คำถาม : BIS คืออะไร
คำตอบ : BIS ย่อมาจาก Bank for International Settlements หรือธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ เป็นองค์การ
ระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยธนาคารกลางในกลุ่มประเทศยุโรปเมื่อ ปี 2473 มีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อช่วยเหลือและให้
ความร่วมมือกับประเทศ ต่างๆ ที่ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ประเทศพันธมิตรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมา
BIS ได้ขยายบทบาทเป็นผู้ประสานงานระหว่งธนาคารกลางของกลุ่มประเทศสมาชิก โดยการจัดประชุมเพื่อแสวงหาความ
ร่วมมือทางการเงิน ปัจจุบัน BIS มีสมาชิก 45 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
BIS เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นในฐานะที่เป็นผู้นำมาตรฐานสากลมาใช้ในเรื่องความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน (Capital Adequacy radio) เพื่อพิจารณาความมั่นคงของสถาบันการเงินในประเทศต่างๆ มาตรฐานดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า "มาตรฐาน BIS " ซึ่งกำหนดว่าอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินไม่ควรอยู่ในระดับต่ำกว่า ร้อยละ 8 โดยให้คำ นิยามของ "เงินกองทุน" และ "สินทรัพย์เสี่ยง" ที่เป็นสากลไว้ชัดเจน
สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิก BIS แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้นำมาตรฐาน BIS มาใช้กำกับสถาบันการเงินต่างๆ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา เพื่อให้สถาบันการเงินของไทยมีความมั่นคงตามมาตรฐานสากล
คำถาม : คำย่อ EMS ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงอะไรและมีความสำคัญอย่างไร
คำตอบ : EMS ย่อมาจากคำว่า Electronics Manufacturing Services หมายถึงบริษัทผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้อน
ให้แก่บริษัทผู้ว่าจ้างที่เป็นเจ้าของยี่ห้อสินค้า โดยทั่วไป EMS จะไม่ผลิตสินค้าภายใต้ยี่ห้อของตนเอง แต่จะรับจ้างผลิตชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่เจ้าของยี่ห้อสินค้าเท่านั้น ซึ่งอาจจะรับจ้างผลิตเพียงยี่ห้อเดียวหรือหลายยี่ห้อก็ได้ โรงงานและระบบงานของ
EMS จึงมักถูกออกแบบในลักษณะที่สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตได้ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ
ได้อย่างกลากหลายและรวดเร็ว ส่งผลให้ EMS มีอัตรการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับสูง
จากลักษณะของ EMS ที่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตทำให้ EMS สามารถทุ่มเททรัพยกรของบริษัทเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
ได้อย่างเต็มที่ โดยมิต้องกังวลกับงานทางด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้า ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมด้านการตลาด เพราะเป็น
หน้าที่ของผู้ว่าจ้างที่เป็นเจ้าของยี่ห้อสินค้านั้นโดยตรง นอกจากนี้ การผลิตของ EMS ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในปริมาณมาก
(MASS Production) ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับต่ำ เจ้าของยี่ห้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ต่างๆ จึงนิยมว่าจ้าง EMS ให้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้เพื่อลดต้นทุนการผลิตลง
คำถาม : ประเทศใดมีรายได้จากการค้าบริการ (Trade in Services) สูงที่สุดในโลก
คำตอบ : "บริการ" หมายถึง สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็น ไม่สามารถจับต้องได้ รวมทั้งไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้เหมือนสินค้าซึ่งเป็นวัตถุที่มี
ตัวตน ตัวอย่างของการค้าบริการ เช่น การให้คำปรึกษาทางธุรกิจ การขนส่ง การท่องเที่ยว การเงิน-การธนาคาร และการ
ประกันภัย เป็นต้น
ปัจจุบันการค้าบริการมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการค้าบริการรวมของทั้งโลกที่เพิ่มขึ้นจาก 988 พันล้าน
ดอลลาร์ สหรัฐฯ ในปี 2539 เป็นต้น 1,383 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2542 การค้าบริการส่วนใหญ่ กระจุกตัวอย่ในกลุ่ม
ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่มีรายได้จากการค้าบริการมากที่สุดในโลกในปี 2542 คือสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรายได้จากการค้า
บริการสูงถึง 252 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 18.2% ของรายได้จากการค้าบริการรวมทั้งโลก รองลงมาคือ อังกฤษ
(101 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 18.2% ของรายได้จากการค้าบริการรวมทั้งโลก) และฝรั่งเศส (77 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐฯ หรือราว 5.6% ของรายได้จากการค้าบริการรวมทั้งโลก)--จบ--
--Exim News ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม 2543--
-อน-
คำตอบ : BIS ย่อมาจาก Bank for International Settlements หรือธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ เป็นองค์การ
ระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยธนาคารกลางในกลุ่มประเทศยุโรปเมื่อ ปี 2473 มีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อช่วยเหลือและให้
ความร่วมมือกับประเทศ ต่างๆ ที่ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ประเทศพันธมิตรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมา
BIS ได้ขยายบทบาทเป็นผู้ประสานงานระหว่งธนาคารกลางของกลุ่มประเทศสมาชิก โดยการจัดประชุมเพื่อแสวงหาความ
ร่วมมือทางการเงิน ปัจจุบัน BIS มีสมาชิก 45 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
BIS เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นในฐานะที่เป็นผู้นำมาตรฐานสากลมาใช้ในเรื่องความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน (Capital Adequacy radio) เพื่อพิจารณาความมั่นคงของสถาบันการเงินในประเทศต่างๆ มาตรฐานดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า "มาตรฐาน BIS " ซึ่งกำหนดว่าอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินไม่ควรอยู่ในระดับต่ำกว่า ร้อยละ 8 โดยให้คำ นิยามของ "เงินกองทุน" และ "สินทรัพย์เสี่ยง" ที่เป็นสากลไว้ชัดเจน
สำหรับประเทศไทย แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิก BIS แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้นำมาตรฐาน BIS มาใช้กำกับสถาบันการเงินต่างๆ ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา เพื่อให้สถาบันการเงินของไทยมีความมั่นคงตามมาตรฐานสากล
คำถาม : คำย่อ EMS ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงอะไรและมีความสำคัญอย่างไร
คำตอบ : EMS ย่อมาจากคำว่า Electronics Manufacturing Services หมายถึงบริษัทผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้อน
ให้แก่บริษัทผู้ว่าจ้างที่เป็นเจ้าของยี่ห้อสินค้า โดยทั่วไป EMS จะไม่ผลิตสินค้าภายใต้ยี่ห้อของตนเอง แต่จะรับจ้างผลิตชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่เจ้าของยี่ห้อสินค้าเท่านั้น ซึ่งอาจจะรับจ้างผลิตเพียงยี่ห้อเดียวหรือหลายยี่ห้อก็ได้ โรงงานและระบบงานของ
EMS จึงมักถูกออกแบบในลักษณะที่สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตได้ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ
ได้อย่างกลากหลายและรวดเร็ว ส่งผลให้ EMS มีอัตรการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับสูง
จากลักษณะของ EMS ที่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตทำให้ EMS สามารถทุ่มเททรัพยกรของบริษัทเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
ได้อย่างเต็มที่ โดยมิต้องกังวลกับงานทางด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้า ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมด้านการตลาด เพราะเป็น
หน้าที่ของผู้ว่าจ้างที่เป็นเจ้าของยี่ห้อสินค้านั้นโดยตรง นอกจากนี้ การผลิตของ EMS ส่วนใหญ่เป็นการผลิตในปริมาณมาก
(MASS Production) ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับต่ำ เจ้าของยี่ห้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ต่างๆ จึงนิยมว่าจ้าง EMS ให้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้เพื่อลดต้นทุนการผลิตลง
คำถาม : ประเทศใดมีรายได้จากการค้าบริการ (Trade in Services) สูงที่สุดในโลก
คำตอบ : "บริการ" หมายถึง สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็น ไม่สามารถจับต้องได้ รวมทั้งไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้เหมือนสินค้าซึ่งเป็นวัตถุที่มี
ตัวตน ตัวอย่างของการค้าบริการ เช่น การให้คำปรึกษาทางธุรกิจ การขนส่ง การท่องเที่ยว การเงิน-การธนาคาร และการ
ประกันภัย เป็นต้น
ปัจจุบันการค้าบริการมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการค้าบริการรวมของทั้งโลกที่เพิ่มขึ้นจาก 988 พันล้าน
ดอลลาร์ สหรัฐฯ ในปี 2539 เป็นต้น 1,383 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2542 การค้าบริการส่วนใหญ่ กระจุกตัวอย่ในกลุ่ม
ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่มีรายได้จากการค้าบริการมากที่สุดในโลกในปี 2542 คือสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีรายได้จากการค้า
บริการสูงถึง 252 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 18.2% ของรายได้จากการค้าบริการรวมทั้งโลก รองลงมาคือ อังกฤษ
(101 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 18.2% ของรายได้จากการค้าบริการรวมทั้งโลก) และฝรั่งเศส (77 พันล้านดอลลาร์
สหรัฐฯ หรือราว 5.6% ของรายได้จากการค้าบริการรวมทั้งโลก)--จบ--
--Exim News ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม 2543--
-อน-