ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 และไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 และการลดลงของหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.3 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 6.0) เนื่องจากปริมาณผลไม้ออกสู่ตลาดน้อยลงเพราะเป็นช่วงนอกฤดูกาล รองลงมาได้แก่ หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม (ร้อยละ 0.6) ตามปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่ลดลง สำหรับหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -1.2) เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงตามภาวะราคา น้ำมันในตลาดโลก
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขื้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 และ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิตไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 และทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองลดลงร้อยละ 1.3 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.2 สำหรับหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์ และป่าไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.0) จากการสูงขึ้นของราคาข้าวเปลือก มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาหมวดแร่โลหะและ แร่อื่นๆ ลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -2.1) เนื่องจากราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และคอนเดนเสทลดลงตามราคาตลาด ต่างประเทศ หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาลดลงมาก ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ -4.8) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก หมวดเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมี และเส้นใยสังเคราะห์ (ร้อยละ -1.3) จากการลดลงของราคาวัตถุดิบและเม็ดพลาสติกในตลาดโลก หมวดเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ -0.6) ตามความต้องการกระดาษที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขื้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 และ ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิตไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 และทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนโดยราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองลดลงร้อยละ 1.3 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.2 สำหรับหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตเกษตร ปศุสัตว์ และป่าไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.0) จากการสูงขึ้นของราคาข้าวเปลือก มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ส่วนหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ราคาหมวดแร่โลหะและ แร่อื่นๆ ลดลงมากที่สุด (ร้อยละ -2.1) เนื่องจากราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และคอนเดนเสทลดลงตามราคาตลาด ต่างประเทศ หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาลดลงมาก ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ -4.8) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก หมวดเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมี และเส้นใยสังเคราะห์ (ร้อยละ -1.3) จากการลดลงของราคาวัตถุดิบและเม็ดพลาสติกในตลาดโลก หมวดเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ -0.6) ตามความต้องการกระดาษที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-