ข่าวในประเทศ
1. ธปท. รายงานผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินทั้งระบบในปี 43 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชนในฐานะรองโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 43 สถาบันการเงินทั้งระบบของไทยมีผลการดำเนินงานที่กระเตื้องขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 42 โดยมีผลการดำเนินงานขาดทุนลดลงเหลือ 13.8 พัน ล.บาทจากปี 42 ที่ขาดทุน 359.4 พัน ล.บาท โดย ธพ.ไทยทั้งระบบมีกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนการหักสำรอง) จำนวน 3.5 พัน ล.บาท ในส่วนนี้ ธพ.เอกชน 5 แห่งมีผลกำไรทั้งสิ้น 20.6 พัน ล.บาท ภายหลังหักสำรองเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญซึ่งสูงถึง 119.4 พัน ล.บาทแล้ว ทำให้ ธพ.ไทยขาดทุนสุทธิ 11.5 พัน ล.บาท ลดลงมากเมื่อเทียบกับผลขาดทุนในปี 42 ที่สูงถึง 335 พัน ล.บาท ปัจจัยที่ทำให้ระบบ ธพ.ไทยมีผลขาดทุนลดลงมากในปี 43 เกิดจาก ธพ.ของรัฐบางแห่งปรับปรุงรายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกิดจากการโอนหนี้ไปยังเอเอ็มซี กลับเป็นรายได้ ส่งผลให้มีกำไรสุทธิจากส่วนนี้ 68.6 พันล้านบาท ซึ่งช่วยชดเชยผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในครึ่งปีแรกได้มาก สำหรับ บง.จำนวน 21 แห่งมีผลการดำเนินงานดีขึ้นมากเช่นเดียวกัน โดยมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนสุทธิรวม 2.3 พัน ล.บาท ลดลงจากที่เคยขาดทุน 24.4 พัน ล.บาทในปี 42 เนื่องจากมี บง.ได้กำไรในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 11 แห่งจากเดิมที่เคยมีเพียง 6 แห่งในปี 42 โดยปัจจัยหลักมาจากภาระการกันสำรองลดลง โดยมีเพียง 7 แห่งที่ยังต้องกันสำรองเพิ่มให้ครบในงวดครึ่งปีหลัง โดยยอดกันสำรองในปี 43 ของบง.ทั้งระบบมีเพียง 6.4 พัน ล.บาท เป็นจำนวนเพียง 1 ใน 4 ของยอดการกันสำรองของปี 42 เท่านั้น(ผู้จัดการรายวัน 28)
2. ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงกรอบในการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า ประเด็นสำคัญที่สุดเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ (เอเอ็มซีแห่งชาติ) คือ เรื่องการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการสร้างระบบที่ดี สำหรับประเด็นปัญหาทางด้านกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ไปยังเอเอ็มซีแห่งชาตินั้นเป็นความสำคัญลำดับสุดท้าย ซึ่งจะมีการประชุมกับคณะทำงาน ในวันที่ 1 มี.ค.44 เพื่อหารือกรอบการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ (โลกวันนี้ 28)
3. ธปท.กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีทางแพ่งในกรณี ศปร.2 นายรัฐกรณ์ นิ่มวัฒนา ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีทางแพ่งในกรณี ศปร.2 ว่า ธปท.และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ส่งข้อมูลเอกสารและหลักฐานเพื่อเรียกร้องความเสียหายในการดำเนินคดีทางแพ่งต่อผู้ที่ถูกระบุใน ศปร.2 ให้ ก.คลัง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ก.คลัง ขณะเดียวกัน ได้ส่งเอกสารหลักฐานชุดเดียวกันให้อัยการพิจารณาพร้อมไปด้วย ซึ่งหาก ก.คลังพิจารณาไม่ทันอายุความ แต่อัยการเห็นว่าเหตุผลควรฟ้อง อัยการสามารถยื่นฟ้องไปก่อนได้โดยไม่ต้องรอผลการสรุปของ ก.คลัง และหากภายหลัง ก.คลังมีความเห็นว่าไม่ควรฟ้อง ก็สามารถถอนฟ้องได้ สำหรับคดีที่ ธปท.ฟ้องเรียกร้องความเสียหายตามที่ ศปร.2 ระบุ คือ เรื่องการปกป้องค่าเงินบาท ในส่วนของกองทุนฟื้นฟูฯ คือ ความเสียหายกรณีปิดสถาบันการเงิน และกรณีของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ(บีบีซี) (กรุงเทพธุรกิจ 28)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ. 44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 27 ก.พ.44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมในเดือน ก.พ.44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.39 โดยอยู่ที่ระดับ 106.8 เทียบกับ 115.7 ในเดือน ม.ค.44 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 114.4 ดัชนีฯ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 164.1 เทียบกับ 170.4 ในเดือน ม.ค. และดัชนีฯ ความคาดหวังเกี่ยวกับเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ 68.7 ลดลงจาก 79.3 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของ Conference Board (Lynn Franco) กล่าวว่า แม้แนวโน้มเศรษฐกิจ สรอ. ในระยะสั้น ยังคงมีสัญญาณการลดลงรุนแรง แต่จากการประเมินดัชนีความเชื่อมั่นฯ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันแล้วเห็นว่าเศรษฐกิจ สรอ.ยังคงเติบโตพอประมาณ (รอยเตอร์ 27)
2. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ลดลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 ก.พ. 44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวม ที่ปรับฤดูกาล มีมูลค่า 202.02 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 6 หลังจากที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.2 ในเดือน ธ.ค.43 นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 42 ที่มีมูลค่า 197.1 พัน ล. ดอลลาร์ และลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะลดลงร้อยละ 3 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯส่วนใหญ่ที่ลดลง เนื่องจากคำสั่งซื้ออุปกรณ์ด้านการขนส่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของคำสั่งซื้อฯโดยรวม ลดลงร้อยละ 22.4 เทียบกับเดือน ธ.ค. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมคำสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่ง คำสั่งซื้อฯ ในเดือน ม.ค. 44 ลดลงร้อยละ 0.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.1 ในเดือน ธ.ค. 43 จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจของ สรอ. ขยายตัวชะลอลง (รอยเตอร์27)
3. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ลดลงร้อยละ 10.9 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ27 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ยอดขายบ้านใหม่ครอบครัวเดี่ยว ที่ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 10.9 เหลือจำนวน9.21 แสนหลังต่อปี หลังจากที่มีจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.034 ล. หลังต่อปี ในเดือน ธ.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 23.8 ในเดือน ม.ค. 37 และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะมีจำนวน 9.3 แสนหลังต่อปี โดยยอดการบ้านฯ ลดลงในทุกภาคของประเทศ รายงานดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยในขณะนี้ อาจจะชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจของ สรอ. อ่อนแอ (รอยเตอร์27)4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.9 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.พ.44 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ที่ปรับฤดูกาล ในเดือน ม.ค.44 เทียบเดือนต่อเดือน ลดลงร้อยละ 3.9 จากเดือน ธ.ค.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 การส่งมอบสินค้าลดลงร้อยละ 3.8 เทียบกับเดือน ธ.ค.ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบกับเดือน ธ.ค.ที่ลดลงร้อยละ 0.1 และสัดส่วนสินค้าคงคลัง/การส่งมอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับเดือน ธ.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 (รอยเตอร์ 28)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.พ. 44 42.875 (42.942)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.พ. 44ซื้อ 42.6877 (42.7295) ขาย 42.9952 (43.0389)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.46 (23.09)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. รายงานผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินทั้งระบบในปี 43 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชนในฐานะรองโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 43 สถาบันการเงินทั้งระบบของไทยมีผลการดำเนินงานที่กระเตื้องขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 42 โดยมีผลการดำเนินงานขาดทุนลดลงเหลือ 13.8 พัน ล.บาทจากปี 42 ที่ขาดทุน 359.4 พัน ล.บาท โดย ธพ.ไทยทั้งระบบมีกำไรจากการดำเนินงาน (ก่อนการหักสำรอง) จำนวน 3.5 พัน ล.บาท ในส่วนนี้ ธพ.เอกชน 5 แห่งมีผลกำไรทั้งสิ้น 20.6 พัน ล.บาท ภายหลังหักสำรองเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญซึ่งสูงถึง 119.4 พัน ล.บาทแล้ว ทำให้ ธพ.ไทยขาดทุนสุทธิ 11.5 พัน ล.บาท ลดลงมากเมื่อเทียบกับผลขาดทุนในปี 42 ที่สูงถึง 335 พัน ล.บาท ปัจจัยที่ทำให้ระบบ ธพ.ไทยมีผลขาดทุนลดลงมากในปี 43 เกิดจาก ธพ.ของรัฐบางแห่งปรับปรุงรายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกิดจากการโอนหนี้ไปยังเอเอ็มซี กลับเป็นรายได้ ส่งผลให้มีกำไรสุทธิจากส่วนนี้ 68.6 พันล้านบาท ซึ่งช่วยชดเชยผลขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นในครึ่งปีแรกได้มาก สำหรับ บง.จำนวน 21 แห่งมีผลการดำเนินงานดีขึ้นมากเช่นเดียวกัน โดยมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนสุทธิรวม 2.3 พัน ล.บาท ลดลงจากที่เคยขาดทุน 24.4 พัน ล.บาทในปี 42 เนื่องจากมี บง.ได้กำไรในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 11 แห่งจากเดิมที่เคยมีเพียง 6 แห่งในปี 42 โดยปัจจัยหลักมาจากภาระการกันสำรองลดลง โดยมีเพียง 7 แห่งที่ยังต้องกันสำรองเพิ่มให้ครบในงวดครึ่งปีหลัง โดยยอดกันสำรองในปี 43 ของบง.ทั้งระบบมีเพียง 6.4 พัน ล.บาท เป็นจำนวนเพียง 1 ใน 4 ของยอดการกันสำรองของปี 42 เท่านั้น(ผู้จัดการรายวัน 28)
2. ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวถึงกรอบในการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า ประเด็นสำคัญที่สุดเมื่อมีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ (เอเอ็มซีแห่งชาติ) คือ เรื่องการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการสร้างระบบที่ดี สำหรับประเด็นปัญหาทางด้านกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ไปยังเอเอ็มซีแห่งชาตินั้นเป็นความสำคัญลำดับสุดท้าย ซึ่งจะมีการประชุมกับคณะทำงาน ในวันที่ 1 มี.ค.44 เพื่อหารือกรอบการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ (โลกวันนี้ 28)
3. ธปท.กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีทางแพ่งในกรณี ศปร.2 นายรัฐกรณ์ นิ่มวัฒนา ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินคดีทางแพ่งในกรณี ศปร.2 ว่า ธปท.และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้ส่งข้อมูลเอกสารและหลักฐานเพื่อเรียกร้องความเสียหายในการดำเนินคดีทางแพ่งต่อผู้ที่ถูกระบุใน ศปร.2 ให้ ก.คลัง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ก.คลัง ขณะเดียวกัน ได้ส่งเอกสารหลักฐานชุดเดียวกันให้อัยการพิจารณาพร้อมไปด้วย ซึ่งหาก ก.คลังพิจารณาไม่ทันอายุความ แต่อัยการเห็นว่าเหตุผลควรฟ้อง อัยการสามารถยื่นฟ้องไปก่อนได้โดยไม่ต้องรอผลการสรุปของ ก.คลัง และหากภายหลัง ก.คลังมีความเห็นว่าไม่ควรฟ้อง ก็สามารถถอนฟ้องได้ สำหรับคดีที่ ธปท.ฟ้องเรียกร้องความเสียหายตามที่ ศปร.2 ระบุ คือ เรื่องการปกป้องค่าเงินบาท ในส่วนของกองทุนฟื้นฟูฯ คือ ความเสียหายกรณีปิดสถาบันการเงิน และกรณีของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ(บีบีซี) (กรุงเทพธุรกิจ 28)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ก.พ. 44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 27 ก.พ.44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมในเดือน ก.พ.44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.39 โดยอยู่ที่ระดับ 106.8 เทียบกับ 115.7 ในเดือน ม.ค.44 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 114.4 ดัชนีฯ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 164.1 เทียบกับ 170.4 ในเดือน ม.ค. และดัชนีฯ ความคาดหวังเกี่ยวกับเศรษฐกิจอยู่ที่ระดับ 68.7 ลดลงจาก 79.3 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ของ Conference Board (Lynn Franco) กล่าวว่า แม้แนวโน้มเศรษฐกิจ สรอ. ในระยะสั้น ยังคงมีสัญญาณการลดลงรุนแรง แต่จากการประเมินดัชนีความเชื่อมั่นฯ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันแล้วเห็นว่าเศรษฐกิจ สรอ.ยังคงเติบโตพอประมาณ (รอยเตอร์ 27)
2. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ลดลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 27 ก.พ. 44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวม ที่ปรับฤดูกาล มีมูลค่า 202.02 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 6 หลังจากที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.2 ในเดือน ธ.ค.43 นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 42 ที่มีมูลค่า 197.1 พัน ล. ดอลลาร์ และลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะลดลงร้อยละ 3 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯส่วนใหญ่ที่ลดลง เนื่องจากคำสั่งซื้ออุปกรณ์ด้านการขนส่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของคำสั่งซื้อฯโดยรวม ลดลงร้อยละ 22.4 เทียบกับเดือน ธ.ค. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมคำสั่งซื้ออุปกรณ์การขนส่ง คำสั่งซื้อฯ ในเดือน ม.ค. 44 ลดลงร้อยละ 0.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.1 ในเดือน ธ.ค. 43 จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจของ สรอ. ขยายตัวชะลอลง (รอยเตอร์27)
3. ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ.ลดลงร้อยละ 10.9 ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ27 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ม.ค. 44 ยอดขายบ้านใหม่ครอบครัวเดี่ยว ที่ปรับฤดูกาล ลดลงร้อยละ 10.9 เหลือจำนวน9.21 แสนหลังต่อปี หลังจากที่มีจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.034 ล. หลังต่อปี ในเดือน ธ.ค. 43 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 23.8 ในเดือน ม.ค. 37 และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะมีจำนวน 9.3 แสนหลังต่อปี โดยยอดการบ้านฯ ลดลงในทุกภาคของประเทศ รายงานดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยในขณะนี้ อาจจะชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจของ สรอ. อ่อนแอ (รอยเตอร์27)4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.9 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 ก.พ.44 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ที่ปรับฤดูกาล ในเดือน ม.ค.44 เทียบเดือนต่อเดือน ลดลงร้อยละ 3.9 จากเดือน ธ.ค.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 การส่งมอบสินค้าลดลงร้อยละ 3.8 เทียบกับเดือน ธ.ค.ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบกับเดือน ธ.ค.ที่ลดลงร้อยละ 0.1 และสัดส่วนสินค้าคงคลัง/การส่งมอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบกับเดือน ธ.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 (รอยเตอร์ 28)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.พ. 44 42.875 (42.942)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 ก.พ. 44ซื้อ 42.6877 (42.7295) ขาย 42.9952 (43.0389)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.46 (23.09)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-