ข่าวในประเทศ
1. ธปท.กำหนดเกณฑ์ปฏิบัติเกี่ยวกับภาระผูกพันของบริษัทการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการให้กู้ยืมเงินและการก่อภาระหนี้ผูกพันของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธปท.จึงให้ทบทวนหลักเกณฑ์การรับและจ่ายเงิน การให้กู้ยืม การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายทรัพย์สิน คือ ในการจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็คแก่ผู้มีธุรกรรม เว้นแต่มีสัญญาตกลงเป็นอย่างอื่น ส่วนการให้กู้ยืมเงินและก่อภาระผูกพัน กำหนดให้บริษัทฯ ต้องจัดทำนโยบายการให้กู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพัน กำหนดประเภท วงเงิน ความพร้อมการให้กู้ยืมเงิน การก่อภาระผูกพันและการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งให้บริษัทฯ กำหนดผู้รับผิดชอบการพิจารณาและการก่อภาระผูกพัน ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างน้อยจะต้องมีข้อกำหนดเรื่องความเสี่ยงในการชำระหนี้คืนตามกำหนดเวลาและหลักประกัน ให้กำหนดผู้มีอำนาจอนุมัติ ผู้รับผิดชอบหรือผู้ตรวจสอบความถูกต้องการปฏิบัติภายหลังพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งผู้รับผิดชอบในการรายงานข้อมูล สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ให้กำหนดหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการให้กู้ยืมเงิน ในส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ ให้กำหนดนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์การซื้อและขายหรือลงทุนฯ ในแนวทางเดียวกับการให้กู้ยืมเงิน.(ไทยรัฐ,วัฏจักร,ผู้จัดการรายวัน 6)
2. ปลัด ก.คลังกำหนดวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ ที่ปรึกษาด้านการแปรรูปและประเมินผลรัฐวิสาหกิจ เปิดเผยว่า ปลัด ก.คลังได้มอบหมายนโยบายในการทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจ 7 ประการ คือ (1) ให้รัฐวิสาหกิจและส่วนราชการในสังกัดทุกแห่งจัดทำแผนเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต (2) ให้รัฐวิสาหกิจซึ่งมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลกับ ก.คลัง เพื่อให้ระบบโดยรวมมีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารด้านการเงินการคลังของประเทศได้อย่างถูกต้อง (3) ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งกำหนดมาตรการซึ่งอาจเป็นแผนระยะสั้นหรือระยะยาว 10 ประการ เพื่อรวบรวมเป็นแผนเร่งด่วนของ ก.คลัง ในการวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป (4) มุ่งเน้นการประหยัดและรักษาวินัยทางการเงิน (5) ใช้ทรัพยากรบุคคลขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีขนาดเหมาะสมและนำโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดมาใช้ (6) ให้ทุกรัฐวิสาหกิจจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committe) และ (7) เร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเร็ว (วัฏจักร,ไทยรัฐ 6)
3. ธปท.จะมีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขาย ธ.ศรีนครภายในเดือน ต.ค.43 แหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ภายในเดือน ต.ค.43 จะมีความชัดเจนในเรื่องการลงนามในสัญญาขาย ธ.ศรีนคร ให้ ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (เอชเอสบีซี) ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เนื่องจากวันที่ 9 ต.ค. คณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะประชุมเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปในประเด็นที่คณะทำงานไม่สามารถตกลง และหาข้อยุติได้เกี่ยวกับการจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมทั้งภาษีการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ในอัตราร้อยละ 0.1 ซึ่งเอชเอสบีซีมองว่ามีจำนวนสูงเกินไป ขณะนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กำลังรอรายละเอียดจากกรมสรรพากรว่า ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เอชเอสบีซีจะต้องเสียภาษีประเภทใดให้รัฐบาล เป็นสัดส่วนเท่าใด (ไทยโพสต์ 6)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลางยุโรปประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ0.25 ในวันที่ 5 ต.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 43 ธ. กลางยุโรป ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลัก (Refinancing Rate) จากร้อยละ 4.50 เป็นร้อยละ 4.75 ดอกเบี้ยวงเงินให้กู้ยืมส่วนเพิ่ม(Marginal Lending Facility) จากร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 5.75 และดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Rate) จากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.75 นาย Wim Duisenberg ประธาน ธ. กลางยุโรป กล่าวว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ เพื่อตรึงแรงกดดันด้านราคาสินค้า จากการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นและค่าเงินยูโรอ่อนลง.(รอยเตอร์ 5)
2. จำนวนคนว่างงานโดยรวมของเยอรมนีลดลงร้อยละ 18,000 คน ในเดือน ก.ย.43 รายงานจาก Nuremberg เมื่อวันที่ 5 ต.ค.43 สำนักงานแรงงานแห่งชาติของเยอรมนี รายงานว่า เดือน ก.ย.43 คนว่างงานโดยรวม ที่ปรับฤดูกาล ลดลง 18,000 คน อยู่ที่จำนวน 3.845 ล.คน จากเดือน ส.ค.43 ที่มีจำนวน 3.863 ล.คน ลดลงใกล้เคียงกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จาการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าโดยเฉลี่ยจะลดลง 17,600 คน สำหรับอัตราการว่างงานปรับฤดูกาล ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 9.4 จากระดับร้อยละ 9.5 และร้อยละ 10.5 ในเดือน ส.ค. 43 และ ก.ย.42 ตามลำดับ ทั้งนี้ การลดลงของจำนวนคนว่างงานเป็นผลมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ คือ การใช้มาตรการส่งเสริมการสร้างงานใหม่ของรัฐบาล การพ้นระยะการหยุดพักผ่อนหน้าร้อนของผู้ทำงาน และการพัฒนาด้านสถิติประชากรของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์แรงงานที่ดีขึ้นนี้ ส่วนใหญ่เป็นของเยอรมนีตะวันตก โดยในเดือน ก.ย.43 คนว่างงานปรับฤดูกาลของเยอรมนีตะวันตกอยู่ที่จำนวน 2.481 ล.คน ลดลง 18,000 คน จากเดือน ส.ค.43 ที่มีจำนวน 2.499 ล.คน ขณะที่คนว่างงานของเยอรมนีตะวันออก อยู่ที่จำนวน 1.365 ล.คน เพิ่มขึ้น 1,000 คน จากเดือน ส.ค.43 (รอยเตอร์5)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 43 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน เพิ่มขึ้น อยู่ที่จำนวน 299,000 คน จากตัวเลขที่ปรับแล้ว จำนวน 289,000 คนในสัปดาห์ก่อน แต่ต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะมีจำนวน 300,000 คน ขณะเดียวกัน ผู้ขอรับสวัสดิการเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ลดลงอยู่ที่จำนวน 306,000 คน จากจำนวน 306,000 คน ในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์ 5)
4. การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4.1 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 43 สำนักบริหารและประสานนโยบายของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 การใช้จ่ายโดยรวมของครัวเรือน ที่ยังไม่ปรับตัวเลข ลดลงร้อยละ 4.1 ตามราคาที่แท้จริง เมื่อเทียบต่อปี อยู่ที่เฉลี่ยครัวเรือนละ 308,461 เยน หลังจากลดลงร้อยละ 2.6 ในเดือน ก.ค. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะเดียวกัน ในเดือน ส.ค. 43 การใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีรายได้เป็นค่าจ้าง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของการใช้จ่ายโดยรวม ลดลงร้อยละ 2.9 หลังจากลดลงร้อยละ 3.6 ในเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์ 5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 ต.ค. 43 42.598 (42.561)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 5 ต.ค. 43 ซื้อ 42.4192 (42.3395) ขาย 42.7253 (42.6506)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,400) ขาย 5,450 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.71 (29.45)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.กำหนดเกณฑ์ปฏิบัติเกี่ยวกับภาระผูกพันของบริษัทการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการให้กู้ยืมเงินและการก่อภาระหนี้ผูกพันของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ธปท.จึงให้ทบทวนหลักเกณฑ์การรับและจ่ายเงิน การให้กู้ยืม การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายทรัพย์สิน คือ ในการจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็คแก่ผู้มีธุรกรรม เว้นแต่มีสัญญาตกลงเป็นอย่างอื่น ส่วนการให้กู้ยืมเงินและก่อภาระผูกพัน กำหนดให้บริษัทฯ ต้องจัดทำนโยบายการให้กู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพัน กำหนดประเภท วงเงิน ความพร้อมการให้กู้ยืมเงิน การก่อภาระผูกพันและการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งให้บริษัทฯ กำหนดผู้รับผิดชอบการพิจารณาและการก่อภาระผูกพัน ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างน้อยจะต้องมีข้อกำหนดเรื่องความเสี่ยงในการชำระหนี้คืนตามกำหนดเวลาและหลักประกัน ให้กำหนดผู้มีอำนาจอนุมัติ ผู้รับผิดชอบหรือผู้ตรวจสอบความถูกต้องการปฏิบัติภายหลังพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งผู้รับผิดชอบในการรายงานข้อมูล สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ให้กำหนดหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการให้กู้ยืมเงิน ในส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ ให้กำหนดนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์การซื้อและขายหรือลงทุนฯ ในแนวทางเดียวกับการให้กู้ยืมเงิน.(ไทยรัฐ,วัฏจักร,ผู้จัดการรายวัน 6)
2. ปลัด ก.คลังกำหนดวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ ที่ปรึกษาด้านการแปรรูปและประเมินผลรัฐวิสาหกิจ เปิดเผยว่า ปลัด ก.คลังได้มอบหมายนโยบายในการทำงานให้แก่รัฐวิสาหกิจ 7 ประการ คือ (1) ให้รัฐวิสาหกิจและส่วนราชการในสังกัดทุกแห่งจัดทำแผนเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต (2) ให้รัฐวิสาหกิจซึ่งมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลกับ ก.คลัง เพื่อให้ระบบโดยรวมมีความสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารด้านการเงินการคลังของประเทศได้อย่างถูกต้อง (3) ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งกำหนดมาตรการซึ่งอาจเป็นแผนระยะสั้นหรือระยะยาว 10 ประการ เพื่อรวบรวมเป็นแผนเร่งด่วนของ ก.คลัง ในการวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป (4) มุ่งเน้นการประหยัดและรักษาวินัยทางการเงิน (5) ใช้ทรัพยากรบุคคลขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีขนาดเหมาะสมและนำโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดมาใช้ (6) ให้ทุกรัฐวิสาหกิจจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committe) และ (7) เร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเร็ว (วัฏจักร,ไทยรัฐ 6)
3. ธปท.จะมีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขาย ธ.ศรีนครภายในเดือน ต.ค.43 แหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ภายในเดือน ต.ค.43 จะมีความชัดเจนในเรื่องการลงนามในสัญญาขาย ธ.ศรีนคร ให้ ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (เอชเอสบีซี) ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เนื่องจากวันที่ 9 ต.ค. คณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะประชุมเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปในประเด็นที่คณะทำงานไม่สามารถตกลง และหาข้อยุติได้เกี่ยวกับการจ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมทั้งภาษีการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ในอัตราร้อยละ 0.1 ซึ่งเอชเอสบีซีมองว่ามีจำนวนสูงเกินไป ขณะนี้กองทุนฟื้นฟูฯ กำลังรอรายละเอียดจากกรมสรรพากรว่า ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เอชเอสบีซีจะต้องเสียภาษีประเภทใดให้รัฐบาล เป็นสัดส่วนเท่าใด (ไทยโพสต์ 6)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลางยุโรปประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ0.25 ในวันที่ 5 ต.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 43 ธ. กลางยุโรป ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลัก (Refinancing Rate) จากร้อยละ 4.50 เป็นร้อยละ 4.75 ดอกเบี้ยวงเงินให้กู้ยืมส่วนเพิ่ม(Marginal Lending Facility) จากร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 5.75 และดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Rate) จากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.75 นาย Wim Duisenberg ประธาน ธ. กลางยุโรป กล่าวว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ เพื่อตรึงแรงกดดันด้านราคาสินค้า จากการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นและค่าเงินยูโรอ่อนลง.(รอยเตอร์ 5)
2. จำนวนคนว่างงานโดยรวมของเยอรมนีลดลงร้อยละ 18,000 คน ในเดือน ก.ย.43 รายงานจาก Nuremberg เมื่อวันที่ 5 ต.ค.43 สำนักงานแรงงานแห่งชาติของเยอรมนี รายงานว่า เดือน ก.ย.43 คนว่างงานโดยรวม ที่ปรับฤดูกาล ลดลง 18,000 คน อยู่ที่จำนวน 3.845 ล.คน จากเดือน ส.ค.43 ที่มีจำนวน 3.863 ล.คน ลดลงใกล้เคียงกับความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จาการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าโดยเฉลี่ยจะลดลง 17,600 คน สำหรับอัตราการว่างงานปรับฤดูกาล ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 9.4 จากระดับร้อยละ 9.5 และร้อยละ 10.5 ในเดือน ส.ค. 43 และ ก.ย.42 ตามลำดับ ทั้งนี้ การลดลงของจำนวนคนว่างงานเป็นผลมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ คือ การใช้มาตรการส่งเสริมการสร้างงานใหม่ของรัฐบาล การพ้นระยะการหยุดพักผ่อนหน้าร้อนของผู้ทำงาน และการพัฒนาด้านสถิติประชากรของเยอรมนี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์แรงงานที่ดีขึ้นนี้ ส่วนใหญ่เป็นของเยอรมนีตะวันตก โดยในเดือน ก.ย.43 คนว่างงานปรับฤดูกาลของเยอรมนีตะวันตกอยู่ที่จำนวน 2.481 ล.คน ลดลง 18,000 คน จากเดือน ส.ค.43 ที่มีจำนวน 2.499 ล.คน ขณะที่คนว่างงานของเยอรมนีตะวันออก อยู่ที่จำนวน 1.365 ล.คน เพิ่มขึ้น 1,000 คน จากเดือน ส.ค.43 (รอยเตอร์5)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 43 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน เพิ่มขึ้น อยู่ที่จำนวน 299,000 คน จากตัวเลขที่ปรับแล้ว จำนวน 289,000 คนในสัปดาห์ก่อน แต่ต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะมีจำนวน 300,000 คน ขณะเดียวกัน ผู้ขอรับสวัสดิการเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ลดลงอยู่ที่จำนวน 306,000 คน จากจำนวน 306,000 คน ในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์ 5)
4. การใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4.1 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 43 สำนักบริหารและประสานนโยบายของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 การใช้จ่ายโดยรวมของครัวเรือน ที่ยังไม่ปรับตัวเลข ลดลงร้อยละ 4.1 ตามราคาที่แท้จริง เมื่อเทียบต่อปี อยู่ที่เฉลี่ยครัวเรือนละ 308,461 เยน หลังจากลดลงร้อยละ 2.6 ในเดือน ก.ค. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะเดียวกัน ในเดือน ส.ค. 43 การใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีรายได้เป็นค่าจ้าง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของการใช้จ่ายโดยรวม ลดลงร้อยละ 2.9 หลังจากลดลงร้อยละ 3.6 ในเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์ 5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 ต.ค. 43 42.598 (42.561)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 5 ต.ค. 43 ซื้อ 42.4192 (42.3395) ขาย 42.7253 (42.6506)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,400) ขาย 5,450 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.71 (29.45)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-