ลู่ทางส่งข้าวไทยไปเม็กซิโกแจ่มใส -------------------------------------------------------------------------------- เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2542 ผู้แทนเม็กซิโกได้ยอมรับในที่ประชุมคณะกรรมการสุขอนามัยและ สุขอนามัยพืช (Committee on Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ภายใต้องค์การการค้าโลก ว่าข้าวไทยปลอดจากเชื้อราและด้วงอิฐ ซึ่งเชื่อว่าการยอมรับนี้จะนำไปสู่การยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าข้าว จากไทยที่มีมากว่า 6-7 ปี ต่อไปคงจำกันได้ว่านับตั้งแต่ปลายปี 2536 เป็นต้นมา เม็กซิโกได้ออกมาตรการ ห้ามนำเข้าข้าวจากไทยและประเทศอื่นๆ อีก 29 ประเทศ เช่น จีน เวียดนาม พม่า เกาหลี อินเดีย ตุรกี เป็นต้น โดยอ้างว่าข้าวสารมีเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคที่เรียกว่า Kernel smut และหากนำเข้าข้าวที่มีเชื้อรา นี้ก็จะเกิดอันตรายต่อการเกษตรของเม็กซิโก ไทยในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสารรายใหญ่ของโลกย่อมได้ รับผลกระทบต่อมาตรการนี้อย่างมากเพราะอาจทำให้ประเทศอื่นใช้มาตร-การเช่นเดียวกับเม็กซิโกห้ามนำ เข้าข้าวจากไทยและที่สำคัญทำให้ข้าวสารไทยเสียเครดิตในสายตาผู้นำเข้าไทยเป็นประเทศเดียวในรายชื่อ 29 ประเทศที่ต่อสู้กับเรื่องนี้มาตลอดโดยใช้กลยุทธ์ทุกรูปแบบอาทิเช่น การหารือกับเม็กซิโกสองฝ่าย ตั้งแต่ระดับหัวหน้าสำนักงานพาณิชย์ในกรุงเม็กซิโกซิตี้จนถึงระดับนายกรัฐมนตรีของไทยกับประธานาธิบดี ของเม็กซิโก การเชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญเกษตรเม็กซิโกมาดูงานการผลิตข้าวในไทย การติดต่อกับ เอฟเอโอ เพื่อขอคำยืนยันว่าข้าวสารไทยปลอดจากเชื้อราชนิดนี้และการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในคณะกรรมการ สุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้องค์การการค้าโลก ไม่เพียงแต่เท่านี้เม็กซิโกยังมีข้ออ้างตามมาด้วย เล่ห์เหลี่ยมแบบจังโก้ว่าข้าวสารไทยยังมีด้วงอิฐอีกด้วยทั้งๆ ที่ปัญหาเชื้อรายังไม่ได้รับการแก้ไขจากเม็กซิโก คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกร่วมกับคณะผู้แทนไทยที่ไปร่วมประชุมในคณะกรรมการ สุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้องค์การการค้าโลก จึงได้ตัดสินใจนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ SPS ครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2540 และนับตั้งแต่นั้นมาไทยก็ยกเรื่องนี้สู่ที่ประชุมทุกครั้งเพื่อสร้างแรง กดดันให้เม็กซิโกหันมาให้ความสนใจแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันไทยก็มีหลักฐานเพียงพอ ที่จะพิสูจน์ให้ชาวโลกรับทราบว่าการใช้มาตรการห้ามนำเข้าของเม็กซิโกนั้นไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ เพียงพอมารองรับ และนับเป็นการเลือกปฏิบัติด้วย โดยไทยได้แบ่งปัญหาที่เม็กซิโกห้ามนำเข้าข้าวสารจาก ไทยออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ คือ เรื่องเชื้อราและด้วงอิฐ ไทยได้ชี้แจงว่าปกติแล้วเชื้อราที่เม็กซิโกอ้างถึง เป็นเชื้อราที่ติดไปกับเมล็ดข้าวเปลือกและเมื่อข้าวได้ผ่านการสีแล้วเชื้อรานี้ก็จะสูญสลายไปด้วย และเหตุผล ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เม็กซิโกหมดข้อโต้แย้งก็คือในรายงานทางเกษตรนานาชาติระบุว่าเม็กซิโก ก็มีเชื้อรานี้เช่นกัน ซึ่งในแง่การห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรใดๆ นั้น ประเทศที่ออกมาตรการนี้จะต้องพิสูจน์ ให้ได้ว่าประเทศตนปลอดจากศัตรูพืชที่ใช้เป็นข้ออ้างในการห้ามนำเข้า ซึ่งเม็กซิโกไม่สามารถที่จะหาเหตุผล มาหักล้างได้ ไม่แต่เพียงเหตุผลเท่านี้ไทยยังหาหลักฐานชี้ให้เม็กซิโกเห็นด้วยว่าเม็กซิโกกำลังใช้มาตรการ เลือกปฏิบัติซึ่งภายใต้องค์การการค้าโลกแล้วไม่สามารถกระทำได้ เพราะเม็กซิโกไม่ห้ามนำเข้าข้าวสารจาก ประเทศที่มีเชื้อราดังกล่าวด้วยคือสหรัฐอเมริกาและบราซิลประเด็นที่สองเรื่องด้วงอิฐ เม็กซิโกอ้างว่า ข้าวสารไทยมีด้วงอิฐ ฉะนั้นจึงไม่อาจจะยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าได้ ไทยเริ่มแสดงหลักฐานรายงานทาง การเกษตรให้เม็กซิโกทราบว่าไทยเป็นประเทศที่ปลอดจากด้วงอิฐ และไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกว่าไทยมี ด้วงอิฐพร้อมทั้งระบุด้วยว่าการส่งออกข้าวสารของไทยนั้นมีระเบียบวิธีปฏิบัติที่แน่นอน คือปฏิบัติตาม คำแนะนำของ เอฟเอโอ ในการกำจัดศัตรูพืชรวมทั้งด้วงอิฐ จึงกล้ารับประกันได้ว่าข้าวไทยปลอดจาก แมลงศัตรูพืช ซึ่งเรื่องนี้เม็กซิโกได้นำไปพิจารณาด้วยดีล่าสุดจากการประชุมคณะกรรมการ SPS ที่เจนีวา เมื่อวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2542 เม็กซิโกก็ได้ประกาศต่อที่ประชุมว่าข้าวสารไทยไม่มีเชื้อราดังกล่าวข้างต้น และไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ได้ว่าไทยมีด้วงอิฐ นับเป็นข่าวที่น่ายินดีต่อหน่วยงานของไทยที่ได้ร่วมกันต่อสู้ เพื่อความถูกต้องมาเป็นระยะเวลา นานถึง 6-7 ปี และได้รับการยืนยันจากผู้แทนเม็กซิโกในครั้งนี้ว่า ข้าวไทยบริสุทธิ์จากโรคและแมลง แม้ว่าเม็กซิโกไม่ใช่ตลาดข้าวที่สำคัญมากของไทยในขณะนี้ แต่เมื่อดูจาก สถิติที่ผ่านมาอาจจะพัฒนาตลาดข้าวในเม็กซิโกให้เป็นตลาดที่มีศักยภาพได้กล่าวคือในปี 2535 ก่อนการ ห้ามนำเข้าข้าวจากไทย ไทยส่งออกข้าวไปเม็กซิโกมูลค่า 1.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2536 มูลค่า 0.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ฉะนั้นเพื่อต้อนรับการยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าข้าวจากไทย ผู้ส่งออกข้าวของไทย อาจจะต้องเริ่มมองหาลู่ทางในการส่งออกข้าวไทยไปเม็กซิโกโดยต้องคำนึงว่าขณะนี้มีคู่แข่งที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกาและอุรุกวัยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ไปเม็กซิโกผู้แทนเม็กซิโกแจ้งต่อที่ประชุมครั้งนี้ด้วยว่า เจ้าหน้าที่จากเม็กซิโกจะประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำเม็กซิโกซิตี้ เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับ มาตรการในการนำเข้าข้าวจากไทยต่อไป เจ้าหน้าที่ของไทยที่เกี่ยวข้องคงจะต้องติดตามความคืบหน้าใน เรื่องนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด หากเม็กซิโกยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าเมื่อใด ก็ต้องเผยแพร่ให้ ผู้ส่งออกข้าวไทยได้รับทราบโดยเร็ว โดยเฉพาะช่วงนี้ราคาข้าวไทยในตลาดโลกกำลังตกจึงเป็นโอกาสดี ที่จะขยายตลาด ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-