ภาพรวมการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
การทำธุรกิจผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (EC) ยังไม่ได้รับความนิยมในประเทศไทยมากนัก พิจารณาได้จากสัดส่วนรายได้จากการค้าผ่าน EC เป็นลำดับที่ 4 ในอาเซียน รองจากประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และมีสัดส่วนจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นลำดับ 9 ของกลุ่มประเทศในเอเชีย
บทบาทธนาคารแห่งประเทศไทยในการสนับสนุนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธปท. มีบทบาทในการสนับสนุน EC ในส่วนที่เกี่ยวกับการเงินการธนาคาร ได้แก่ เป็นผู้ให้บริการระบบการชำระเงิน เป็นผู้กำกับดูแลระบบการชำระเงิน และเป็นผู้อำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนและรองรับการพัฒนาการชำระเงิน
ธนาคารไทยในยุค E-commerce
ธนาคารพาณิชย์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายผ่าน EC เนื่องจาก EC เริ่มเข้ามามีบทบาท ทำให้ระบบการชำระเงินเปลี่ยนแปลงไป ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ขายได้รวดเร็วและลึกขึ้น และเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ขายที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้น ธนาคารจะต้องปรับปรุงทั้งวิธีการให้บริการให้สอดคล้องกับ EC และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพื่อให้สามารถรองรับธุรกรรม และแข่งขันได้
กลไกการชำระเงินในยุค E-payment ธปท.ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน กำกับดูแลให้มีการชำระเงินอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดธุรกรรมอย่างมีความพร้อมและเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ระบบการ ชำระเงินในปัจจุบัน ประกอบด้วย การชำระเงินตามบริการของธนาคาร และการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคาร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อรองรับ EC
นโยบาย Internet Trading ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน Internet (Internet Trading) ตั้งแต่ 10 มกราคม 2543 ซึ่งมีผู้เปิดให้บริการแล้ว 7 ราย ข้อดีของ Internet Trading คือ การซื้อขายทำได้สะดวกและรวดเร็วซึ่งเป็นแบบ Online Real Time และสามารถเรียกดูข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยตัดสินใจในการซื้อขายได้ แต่ยังมีอุปสรรคที่สำคัญในการทำ Internet Trading คือ ผู้เปิดให้บริการ Internet Trading ขาดความรู้ทางด้าน Internet มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ฯ
การให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการ E-commerce BOI ให้การส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจ B2B B2C B2G และธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับเอกสารเผยแพร่ กฎระเบียบ ใน Internet
นโยบายภาษีอากรกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศทั่วโลกทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย ต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญในเรื่องของ แนวทางการจัดเก็บภาษีผ่าน Internet แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน สำหรับไทยอยู่ระหว่างการศึกษา ถึงผลกระทบจากการจัดเก็บภาษี
สรุปและข้อเสนอแนะ ภาคการเงิน การธนาคาร และการลงทุน มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจแบบ EC ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันในการพัฒนา เพื่อรองรับ ธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การทำธุรกิจผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (EC) ยังไม่ได้รับความนิยมในประเทศไทยมากนัก พิจารณาได้จากสัดส่วนรายได้จากการค้าผ่าน EC เป็นลำดับที่ 4 ในอาเซียน รองจากประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และมีสัดส่วนจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นลำดับ 9 ของกลุ่มประเทศในเอเชีย
บทบาทธนาคารแห่งประเทศไทยในการสนับสนุนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธปท. มีบทบาทในการสนับสนุน EC ในส่วนที่เกี่ยวกับการเงินการธนาคาร ได้แก่ เป็นผู้ให้บริการระบบการชำระเงิน เป็นผู้กำกับดูแลระบบการชำระเงิน และเป็นผู้อำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนและรองรับการพัฒนาการชำระเงิน
ธนาคารไทยในยุค E-commerce
ธนาคารพาณิชย์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบการชำระเงินระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายผ่าน EC เนื่องจาก EC เริ่มเข้ามามีบทบาท ทำให้ระบบการชำระเงินเปลี่ยนแปลงไป ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ขายได้รวดเร็วและลึกขึ้น และเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ขายที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้น ธนาคารจะต้องปรับปรุงทั้งวิธีการให้บริการให้สอดคล้องกับ EC และปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เพื่อให้สามารถรองรับธุรกรรม และแข่งขันได้
กลไกการชำระเงินในยุค E-payment ธปท.ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน กำกับดูแลให้มีการชำระเงินอย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดธุรกรรมอย่างมีความพร้อมและเป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ระบบการ ชำระเงินในปัจจุบัน ประกอบด้วย การชำระเงินตามบริการของธนาคาร และการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธนาคาร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อรองรับ EC
นโยบาย Internet Trading ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน Internet (Internet Trading) ตั้งแต่ 10 มกราคม 2543 ซึ่งมีผู้เปิดให้บริการแล้ว 7 ราย ข้อดีของ Internet Trading คือ การซื้อขายทำได้สะดวกและรวดเร็วซึ่งเป็นแบบ Online Real Time และสามารถเรียกดูข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยตัดสินใจในการซื้อขายได้ แต่ยังมีอุปสรรคที่สำคัญในการทำ Internet Trading คือ ผู้เปิดให้บริการ Internet Trading ขาดความรู้ทางด้าน Internet มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ฯ
การให้การส่งเสริมการลงทุนในกิจการ E-commerce BOI ให้การส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจ B2B B2C B2G และธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับเอกสารเผยแพร่ กฎระเบียบ ใน Internet
นโยบายภาษีอากรกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศทั่วโลกทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย ต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญในเรื่องของ แนวทางการจัดเก็บภาษีผ่าน Internet แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน สำหรับไทยอยู่ระหว่างการศึกษา ถึงผลกระทบจากการจัดเก็บภาษี
สรุปและข้อเสนอแนะ ภาคการเงิน การธนาคาร และการลงทุน มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจแบบ EC ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันในการพัฒนา เพื่อรองรับ ธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-