บทสรุปนักลงทุน
ความต้องการเครื่องปรับอากาศยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนของไทยทำให้เครื่องปรับอากาศกลายเป็นสิ่งจำเป็น คาดว่าในปี 2542-2543 มูลค่าจำหน่ายในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และ 3 เป็น 4,690 และ 4,845 ล้านบาท เช่นเดียวกับการส่งออกซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3 และ 15 เป็น 27,500 และ 31,625 ล้านบาท จากการที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเน้นการส่งออกมากกว่าการทำตลาดในประเทศและมีการปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศ ส่วนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศของไทยประกอบด้วยผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น อเมริกาและเกาหลี ที่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเนื่องจากต้นทุนการผลิตในประเทศดังกล่าวสูงกว่าต้นทุนการผลิตของไทย อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยจำนวนมากจะเป็นขนาดกลางและย่อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบหรือผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตและประกอบตามคำสั่ง โดยผู้ผลิตและประกอบเครื่องปรับอากาศในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 72 ราย เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ประมาณ 15 ราย โดยช่องทางการจำหน่ายที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้ได้แก่ การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย (Dealer) ห้างสรรพสินค้า ดิสเคาสโตร์ ส่วนผู้ประกอบเครื่องปรับอากาศรายเล็กมักจะหาลูกค้าเอง
!วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบในประเทศ ได้แก่ โครงเหล็ก มอเตอร์และชิ้นส่วนมอเตอร์ ลวดทองแดง แผ่นฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความชื้น เป็นต้น โดยกรรมวิธีการประกอบจะต้องนำโครงเหล็กมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปพ่นสีและอบสี ก่อนที่จะนำไปขึ้นโครงแล้วติดแผ่นฉนวนกันความร้อน หลังจากนั้นใส่ฟินส์คอย และมอเตอร์ แล้วจึงใส่ถาดน้ำที่ทาฟินโค้ดและติดฉนวนกัน
ความชื้น หลังจากนั้นจึงใส่คานบน ฝาหน้า ฝาข้างและใส่ช่องลม ในการผลิตจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ ตู้อบสีและตู้พ่นสี
กรณีการลงทุนประกอบเครื่องปรับอากาศ 10,000 เครื่องต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ในการลงทุนสินทรัพย์ถาวรและเครื่องจักร ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในส่วนของค่าใช้จ่ายต่อปีส่วนใหญ่เป็นต้นทุนวัตถุดิบ รองลงมาเป็นต้นทุนแรงงาน ค่าเสื่อมเครื่องจักรและค่าโสหุ้ยการผลิตซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าไฟฟ้า นอกจากนั้นยังมีค่าดอกเบี้ยจ่ายในกรณีมีการกู้ยืมเพื่อใช้ในกิจการ
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ในช่วงปี 2538-2539 ก่อนที่ประเทศจะประสบกับปัญหาภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงิน ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศในประเทศและการส่งออกยังคงขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 2 และร้อยละ 28 คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 6,316 ล้านบาทและ 15,961 ล้านบาท ตามลำดับ การผลิตเน้นผลิตเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กเป็นหลักและรัฐบาลให้การส่งเสริมในอุตสาหกรรมอย่างต่อ
เนื่อง แต่ในช่วงปี 2540-2541 ความต้องการในประเทศปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศที่ลดลงส่งผลให้ความต้องการในประเทศปรับตัวลดลงเฉลี่ยร้อยละ 14 คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 5,105 ล้านบาท นอกจากนี้การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 72,000 บีทียูจากร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 15 ในปี 2540 ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น แต่การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยมูลค่าส่งออกเฉลี่ยในปี 2540-2541 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 26 คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 23,779 ล้านบาท จากการที่ผู้ประกอบการได้มีการปรับการผลิตโดยเน้นการประหยัดพลังงานและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนนโยบายของบริษัทแม่ที่ต้องการให้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น
ในปี 2542 ตลาดในประเทศได้รับผลกระทบจากการที่ฤดูฝนเริ่มเข้ามาเร็วกว่าปกติส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ถึงแม้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายในประเทศแต่ตลาดเครื่องปรับอากาศมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวไม่มากนักเนื่องจากผู้บริโภคยังขาดกำลังซื้อ ในขณะที่ยอดขายของอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมยังคงชะลอ
ตัว อย่างไรก็ตามจากการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เพียงเล็กน้อยร้อยละ 1.7 คิดเป็นมูลค่า 4,690 ล้านบาท และจากสาเหตุต่างๆ ข้างต้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ปรับแผนการจำหน่ายโดยการเพิ่มสัดส่วนการส่งออกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปริมาณส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542
เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 แต่มูลค่าส่งออกปรับลดลงร้อยละ 6.9 เป็น 16,098 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 27,500 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกหลักได้แก่ ญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งเนื่องจากบริษัทแม่ได้ช่วยหาตลาดและภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวดีขึ้นทำให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ในปี 2543 คาดว่ามูลค่าจำหน่ายในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 4,845 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการเครื่องปรับอากาศยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนของไทยทำให้เครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งจำเป็นประกอบกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ทางด้านการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 เป็น 31,625 ล้านบาท จากการที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเน้นการส่งออกมากกว่าการทำตลาดในประเทศและมีการปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศ
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออกมากกว่าจำหน่ายในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น อเมริกาและเกาหลี ที่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเนื่องจากต้นทุนการผลิตในประเทศดังกล่าวสูงกว่าต้นทุนการผลิตของไทย ส่งผลให้มีการส่งสินค้ากลับไปยังประเทศดังกล่าวในสัดส่วนสูงเช่น บริษัท เมลโก้คอนซูเมอร์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด เครื่องหมายการค้ามิตซูบิชิ ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 15 เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจำนวนผู้ประกอบการในประเทศมีทั้งสิ้น 72 รายส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมที่เป็นของคนไทยซึ่งเป็นผู้ประกอบหรือผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตและประกอบตามคำสั่ง
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท โตชิบาคอมซูเมอร์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด 1,000,000,000
บริษัท ฟูจิตสึเจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด 1,397,000,000
บริษัท ชาร์ป แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 1,307,758,000
บริษัท เมลโก้คอนซูเมอร์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด 326,812,000
บริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัด 271,000,000
บริษัท ยอร์ค อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด 152,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท เฟิร์ม กรุ๊ป จำกัด 70,700,000
บริษัท ยู.เอ็ม.ไอ.แอร์คอน จำกัด 45,000,000
บริษัท สยาม เอ.อาร์.ไอ จำกัด 19,000,000
บริษัท แอมแอร์ จำกัด 6,580,000
บริษัท ไนตี้วัน คอมเมอร์เชียล จำกัด 5,600,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในประเทศนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางการจำหน่ายได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. ตัวแทนจำหน่าย (Dealer) จะเป็นผู้แนะนำคุณสมบัติและจุดเด่นของเครื่องปรับอากาศแก่ลูกค้าโดยตรงทำให้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสูงจึงเป็นช่องทางที่ผู้ผลิตนิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. ห้างสรรพสินค้า ในอดีตผู้ผลิตไม่นิยมนำเครื่องปรับอากาศวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า แต่ปัจจุบันห้างสรรพสินค้าจะเน้นการมีสินค้าครบทุกชนิดเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมการจับจ่ายสินค้าได้ครบในที่เดียว พร้อมทั้งมีการร่วมกับผู้ผลิตในการติดตั้งและบริการหลังการขาย และเครื่องปรับอากาศที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าจะมีราคาถูกกว่าการซื้อจากตัว
แทนจำหน่ายโดยเฉพาะในช่วงที่มีการจัดส่งเสริมการขาย
3. ดิสเคาสโตร์ การจำหน่ายจะเน้นสินค้าราคาถูกและคุณภาพปานกลางซึ่งเหมาะกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันและเป็นช่องทางที่สามารถหมุนเวียนสินค้าได้เร็ว
4. การจำหน่ายโดยตรงให้โครงการ เช่น อาคารที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น เป็นช่องทางจำหน่ายที่ทำให้ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้ในปริมาณมาก แต่โครงการส่วนใหญ่จะมีความล่าช้าทำให้เกิดปัญหาในเรื่องสินค้าคงคลังและการชำระเงิน
5. Direct Media Group คือการพัฒนาตัวแทนจำหน่ายบางส่วนให้เป็นร้านค้าที่มีสินค้าเป็นเครื่องหมายการค้าเป็นหลักหนึ่งยี่ห้อ และมีเครื่องหมายการค้าอื่นเป็นสินค้าประกอบ โดยเจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้านรวมทั้งส่งเสริมการขาย
6. การขายให้ระบบราชการผ่านการประมูลเป็นช่องทางที่ช่วยให้จำหน่ายสินค้าได้ปริมาณมากและต่อเนื่อง เพราะราชการมีโครงการก่อสร้างอาคารและสถานที่ทำการอย่างต่อเนื่อง
7. ผู้ประกอบเครื่องปรับอากาศรายเล็กจะฝากขาย เช่น นำเครื่องปรับอากาศที่ประกอบแล้วไปเสนอร้านขายเครื่องปรับอากาศเพื่อขอวางสินค้าโดยผู้ประกอบจะต้องเน้นให้เห็นถึงจุดเด่นของเครื่องปรับอากาศของตนเองทั้งในด้านราคาและคุณภาพ
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบและส่วนประกอบที่สำคัญที่ผลิตได้ในประเทศ ได้แก่ Cabinet, Condenser และ Packaging Box ในส่วนที่ยังต้องนำเข้าและมีการผลิตในประเทศบ้าง ได้แก่ Compressor, Evaporator และ Fan Motor
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ !90
- วัตถุดิบในประเทศ !80
- วัตถุดิบนำเข้า !20
!2. ค่าแรงงาน !3
!3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ !7
!รวม !100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
!วัตถุดิบ ในกรณีของผู้ประกอบเครื่องปรับอากาศจะมีโครงสร้างต้นทุนที่แตกต่างจากผู้ผลิตเล็กน้อย ทั้งนี้ส่วนประกอบทุกประเภทจะหาซื้อได้ในประเทศ (ไม่ได้นำเข้าโดยตรง) ได้แก่ โครงเหล็ก มอเตอร์และชิ้นส่วนมอเตอร์ ลวดทองแดง แผ่นฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความชื้น เป็นต้น
!
!โครงสร้างต้นทุนการประกอบ
!ประเภท !สัดส่วน (%)
!1. วัตถุดิบ 80
- วัตถุดิบในประเทศ 100
- วัตถุดิบนำเข้า -
2. ค่าแรงงาน 10
3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ 10
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
การประกอบเครื่องปรับอากาศเริ่มต้นจากการเตรียมส่วนประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น โครงเหล็กสำหรับประกอบตัวถัง ฟินส์คอย ถาดน้ำ และส่วนประกอบของมอเตอร์ เป็นต้น ให้พร้อมและเน้นการใช้แรงงานประกอบในขั้นตอนต่างๆ ตามรูปภาพ โดยขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่
ขั้นที่ 1 นำโครงเหล็ก (สำหรับประกอบตัวถัง) มาล้างน้ำให้สะอาดก่อนนำไปพ่นสีและอบสี แล้วจึงนำไปประกอบ
ขั้นที่ 2 การประกอบเครื่องปรับอากาศ
นำเหล็กที่พ่นและอบสีแล้วมาขึ้นโครง
ติดแผ่นฉนวนกันความร้อน
ใส่ฟินส์คอย
ส่วนประกอบมอเตอร์ ได้แก่
ประกอบชุดมอเตอร์ เปลือกหรือโครงของมอเตอร์
(Frame) โรเตอร์ (Rotor) และ
ฝาครอบหัวท้าย
เอาชุดมอเตอร์ใส่ในตัวถัง
ใส่ถาดน้ำที่ทาฟินโค้ดและติดฉนวนกัน
ความชื้น
ใส่คานบน ฝาหน้า ฝาข้าง และใส่ช่องลม
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบเครื่องปรับอากาศที่ประกอบเสร็จ
ขั้นที่ 4 บรรจุใส่กล่อง
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการประกอบ
เครื่องจักร (เครื่องมือและอุปกรณ์) ที่ใช้ในธุรกิจการประกอบเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ได้แก่ ตู้อบสีและตู้พ่นสี ใช้ในการพ่นและอบสีเหล็ก สามารถหาซื้อได้จากผู้จัดจำหน่ายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมประกอบเครื่องปรับอากาศไม่ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชนเนื่องจากจะก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง กรณีการลงทุนประกอบเครื่องปรับอากาศประมาณ 10,000 เครื่องต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 5,000,000 บาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขนาดของพื้นที่ประมาณ 50 ตารางวาและมีขนาดค่าใช้จ่ายราว 426,000 บาทต่อปี
3. ค่าเครื่องจักร ได้แก่ เครื่องอบสีและพ่นสี (มือสอง) ราคาเครื่องละ400,000-500,000 บาท ซึ่งการดำเนินธุรกิจประกอบเครื่องปรับอากาศจำเป็นต้องมีอย่างน้อย 1 เครื่อง
4. ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) ราคา 200,000 บาทต่อปี
5. เงินทุนหมุนเวียน 3,374,000 บาทต่อปี
บุคลากร ธุรกิจการประกอบเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 12 คนประกอบด้วย
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 ช่างประกอบและช่างพ่นสี จำนวน 5 คน
1.2 พนักงานขับรถส่งของ จำนวน 3 คน
1.3 พนักงานบรรจุสินค้าลงกล่อง จำนวน 2 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 2 คน
ในกรณีผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นบุคคลเดียวกันคือเจ้าของกิจการจะทำบัญชีรวมถึงการบริหารงานทั่วไป
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 4,800,000 บาทต่อปี
- โครงเหล็กและมอเตอร์ 3,360,000 บาทต่อปี
- ทองแดง 960,000 บาทต่อปี
- พลาสติก 240,000 บาทต่อปี
- กระดาษ 240,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 600,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 300,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 300,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 12,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 48,000-120,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 36,000-48,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 120,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 1,440,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายประมาณ 8.5-8.75 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
แหล่งขายเครื่องจักร
ตารางที่ 7: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
หจก. โปรเกรสอีเล็คโทรนิค 212/7 ข้างทีวีช่อง 5 สนามเป้า ถ.พหลโยธิน กรุงเทพฯ 10700
โทร. 271-2415-6 โทรสาร. 271-2417
บริษัท ไทยแม็กซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 42/343 ถ.เอกชัย-บางบอน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร. 415-9628, 893-5042-3 โทรสาร. 893-5043
บริษัท วิสุทธิศักดิ์การช่าง จำกัด 815/1 ถ.เทอดไท ตลาดพลู ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
โทร. 465-3835 โทรสาร. 465-3835
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. ด้านภาษี ผู้ประกอบการผลิตและประกอบเครื่องปรับอากาศต้องเสียภาษีสรรพสามิตซึ่งจากเดิมในปี 2539 เก็บที่อัตราร้อยละ 14 แต่มีการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตเป็นร้อยละ 15 ในปี 2540 โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต หากผู้ประกอบการมีกิจการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอ ณ กรมสรรพสามิต หากตั้งอยู่ในต่างจังหวัดให้ยื่นคำของจากสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดนั้นๆ โดยการขอจดทะเบียนสรรพสามิตต้องยื่นคำขอภายใน 30 วันก่อนวันเริ่มผลิตสินค้า เอกสารที่ต้องแนบพร้อมกับคำขอ กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน) แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลให้แนบสำเนาหนังสือสัญญาจัดตั้งหุ้นส่วนแทน
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและ
การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งอยู่ที่ 57 อาคารโรงงาน ชั้น 6 ถนนพระเมรุ บางลำพูกรุงเทพฯ 10200 หรือศูนย์ทดสอบที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซ.8 สุขุมวิท กม.34 อ.เมือง จ.สมุทรปราการ โทร. 324-0710 ทำหน้าที่แก้ไขปัญหา ช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนา อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีและข้อมูล เพื่อให้อุตสาหกรรมด้านนี้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ทั้งราคาและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ประกอบการและภาครัฐเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น 3 โซน D เลขที่ 60 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร.229-4255 โทรสาร.229-4941-2 เป็นตัวแทนประสานงานระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาล ผู้ประกอบการสามารถสมัครสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นสมาชิกสามัญที่ประกอบเป็นนิติบุคคลที่มีใบ ร.ง. 4 ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และสมาคมการค้าประเภทอุตสาหกรรม หรือสมัครสมาชิกสมทบที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงงาน ทางสภาอุตสาหกรรมจะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการและการแก้ไขปัญหาของสมาชิก มีการแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นและหาลู่ทางการค้าใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการจัดอบรมดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับสมาชิก เป็นต้น--จบ--
-ชต-
ความต้องการเครื่องปรับอากาศยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนของไทยทำให้เครื่องปรับอากาศกลายเป็นสิ่งจำเป็น คาดว่าในปี 2542-2543 มูลค่าจำหน่ายในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และ 3 เป็น 4,690 และ 4,845 ล้านบาท เช่นเดียวกับการส่งออกซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3 และ 15 เป็น 27,500 และ 31,625 ล้านบาท จากการที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเน้นการส่งออกมากกว่าการทำตลาดในประเทศและมีการปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศ ส่วนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศของไทยประกอบด้วยผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น อเมริกาและเกาหลี ที่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเนื่องจากต้นทุนการผลิตในประเทศดังกล่าวสูงกว่าต้นทุนการผลิตของไทย อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยจำนวนมากจะเป็นขนาดกลางและย่อม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบหรือผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตและประกอบตามคำสั่ง โดยผู้ผลิตและประกอบเครื่องปรับอากาศในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 72 ราย เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ประมาณ 15 ราย โดยช่องทางการจำหน่ายที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ใช้ได้แก่ การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย (Dealer) ห้างสรรพสินค้า ดิสเคาสโตร์ ส่วนผู้ประกอบเครื่องปรับอากาศรายเล็กมักจะหาลูกค้าเอง
!วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบในประเทศ ได้แก่ โครงเหล็ก มอเตอร์และชิ้นส่วนมอเตอร์ ลวดทองแดง แผ่นฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความชื้น เป็นต้น โดยกรรมวิธีการประกอบจะต้องนำโครงเหล็กมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปพ่นสีและอบสี ก่อนที่จะนำไปขึ้นโครงแล้วติดแผ่นฉนวนกันความร้อน หลังจากนั้นใส่ฟินส์คอย และมอเตอร์ แล้วจึงใส่ถาดน้ำที่ทาฟินโค้ดและติดฉนวนกัน
ความชื้น หลังจากนั้นจึงใส่คานบน ฝาหน้า ฝาข้างและใส่ช่องลม ในการผลิตจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ ตู้อบสีและตู้พ่นสี
กรณีการลงทุนประกอบเครื่องปรับอากาศ 10,000 เครื่องต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ในการลงทุนสินทรัพย์ถาวรและเครื่องจักร ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในส่วนของค่าใช้จ่ายต่อปีส่วนใหญ่เป็นต้นทุนวัตถุดิบ รองลงมาเป็นต้นทุนแรงงาน ค่าเสื่อมเครื่องจักรและค่าโสหุ้ยการผลิตซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าไฟฟ้า นอกจากนั้นยังมีค่าดอกเบี้ยจ่ายในกรณีมีการกู้ยืมเพื่อใช้ในกิจการ
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ในช่วงปี 2538-2539 ก่อนที่ประเทศจะประสบกับปัญหาภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงิน ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศในประเทศและการส่งออกยังคงขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 2 และร้อยละ 28 คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 6,316 ล้านบาทและ 15,961 ล้านบาท ตามลำดับ การผลิตเน้นผลิตเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กเป็นหลักและรัฐบาลให้การส่งเสริมในอุตสาหกรรมอย่างต่อ
เนื่อง แต่ในช่วงปี 2540-2541 ความต้องการในประเทศปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศที่ลดลงส่งผลให้ความต้องการในประเทศปรับตัวลดลงเฉลี่ยร้อยละ 14 คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 5,105 ล้านบาท นอกจากนี้การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดไม่เกิน 72,000 บีทียูจากร้อยละ 14 เป็นร้อยละ 15 ในปี 2540 ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น แต่การส่งออกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยมูลค่าส่งออกเฉลี่ยในปี 2540-2541 ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 26 คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 23,779 ล้านบาท จากการที่ผู้ประกอบการได้มีการปรับการผลิตโดยเน้นการประหยัดพลังงานและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนนโยบายของบริษัทแม่ที่ต้องการให้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น
ในปี 2542 ตลาดในประเทศได้รับผลกระทบจากการที่ฤดูฝนเริ่มเข้ามาเร็วกว่าปกติส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ถึงแม้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายในประเทศแต่ตลาดเครื่องปรับอากาศมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวไม่มากนักเนื่องจากผู้บริโภคยังขาดกำลังซื้อ ในขณะที่ยอดขายของอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียมยังคงชะลอ
ตัว อย่างไรก็ตามจากการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เพียงเล็กน้อยร้อยละ 1.7 คิดเป็นมูลค่า 4,690 ล้านบาท และจากสาเหตุต่างๆ ข้างต้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ปรับแผนการจำหน่ายโดยการเพิ่มสัดส่วนการส่งออกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปริมาณส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2542
เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 แต่มูลค่าส่งออกปรับลดลงร้อยละ 6.9 เป็น 16,098 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 27,500 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกหลักได้แก่ ญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งเนื่องจากบริษัทแม่ได้ช่วยหาตลาดและภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวดีขึ้นทำให้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ในปี 2543 คาดว่ามูลค่าจำหน่ายในประเทศจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เป็น 4,845 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการเครื่องปรับอากาศยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนของไทยทำให้เครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งจำเป็นประกอบกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ทางด้านการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 เป็น 31,625 ล้านบาท จากการที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเน้นการส่งออกมากกว่าการทำตลาดในประเทศและมีการปรับปรุงคุณภาพและรูปแบบของสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศ
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออกมากกว่าจำหน่ายในประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น อเมริกาและเกาหลี ที่ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยเนื่องจากต้นทุนการผลิตในประเทศดังกล่าวสูงกว่าต้นทุนการผลิตของไทย ส่งผลให้มีการส่งสินค้ากลับไปยังประเทศดังกล่าวในสัดส่วนสูงเช่น บริษัท เมลโก้คอนซูเมอร์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด เครื่องหมายการค้ามิตซูบิชิ ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 15 เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากพิจารณาจำนวนผู้ประกอบการในประเทศมีทั้งสิ้น 72 รายส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อมที่เป็นของคนไทยซึ่งเป็นผู้ประกอบหรือผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตและประกอบตามคำสั่ง
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท โตชิบาคอมซูเมอร์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด 1,000,000,000
บริษัท ฟูจิตสึเจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด 1,397,000,000
บริษัท ชาร์ป แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด 1,307,758,000
บริษัท เมลโก้คอนซูเมอร์โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด 326,812,000
บริษัท ไทยโตชิบาอุตสาหกรรม จำกัด 271,000,000
บริษัท ยอร์ค อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด 152,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท เฟิร์ม กรุ๊ป จำกัด 70,700,000
บริษัท ยู.เอ็ม.ไอ.แอร์คอน จำกัด 45,000,000
บริษัท สยาม เอ.อาร์.ไอ จำกัด 19,000,000
บริษัท แอมแอร์ จำกัด 6,580,000
บริษัท ไนตี้วัน คอมเมอร์เชียล จำกัด 5,600,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในประเทศนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้ช่องทางการจำหน่ายได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. ตัวแทนจำหน่าย (Dealer) จะเป็นผู้แนะนำคุณสมบัติและจุดเด่นของเครื่องปรับอากาศแก่ลูกค้าโดยตรงทำให้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสูงจึงเป็นช่องทางที่ผู้ผลิตนิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. ห้างสรรพสินค้า ในอดีตผู้ผลิตไม่นิยมนำเครื่องปรับอากาศวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า แต่ปัจจุบันห้างสรรพสินค้าจะเน้นการมีสินค้าครบทุกชนิดเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมการจับจ่ายสินค้าได้ครบในที่เดียว พร้อมทั้งมีการร่วมกับผู้ผลิตในการติดตั้งและบริการหลังการขาย และเครื่องปรับอากาศที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าจะมีราคาถูกกว่าการซื้อจากตัว
แทนจำหน่ายโดยเฉพาะในช่วงที่มีการจัดส่งเสริมการขาย
3. ดิสเคาสโตร์ การจำหน่ายจะเน้นสินค้าราคาถูกและคุณภาพปานกลางซึ่งเหมาะกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันและเป็นช่องทางที่สามารถหมุนเวียนสินค้าได้เร็ว
4. การจำหน่ายโดยตรงให้โครงการ เช่น อาคารที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนต์ เป็นต้น เป็นช่องทางจำหน่ายที่ทำให้ผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้ในปริมาณมาก แต่โครงการส่วนใหญ่จะมีความล่าช้าทำให้เกิดปัญหาในเรื่องสินค้าคงคลังและการชำระเงิน
5. Direct Media Group คือการพัฒนาตัวแทนจำหน่ายบางส่วนให้เป็นร้านค้าที่มีสินค้าเป็นเครื่องหมายการค้าเป็นหลักหนึ่งยี่ห้อ และมีเครื่องหมายการค้าอื่นเป็นสินค้าประกอบ โดยเจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตกแต่งร้านรวมทั้งส่งเสริมการขาย
6. การขายให้ระบบราชการผ่านการประมูลเป็นช่องทางที่ช่วยให้จำหน่ายสินค้าได้ปริมาณมากและต่อเนื่อง เพราะราชการมีโครงการก่อสร้างอาคารและสถานที่ทำการอย่างต่อเนื่อง
7. ผู้ประกอบเครื่องปรับอากาศรายเล็กจะฝากขาย เช่น นำเครื่องปรับอากาศที่ประกอบแล้วไปเสนอร้านขายเครื่องปรับอากาศเพื่อขอวางสินค้าโดยผู้ประกอบจะต้องเน้นให้เห็นถึงจุดเด่นของเครื่องปรับอากาศของตนเองทั้งในด้านราคาและคุณภาพ
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบและส่วนประกอบที่สำคัญที่ผลิตได้ในประเทศ ได้แก่ Cabinet, Condenser และ Packaging Box ในส่วนที่ยังต้องนำเข้าและมีการผลิตในประเทศบ้าง ได้แก่ Compressor, Evaporator และ Fan Motor
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ !90
- วัตถุดิบในประเทศ !80
- วัตถุดิบนำเข้า !20
!2. ค่าแรงงาน !3
!3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ !7
!รวม !100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
!วัตถุดิบ ในกรณีของผู้ประกอบเครื่องปรับอากาศจะมีโครงสร้างต้นทุนที่แตกต่างจากผู้ผลิตเล็กน้อย ทั้งนี้ส่วนประกอบทุกประเภทจะหาซื้อได้ในประเทศ (ไม่ได้นำเข้าโดยตรง) ได้แก่ โครงเหล็ก มอเตอร์และชิ้นส่วนมอเตอร์ ลวดทองแดง แผ่นฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความชื้น เป็นต้น
!
!โครงสร้างต้นทุนการประกอบ
!ประเภท !สัดส่วน (%)
!1. วัตถุดิบ 80
- วัตถุดิบในประเทศ 100
- วัตถุดิบนำเข้า -
2. ค่าแรงงาน 10
3. ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ 10
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
การประกอบเครื่องปรับอากาศเริ่มต้นจากการเตรียมส่วนประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น โครงเหล็กสำหรับประกอบตัวถัง ฟินส์คอย ถาดน้ำ และส่วนประกอบของมอเตอร์ เป็นต้น ให้พร้อมและเน้นการใช้แรงงานประกอบในขั้นตอนต่างๆ ตามรูปภาพ โดยขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่
ขั้นที่ 1 นำโครงเหล็ก (สำหรับประกอบตัวถัง) มาล้างน้ำให้สะอาดก่อนนำไปพ่นสีและอบสี แล้วจึงนำไปประกอบ
ขั้นที่ 2 การประกอบเครื่องปรับอากาศ
นำเหล็กที่พ่นและอบสีแล้วมาขึ้นโครง
ติดแผ่นฉนวนกันความร้อน
ใส่ฟินส์คอย
ส่วนประกอบมอเตอร์ ได้แก่
ประกอบชุดมอเตอร์ เปลือกหรือโครงของมอเตอร์
(Frame) โรเตอร์ (Rotor) และ
ฝาครอบหัวท้าย
เอาชุดมอเตอร์ใส่ในตัวถัง
ใส่ถาดน้ำที่ทาฟินโค้ดและติดฉนวนกัน
ความชื้น
ใส่คานบน ฝาหน้า ฝาข้าง และใส่ช่องลม
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบเครื่องปรับอากาศที่ประกอบเสร็จ
ขั้นที่ 4 บรรจุใส่กล่อง
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการประกอบ
เครื่องจักร (เครื่องมือและอุปกรณ์) ที่ใช้ในธุรกิจการประกอบเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ได้แก่ ตู้อบสีและตู้พ่นสี ใช้ในการพ่นและอบสีเหล็ก สามารถหาซื้อได้จากผู้จัดจำหน่ายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมประกอบเครื่องปรับอากาศไม่ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชนเนื่องจากจะก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง กรณีการลงทุนประกอบเครื่องปรับอากาศประมาณ 10,000 เครื่องต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 5,000,000 บาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขนาดของพื้นที่ประมาณ 50 ตารางวาและมีขนาดค่าใช้จ่ายราว 426,000 บาทต่อปี
3. ค่าเครื่องจักร ได้แก่ เครื่องอบสีและพ่นสี (มือสอง) ราคาเครื่องละ400,000-500,000 บาท ซึ่งการดำเนินธุรกิจประกอบเครื่องปรับอากาศจำเป็นต้องมีอย่างน้อย 1 เครื่อง
4. ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) ราคา 200,000 บาทต่อปี
5. เงินทุนหมุนเวียน 3,374,000 บาทต่อปี
บุคลากร ธุรกิจการประกอบเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 12 คนประกอบด้วย
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 ช่างประกอบและช่างพ่นสี จำนวน 5 คน
1.2 พนักงานขับรถส่งของ จำนวน 3 คน
1.3 พนักงานบรรจุสินค้าลงกล่อง จำนวน 2 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 2 คน
ในกรณีผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นบุคคลเดียวกันคือเจ้าของกิจการจะทำบัญชีรวมถึงการบริหารงานทั่วไป
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนการขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 4,800,000 บาทต่อปี
- โครงเหล็กและมอเตอร์ 3,360,000 บาทต่อปี
- ทองแดง 960,000 บาทต่อปี
- พลาสติก 240,000 บาทต่อปี
- กระดาษ 240,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 600,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 300,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 300,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค
- ค่าน้ำ 12,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 48,000-120,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 36,000-48,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 120,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 1,440,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายประมาณ 8.5-8.75 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
แหล่งขายเครื่องจักร
ตารางที่ 7: รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
หจก. โปรเกรสอีเล็คโทรนิค 212/7 ข้างทีวีช่อง 5 สนามเป้า ถ.พหลโยธิน กรุงเทพฯ 10700
โทร. 271-2415-6 โทรสาร. 271-2417
บริษัท ไทยแม็กซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 42/343 ถ.เอกชัย-บางบอน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร. 415-9628, 893-5042-3 โทรสาร. 893-5043
บริษัท วิสุทธิศักดิ์การช่าง จำกัด 815/1 ถ.เทอดไท ตลาดพลู ธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
โทร. 465-3835 โทรสาร. 465-3835
ที่มา: รวบรวมโดย บริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. ด้านภาษี ผู้ประกอบการผลิตและประกอบเครื่องปรับอากาศต้องเสียภาษีสรรพสามิตซึ่งจากเดิมในปี 2539 เก็บที่อัตราร้อยละ 14 แต่มีการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตเป็นร้อยละ 15 ในปี 2540 โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนสรรพสามิต หากผู้ประกอบการมีกิจการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอ ณ กรมสรรพสามิต หากตั้งอยู่ในต่างจังหวัดให้ยื่นคำของจากสำนักงานสรรพสามิตจังหวัดนั้นๆ โดยการขอจดทะเบียนสรรพสามิตต้องยื่นคำขอภายใน 30 วันก่อนวันเริ่มผลิตสินค้า เอกสารที่ต้องแนบพร้อมกับคำขอ กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ (ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน) แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลให้แนบสำเนาหนังสือสัญญาจัดตั้งหุ้นส่วนแทน
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและ
การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
แหล่งข้อมูลอื่นๆ
1. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งอยู่ที่ 57 อาคารโรงงาน ชั้น 6 ถนนพระเมรุ บางลำพูกรุงเทพฯ 10200 หรือศูนย์ทดสอบที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซ.8 สุขุมวิท กม.34 อ.เมือง จ.สมุทรปราการ โทร. 324-0710 ทำหน้าที่แก้ไขปัญหา ช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนา อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีและข้อมูล เพื่อให้อุตสาหกรรมด้านนี้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ทั้งราคาและคุณภาพ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ประกอบการและภาครัฐเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น 3 โซน D เลขที่ 60 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร.229-4255 โทรสาร.229-4941-2 เป็นตัวแทนประสานงานระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาล ผู้ประกอบการสามารถสมัครสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นสมาชิกสามัญที่ประกอบเป็นนิติบุคคลที่มีใบ ร.ง. 4 ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และสมาคมการค้าประเภทอุตสาหกรรม หรือสมัครสมาชิกสมทบที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงงาน ทางสภาอุตสาหกรรมจะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการและการแก้ไขปัญหาของสมาชิก มีการแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นและหาลู่ทางการค้าใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการจัดอบรมดูงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับสมาชิก เป็นต้น--จบ--
-ชต-