ในโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะได้เดินทางไปเยือนประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2544 พร้อมกันนี้ได้มีการลงนามในข้อตกลงทางการค้า (Trade Agreement) ระหว่าง ดร. อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับ H.E. Alec Erwin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ณ กรุงพริทอเรีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสอง ความตกลงฉบับนี้สะท้อนให้เห็นถึงหลักปฏิบัติตามพันธกรณีขององค์การการค้าโลก โดยยึดหลักการให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation Treatment) แก่ประเทศคู่สัญญาในกรณีของภาษีอากรและภาษีศุลกากรที่เก็บจากการนำเข้าและ การส่งออก ระเบียบและพิธีการด้านศุลกากร รวมทั้งการออกใบอนุญาตนำเข้าส่งออกต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน ได้เปิดช่องให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องขยายพันธกรณีการให้การปฏิบัติเยี่ยงชนชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่งในกรณีที่เป็นข้อยกเว้น (Exemptions) และมาตรการป้องกัน (Safeguard Measures)
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีข้อตกลงทางการค้า (Trade Agreement) กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว 40 ประเทศ ประเทศแอฟริกาใต้เป็นประทศที่ 41 ทั้งนี้ประเทศไทยมีข้อตกลงทางการค้ากับประเทศในทวีปแอฟริกาแล้ว 5 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ เคนยา เซเนกัล ตูนีเซีย และโมร็อกโก ซึ่งแอฟริกาใต้นับเป็นประเทศที่ 6
ในโอกาสเดียวกันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การค้าและอุตสาหกรรมแอฟริกาใต้ได้ร่วมหารือในการส่งเสริมและขยายการค้า สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ไทยและแอฟริกาใต้จะจัดส่งทีมวิจัย (Research team) ของตนเองซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialist) ประมาณ 5-10 คน เพื่อศึกษาลู่ทางการค้าและ การลงทุน และ นำผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งกระจายชนิดสินค้าที่ทำการค้ากันอยู่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมควรทำการค้าในลักษณะการส่งเสริมซึ่งกันและกันมากกว่าการแข่งขัน
2. ไทยและแอฟริกาใต้สามารถทำการค้าแบบพึ่งพากันในลักษณะของประตูการค้า (Gateway) โดยไทยใช้แอฟริกาใต้เป็นฐานในการขยายการค้าไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา และสำหรับแอฟริกาใต้ใช้ไทยเป็นฐานในการขยายการค้าไปยังประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
3. ส่วนเรื่อง WTO แอฟริกาใต้มีความเห็นว่าประเทศกำลังพัฒนาควรหาทางร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อต่อรองกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และขอความสนับสนุนจากไทยในเรื่องดังกล่าวด้วย
ข้อมูลการค้า
แอฟริกาใต้ เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับหนึ่งของไทยในทวีปแอฟริกา และเป็นอันดับที่ 30 ของ การค้ารวมทั้งหมดของไทย ปริมาณการค้าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา (2539-2543) มีมูลค่า 494.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 0.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด สำหรับในปี 2544 (ม.ค.-เม.ย.) การค้าระหว่างกันมีมูลค่า 188.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 9.5 แยกเป็นการส่งออกไปแอฟริกาใต้ 90.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.3 และการนำเข้าจากแอฟริกาใต้มีมูลค่า 97.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.6 และไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 6.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปแอฟริกาใต้ ได้แก่ ยานพาหนะ ข้าว เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องวีดิโอและอุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นต้น
สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากแอฟริกาใต้ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำแท่ง สินแร่โลหะอื่นๆ เยื่อกระดาษ เคมีภัณฑ์ หนังดิบและหนังฟอก เป็นต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีข้อตกลงทางการค้า (Trade Agreement) กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกแล้ว 40 ประเทศ ประเทศแอฟริกาใต้เป็นประทศที่ 41 ทั้งนี้ประเทศไทยมีข้อตกลงทางการค้ากับประเทศในทวีปแอฟริกาแล้ว 5 ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ เคนยา เซเนกัล ตูนีเซีย และโมร็อกโก ซึ่งแอฟริกาใต้นับเป็นประเทศที่ 6
ในโอกาสเดียวกันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การค้าและอุตสาหกรรมแอฟริกาใต้ได้ร่วมหารือในการส่งเสริมและขยายการค้า สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. ไทยและแอฟริกาใต้จะจัดส่งทีมวิจัย (Research team) ของตนเองซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Specialist) ประมาณ 5-10 คน เพื่อศึกษาลู่ทางการค้าและ การลงทุน และ นำผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งกระจายชนิดสินค้าที่ทำการค้ากันอยู่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมควรทำการค้าในลักษณะการส่งเสริมซึ่งกันและกันมากกว่าการแข่งขัน
2. ไทยและแอฟริกาใต้สามารถทำการค้าแบบพึ่งพากันในลักษณะของประตูการค้า (Gateway) โดยไทยใช้แอฟริกาใต้เป็นฐานในการขยายการค้าไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา และสำหรับแอฟริกาใต้ใช้ไทยเป็นฐานในการขยายการค้าไปยังประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
3. ส่วนเรื่อง WTO แอฟริกาใต้มีความเห็นว่าประเทศกำลังพัฒนาควรหาทางร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อต่อรองกับประเทศที่พัฒนาแล้ว และขอความสนับสนุนจากไทยในเรื่องดังกล่าวด้วย
ข้อมูลการค้า
แอฟริกาใต้ เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับหนึ่งของไทยในทวีปแอฟริกา และเป็นอันดับที่ 30 ของ การค้ารวมทั้งหมดของไทย ปริมาณการค้าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา (2539-2543) มีมูลค่า 494.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 0.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด สำหรับในปี 2544 (ม.ค.-เม.ย.) การค้าระหว่างกันมีมูลค่า 188.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2543 ร้อยละ 9.5 แยกเป็นการส่งออกไปแอฟริกาใต้ 90.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.3 และการนำเข้าจากแอฟริกาใต้มีมูลค่า 97.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 8.6 และไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 6.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปแอฟริกาใต้ ได้แก่ ยานพาหนะ ข้าว เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องวีดิโอและอุปกรณ์เครื่องเสียง เป็นต้น
สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากแอฟริกาใต้ ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำแท่ง สินแร่โลหะอื่นๆ เยื่อกระดาษ เคมีภัณฑ์ หนังดิบและหนังฟอก เป็นต้น
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-