ข่าวในประเทศ
1. ธปท.กล่าวถึงภาพรวมของสถาบันการเงินทั้งระบบ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ภาพรวมของสถาบันการเงินทั้งระบบปรับตัวดีขึ้นแล้ว ธพ.ส่วนใหญ่สามารถกันสำรองหนี้สูญได้ครบร้อยละ 100 และมีบางธนาคารกันสำรองได้มากกว่า เชื่อว่าในช่วง 3 เดือนก่อนสิ้นปี 43 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธพ. คงไม่ปรับเพิ่มขึ้น หรือหนี้ที่มีอยู่จะไม่เสื่อมค่าลงมากนัก และเอ็นพีแอลที่ตัดเป็นหนี้สูญส่วนใหญ่ได้มีการกันสำรองไว้เพื่อรองรับแล้ว ทำให้ ธพ.ไม่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว ขณะเดียวกันก็มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับที่เกินร้อยละ 10 ถือว่าฐานะของ ธพ.ไทยฟื้นตัวแล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไรในปี 44 นั้น ต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ โดย ธพ.ต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด เพราะอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ และการขยายตัวของสินเชื่อมีน้อย ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.41-ไตรมาสที่ 2 ของปี 43 สถาบันการเงินสามารถเพิ่มทุนได้แล้วจำนวน 946,161 ล.บาท โดยเป็นเงินกองทุนขั้นที่1 จำนวน 885,568 ล.บาท และเงินกองทุนขั้นที่ 2 จำนวน 60,593 ล.บาท (วัฏจักร 5)
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 43-45 บริษัท ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ จำกัด คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจของไทยโดยรวมในช่วงปี 43-45 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 5 ต่อปี โดยปี 43 การฟื้นตัวจะพึ่งพาภาคการส่งออกเป็นหลัก เนื่องจากภาวะอุปสงค์มวลรวมภายในประเทศยังคงเปราะบาง แม้ว่าจะปรับตัวดีขึ้นบ้าง แต่การว่างงานที่อยู่ในระดับสูง ปัญหาหนี้เสียของระบบสถาบันการเงินที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังเหลืออยู่มาก ส่งผลให้การฟื้นตัวของการลงทุนมีข้อจำกัด ทั้งนี้ การส่งออกในช่วงปี 43-45 มีแนวโน้มจะขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 12.0 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ ความต้องการในตลาดโลกที่ดีขึ้น และ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหา (ผู้จัดการรายวัน 5)
3. ความเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์การกำกับความเสี่ยงการปล่อยสินเชื่อของ ธ.เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธ.เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศจะออกเกณฑ์กำกับความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งมี 3 แนวทาง คือ (1) กำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ โดยพจารณาจากผลการประเมินความเสี่ยงของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (2) การกำกับความเสี่ยงจากเกณฑ์ที่สถาบันพัฒนาขึ้นเอง (3) สถาบันการเงินต้องพัฒนาแบบจำลองให้ครอบคลุมความเสี่ยงทั้งพอร์ต จากเกณฑ์ดังกล่าว ธปท.เห็นว่าเป็นการยากที่จะปฏิบัติได้ เพราะไทยมีสถาบันจัดอันดับเพียงแห่งเดียว ส่วนแบบจำลองต้องมีการสร้างข้อมูลสถิติว่าสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าไม่จ่ายหนี้ ซึ่งไทยยังไม่มีข้อมูล(ไทยรัฐ 5)
4. ก.คลังสรุปยอดการเบิกจ่ายเงินตามโครงการมิยาซาวาในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ ก.คลังรายงานว่า ในปีงบประมาณสิ้นสุด 25 ส.ค.43 ได้อนุมัติวงเงินในโครงการมิยาซาวาเป็นจำนวนทั้งสิ้น 54,102 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 99.5 ของวงเงินที่ได้ที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. โดยมีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 49,137.71 ล.บาท หรือร้อยละ 90.82 ของวงเงินที่สำนักงบประมาณอนุมัติ (กรุงเทพธุรกิจ 5)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 อยู่ที่มูลค่า 382.5 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากที่ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 8.1 ในเดือน ก.ค.43 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่ง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.6 เฉพาะ ความต้องการเครื่องบิน ยานอวกาศและชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.9 ขณะเดียวกัน ความต้องการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 (รอยเตอร์ 4)
2. ดัชนีกิจกรรมนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ.เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.0 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจาก Tempe, Arizona เมื่อวันที่ 4 ต.ค.43 The National Association of Purchasing Management (NAPM) รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ดัชนีกิจกรรมนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Non-manufacturing activity index) ของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.0 จากระดับ 60.0 ในเดือน ส.ค.43 โดยส่วนประกอบที่สำคัญของดัชนีฯมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างเดือน ก.ย. และ ส.ค. 43 ดังนี้ คำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 61.0 จากระดับ 59.5 ภาวะสินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 65.0 จากระดับ 61.5 และดัชนีราคาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 60.5 จากระดับ 59.0 ยกเว้น คำสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออก ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.5 จากระดับ 56.0 (รอยเตอร์ 4)
3. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวชะลอลง รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 4 ต.ค.43 Conference Board สำนักงาน สรอ. ซึ่งวิจัยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศผู้นำเศรษฐกิจ 15 ประเทศ รายงานผลการสำรวจระบุว่า เดือน ก.ค.43 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Index of leading indicators) ของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 89.5 ลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.6 และ 0.9 ในเดือน มิ.ย.43 และ พ.ค.43 ตามลำดับ เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงในช่วงเดือนต่อไป สำหรับ Coincident index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ลดลงร้อยละ 0.4 อยู่ที่ระดับ 103.6 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.43 และ พ.ค.43 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 4)
4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ. กลางอังกฤษจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 5 ต.ค. 43 รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ คาดว่า ธ. กลาง อังกฤษจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จากปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 6 ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนเงินกู้มีเสถียรภาพติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 จากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ของ ธ. กลาง ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งในช่วง เดือน ก.ย. 42 - ก.พ. 43 เพื่อป้องกันเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างร้อนแรงซึ่งผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น นับตั้งแต่นั้นมา เศรษฐกิจก็เริ่มมีสัญญานชะตัวลง (รอยเตอร์5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 4 ต.ค. 43 42.561 (42.400)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 4 ต.ค. 43 ซื้อ 42.3395 (42.1816) ขาย 42.6506 (42..4816)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.45 (29.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.กล่าวถึงภาพรวมของสถาบันการเงินทั้งระบบ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ภาพรวมของสถาบันการเงินทั้งระบบปรับตัวดีขึ้นแล้ว ธพ.ส่วนใหญ่สามารถกันสำรองหนี้สูญได้ครบร้อยละ 100 และมีบางธนาคารกันสำรองได้มากกว่า เชื่อว่าในช่วง 3 เดือนก่อนสิ้นปี 43 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธพ. คงไม่ปรับเพิ่มขึ้น หรือหนี้ที่มีอยู่จะไม่เสื่อมค่าลงมากนัก และเอ็นพีแอลที่ตัดเป็นหนี้สูญส่วนใหญ่ได้มีการกันสำรองไว้เพื่อรองรับแล้ว ทำให้ ธพ.ไม่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าว ขณะเดียวกันก็มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับที่เกินร้อยละ 10 ถือว่าฐานะของ ธพ.ไทยฟื้นตัวแล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไรในปี 44 นั้น ต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ โดย ธพ.ต้องปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด เพราะอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ และการขยายตัวของสินเชื่อมีน้อย ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.41-ไตรมาสที่ 2 ของปี 43 สถาบันการเงินสามารถเพิ่มทุนได้แล้วจำนวน 946,161 ล.บาท โดยเป็นเงินกองทุนขั้นที่1 จำนวน 885,568 ล.บาท และเงินกองทุนขั้นที่ 2 จำนวน 60,593 ล.บาท (วัฏจักร 5)
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงปี 43-45 บริษัท ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ จำกัด คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจของไทยโดยรวมในช่วงปี 43-45 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 5 ต่อปี โดยปี 43 การฟื้นตัวจะพึ่งพาภาคการส่งออกเป็นหลัก เนื่องจากภาวะอุปสงค์มวลรวมภายในประเทศยังคงเปราะบาง แม้ว่าจะปรับตัวดีขึ้นบ้าง แต่การว่างงานที่อยู่ในระดับสูง ปัญหาหนี้เสียของระบบสถาบันการเงินที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข ซึ่งขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังเหลืออยู่มาก ส่งผลให้การฟื้นตัวของการลงทุนมีข้อจำกัด ทั้งนี้ การส่งออกในช่วงปี 43-45 มีแนวโน้มจะขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 12.0 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือ ความต้องการในตลาดโลกที่ดีขึ้น และ ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการแก้ไขปัญหา (ผู้จัดการรายวัน 5)
3. ความเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์การกำกับความเสี่ยงการปล่อยสินเชื่อของ ธ.เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธ.เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศจะออกเกณฑ์กำกับความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งมี 3 แนวทาง คือ (1) กำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ โดยพจารณาจากผลการประเมินความเสี่ยงของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (2) การกำกับความเสี่ยงจากเกณฑ์ที่สถาบันพัฒนาขึ้นเอง (3) สถาบันการเงินต้องพัฒนาแบบจำลองให้ครอบคลุมความเสี่ยงทั้งพอร์ต จากเกณฑ์ดังกล่าว ธปท.เห็นว่าเป็นการยากที่จะปฏิบัติได้ เพราะไทยมีสถาบันจัดอันดับเพียงแห่งเดียว ส่วนแบบจำลองต้องมีการสร้างข้อมูลสถิติว่าสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกค้าไม่จ่ายหนี้ ซึ่งไทยยังไม่มีข้อมูล(ไทยรัฐ 5)
4. ก.คลังสรุปยอดการเบิกจ่ายเงินตามโครงการมิยาซาวาในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ ก.คลังรายงานว่า ในปีงบประมาณสิ้นสุด 25 ส.ค.43 ได้อนุมัติวงเงินในโครงการมิยาซาวาเป็นจำนวนทั้งสิ้น 54,102 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 99.5 ของวงเงินที่ได้ที่ได้รับอนุมัติจาก ครม. โดยมีการเบิกจ่ายไปแล้วจำนวน 49,137.71 ล.บาท หรือร้อยละ 90.82 ของวงเงินที่สำนักงบประมาณอนุมัติ (กรุงเทพธุรกิจ 5)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 อยู่ที่มูลค่า 382.5 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากที่ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 8.1 ในเดือน ก.ค.43 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่ง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.6 เฉพาะ ความต้องการเครื่องบิน ยานอวกาศและชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.9 ขณะเดียวกัน ความต้องการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 (รอยเตอร์ 4)
2. ดัชนีกิจกรรมนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ.เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.0 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจาก Tempe, Arizona เมื่อวันที่ 4 ต.ค.43 The National Association of Purchasing Management (NAPM) รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ดัชนีกิจกรรมนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Non-manufacturing activity index) ของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 62.0 จากระดับ 60.0 ในเดือน ส.ค.43 โดยส่วนประกอบที่สำคัญของดัชนีฯมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างเดือน ก.ย. และ ส.ค. 43 ดังนี้ คำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 61.0 จากระดับ 59.5 ภาวะสินค้าคงคลัง เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 65.0 จากระดับ 61.5 และดัชนีราคาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 60.5 จากระดับ 59.0 ยกเว้น คำสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออก ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.5 จากระดับ 56.0 (รอยเตอร์ 4)
3. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวชะลอลง รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 4 ต.ค.43 Conference Board สำนักงาน สรอ. ซึ่งวิจัยเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศผู้นำเศรษฐกิจ 15 ประเทศ รายงานผลการสำรวจระบุว่า เดือน ก.ค.43 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Index of leading indicators) ของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ 89.5 ลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.6 และ 0.9 ในเดือน มิ.ย.43 และ พ.ค.43 ตามลำดับ เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงในช่วงเดือนต่อไป สำหรับ Coincident index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ลดลงร้อยละ 0.4 อยู่ที่ระดับ 103.6 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.43 และ พ.ค.43 ตามลำดับ (รอยเตอร์ 4)
4. นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธ. กลางอังกฤษจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 5 ต.ค. 43 รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ คาดว่า ธ. กลาง อังกฤษจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย จากปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 6 ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนเงินกู้มีเสถียรภาพติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 จากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ของ ธ. กลาง ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 4 ครั้งในช่วง เดือน ก.ย. 42 - ก.พ. 43 เพื่อป้องกันเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างร้อนแรงซึ่งผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้น นับตั้งแต่นั้นมา เศรษฐกิจก็เริ่มมีสัญญานชะตัวลง (รอยเตอร์5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 4 ต.ค. 43 42.561 (42.400)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 4 ต.ค. 43 ซื้อ 42.3395 (42.1816) ขาย 42.6506 (42..4816)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.45 (29.94)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-