การแก้ไขปัญหาการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์ โดยคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการส่งออก ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการส่งออก ได้ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการและเอกชน เพื่อเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด โดยแบ่งกลุ่มปัญหาเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษีและการเงิน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านมาตรฐานสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านวัตถุดิบ แรงงาน และเทคโนโลยี และด้านการตลาด และคณะอนุกรรมการส่งเสริมการส่งออกอาหาร โดยมีภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการส่งเสริมการส่งออกและแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออก โดยเน้นสินค้าอาหารสำคัญ 4 รายการ ได้แก่ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ไก่ อาหารทะเลกระป๋อง และผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป มีผลงานที่สำคัญได้แก่
1. ประสานแก้ปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าว และพืชไร่จังหวัดพิษณุโลก ผลจากการประสานงานที่เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน คือปรับลดเพดานดอกเบี้ยจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 10 ปัจจุบันลดลงเหลือ ร้อยละ 9
2. ประสานแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางของส่วนภูมิภาค ตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ และมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่องปัญหาสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยสูง ต้นทุนการผลิตสูง ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลสูง ตลาดสินค้าส่งออกลดลง ปัญหาจากประเทศผู้นำเข้า ความไม่สะดวกในการขออนุญาตส่งออกน้ำตาลทรายขาว
3. ติดตามมาตรการแก้ปัญหาการส่งออก ที่ได้มีการดำเนินการแล้วที่สำคัญ ทั้งด้านปัญหาสภาพคล่องเพื่อการส่งออกและปัญหาการส่งออก เช่น
- ปรับลดเพดานดอกเบี้ยจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 9
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานของธนาคารจากร้อยละ 12.5 เหลือร้อยละ 7
- ยกเว้นภาษีสรรพสามิตวัตถุดิบที่นำไปผลิตเพื่อการส่งออกบางรายการ
- ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกตามมาตรา 36(1) และ (2) 11 อุตสาหกรรม
- เลื่อนเวลาการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตรถจักรยานยนต์ จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็น วันที่ 1 มกราคม 2543
- ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีการผ่อนเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์และการตัดจำ
หน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี รวมทั้งให้สถาบันการเงินเปลี่ยนการจัดชั้นหนี้เป็นหนี้ปกติได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลา 3 เดือน
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) เพิ่มการประกันความเสี่ยงในการส่งออก 2 ประการคือ การประกันการส่งออกภายใต้วิธีการชำระเงินแบบ L/C เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินตาม L/C และการประกันการส่งออกรายย่อย โดยได้รับประกันตั๋วส่งออกโดยไม่ต้องรอการตรวจสอบข้อมูลของผู้ซื้อในต่างประเทศ
- เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมสรรพากรปรับหลักเกณฑ์การจัดระดับผู้ประกอบการที่ดีใหม่ โดยผู้ได้รับการจัดระดับดีพิเศษและระดับดี จะได้รับการคืนภาษีภายใน 45 วันและ 60 วันตามลำดับ
- ธสน. ลดอัตราดอกเบี้ย Packing Credit ลงเหลือไม่เกินร้อยละ 9
- เจรจาชนะสหรัฐฯ ในกรณีพิพาทห้ามนำเข้ากุ้งทะเล
- ออสเตรเลียประกาศยุติมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากระจกใสจากไทย
- เร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างและการจัดตั้งเครดิตบูโร รวมทั้งสนับสนุนการแก้ปัญหา
สภาพคล่องของ SMEs ให้เป็นรูปธรรม
- ปรับลดค่าไฟฟ้า จากอัตรา 55.71 สตางค์ต่อหน่วย เป็นอัตรา 32.61 สตางค์ต่อหน่วย
- จัดตั้งศูนย์ฮอตไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านข้อมูลข่าวสารและแก้ปัญหาการส่งออกให้มีประสิทธิภาพ
- โครงการผลักดันการส่งออกโดยใช้มาตรการสนับสนุนทางการเงิน ภาษีและกิจกรรม การส่งเสริมการส่งออกไปตลาดใหม่ ได้แก่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ และตลาดประเทศจีน
- เจรจาการค้ากับจีนให้นำเข้าข้าว 200,000 ตัน ยางพารา 100,000 ตัน และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 40,000 ตัน
- สหรัฐฯ ยกเลิกการตอบโต้การอุดหนุนสินค้าสิ่งทอจากไทย
- โครงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนการส่งออกโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยเปิดให้บริการด้านประชาสัมพันธ์และบริการส่งออก และให้บริการในรูปแบบของห้างสรรพสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ณ เดือนกันยายน 2542 มีบริษัทเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 107 ราย มียอดขายประมาณ 10,600 เหรียญสหรัฐฯ แล้ว
- ฮ่องกง อนุญาตให้นำเข้าเนื้อสุกรแช่เย็นจากไทยโดยไม่มีการกักกัน
- ไต้หวันเปิดตลาดนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนจากไทยก่อนเข้าเป็นสมาชิก WTO ประกาศโควต้าปี 2542 จำนวน 4,400 ตัน เพิ่มจากปี 2541 จำนวน 400 คัน
- ปรับปรุงหลักเกณฑ์ ขั้นตอนการขออนุมัติจดทะเบียน เพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าอัญมณีส่งออกให้คล่องตัวขึ้น
- โครงการเงินกู้ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรสิ่งทอ โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้ขอกู้ในปี 2541-2542 วงเงิน 2,899.51 ล้านบาท ได้รับอนุมัติจาก ธสน.แล้ว เป็นเงิน 712.2 ล้านบาท จาก IFCT เป็นเงิน 7.2 ล้านบาท
- สร้างโรงงานต้นแบบรมควันลำไยให้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้การรมควันได้รับการควบคุมคุณภาพตามระบบ HACCP และ GMP จำนวน 5 โรงงานที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
- การสัมมนาการส่งออกอาหารไปญี่ปุ่นภายใต้ระบบ Pre-Certification เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ส่งออกอาหารให้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้สินค้าที่ส่งออกมีความสะดวก คล่องตัว ไม่ต้องรอการตรวจสอบคุณภาพที่ท่าเรือ
- ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์
- มาเลเซีย อนุญาตให้ขยายจำนวนเงินริงกิตที่อนุญาตให้ถือเข้าออกชายแดน ไทย-มาเลเซีย จากเดิม 1,000 ริงกิต เป็นไม่เกิน 10,000 ริงกิต
- ปรับเพิ่มอัตราชดเชยกระจกส่งออก ซึ่งได้ปรับปรุงอัตราชดเชยใหม่จากร้อยละ 0.80 เป็นร้อยละ 1.61 ของราคาส่งออก
- ขยายเวลายกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร BOI เห็นชอบขยายเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นระยะเวลา 5 ปี จากเดิม 2 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2543
- สาธารณรัฐเช็ก ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อไก่จากไทย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม - ธันวาคม 2542 โดยได้กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าในช่วงดังกล่าว หลังจากนั้นจะมีการทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมส่งออกซากสัตว์ (หนัง กระดูก เอ็นเนื้อไก่ เล็บมือนาง) ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2542 ซึ่งช่วยให้ขยายการส่งออกไปยังจีนและฮ่องกง
- บริษัทเรือจีนยกเว้นค่าธรรมเนียมออกเอกสาร B/L ,D/O และ จะลดค่าภาระหน้าท่า (THC) จาก2,600 บาท ลงเหลือ 1,770 บาท/ตู้ 20 ฟุต
ซึ่งจากการดำเนินการติดตามและเร่งรัดการส่งออกนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การส่งออกที่ลดลงในช่วงวิกฤตเริ่มกระเตื้องขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 หรือตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 เป็นต้นมา การส่งออกรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2542 มีมูลค่า 53,151.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.7 ซึ่งแนวโน้มการส่งออกของไทยจะดีขึ้น คาดว่าทั้งปีจะสามารถส่งออกได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 4
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
กระทรวงพาณิชย์ โดยคณะอนุกรรมการติดตามและเร่งรัดการส่งออก ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการส่งออก ได้ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคราชการและเอกชน เพื่อเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด โดยแบ่งกลุ่มปัญหาเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านภาษีและการเงิน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านมาตรฐานสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านวัตถุดิบ แรงงาน และเทคโนโลยี และด้านการตลาด และคณะอนุกรรมการส่งเสริมการส่งออกอาหาร โดยมีภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ เพื่อดำเนินการส่งเสริมการส่งออกและแก้ไขปัญหาอุปสรรคการส่งออก โดยเน้นสินค้าอาหารสำคัญ 4 รายการ ได้แก่ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ไก่ อาหารทะเลกระป๋อง และผักผลไม้กระป๋องและแปรรูป มีผลงานที่สำคัญได้แก่
1. ประสานแก้ปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการโรงสี ผู้ค้าข้าว และพืชไร่จังหวัดพิษณุโลก ผลจากการประสานงานที่เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน คือปรับลดเพดานดอกเบี้ยจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 10 ปัจจุบันลดลงเหลือ ร้อยละ 9
2. ประสานแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางของส่วนภูมิภาค ตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ และมติคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับเรื่องปัญหาสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยสูง ต้นทุนการผลิตสูง ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลสูง ตลาดสินค้าส่งออกลดลง ปัญหาจากประเทศผู้นำเข้า ความไม่สะดวกในการขออนุญาตส่งออกน้ำตาลทรายขาว
3. ติดตามมาตรการแก้ปัญหาการส่งออก ที่ได้มีการดำเนินการแล้วที่สำคัญ ทั้งด้านปัญหาสภาพคล่องเพื่อการส่งออกและปัญหาการส่งออก เช่น
- ปรับลดเพดานดอกเบี้ยจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 9
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาตรฐานของธนาคารจากร้อยละ 12.5 เหลือร้อยละ 7
- ยกเว้นภาษีสรรพสามิตวัตถุดิบที่นำไปผลิตเพื่อการส่งออกบางรายการ
- ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกตามมาตรา 36(1) และ (2) 11 อุตสาหกรรม
- เลื่อนเวลาการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตรถจักรยานยนต์ จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็น วันที่ 1 มกราคม 2543
- ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีการผ่อนเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์และการตัดจำ
หน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี รวมทั้งให้สถาบันการเงินเปลี่ยนการจัดชั้นหนี้เป็นหนี้ปกติได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลา 3 เดือน
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) เพิ่มการประกันความเสี่ยงในการส่งออก 2 ประการคือ การประกันการส่งออกภายใต้วิธีการชำระเงินแบบ L/C เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินตาม L/C และการประกันการส่งออกรายย่อย โดยได้รับประกันตั๋วส่งออกโดยไม่ต้องรอการตรวจสอบข้อมูลของผู้ซื้อในต่างประเทศ
- เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมสรรพากรปรับหลักเกณฑ์การจัดระดับผู้ประกอบการที่ดีใหม่ โดยผู้ได้รับการจัดระดับดีพิเศษและระดับดี จะได้รับการคืนภาษีภายใน 45 วันและ 60 วันตามลำดับ
- ธสน. ลดอัตราดอกเบี้ย Packing Credit ลงเหลือไม่เกินร้อยละ 9
- เจรจาชนะสหรัฐฯ ในกรณีพิพาทห้ามนำเข้ากุ้งทะเล
- ออสเตรเลียประกาศยุติมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากระจกใสจากไทย
- เร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างและการจัดตั้งเครดิตบูโร รวมทั้งสนับสนุนการแก้ปัญหา
สภาพคล่องของ SMEs ให้เป็นรูปธรรม
- ปรับลดค่าไฟฟ้า จากอัตรา 55.71 สตางค์ต่อหน่วย เป็นอัตรา 32.61 สตางค์ต่อหน่วย
- จัดตั้งศูนย์ฮอตไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านข้อมูลข่าวสารและแก้ปัญหาการส่งออกให้มีประสิทธิภาพ
- โครงการผลักดันการส่งออกโดยใช้มาตรการสนับสนุนทางการเงิน ภาษีและกิจกรรม การส่งเสริมการส่งออกไปตลาดใหม่ ได้แก่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียใต้ และตลาดประเทศจีน
- เจรจาการค้ากับจีนให้นำเข้าข้าว 200,000 ตัน ยางพารา 100,000 ตัน และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 40,000 ตัน
- สหรัฐฯ ยกเลิกการตอบโต้การอุดหนุนสินค้าสิ่งทอจากไทย
- โครงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนการส่งออกโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยเปิดให้บริการด้านประชาสัมพันธ์และบริการส่งออก และให้บริการในรูปแบบของห้างสรรพสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ณ เดือนกันยายน 2542 มีบริษัทเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 107 ราย มียอดขายประมาณ 10,600 เหรียญสหรัฐฯ แล้ว
- ฮ่องกง อนุญาตให้นำเข้าเนื้อสุกรแช่เย็นจากไทยโดยไม่มีการกักกัน
- ไต้หวันเปิดตลาดนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนจากไทยก่อนเข้าเป็นสมาชิก WTO ประกาศโควต้าปี 2542 จำนวน 4,400 ตัน เพิ่มจากปี 2541 จำนวน 400 คัน
- ปรับปรุงหลักเกณฑ์ ขั้นตอนการขออนุมัติจดทะเบียน เพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าอัญมณีส่งออกให้คล่องตัวขึ้น
- โครงการเงินกู้ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรสิ่งทอ โดยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้ขอกู้ในปี 2541-2542 วงเงิน 2,899.51 ล้านบาท ได้รับอนุมัติจาก ธสน.แล้ว เป็นเงิน 712.2 ล้านบาท จาก IFCT เป็นเงิน 7.2 ล้านบาท
- สร้างโรงงานต้นแบบรมควันลำไยให้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้การรมควันได้รับการควบคุมคุณภาพตามระบบ HACCP และ GMP จำนวน 5 โรงงานที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
- การสัมมนาการส่งออกอาหารไปญี่ปุ่นภายใต้ระบบ Pre-Certification เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้ส่งออกอาหารให้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้สินค้าที่ส่งออกมีความสะดวก คล่องตัว ไม่ต้องรอการตรวจสอบคุณภาพที่ท่าเรือ
- ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์
- มาเลเซีย อนุญาตให้ขยายจำนวนเงินริงกิตที่อนุญาตให้ถือเข้าออกชายแดน ไทย-มาเลเซีย จากเดิม 1,000 ริงกิต เป็นไม่เกิน 10,000 ริงกิต
- ปรับเพิ่มอัตราชดเชยกระจกส่งออก ซึ่งได้ปรับปรุงอัตราชดเชยใหม่จากร้อยละ 0.80 เป็นร้อยละ 1.61 ของราคาส่งออก
- ขยายเวลายกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร BOI เห็นชอบขยายเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นระยะเวลา 5 ปี จากเดิม 2 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2543
- สาธารณรัฐเช็ก ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อไก่จากไทย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม - ธันวาคม 2542 โดยได้กำหนดเงื่อนไขการนำเข้าในช่วงดังกล่าว หลังจากนั้นจะมีการทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมส่งออกซากสัตว์ (หนัง กระดูก เอ็นเนื้อไก่ เล็บมือนาง) ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2542 ซึ่งช่วยให้ขยายการส่งออกไปยังจีนและฮ่องกง
- บริษัทเรือจีนยกเว้นค่าธรรมเนียมออกเอกสาร B/L ,D/O และ จะลดค่าภาระหน้าท่า (THC) จาก2,600 บาท ลงเหลือ 1,770 บาท/ตู้ 20 ฟุต
ซึ่งจากการดำเนินการติดตามและเร่งรัดการส่งออกนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การส่งออกที่ลดลงในช่วงวิกฤตเริ่มกระเตื้องขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 หรือตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 เป็นต้นมา การส่งออกรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2542 มีมูลค่า 53,151.22 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.7 ซึ่งแนวโน้มการส่งออกของไทยจะดีขึ้น คาดว่าทั้งปีจะสามารถส่งออกได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 4
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-