กรุงเทพฯ--3 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำ สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2543 นายอัษฎา ชัยนาม เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้กล่าวถ้อยแถลงของไทยในการอภิปรายทั่วไป (General Debate) ของคณะกรรมการ 1 (ลดอาวุธและความมั่นคง) สมัชชาสหประชาชาติ ณ องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การลดอาวุธนิวเคลียร์
เน้นความสำคัญของการติดตามผลการประชุมทบทวนสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธ นิวเคลียร์ ครั้งที่ 6 (2000 NPT Review Conference) เพื่อผลักดันพลวัตรด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์ การสนับสนุนให้ประเทศที่มีศักยภาพทางนิวเคลียร์ 44 ประเทศ เข้าร่วมในสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Neuclear — Test — Ban Treaty : CTBT) และความจำเป็นที่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ต้องดำเนินมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ อาทิ ตามข้อเสนอของ กลุ่ม New Agenda Coalition (กลุ่มที่มีบทบาทนำในเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์ ประกอบด้วย นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ สวีเดน แอฟริกาใต้ เม็กซิโก บราซิล และอียิปต์)
2. เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
เน้นความสำคัญของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ต่อการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ บทบาทของไทยในการผลักดันการปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) โดยเฉพาะการริเริ่มการหารือกับทบวงปรมาณูระหว่างประเทศ และแสดงความยินดีต่อการที่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ให้หลักประกันความปลอดภัย (security assurance) ต่อสถานะปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของมองโกเลีย และย้ำว่าควรมีการมอบหลักประกัน ความปลอดภัยให้แก่เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมด
3. ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและอาวุธขนาดเล็ก
ย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศต่างๆ ควรเข้าร่วมในอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหาร บุคคล (Ottawa Convention) และนโยบายของไทยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารบุคคลซึ่งต้องการได้รับ ความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ ในเรื่องอาวุธขนาดเล็ก เน้นเรื่องการเคารพสิทธิของรัฐในการป้องกันประเทศตามกฏบัตรสหประชาชาติและการคำนึงถึงลักษณะของปัญหาในแต่ละภูมิภาค - 2 - ตลอดจนย้ำถึงความสำคัญของการประชุมนานาชาติว่าด้วยการลักลอบค้าอาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบาในทุกด้าน (UN Conference on Illicit Trade in Small Arms and Light Weapons) ในปี 2544
4. ที่ประชุมลดอาวุธ (Conference on Disarmament - CD)
แสดงความกังวลต่อสภาวะชะงักงันในที่ประชุมลดอาวุธ และเน้นถึงความสำคัญของ การเปิดรับสมาชิกใหม่ของที่ประชุมลดอาวุธ โดยที่ไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกที่ประชุมลดอาวุธด้วย
5. ศูนย์ภูมิภาคเพื่อสันติภาพและการลดอาวุธประจำเอเชียและแปซิฟิก (Regional Centre for Peace and Disarmament in Asia and the Pacific - RCPD)
กล่าวถึงความสำคัญของกิจกรรมของ RCPD ในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรื่อง การลดอาวุธ และกล่าวสนับสนุนข้อเสนอในรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติ โดยย้ำว่า การพิจารณาเรื่องการย้าย RCPD ไปยังกรุงกาฐมาณฑุต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุดของ RCPD เป็นหลัก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำ สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2543 นายอัษฎา ชัยนาม เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้กล่าวถ้อยแถลงของไทยในการอภิปรายทั่วไป (General Debate) ของคณะกรรมการ 1 (ลดอาวุธและความมั่นคง) สมัชชาสหประชาชาติ ณ องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การลดอาวุธนิวเคลียร์
เน้นความสำคัญของการติดตามผลการประชุมทบทวนสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธ นิวเคลียร์ ครั้งที่ 6 (2000 NPT Review Conference) เพื่อผลักดันพลวัตรด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์ การสนับสนุนให้ประเทศที่มีศักยภาพทางนิวเคลียร์ 44 ประเทศ เข้าร่วมในสนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Neuclear — Test — Ban Treaty : CTBT) และความจำเป็นที่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ต้องดำเนินมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ อาทิ ตามข้อเสนอของ กลุ่ม New Agenda Coalition (กลุ่มที่มีบทบาทนำในเรื่องการลดอาวุธนิวเคลียร์ ประกอบด้วย นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ สวีเดน แอฟริกาใต้ เม็กซิโก บราซิล และอียิปต์)
2. เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
เน้นความสำคัญของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ต่อการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ บทบาทของไทยในการผลักดันการปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) โดยเฉพาะการริเริ่มการหารือกับทบวงปรมาณูระหว่างประเทศ และแสดงความยินดีต่อการที่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ให้หลักประกันความปลอดภัย (security assurance) ต่อสถานะปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของมองโกเลีย และย้ำว่าควรมีการมอบหลักประกัน ความปลอดภัยให้แก่เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมด
3. ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและอาวุธขนาดเล็ก
ย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศต่างๆ ควรเข้าร่วมในอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหาร บุคคล (Ottawa Convention) และนโยบายของไทยเรื่องทุ่นระเบิดสังหารบุคคลซึ่งต้องการได้รับ ความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ ในเรื่องอาวุธขนาดเล็ก เน้นเรื่องการเคารพสิทธิของรัฐในการป้องกันประเทศตามกฏบัตรสหประชาชาติและการคำนึงถึงลักษณะของปัญหาในแต่ละภูมิภาค - 2 - ตลอดจนย้ำถึงความสำคัญของการประชุมนานาชาติว่าด้วยการลักลอบค้าอาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบาในทุกด้าน (UN Conference on Illicit Trade in Small Arms and Light Weapons) ในปี 2544
4. ที่ประชุมลดอาวุธ (Conference on Disarmament - CD)
แสดงความกังวลต่อสภาวะชะงักงันในที่ประชุมลดอาวุธ และเน้นถึงความสำคัญของ การเปิดรับสมาชิกใหม่ของที่ประชุมลดอาวุธ โดยที่ไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกที่ประชุมลดอาวุธด้วย
5. ศูนย์ภูมิภาคเพื่อสันติภาพและการลดอาวุธประจำเอเชียและแปซิฟิก (Regional Centre for Peace and Disarmament in Asia and the Pacific - RCPD)
กล่าวถึงความสำคัญของกิจกรรมของ RCPD ในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรื่อง การลดอาวุธ และกล่าวสนับสนุนข้อเสนอในรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติ โดยย้ำว่า การพิจารณาเรื่องการย้าย RCPD ไปยังกรุงกาฐมาณฑุต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุดของ RCPD เป็นหลัก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-