ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2542 เศรษฐกิจของจังหวัดพังงาค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากภาคการผลิตที่สำคัญคือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และ กุ้งกุลาดำ แม้ว่าราคาจะดีขึ้นกว่าปีก่อนๆ ยกเว้นปาล์มน้ำมัน แต่ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามภาคการท่องเที่ยวยังมีแนวโน้มที่ดี รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชนเริ่มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นเห็นได้จากปริมาณการจดทะเบียนธุรกิจใหม่ที่มากขึ้น และปริมาณการให้สินเชื่อ ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ภาคการเกษตร
ในช่วงครึ่งปีแรกปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นยางกำลังผลิใบอ่อน และให้น้ำยางน้อย เกษตรกร ส่วนใหญ่ จึงหยุดกรีดยาง เพื่อบำรุงรักษาต้นยางพารา ยกเว้นเกษตรกรรายย่อยที่จำเป็นต้องกรีดยาง(เปิดหน้ายางใหม่) เพื่อนำเงินมา ใช้จ่ายประจำวัน สำหรับระดับราคาในช่วง 5 เดือนแรก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อย ซึ่งเป็นไปตามภาวะกลไกตลาด อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายนระดับราคาปรับตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.38 บาท เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.99 บาท ในปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8
ผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดพังงาในออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย โดยผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เข้าสู่โรงงานในจังหวัดพังงาในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 2,081.9 ตัน ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 59.6 และราคาผลปาล์มสดชนิดร่วงที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.41 บาท เทียบกับกิโลกรัมละ 4.17 บาท ของระยะเวลาเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 42.2 เนื่องจากปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่แต่ละโรงงาน เก็บสต็อคไว้จาก ฤดูกาลที่ผ่านมายังมีจำนวนมาก รวมทั้งปริมาณที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลอด ฤดูกาลยังคงมีมากเช่นกัน ทำให้ราคาผลผลิตลดต่ำลงจาก ปีที่ผ่านมามาก
ในช่วงครึ่งปีแรกปริมาณกุ้งกุลาดำออกสู่ตลาดไม่มากนัก เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกเกิดโรคระบาดตัวแดง อย่างไรก็ตามเกษตรกรยังคงมี การปล่อยลูกกุ้งลงบ่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ แต่ปริมาณกุ้งที่ได้ขนาดออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก ขณะที่ราคากุ้งปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแหล่งผลิตกุ้งกุลาดำที่สำคัญของโลกคือ เอกวาดอร์ ประสบปัญหาโรคระบาด ทำให้ประเทศผู้นำเข้ากุ้ง หันมาสั่งกุ้งจากประเทศไทยมากขึ้น
นอกภาคการเกษตร
เหมืองแร่ ผลผลิตดีบุกที่ผลิตได้ในจังหวัดพังงาในช่วงครึ่งปีแรกลดลงต่อเนื่อง โดยผลิตได้ 204.5 เมตริกตัน เปรียบเทียบกับผลผลิต ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 358.4 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 42.9
การท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดพังงายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และชมทัศนียภาพทางธรรมชาติ บริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวส่วนใหญ่เป็นการเดินทางเช้าไปเย็นกลับจากจังหวัดกระบี่ และภูเก็ต อย่างไรก็ตามแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเขาหลักเริ่มเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะทัวร์เยอรมัน และสแกนดิเนเวีย เนื่องจากมีบรรยากาศในการท่องเที่ยวทั้งภูเขา ทะเล และธรรมชาติอยู่ครบ นอกจากนี้ภาครัฐได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีแนวคิดที่จะส่งเสริมธุรกิจดำน้ำในพังงาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน และบริเวณเกาะไข่ ซึ่งมีหาดทรายและโลกใต้น้ำที่สวยงาม
การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปในจังหวัดพังงาเริ่มปรับตัวดีขึ้น เห็นได้จากการจดทะเบียน รถใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดในช่วงครึ่งแรกนี้ มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่จำนวน 79 คัน 261 คัน และ 1,404 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 41.1 66.2 และ 49.7 ตามลำดับ
การลงทุน ภาวะการลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้กระเตื้องกว่าปีก่อนเล็กน้อย กิจการของภาคเอกชนมีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ จำนวน 24 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 28.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีการจดทะเบียน ธุรกิจใหม่จำนวนเพียง 21 ราย แต่มีทุนจดทะเบียนรวม 73.0 ล้านบาท
ด้านการก่อสร้างภายในจังหวัดยังคงเงียบเหงา พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ 5,040 ตารางเมตร ลดลงจาก 5,474 ตารางเมตร หรือลดลงร้อยละ 7.9 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พื้นที่ก่อสร้างได้รับอนุญาตเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย 4,623 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 405 ตารางเมตร และเพื่ออื่น ๆ 12 ตารางเมตร
ส่วนการลงทุนของภาครัฐที่สำคัญ คือ โครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปวัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามันบริเวณบ้านท่าด่าน ในเนื้อที่ประมาณ 55 ไร่ โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการตาม โครงการเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น (OECF) ในวงเงินงบประมาณดำเนินการ 127.60 ล้านบาท
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดพังงาพบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้ง ผ่านสำนักงาน จัดหางานจังหวัดทั้งสิ้น 10,237 อัตรา เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 701.0 ขณะที่มีผู้สมัครงานจำนวน 335 คน และได้รับบรรจุงานจำนวน 117 คน ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.3 และ 49.1 ตามลำดับ
การคลัง ในครึ่งปีแรกของปีนี้ ส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดพังงาเบิกเงินงบประมาณจากคลังจังหวัดจำนวน 1,190.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะ เวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.8 ขณะที่จัดเก็บภาษีในช่วงเวลาเดียวกันนี้ได้เพียง 102.7 ล้านบาท ลดลงจากระยะเวลาของปีก่อนร้อยละ 20.8 ภาษีที่จัดเก็บได้เป็นภาษีสรรพากร 102.4 ล้านบาท และภาษีสรรพสามิต 0.3 ล้านบาท
สาขาการเงินการธนาคาร ครึ่งปีแรกการหมุนเวียนของเงินสดในระบบเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย การรับจ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธนาคารแห่งประเทศไทยขยายตัวทั้งด้านรับและด้านจ่าย เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยปริมาณเงินสดรับมียอดรวม 1,950.6 ล้านบาท และเงินสดจ่ายรวม 1,879.3 ล้านบาท เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 และ 11.2 ตามลำดับ
ขณะเดียวกันปริมาณเงินโอนเข้า และโอนออกระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีปริมาณที่เพิ่มด้วยเช่นกันโดยมีจำนวนเงินโอนรวม 8,912.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นเงินโอนเข้า 5,087.1 ล้านบาท และเงินโอนออก 3,825.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 และ 27.4 ตามลำดับ นอกจากนี้สังเกตได้ว่านักธุรกิจหันมาชำระค่าสินค้าและบริการโดยการใช้เช็คมากขึ้น ปริมาณการใช้เช็คเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและมูลค่า จากข้อมูลเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในครึ่งปีแรกมีจำนวน 46,454 ฉบับ มูลค่ารวม 1,948.4 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 และ 7.7 ตามลำดับ
ส่วนธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีแนวโน้มลดต่ำลงตลอด แต่เงินฝากมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ การให้สินเชื่อ มี ปริมาณลดต่ำลง โดยยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีจำนวน7,042.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลา เดียวกันของปีก่อนเพียงร้อยละ 1.3 โดยร้อยละ 73.4 กระจายอยู่ในของเงินฝากประจำ และร้อยละ 25.1 อยู่ในรูปของเงินฝากออมทรัพย์
ขณะที่การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงโดยตลอดตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยลดลงในทุกๆประเภทของการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกมีการให้สินเชื่อจำนวน 4,371.0 เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 7.2 จำแนกเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 1,845.6 ล้านบาท เงินให้กู้ 1,983.6 ล้านบาท ตั๋วเงินและอื่นๆ 278.6 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อพบว่า การให้สินเชื่อ ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อแก่ภาคการค้าปลีก-ส่ง สินเชื่อเพื่อการเกษตร และสินเชื่อบริโภคส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตามการให้สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากระยะ เวลาเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยจำนวนเงินให้สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมียอดคงค้าง 322.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ในช่วง 6 เดือนแรกนี้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจจำนวน 4 ราย สินเชื่อรวม 56.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อทำธุรกิจโรงแรม
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดพังงาในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจของจังหวัดพังงาน่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยวคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว จากภูเก็ตและกระบี่เดินทางเข้ามาเที่ยวในจังหวัดพังงามากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายที่จะปรับปรุงด้านสาธารณูปโภคเช่น ถนน การปะปา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคการเกษตร
ในช่วงครึ่งปีแรกปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นยางกำลังผลิใบอ่อน และให้น้ำยางน้อย เกษตรกร ส่วนใหญ่ จึงหยุดกรีดยาง เพื่อบำรุงรักษาต้นยางพารา ยกเว้นเกษตรกรรายย่อยที่จำเป็นต้องกรีดยาง(เปิดหน้ายางใหม่) เพื่อนำเงินมา ใช้จ่ายประจำวัน สำหรับระดับราคาในช่วง 5 เดือนแรก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อย ซึ่งเป็นไปตามภาวะกลไกตลาด อย่างไรก็ตามในเดือนมิถุนายนระดับราคาปรับตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.38 บาท เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.99 บาท ในปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8
ผลผลิตปาล์มน้ำมันในจังหวัดพังงาในออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย โดยผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เข้าสู่โรงงานในจังหวัดพังงาในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 2,081.9 ตัน ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 59.6 และราคาผลปาล์มสดชนิดร่วงที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.41 บาท เทียบกับกิโลกรัมละ 4.17 บาท ของระยะเวลาเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 42.2 เนื่องจากปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่แต่ละโรงงาน เก็บสต็อคไว้จาก ฤดูกาลที่ผ่านมายังมีจำนวนมาก รวมทั้งปริมาณที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลอด ฤดูกาลยังคงมีมากเช่นกัน ทำให้ราคาผลผลิตลดต่ำลงจาก ปีที่ผ่านมามาก
ในช่วงครึ่งปีแรกปริมาณกุ้งกุลาดำออกสู่ตลาดไม่มากนัก เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกเกิดโรคระบาดตัวแดง อย่างไรก็ตามเกษตรกรยังคงมี การปล่อยลูกกุ้งลงบ่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ แต่ปริมาณกุ้งที่ได้ขนาดออกสู่ตลาดมีไม่มากนัก ขณะที่ราคากุ้งปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแหล่งผลิตกุ้งกุลาดำที่สำคัญของโลกคือ เอกวาดอร์ ประสบปัญหาโรคระบาด ทำให้ประเทศผู้นำเข้ากุ้ง หันมาสั่งกุ้งจากประเทศไทยมากขึ้น
นอกภาคการเกษตร
เหมืองแร่ ผลผลิตดีบุกที่ผลิตได้ในจังหวัดพังงาในช่วงครึ่งปีแรกลดลงต่อเนื่อง โดยผลิตได้ 204.5 เมตริกตัน เปรียบเทียบกับผลผลิต ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 358.4 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 42.9
การท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดพังงายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และชมทัศนียภาพทางธรรมชาติ บริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวส่วนใหญ่เป็นการเดินทางเช้าไปเย็นกลับจากจังหวัดกระบี่ และภูเก็ต อย่างไรก็ตามแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเขาหลักเริ่มเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะทัวร์เยอรมัน และสแกนดิเนเวีย เนื่องจากมีบรรยากาศในการท่องเที่ยวทั้งภูเขา ทะเล และธรรมชาติอยู่ครบ นอกจากนี้ภาครัฐได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีแนวคิดที่จะส่งเสริมธุรกิจดำน้ำในพังงาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน และบริเวณเกาะไข่ ซึ่งมีหาดทรายและโลกใต้น้ำที่สวยงาม
การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปในจังหวัดพังงาเริ่มปรับตัวดีขึ้น เห็นได้จากการจดทะเบียน รถใหม่ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดในช่วงครึ่งแรกนี้ มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่จำนวน 79 คัน 261 คัน และ 1,404 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 41.1 66.2 และ 49.7 ตามลำดับ
การลงทุน ภาวะการลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปีนี้กระเตื้องกว่าปีก่อนเล็กน้อย กิจการของภาคเอกชนมีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ จำนวน 24 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 28.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีการจดทะเบียน ธุรกิจใหม่จำนวนเพียง 21 ราย แต่มีทุนจดทะเบียนรวม 73.0 ล้านบาท
ด้านการก่อสร้างภายในจังหวัดยังคงเงียบเหงา พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ 5,040 ตารางเมตร ลดลงจาก 5,474 ตารางเมตร หรือลดลงร้อยละ 7.9 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พื้นที่ก่อสร้างได้รับอนุญาตเป็นการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย 4,623 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 405 ตารางเมตร และเพื่ออื่น ๆ 12 ตารางเมตร
ส่วนการลงทุนของภาครัฐที่สำคัญ คือ โครงการจัดตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยศิลปวัฒนธรรมและประเพณีแห่งอันดามันบริเวณบ้านท่าด่าน ในเนื้อที่ประมาณ 55 ไร่ โดยได้รับอนุมัติให้ดำเนินการตาม โครงการเงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่น (OECF) ในวงเงินงบประมาณดำเนินการ 127.60 ล้านบาท
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดพังงาพบว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้ง ผ่านสำนักงาน จัดหางานจังหวัดทั้งสิ้น 10,237 อัตรา เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 701.0 ขณะที่มีผู้สมัครงานจำนวน 335 คน และได้รับบรรจุงานจำนวน 117 คน ลดลงจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.3 และ 49.1 ตามลำดับ
การคลัง ในครึ่งปีแรกของปีนี้ ส่วนราชการต่างๆ ในจังหวัดพังงาเบิกเงินงบประมาณจากคลังจังหวัดจำนวน 1,190.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะ เวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.8 ขณะที่จัดเก็บภาษีในช่วงเวลาเดียวกันนี้ได้เพียง 102.7 ล้านบาท ลดลงจากระยะเวลาของปีก่อนร้อยละ 20.8 ภาษีที่จัดเก็บได้เป็นภาษีสรรพากร 102.4 ล้านบาท และภาษีสรรพสามิต 0.3 ล้านบาท
สาขาการเงินการธนาคาร ครึ่งปีแรกการหมุนเวียนของเงินสดในระบบเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย การรับจ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธนาคารแห่งประเทศไทยขยายตัวทั้งด้านรับและด้านจ่าย เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยปริมาณเงินสดรับมียอดรวม 1,950.6 ล้านบาท และเงินสดจ่ายรวม 1,879.3 ล้านบาท เปรียบเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 และ 11.2 ตามลำดับ
ขณะเดียวกันปริมาณเงินโอนเข้า และโอนออกระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีปริมาณที่เพิ่มด้วยเช่นกันโดยมีจำนวนเงินโอนรวม 8,912.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เป็นเงินโอนเข้า 5,087.1 ล้านบาท และเงินโอนออก 3,825.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 และ 27.4 ตามลำดับ นอกจากนี้สังเกตได้ว่านักธุรกิจหันมาชำระค่าสินค้าและบริการโดยการใช้เช็คมากขึ้น ปริมาณการใช้เช็คเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและมูลค่า จากข้อมูลเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในครึ่งปีแรกมีจำนวน 46,454 ฉบับ มูลค่ารวม 1,948.4 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 และ 7.7 ตามลำดับ
ส่วนธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีแนวโน้มลดต่ำลงตลอด แต่เงินฝากมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ การให้สินเชื่อ มี ปริมาณลดต่ำลง โดยยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 มีจำนวน7,042.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลา เดียวกันของปีก่อนเพียงร้อยละ 1.3 โดยร้อยละ 73.4 กระจายอยู่ในของเงินฝากประจำ และร้อยละ 25.1 อยู่ในรูปของเงินฝากออมทรัพย์
ขณะที่การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงโดยตลอดตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยลดลงในทุกๆประเภทของการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ในช่วง 6 เดือนแรกมีการให้สินเชื่อจำนวน 4,371.0 เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 7.2 จำแนกเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 1,845.6 ล้านบาท เงินให้กู้ 1,983.6 ล้านบาท ตั๋วเงินและอื่นๆ 278.6 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อพบว่า การให้สินเชื่อ ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อแก่ภาคการค้าปลีก-ส่ง สินเชื่อเพื่อการเกษตร และสินเชื่อบริโภคส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตามการให้สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากระยะ เวลาเดียวกันปีที่ผ่านมา โดยจำนวนเงินให้สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมียอดคงค้าง 322.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ในช่วง 6 เดือนแรกนี้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ให้สินเชื่อแก่ธุรกิจจำนวน 4 ราย สินเชื่อรวม 56.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อทำธุรกิจโรงแรม
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดพังงาในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจของจังหวัดพังงาน่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยวคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว จากภูเก็ตและกระบี่เดินทางเข้ามาเที่ยวในจังหวัดพังงามากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายที่จะปรับปรุงด้านสาธารณูปโภคเช่น ถนน การปะปา เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-