บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๔ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดตั้งเขตปลอดอากร)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
๒. เรื่องที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๔ ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. เรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติอยู่ในระหว่าง
การพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน พ.ศ. ….
ซึ่ง นายอำนวย คลังผา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
พ.ศ. …. ซึ่ง นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๔. รับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุน
ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๔๓
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นผู้ตอบชี้แจง หลังจากจบการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ....
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยเป็นการ
พิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๔
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๔ มีสมาชิกฯ อภิปราย
โดยรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และ
มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายชัยยุทธ สุทธิธนากร
๓. นางสาวพรทิพย์ จาละ ๔. นายประสงค์ วินัยแพทย์
๕. นายสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ ๖. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์
๗. นายพิเชษฐ เชื้อเมืองพาน ๘. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๙. นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ ๑๐. นายศุภรักษ์ ควรหา
๑๑. นายวิจิตร สุพินิจ ๑๒. นายพันธ์ศักดิ์ วิโรจน์เวชภัณฑ์
๑๓. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ๑๔. นายสุพล ฟองงาม
๑๕. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ ๑๖. นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ
๑๗. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๑๘. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๑๙. นายลิขิต หมู่ดี ๒๐. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๒๑. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ๒๒. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
๒๓. นายเอกกมล คีรีวัฒน์ ๒๔. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๕. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๒๖. นายสรรเสริญ สมะลาภา
๒๗. นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ๒๘. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
๒๙. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๐. นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
๓๑. นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ ๓๒. นายสุลัยมาลย์ วงษ์พานิช
๓๓. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ๓๔. นายณรงค์ วงศ์สุมิตร
๓๕. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน
หลังจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป คือ ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)
ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และ
มีมติให้ใช้คณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า พ.ศ. .... เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙, ๑๐ และ ๑๑ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ
พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้แถลงหลักการและ
เหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุวิทย์ คุณกิตติ ๒. นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์
๓. นายพชร ยุติธรรมดำรง ๔. นายอัชพร จารุจินดา
๕. นายนภสินธุ์ มรกต ๖. นายแสวง ฤกษ์จรัล
๗. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. นายอนุชา นาคาศัย ๑๐. นายยงยศ อดิเรกสาร
๑๑. นายวาสิต พยัคฆบุตร ๑๒. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๓. พันตำรวจโท อดุลย์ บุญเสรฐ ๑๔. นายพิษณุ พลไวย์
๑๕. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๖. นายสุพล ยุติธาดา
๑๗. นายโสภณ เพชรสว่าง ๑๘. นายชาตรี พิริยะกิจไพบูลย์
๑๙. นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ ๒๐. นายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล
๒๑. นายนิพนธ์ บุญญามณี ๒๒. นายปัญญา จีนาคำ
๒๓. นายวิทยา แก้วภราดัย ๒๔. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๒๕. นายธนญ ตันติสุนทร ๒๖. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๗. นายถาวร เสนเนียม ๒๘. นายเชน เทือกสุบรรณ
๒๙. นายสง่า ธนสงวนวงศ์ ๓๐. นายเรืองนนท์ เรืองวุฒิ
๓๑. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ๓๒. นายวิรัตน์ จันทรพรกิจ
๓๓. นายประวิช รัตนเพียร ๓๔. นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
๓๕. นายสมศักดิ์ คุณเงิน
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๐)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้แถลงหลักการและ
เหตุผล โดยในระหว่างที่ประชุมลงมติในวาระที่ ๑ เพื่อรับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
จึงได้สั่งเลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้และร่างพระราชบัญญัติ
ตามระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑ ไปในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑
ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๔
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๒๐ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ....
*************************
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๔ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดตั้งเขตปลอดอากร)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ….
๒. เรื่องที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๔ ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติออกไปเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. เรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติอยู่ในระหว่าง
การพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน พ.ศ. ….
ซึ่ง นายอำนวย คลังผา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
พ.ศ. …. ซึ่ง นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๔. รับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุน
ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ประจำปี ๒๕๔๓
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เป็นผู้ตอบชี้แจง หลังจากจบการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ....
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑) โดยเป็นการ
พิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๔
(สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๔ มีสมาชิกฯ อภิปราย
โดยรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และ
มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายชัยยุทธ สุทธิธนากร
๓. นางสาวพรทิพย์ จาละ ๔. นายประสงค์ วินัยแพทย์
๕. นายสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ ๖. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์
๗. นายพิเชษฐ เชื้อเมืองพาน ๘. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์
๙. นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ ๑๐. นายศุภรักษ์ ควรหา
๑๑. นายวิจิตร สุพินิจ ๑๒. นายพันธ์ศักดิ์ วิโรจน์เวชภัณฑ์
๑๓. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ๑๔. นายสุพล ฟองงาม
๑๕. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ ๑๖. นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ
๑๗. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๑๘. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๑๙. นายลิขิต หมู่ดี ๒๐. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๒๑. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ๒๒. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
๒๓. นายเอกกมล คีรีวัฒน์ ๒๔. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๒๕. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๒๖. นายสรรเสริญ สมะลาภา
๒๗. นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ ๒๘. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
๒๙. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๐. นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
๓๑. นายนิมิตร นนทพันธาวาทย์ ๓๒. นายสุลัยมาลย์ วงษ์พานิช
๓๓. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร ๓๔. นายณรงค์ วงศ์สุมิตร
๓๕. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน
หลังจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับถัดไป คือ ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๒)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)
ได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และ
มีมติให้ใช้คณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า พ.ศ. .... เป็นผู้พิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙, ๑๐ และ ๑๑ ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ
พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๙)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้แถลงหลักการและ
เหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสุวิทย์ คุณกิตติ ๒. นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์
๓. นายพชร ยุติธรรมดำรง ๔. นายอัชพร จารุจินดา
๕. นายนภสินธุ์ มรกต ๖. นายแสวง ฤกษ์จรัล
๗. หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. นายอนุชา นาคาศัย ๑๐. นายยงยศ อดิเรกสาร
๑๑. นายวาสิต พยัคฆบุตร ๑๒. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
๑๓. พันตำรวจโท อดุลย์ บุญเสรฐ ๑๔. นายพิษณุ พลไวย์
๑๕. นายเจริญ จรรย์โกมล ๑๖. นายสุพล ยุติธาดา
๑๗. นายโสภณ เพชรสว่าง ๑๘. นายชาตรี พิริยะกิจไพบูลย์
๑๙. นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ ๒๐. นายตี๋ใหญ่ พูนศรีธนากูล
๒๑. นายนิพนธ์ บุญญามณี ๒๒. นายปัญญา จีนาคำ
๒๓. นายวิทยา แก้วภราดัย ๒๔. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๒๕. นายธนญ ตันติสุนทร ๒๖. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๗. นายถาวร เสนเนียม ๒๘. นายเชน เทือกสุบรรณ
๒๙. นายสง่า ธนสงวนวงศ์ ๓๐. นายเรืองนนท์ เรืองวุฒิ
๓๑. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ ๓๒. นายวิรัตน์ จันทรพรกิจ
๓๓. นายประวิช รัตนเพียร ๓๔. นายประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
๓๕. นายสมศักดิ์ คุณเงิน
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๐)
เมื่อรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้แถลงหลักการและ
เหตุผล โดยในระหว่างที่ประชุมลงมติในวาระที่ ๑ เพื่อรับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
จึงได้สั่งเลื่อนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้และร่างพระราชบัญญัติ
ตามระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑ ไปในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑
ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๔
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๒๐ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๓. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ....
*************************