มีทำเลที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร 6 โรงงานและภาคกลาง 1 โรงงาน
รายชื่อผู้ประกอบการธูปที่สำคัญ
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด อึ้งยงหลี 5,900,000
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยู.พี.เอช.อินเซนต์ 13,750,000
ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงธูปเสียงหลงเคซี 525,000
โรงธูป ว่านเซียงหัง 700,000
ศรีมงคล 680,000
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธูปหอมอรุณี 3,450,000
ชัยเจริญธูปทอง 80,000
ธูปมงคลไทย 130,000
ธูปหอมนพมาศ 2,835,000
ธูปหอมเอราวัณ (ตั้งย่งฮะ) 880,000
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
นางจริงจิตร ศิริชีวกุล 872,000
นายชรินทร์ อมรเวชยกุล 5,670,000
นายชาญวิทย์ เยี่ยงยงพันธุ์ 90,000
นายนิคม เพชรพิฆาฎ 205,000
นายฟอง วรรณมณี 110,000
นายวิสุทธิ์ ประเสริฐผล 115,000
นางอุ่นเรือน ศิริวาณิชย์ยล 80,000
บริษัท ธูปเทวา จำกัด 400,000
ราษฎรโอสถ-ธูปหอมสมเด็จ 270,000
บริษัท บุญวัฒนะสิน จำกัด 7,000,000
บริษัท ผงธูปเจริญชัยพาณิชย์ จำกัด 1,320,000
บริษัท อีลี่(ไทย) จำกัด 7,070,000
บริษัท ริต้า (โคราช) จำกัด 43,410,000
เม้งเฮียงเส็ง 9,000,000
อมรมาศ 5,200,000
อุตสาหกรรมธูปไทย 30,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายภายในประเทศประมาณร้อยละ 90 และส่งออกร้อยละ 10 การจำหน่ายมีทั้งที่จำหน่ายโดยตรง และผ่านผู้แทนจำหน่าย สำหรับการส่งออก เป็นการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาหรับด้วย
การผลิต
วัตถุดิบ/อุปกรณ์ที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
1. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตธูป ได้แก่
- ก้านไม้ไผ่ ใช้ทำก้านธูปขนาดต่างๆ โดยซื้อมาจากแหล่งจำหน่ายวัสดุเป็นมัดๆ มัดหนึ่งน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม
- โกบั๊ว หรือตัวเหนียว หรือที่ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า ผงยางบง ตัวนี้จะเป็นตัวช่วยทำให้ขี้เลื่อยติดกับก้านธูป - ขี้เลื่อยที่ร่อนแล้ว
- ผงขัดเฟอร์นิเจอร์ ที่เรียกว่า จันขาว
- ผงขัดเฟอร์นิเจอร์ผสมสี ที่เรียกว่าจันเหลือง จันเขียว หรือจันดำ
- สีชุบก้าน
- น้ำหอม
- น้ำ
- ยางรัดรูป
- พลาสติกและกล่องสำหรับบรรจุ
- เครื่องหมายการค้า
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
- กระบะผสมเนื้อธูป โดยใช้กระบะไม้ที่มีขนาด 1.20 เมตร คูณ 1.20 เมตร สูง 90-100เซนติเมตร
- ถังใส่น้ำ
- ลังใส่ธูป มีขนาดความกว้างประมาณตัวธูป ความยาวไม่จำกัด โดยจะทำเป็นลักษณะลังสี่เหลี่ยมไม่มีฝาลังเปิดด้านความยาวออก 1 ด้าน
- ไม้วัดก้านธูป
- ไม้กระดานสำหรับบดผสมขี้เลื่อย ขนาด 1.5 นิ้ว สูง 4.5 นิ้ว ยาวประมาณ 20 นิ้ว
- ตะแกรงร่อนขี้เลื่อย
- เชื่อมัดชุบก้านธูป
- ถังผสมสีชุบก้านธูป
- หัวแร้งสำหรับเชื่อมบรรจุถุง
3. ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้
- ก้านไม้ไผ่ จำนวน 20 กิโลกรัม
- ผงยางบง หรือโกบั๊ว 9 กิโลกรัม
- ขี้เลื่อยที่ร่อนแล้ว 15 กิโลกรัม
- ผงขัดเฟอร์นิเจอร์ ที่เรียกว่าจันขาว 10 กิโลกรัม
- จันเหลือง จันเขียว หรือจันดำ อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 ช้อนโต๊ะ
- ถุงพลาสติก 0.5 กิโลกรัม
- น้ำ 1 ถัง
แหล่งวัตถุดิบ ส่วนใหญ่มาจากท้องถิ่นในชนบทภายในประเทศเป็นหลัก มีการนำเข้าวัตถุดิบจากลาวและพม่าบ้าง
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนวัตถุดิบและแรงงานเป็นหลัก และส่วนมากจะใช้แรงงานที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ !60
- วัตถุดิบในประเทศ !90
- วัตถุดิบนำเข้า !10
!2. ค่าแรงงาน !30
!3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ !10
!รวม !100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
ราคาจำหน่าย
ราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยประมาณห่อละ 5 บาท และขายส่งประมาณห่อละ 4 บาท
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 การเตรียมไม้ก้านธูป โดยเทผงยางบงลงบนกระบะประมาณ 4-5 กิโลกรัม ก่อนจะนำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้สำหรับทำก้านธูปชุบน้ำตามขนาดของธูปที่จะทำ แล้วยกขึ้นสะบัดน้ำออก แล้วนำไปคลุกกับยางบงที่เตรียมไว้ในกระบะ เสร็จเรียบร้อยแล้ว เก็บผงยางบงที่เหลือในกระบะแอบไว้ข้างหนึ่งของกระบะ
ขั้นที่ 2 การผสมผงธูป โดยใช้ขี้เลื่อยที่มีความชื้นพอหมาดๆ แล้วใช้ไม้กระดานบดให้ขี้เลื่อยไม่จับกันเป็นก้อน ผสมผงยางบงหรือโกบั๊ว 1 กิโลกรัม แล้วคลุกเคล้าผสมให้เข้ากัน ถ้าแฉะเกินไป ให้เติมขี้เลื่อยและโกบั๊วตามอัตราส่วน 3 ต่อ 1
ขั้นที่ 3 การคลุกไม้ก้านธูปกับผงธูป โดยนำไม้ที่คลุกไว้ตามข้อ 1 ไปชุบน้ำอีกครั้ง โดยชุบให้เท่ากับครั้งแรก ยกขึ้นให้น้ำไหลซึมถึงความยาวของเนื้อธูป แล้วสะบัดน้ำออก นำไปผสมเนื้อธูปที่เตรียมไว้ ทำเช่นนี้3 ครั้ง และระหว่างที่ทำให้ผงธูปติดนั้น ต้องคอยกระแทกให้ผงธูปติดก้านธูปและไม่ให้ก้านธูปเหนียวติดกันเป็นก้อน และเมื่อทำครั้งที่ 3 แล้ว ต้องคลึงให้เนื้อธูปกลมดูสวยงาม เสร็จแล้วนำไปใส่ลังเก็บธูปที่เตรียมไว้
ขั้นที่ 4 การแต่งสีธูป เป็นการแต่งหน้าธูปให้สวยงามด้วยผงจันขาวผสมกับสีตามความต้องการซึ่งสีที่เลือกใช้มี 3 สี คือ สีเหลือง (ได้จากจันเหลือง) สีเขียว (ได้จากจันเขียว) และสีดำ (ได้จากจันดำ)โดยนำจันขาว 10 กิโลกรัม ผสมกับจันสีที่ต้องการ จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน และผสมผงโกบั๊วพอประมาณ คลุกให้เข้ากันโดยอย่าให้โกบั๊วจับเป็นก้อน ใช้ตะแกรงร่อนให้หมด จึงจะให้แต่งหน้าได้ นำธูปจากขั้นตอนที่แล้วไปชุบน้ำเปล่าอีกครั้ง แล้วผึ่งไว้พอให้ธูปหมาด ก่อนจะนำไปแต่งหน้ากับส่วนผสมของผงจันขาว ผงจันสี และผงโกบั๊วที่เตรียมไว้แล้ว คลึงให้กลม การแต่งหน้าธูปจะผสมผงแต่งหน้าจนกว่าเนื้อธูปจะไม่มีความชื้น เสร็จแล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง
ขั้นที่ 5 การตากธูป อาจตากเพียงแดดเดียวก็เพียงพอหากแดดดี อนึ่ง วิธีการตากจะต้องหมุนก้านธูปทั้งกำไปทางเดียวกัน จะมีลักษณะเหมือนดอกเห็ด ซึ่งจะเป็นวิธีการตากให้ธูปแห้งอย่างได้ผลดีที่สุด
ขั้นที่ 6 การชุบก้านธูป จะใช้สีย้อมผ้า ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้อยู่ 2 สี ได้แก่ สีแดงและสีชมพู โดยการใช้สีผสมกับน้ำ 1 กระป๋อง ซึ่งน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำต้มสุก เพราะเมื่อผสมแล้วจะสามารถใช้ได้นาน การชุบก้านธูปต้องชุบให้ถึงปลายของตัวธูป เมื่อเสร็จแล้วจะนำไปตากอีกครั้ง วิธีการตากในคราวนี้ จะวางเรียงตามกันเป็นแถวๆ ใช้เวลาตากประมาณ 1 ชั่วโมง
ขั้นที่ 7 การบรรจุ โดยการเก็บธูปที่ย้อมก้านเรียบร้อยแล้วมาวางเรียงกันเป็นวงกลมโดยหันหัวธูปไปในทางเดียวกันเพื่อสะดวกในการหยิบจับมากำ ซึ่งหากเป็นธูปธรรมดา เบอร์ 2 อาจทำเป็น 2 แบบโดยแบบที่หนึ่ง มัดเล็ก กำประมาณ 50-60 ดอก และเมื่อวัดความยาวได้ 4 นิ้ว แบบที่ 2 เป็นมัดขนาดกลาง 1 กำ จำนวน 100 ดอก และเมื่อมัดแล้ววัดความยาวได้ 8 นิ้ว สำหรับธูปธรรมดาเบอร์ 3 มักจะมีขนาดเดียวมัดละ 12 ดอก และธูปธรรมดาเบอร์ 3 และธูปหอมเบอร์ 1 ชนิดเป็นแหนบเรียงดอก บรรจุห่อละ 9 ดอก
ขั้นที่ 8 การหีบห่อ ผู้ผลิตอาจฉีดน้ำหอมให้ธูปก่อนการห่อพลาสติก โดยน้ำหอมกลิ่นที่เป็นที่นิยมได้แก่ กลิ่นมะลิ และกลิ่นรวมมิตร และอาจติดเครื่องหมายการค้า ก่อนการใช้พลาสติกห่อให้ปลายก้านธูปเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่หากไม่มีเครื่องหมายการค้า หรือขายตามน้ำหนักหรือที่เรียกว่าธูปเปลือย ซึ่งจะไม่มีการบรรจุเป็นห่อ
เตรียมไม้ก้านธูป
|
V
ผสมผงธูป
|
V
คลุกไม้ก้านธูปกับผงธูป
|
V
แต่งสีธูป
|
V
ตากธูป
|
v
ชุบก้านธูป
|
V
บรรจุหีบห่อ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เป็นเครื่องจักรที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 0.5 แรงม้า จนกระทั่งถึงขนาดใหญ่ถึง285 แรงม้า โดยขนาดของเครื่องจักรขึ้นอยู่กับขนาดของอุตสาหกรรม
การลงทุนและการเงิน
อุตสาหกรรมธูปเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงินลงทุนมีขนาดตั้งแต่ 6,000 บาทจนถึงกว่า 40 ล้านบาท โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน
บุคลากร บริหารโดยเจ้าของกิจการเป็นหลัก มีการใช้แรงงานทั่วไป 4-50 คน
ทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม การลงทุนในอุตสาหกรรมธูป ทำเลที่เหมาะสมควรตั้งอยู่ในบริเวณหรือทำเลที่อยู่ห่างไกลจากชุมชน (ไม่เหมาะสมที่จะตั้งอยู่ในเมือง) เนื่องจากอุตสาหกรรมธูปจะมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก
ปัญหาอุปสรรค ในระยะหลังอุตสาหกรรมธูปมีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญจากการมีคู่แข่งมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศจีนที่มักจะมีการลดราคาลงมากเพื่อตัดราคากับไทย ขณะเดียวกันการพัฒนาด้านการผลิตของไทยยังค่อนข้างล่าช้าไปมาก โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการขาดแคลนบุคลากรที่สนใจจะเข้าสู่อุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะ รัฐควรส่งเสริมอย่างเป็นระบบและจริงจังมากขึ้น รวมทั้งควรมุ่งเน้นให้มีการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--