กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (6 กันยายน) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ (Millennium Summit) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ดังนี้
1. การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 53 เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ ได้มีโอกาสเสนอแนะข้อคิดเห็นและรับรองรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติ (Millennium Report) อันเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาปรับปรุงองค์การและการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการปรับปรุงสหประชาชาติให้สามารถตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า ปัจจุบันงานของ สหประชาชาติได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนทุก ๆ ด้านทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนั้น การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ ในปีนี้จะเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถให้ข้อคิดเห็นเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานสหประชาชาติให้ตอบสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยในการนี้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
3. การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
3.1 การกล่าวถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม โดย ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะกล่าวถ้อยแถลงในวันที่ 8 กันยายน 2543 เวลา 12.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ตรงกับเวลา 23.30 น. (เวลาในประเทศไทย) ของวันเดียวกัน
3.2 การสัมมนาโต๊ะกลม รวม 4 ครั้ง โดยมีหัวข้อหลักของการสัมมนา คือ บทบาทของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 และมีหัวข้อย่อยตามแต่ผู้เข้าร่วมการสัมมนาแต่ละโต๊ะกลมจะหยิบยกขึ้นหารือ ซึ่งอาจได้แก่หัวข้อย่อยที่เลขาธิการสหประชาชาติเคยเสนอไว้ 4 หัวข้อ ได้แก่ สันติภาพและความมั่นคง (รวมถึงการลดอาวุธ) การพัฒนา (รวมถึงการขจัดความยากจน) สิทธิมนุษยชน และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสหประชาชาติ ซึ่งคณะผู้แทนไทยจะเข้าร่วมการสัมมนาโต๊ะกลมที่ 1 ในช่วงบ่ายของวันที่ 6 กันยายน 2543 ซึ่งมีนายโก๊ะ จก ตง (Koh Chok Tong) นายกรัฐมนตรี สิงคโปร์ เป็นประธาน ขณะนี้ มีประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่ตอบรับเข้าร่วมการประชุมแล้ว 183 ประเทศ ประกอบด้วย ประมุขของรัฐ 114 ประเทศ หัวหน้ารัฐบาล 48 ประเทศ รองประธานาธิบดี 5 ประเทศ มกุฎราชกุมาร 1 ประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับสูงสุด 2 ประเทศ รองนายกรัฐมนตรี 1 ประเทศ รัฐมนตรี 8 ประเทศ และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวร 4 ประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (6 กันยายน) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ (Millennium Summit) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ดังนี้
1. การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 53 เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ ได้มีโอกาสเสนอแนะข้อคิดเห็นและรับรองรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติ (Millennium Report) อันเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาปรับปรุงองค์การและการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะในส่วนที่ เกี่ยวกับการปรับปรุงสหประชาชาติให้สามารถตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ในส่วนของประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่า ปัจจุบันงานของ สหประชาชาติได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนทุก ๆ ด้านทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนั้น การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ ในปีนี้จะเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะสามารถให้ข้อคิดเห็นเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานสหประชาชาติให้ตอบสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนามากยิ่งขึ้น โดยในการนี้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
3. การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
3.1 การกล่าวถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม โดย ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะกล่าวถ้อยแถลงในวันที่ 8 กันยายน 2543 เวลา 12.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ตรงกับเวลา 23.30 น. (เวลาในประเทศไทย) ของวันเดียวกัน
3.2 การสัมมนาโต๊ะกลม รวม 4 ครั้ง โดยมีหัวข้อหลักของการสัมมนา คือ บทบาทของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 และมีหัวข้อย่อยตามแต่ผู้เข้าร่วมการสัมมนาแต่ละโต๊ะกลมจะหยิบยกขึ้นหารือ ซึ่งอาจได้แก่หัวข้อย่อยที่เลขาธิการสหประชาชาติเคยเสนอไว้ 4 หัวข้อ ได้แก่ สันติภาพและความมั่นคง (รวมถึงการลดอาวุธ) การพัฒนา (รวมถึงการขจัดความยากจน) สิทธิมนุษยชน และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสหประชาชาติ ซึ่งคณะผู้แทนไทยจะเข้าร่วมการสัมมนาโต๊ะกลมที่ 1 ในช่วงบ่ายของวันที่ 6 กันยายน 2543 ซึ่งมีนายโก๊ะ จก ตง (Koh Chok Tong) นายกรัฐมนตรี สิงคโปร์ เป็นประธาน ขณะนี้ มีประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่ตอบรับเข้าร่วมการประชุมแล้ว 183 ประเทศ ประกอบด้วย ประมุขของรัฐ 114 ประเทศ หัวหน้ารัฐบาล 48 ประเทศ รองประธานาธิบดี 5 ประเทศ มกุฎราชกุมาร 1 ประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับสูงสุด 2 ประเทศ รองนายกรัฐมนตรี 1 ประเทศ รัฐมนตรี 8 ประเทศ และเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวร 4 ประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-