เมื่อวันที่ 14 — 15 กุมภาพันธ์ 2544 สหภาพพม่าได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 และ การประชุมรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 3 ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ บังกลาเทศ-อินเดีย—พม่า—ศรีลังกา-ไทย (Bangladesh —India —Myanmar —SriLanka-Thailand Economic Cooperation : BIMST-EC)ขึ้น ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า ในการนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์(นายเกริกไกร จีระแพทย์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์(นางบุญทิพา สิมะสกุล) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
ผลการประชุมดังกล่าวได้เน้นถึงการดำเนินการความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ที่สำคัญ 5 เรื่อง คือ
1. ให้ประเทศสมาชิกขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น โดยให้ความสำคัญที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการค้าที่มีผลชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าเป็นส่วนสนับสนุน (อนึ่ง การค้าระหว่างกันของประเทศสมาชิก BIMST-EC ในปัจจุบัน ยังมีมูลค่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับการค้าของประเทศสมาชิกกับการค้าโลก กล่าวคือ ในปี 2542 ประเทศสมาชิก BIMST-EC ทำการค้าระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า 6,272 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มีมูลค่าการค้ากับโลกถึง 217,553 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.88 ของการค้าโลกเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ในส่วนของการค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่ม BIMST-EC กล่าวได้ว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(2541 — 2543) การค้าของไทยกับประเทศในกลุ่มนี้ คิดเป็นร้อยละ 1.7 ของการค้าทั้งหมด หรือเฉลี่ยปีละ 1,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้าประเทศสมาชิก BIMST-EC ยกเว้นประเทศอินเดียสินค้าออกสำคัญของไทยได้แก่ เครื่องคอ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ผลการประชุมดังกล่าวได้เน้นถึงการดำเนินการความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ที่สำคัญ 5 เรื่อง คือ
1. ให้ประเทศสมาชิกขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น โดยให้ความสำคัญที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการค้าที่มีผลชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าเป็นส่วนสนับสนุน (อนึ่ง การค้าระหว่างกันของประเทศสมาชิก BIMST-EC ในปัจจุบัน ยังมีมูลค่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับการค้าของประเทศสมาชิกกับการค้าโลก กล่าวคือ ในปี 2542 ประเทศสมาชิก BIMST-EC ทำการค้าระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า 6,272 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มีมูลค่าการค้ากับโลกถึง 217,553 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.88 ของการค้าโลกเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ในส่วนของการค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่ม BIMST-EC กล่าวได้ว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(2541 — 2543) การค้าของไทยกับประเทศในกลุ่มนี้ คิดเป็นร้อยละ 1.7 ของการค้าทั้งหมด หรือเฉลี่ยปีละ 1,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้าประเทศสมาชิก BIMST-EC ยกเว้นประเทศอินเดียสินค้าออกสำคัญของไทยได้แก่ เครื่องคอ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-