ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 มีการชะลอตัวลงเล็กน้อยตามภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าที่สำคัญโดยเฉพาะประเทศ
สหรัฐอเมริกา ซึ่งเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอยประกอบกับเกิดวิกฤติการณ์การก่อการร้ายในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของ
การตลาดและการลงทุนในประเทศสหรัฐ ฯ และประเทศญี่ปุ่นอยู่ในช่วงภาวะซบเซาของเศรษฐกิจที่มีท่าทีที่ยังไม่ฟื้นตัวในระยะเวลาอันใกล้ จาก
เหตุผลดังกล่าว ทำให้อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษที่มีลักษณะการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศได้รับ
ผลกระทบโดยตรง ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษได้รับผลกระทบโดยตรงมาจากภาวะการชะลอตัวของการส่งสินค้าออก
อีกทั้งการลดค่าใช้จ่ายและการลงทุนทางการตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ ส่งผลต่อการหดตัวของอุตสาหกรรม
สิ่งพิมพ์ภายในประเทศ
1. การผลิต
การผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ของปีเดียวกัน โดยมี
ดัชนีการผลิตในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 296.7 หากเทียบกับดัชนีการผลิตในปี 2543 กับปี 2544 ในช่วงไตรมาสเดียวกันจะมีการลักษณะการปรับตัว
สวนทางกัน การใช้กำลังการผลิตมีการปรับตัวสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับดัชนีการผลิต โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ดัชนีการใช้กำลังการผลิตปรับตัว
ลดลงเหลือเพียง 99.6 จาก 102.0 ในไตรมาสที่ 2 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องทั้ง 3 ช่วงไตรมาส ในปี
2544 นับจากไตรมาสที่ 1 มีปริมาณการผลิตจำนวน 228,649 ตัน ไตรมาสที่ 2 จำนวน 227,723 ตัน และในไตรมาสที่ 3 จำนวน 222,400
ตัน
ตารางที่ 1. ดัชนีการผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิต และปริมาณการผลิต
ปี 2543 2544
ตัวแปร ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส3
ดัชนีการผลิต 285.2 308.83 320.67 308.7 305.0 303.8 296.7
การใช้กำลังการผลิต 95.8 103.7 107.7 103.7 102.4 102.0 99.6
ปริมาณการผลิต (ตัน) 213,796 231,519 240,389 231,445 228,649 227,723 222,400
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : - ดัชนีผลผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งมีมูลค่ารวมกันเท่ากับร้อยละ 62 ของมูลค่าเพิ่มรวมของประเทศในปี 2538
- อัตราการใช้กำลังการผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งมีมูลค่าเพิ่มรวมกันเท่ากับร้อยละ 44.5 ของมูลค่าเพิ่มรวมภาคอุตสาหกรรมในปี 2538
- ปริมาณการผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอยการซึ่งกำลังการผลิตรวมกันเท่ากับร้อยละ 75 ของกำลังการผลิตรวมของประเทศ
2. การนำเข้าและการส่งออก
การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่า 75.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และมีอัตราการขยายตัว
ร้อยละ 142.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 2 มีการหดตัวของมูลค่าการนำเข้าเยื่อและเศษกระดาษเหลือเพียง 31.2
ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ แต่หากพิจารณาภาพโดยรวมการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2544 ลดลงจากช่วงเดียวกัน
ของปี 2543 ในอัตราลดลงร้อยละ -27.32 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของเยื่อกระดาษและเศษกระดาษมาจากประเทศสหรัฐ ฯ ประเทศแคนาดา และ
ประเทศแอฟริกาใต้ ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าเศษกระดาษจะมีสัดส่วนมากกว่าการนำเข้าเยื่อกระดาษ
การนำเข้ากระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีอัตราการขยายตัวที่ลดลง ร้อยละ -31.07 จาก
ไตรมาสที่ 2 โดยมีมูลค่าการนำเข้าจำนวน 190.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ หากเทียบมูลค่าการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 กับปี 2543
มีอัตราการขยายตัวที่ลดลงร้อยละ -3.07 ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับการนำเข้าเยื่อและเศษกระดาษ แหล่งนำเข้าที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้
ส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐฯ และประเทศสิงคโปร์ ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2. การนำเข้าเยื่อและกระดาษ (หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้า 2541 2542 2543 ไตรมาส1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 เทียบ 9 เดือน เทียบไตรมาส
2544 2544 2544 2543-44 2/3-2544
1. เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 251.30 304.30 429.80 132.2 31.2 75.6 -27.32 142.30
2. กระดาษ กระดาษเเข็ง และผลิตภัณฑ์ 370.10 427.80 559.50 83.3 190.8 131.5 -3.07 -31.07
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การส่งออกสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษในช่วงไตรมาสที่ 3 ในปี 2544 มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากไตรมาสที่ 2 อัตรา
การขยายตัวร้อยละ 19.70 และมีมูลค่าการส่งออกจำนวน 32.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ประเทศไต้หวัน ประเทศสหรัฐ ฯ
และ ประเทศจีน โดยมูลค่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในสัดส่วนร้อยละ 16.28 หากแบ่งการพิจารณาออก
เป็น 2 ผลิตภัณฑ์จะเห็นว่า ตลาดที่สำคัญของผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์ของไทย คือ ประเทศสหรัฐ ฯ สหราชอาณาจักร และประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีมูลค่า
การส่งออกในช่วง 3 ไตรมาสแรก จำนวน 37.6 ล้านเหรียญ ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์กระดาษใน 3 ไตรมาสใน มีมูลค่าทั้งสิ้นจำนวน
47.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ แหล่งตลาดที่สำคัญยังเป็นตลาดในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศไต้หวัน ประเทศจีน และฮ่องกง ตามลำดับ
การส่งออกกระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ในปี 2544 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากไตรมาสที่ 2 โดยมี
อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -11.08 และมีมูลค่าการส่งออกทั้งไตรมาสจำนวน 138.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญในผลิตภัณฑ์
ประเภทนี้ของไทย คือ ฮ่องกง ประเทศมาเลเซีย และประเทศจีน และมีมูลค่ารวมของการส่งออกในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2544
จำนวน 417.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.72 เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเดียวกัน (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3. การส่งออกเยื่อและกระดาษ และสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้า 2541 2542 2543 ไตรมาส1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 เทียบ 9 เดือน เทียบไตรมาส
2544 2544 2544 2543-44(%) 2/3-2544(%)
1. สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ 79.50 90.30 97.60 25.2 27.4 32.80 16.28 19.70
2. กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ (ยกเว้นหีบกล่อง) 463.60 503.60 546.80 123.9 155.2 138.0 0.72 -11.08
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
3. สรุป
ภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในช่วงไตรมาสที่ 3 มีการชะลอตัวลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ในปี 2544 อันเป็น
ผลมาจากการชะลอทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และภาวะของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสองประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ทั้งในตลาดประเทศ
สหรัฐ ฯ และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งส่งออกและนำเข้าสำคัญในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษของไทย อีกทั้งในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ได้เกิดวิกฤติ
การณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐ ฯ จึงเป็นปัจจัยโดยตรงที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐ ฯ และส่งผลโดยอ้อมต่อภาวะเศรษฐกิจของ
ประเทศญี่ปุ่นให้ตกต่ำลง คาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในทิศทางเดียวกันกับไตรมาสที่ 3 แม้ว่าปริมาณความต้องการใช้
กระดาษสูงในช่วงไตรมาสที่ 4 แต่การผลิตสะสมในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ น่าจะเพียงพอตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว ซึ่ง
พิจารณาได้จากดัชนีการผลิต การใช้กำลังการผลิต และปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
สหรัฐอเมริกา ซึ่งเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอยประกอบกับเกิดวิกฤติการณ์การก่อการร้ายในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของ
การตลาดและการลงทุนในประเทศสหรัฐ ฯ และประเทศญี่ปุ่นอยู่ในช่วงภาวะซบเซาของเศรษฐกิจที่มีท่าทีที่ยังไม่ฟื้นตัวในระยะเวลาอันใกล้ จาก
เหตุผลดังกล่าว ทำให้อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษที่มีลักษณะการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศได้รับ
ผลกระทบโดยตรง ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษได้รับผลกระทบโดยตรงมาจากภาวะการชะลอตัวของการส่งสินค้าออก
อีกทั้งการลดค่าใช้จ่ายและการลงทุนทางการตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ ส่งผลต่อการหดตัวของอุตสาหกรรม
สิ่งพิมพ์ภายในประเทศ
1. การผลิต
การผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ของปีเดียวกัน โดยมี
ดัชนีการผลิตในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 296.7 หากเทียบกับดัชนีการผลิตในปี 2543 กับปี 2544 ในช่วงไตรมาสเดียวกันจะมีการลักษณะการปรับตัว
สวนทางกัน การใช้กำลังการผลิตมีการปรับตัวสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับดัชนีการผลิต โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ดัชนีการใช้กำลังการผลิตปรับตัว
ลดลงเหลือเพียง 99.6 จาก 102.0 ในไตรมาสที่ 2 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องทั้ง 3 ช่วงไตรมาส ในปี
2544 นับจากไตรมาสที่ 1 มีปริมาณการผลิตจำนวน 228,649 ตัน ไตรมาสที่ 2 จำนวน 227,723 ตัน และในไตรมาสที่ 3 จำนวน 222,400
ตัน
ตารางที่ 1. ดัชนีการผลิต อัตราการใช้กำลังการผลิต และปริมาณการผลิต
ปี 2543 2544
ตัวแปร ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส3
ดัชนีการผลิต 285.2 308.83 320.67 308.7 305.0 303.8 296.7
การใช้กำลังการผลิต 95.8 103.7 107.7 103.7 102.4 102.0 99.6
ปริมาณการผลิต (ตัน) 213,796 231,519 240,389 231,445 228,649 227,723 222,400
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : - ดัชนีผลผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งมีมูลค่ารวมกันเท่ากับร้อยละ 62 ของมูลค่าเพิ่มรวมของประเทศในปี 2538
- อัตราการใช้กำลังการผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอบการซึ่งมีมูลค่าเพิ่มรวมกันเท่ากับร้อยละ 44.5 ของมูลค่าเพิ่มรวมภาคอุตสาหกรรมในปี 2538
- ปริมาณการผลิต คิดจากกลุ่มผู้ประกอยการซึ่งกำลังการผลิตรวมกันเท่ากับร้อยละ 75 ของกำลังการผลิตรวมของประเทศ
2. การนำเข้าและการส่งออก
การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่า 75.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และมีอัตราการขยายตัว
ร้อยละ 142.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 2 มีการหดตัวของมูลค่าการนำเข้าเยื่อและเศษกระดาษเหลือเพียง 31.2
ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ แต่หากพิจารณาภาพโดยรวมการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2544 ลดลงจากช่วงเดียวกัน
ของปี 2543 ในอัตราลดลงร้อยละ -27.32 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของเยื่อกระดาษและเศษกระดาษมาจากประเทศสหรัฐ ฯ ประเทศแคนาดา และ
ประเทศแอฟริกาใต้ ตามลำดับ โดยมูลค่าการนำเข้าเศษกระดาษจะมีสัดส่วนมากกว่าการนำเข้าเยื่อกระดาษ
การนำเข้ากระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีอัตราการขยายตัวที่ลดลง ร้อยละ -31.07 จาก
ไตรมาสที่ 2 โดยมีมูลค่าการนำเข้าจำนวน 190.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ หากเทียบมูลค่าการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 กับปี 2543
มีอัตราการขยายตัวที่ลดลงร้อยละ -3.07 ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับการนำเข้าเยื่อและเศษกระดาษ แหล่งนำเข้าที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้
ส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐฯ และประเทศสิงคโปร์ ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2. การนำเข้าเยื่อและกระดาษ (หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้า 2541 2542 2543 ไตรมาส1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 เทียบ 9 เดือน เทียบไตรมาส
2544 2544 2544 2543-44 2/3-2544
1. เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 251.30 304.30 429.80 132.2 31.2 75.6 -27.32 142.30
2. กระดาษ กระดาษเเข็ง และผลิตภัณฑ์ 370.10 427.80 559.50 83.3 190.8 131.5 -3.07 -31.07
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การส่งออกสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษในช่วงไตรมาสที่ 3 ในปี 2544 มีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากไตรมาสที่ 2 อัตรา
การขยายตัวร้อยละ 19.70 และมีมูลค่าการส่งออกจำนวน 32.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ประเทศไต้หวัน ประเทศสหรัฐ ฯ
และ ประเทศจีน โดยมูลค่าการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในสัดส่วนร้อยละ 16.28 หากแบ่งการพิจารณาออก
เป็น 2 ผลิตภัณฑ์จะเห็นว่า ตลาดที่สำคัญของผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์ของไทย คือ ประเทศสหรัฐ ฯ สหราชอาณาจักร และประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีมูลค่า
การส่งออกในช่วง 3 ไตรมาสแรก จำนวน 37.6 ล้านเหรียญ ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์กระดาษใน 3 ไตรมาสใน มีมูลค่าทั้งสิ้นจำนวน
47.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ แหล่งตลาดที่สำคัญยังเป็นตลาดในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศไต้หวัน ประเทศจีน และฮ่องกง ตามลำดับ
การส่งออกกระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ในปี 2544 มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากไตรมาสที่ 2 โดยมี
อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -11.08 และมีมูลค่าการส่งออกทั้งไตรมาสจำนวน 138.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญในผลิตภัณฑ์
ประเภทนี้ของไทย คือ ฮ่องกง ประเทศมาเลเซีย และประเทศจีน และมีมูลค่ารวมของการส่งออกในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2544
จำนวน 417.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.72 เมื่อเทียบกับปีก่อนในช่วงเดียวกัน (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3. การส่งออกเยื่อและกระดาษ และสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์(หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ)
สินค้า 2541 2542 2543 ไตรมาส1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 เทียบ 9 เดือน เทียบไตรมาส
2544 2544 2544 2543-44(%) 2/3-2544(%)
1. สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ 79.50 90.30 97.60 25.2 27.4 32.80 16.28 19.70
2. กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ (ยกเว้นหีบกล่อง) 463.60 503.60 546.80 123.9 155.2 138.0 0.72 -11.08
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
3. สรุป
ภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษในช่วงไตรมาสที่ 3 มีการชะลอตัวลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ในปี 2544 อันเป็น
ผลมาจากการชะลอทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และภาวะของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสองประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย ทั้งในตลาดประเทศ
สหรัฐ ฯ และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งส่งออกและนำเข้าสำคัญในอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษของไทย อีกทั้งในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ได้เกิดวิกฤติ
การณ์การก่อการร้ายในประเทศสหรัฐ ฯ จึงเป็นปัจจัยโดยตรงที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐ ฯ และส่งผลโดยอ้อมต่อภาวะเศรษฐกิจของ
ประเทศญี่ปุ่นให้ตกต่ำลง คาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในทิศทางเดียวกันกับไตรมาสที่ 3 แม้ว่าปริมาณความต้องการใช้
กระดาษสูงในช่วงไตรมาสที่ 4 แต่การผลิตสะสมในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ น่าจะเพียงพอตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว ซึ่ง
พิจารณาได้จากดัชนีการผลิต การใช้กำลังการผลิต และปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไม่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--