เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนมิถุนายน 2543 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นในปริมาณที่ลดลง เมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปี
โดยเงินฝากเพิ่มขึ้น 2.5 พันล้านบาท ในเดือนมิถุนายน ขณะที่ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี เงินฝาก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 12.4 พันล้านบาท ทั้งนี้
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธนาคารพาณิชย์พยายามชะลอการขยายตัวของ เงินฝาก เพื่อลดฐานเงินฝากที่จะนำไปคำนวณเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ในช่วงกลางปี อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา year-on-year growth จะเห็นว่า ในเดือนมิถุนายน 2543 เงินฝากมีอัตราการขยายตัวที่ปรับตัวดีขึ้น
เมื่อเทียบกับในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ซึ่งการปรับตัวที่ดีขึ้นดังกล่าว มีสาเหตุมาจากการที่เงินฝากในเดือนมิถุนายน 2542 ลดลงถึง 46 พันล้าน
บาทในเดือนเดียว
2542 2543
1. (พันล้านบาท) มี.ค. มิ.ย. ก.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. p/
เงินฝาก 4,646.80 4,639.10 4,663.10 4,575.00 4,613.20 4,615.40 4,611.20 4,622.90 4,636.80 4,639.30
%D (yoy) 8.5 6 1.8 -0.5 0.7 -0.6 -0.8 -0.7 -1 0
D (mom) 38.2 2.2 -4.2 11.7 13.9 2.5
สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ | ในเดือนมิถุนายน 2543 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ลดลง 280 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.39 เมื่อเทียบกับ
เดือนพฤษภาคม โดยเป็นผลจากการลดลงของ สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) จำนวน 254.6 พันล้านบาท และ สินเชื่อกิจการวิเทศ
ธนกิจ (BIBF) จำนวน 25.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ลดลงเป็นจำนวนมากในเดือนมิถุนายน 2543 เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์มี
การตัดหนี้สูญรวมจำนวนประมาณ 240 พันล้านบาท (ข้อมูลจากการสอบถามในเบื้องต้น) อนึ่ง เมื่อไม่นับผลของการตัดบัญชีหนี้สูญ พบว่สินเชื่อรวมธนาคาร
พาณิชย์ในเดือนมิถุนายน 2543 ลดลง 40.0 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.77 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
สินเชื่อ รวมลดลง 208.8 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.89
2542 2543
1. (พันล้านบาท) มี.ค. มิ.ย. ก.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. p/
สินเชื่อรวม 5,474.6 5,361.9 5,376.0 5,248.3 5,216.8 5,230.3 5,187.3 5,192.9 5,193.1 4,913.1
%D (yoy)
ไม่นับผล
ของการตัด
หนี้สูญ 5,153
%D (yoy) -3.85
-ธนาคารแห่งประเทศไทย-
-สส-