กรุงเทพฯ--27 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (26 เมษายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ด้วยในช่วงที่ผ่านมาสื่อมวลชนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปและอเมริกา ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการทารุณกรรมสุนัขและแมวในประเทศไทย เพื่อนำมาบริโภคและนำหนังและขนมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบสินค้าเกี่ยวกับหนังและขนสัตว์ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ทำให้มีชาวต่างประเทศจำนวนมากได้ร้องเรียนผ่านสถานเอกอัครราชฑูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องนั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบว่าเรื่องดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทยในต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชฑูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยมีภาระที่ต้องชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งการดำเนินการแก้ไขในเรื่องนี้ให้สื่อมวลชนและสาธารณชนต่างประเทศได้เข้าใจ ประกอบกับการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้มีความพยายามที่จะเสนอร่างกฎหมาย The Dog and Cat Protection Act of 1999 เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา และการพิจารณาสารัตถะของร่างกฎหมายนี้ จะเปิดให้มีการทำประชาพิจารณ์ในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ และคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาภายในสมัยประชุมนี้ ซึ่งมีกำหนดจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2543 ซึ่งหากมีผลใช้บังคับเมื่อใด อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ของไทย เนื่องจากสหรัฐฯ อาจใช้กฎหมายนี้กีดกันสินค้าผลิตภัณฑ์หนังสัตว์จากไทยที่สงสัยว่าอาจผลิตมาจากหนังสุนัขหรือแมวได้
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จึงได้มีการบัญชาให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานกลางในการจัดประชุมหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาหาแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดจะจัดประชุมในวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 นี้--จบ--
-อน-
วันนี้ (26 เมษายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ด้วยในช่วงที่ผ่านมาสื่อมวลชนในต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปและอเมริกา ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการทารุณกรรมสุนัขและแมวในประเทศไทย เพื่อนำมาบริโภคและนำหนังและขนมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบสินค้าเกี่ยวกับหนังและขนสัตว์ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ทำให้มีชาวต่างประเทศจำนวนมากได้ร้องเรียนผ่านสถานเอกอัครราชฑูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องนั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบว่าเรื่องดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทยในต่างประเทศ และสถานเอกอัครราชฑูต/สถานกงสุลใหญ่ของไทยมีภาระที่ต้องชี้แจงข้อเท็จจริง รวมทั้งการดำเนินการแก้ไขในเรื่องนี้ให้สื่อมวลชนและสาธารณชนต่างประเทศได้เข้าใจ ประกอบกับการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้มีความพยายามที่จะเสนอร่างกฎหมาย The Dog and Cat Protection Act of 1999 เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของคณะกรรมาธิการในรัฐสภา และการพิจารณาสารัตถะของร่างกฎหมายนี้ จะเปิดให้มีการทำประชาพิจารณ์ในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ และคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาภายในสมัยประชุมนี้ ซึ่งมีกำหนดจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2543 ซึ่งหากมีผลใช้บังคับเมื่อใด อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์หนังสัตว์ของไทย เนื่องจากสหรัฐฯ อาจใช้กฎหมายนี้กีดกันสินค้าผลิตภัณฑ์หนังสัตว์จากไทยที่สงสัยว่าอาจผลิตมาจากหนังสุนัขหรือแมวได้
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จึงได้มีการบัญชาให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานกลางในการจัดประชุมหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาหาแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดจะจัดประชุมในวันที่ 9 พฤษภาคม 2543 นี้--จบ--
-อน-