ข่าวในประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในเดือน ต.ค. 44 ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค. 44 ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. 44 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 61.8 จาก 56.4 ดัชนีฯ เกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 51.1 จาก 42.4 ดัชนีฯ เกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคตอยู่ที่ระดับ 72.4 จาก 70.5 ดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ระดับ 56.2 จาก 50.5 ดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสหางานในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 45.2 จาก 44.5 ดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสหางานทำในอนาคตอยู่ที่ระดับ 67.2 จาก 56.5 และดัชนีฯ เกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 83.2 จาก 82.6 ในเดือน ก.ย. 44 (เดลินิวส์ 15)
2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เตรียมออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเตรียมออกประมูลตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ 2 รุ่น วงเงิน 6.5 พัน ล.บาท โดยจะออกประมูลในวันที่ 26 พ.ย. 44 วงเงิน 3.5 พัน ล.บาท อายุ 28 วัน และวันที่ 3 ธ.ค. 44 วงเงิน 3 พัน ล.บาท อายุ 27 วัน ซึ่งเป็นการกู้เงินระยะสั้นจากตลาดเงินเพื่อนำมาชำระคืนหนี้เดิมที่ครบกำหนดชำระคืน หลังจากที่เลื่อนการออกตั๋วฯ มาตั้งแต่เดือน มิ.ย. 44 (ไทยโพสต์ 15)
3. ปริมาณธุรกรรมการหักบัญชีระหว่างธนาคารเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 44 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงยอดการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ในไตรมาส 3 ปี 44 ว่า ปริมาณเช็คเรียกเก็บมีจำนวน 14 ล.ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3,865.78 พัน ล.บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ร้อยละ 3.1 และ 4.5 ตามลำดับ เป็นผลจากภาวะการอุปโภคบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ประกอบกับ ธพ.ขนาดใหญ่และสาขา ธ.ต่างประเทศมีการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณเช็คเรียกคืนมีจำนวนทั้งสิ้น 345,028 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 34.60 พัน ล.บาท ลดลงจากไตรมาส 2 ร้อยละ 1.4 และ 1.2 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับทรงตัวที่ร้อยละ 2.5 และ 0.9 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ส่วนเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณทั้งสิ้น 207,291 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 16.20 พัน ล.บาท ลดลงจากไตรมาส 2 ร้อยละ 1.4 และ 8.5 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คคืนคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับทรงตัวที่ร้อยละ 1.5 และ 0.4 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 (โลกวันนี้ 15)
4. บีโอไอและยูเอฟเจร่วมมือส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในไทย รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 พ.ย.44 รมว.คลังได้เป็นประธานลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกลุ่มธนาคารยูไนเต็ดไฟแนนเชียล ออฟ แจแปน (ยูเอฟเจ) เพื่อความร่วมมือส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยการดำเนินการภายใต้เอ็นโอยู จะมีการจัดกิจกรรมพบผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การเดินสายสัมมนากับนักลงทุนญี่ปุ่นกลุ่มย่อยในเมืองหลัก และการตั้งศูนย์สนับสนุนและแนะนำนักลงทุนญี่ปุ่นที่จะมาลงทุนในไทย(มติชน 15)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการค้าปลีกของ สรอ. เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 14 พ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การค้าปลีกโดยรวม หลังปรับฤดูกาลในเดือน ต.ค. 44 มีมูลค่า 306.83 พัน ล. ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 หลังจากลดลงร้อยละ 2.2 ในเดือน ก.ย. 44 และเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากที่นักวิเคราะห์ของวอลล์สตรีทคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าผู้บริโภคได้หันกลับมาใช้จ่ายซื้อสินค้าอย่างมากหลังจากเกิดการก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการซื้อรถยนต์และเสื้อผ้าที่มีราคาถูก โดยยอดการขายรถยนต์มีมูลค่า 87.4 พัน ล. ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 หลังจากลดลงร้อยละ 4.5 ในเดือนก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมการขายรถยนต์ ยอดการค้าปลีกในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 หลังจากลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือนก่อน และสูงเกินกว่าที่คาดหมายไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์ 14)
2. บริษัทล้มละลายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 ปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 พ.ย. 44 บริษัทวิจัยเอกชน Teikoku Databank เปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 44 บริษัทล้มละลายมีจำนวน 1,911 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นจำนวนสูงที่สุดเป็นเดือนที่ 3 ในรอบ 17 ปีตั้งแต่เดือน พ.ค. และมี.ค. 27 ที่มีจำนวน 1,984 และ 1,926 บริษัทตามลำดับ ส่วนยอดหนี้สินของบริษัทล้มละลายในเดือน ต.ค. 44 มีมูลค่าทั้งสิ้น 1.71 ล้านล้านเยน (14.07 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 87.5 จากเดือน ต.ค. 43 ซึ่งเป็นเดือนที่มีบริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ Kyoei ล้มละลาย ทั้งนี้ บริษัทล้มละลายในเดือน ต.ค.44 จำนวน 1,452 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ยอดรวม ส่วนใหญ่เป็นผลจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยติดต่อกันยาวนาน และจะเลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจาก ธพ. อยู่ภายใต้แรงกดดันให้ปล่อยสินเชื่ออย่างเข้มงวด นอกจากนั้น Teikoku ยังกล่าวเตือนว่า ในปี 44 มูลค่าหนี้สินของบริษัทล้มละลายอาจจะสูงถึง 20 ล้านล้านเยน หากญี่ปุ่นประสบปัญหาบริษัทล้มละลายเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง ม.ค. - ต.ค. 44 ยอดหนี้ของบริษัทล้มละลายมีมูลค่าทั้งสิ้น 12.77 ล้านล้านเยน นับเป็นมูลค่าสูงที่สุดเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดหนี้สินมีมูลค่า 21.93 ล้านล้านเยน (รอยเตอร์14)
3. ยอดการค้าปลีกของเยอรมนีลดลงในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 14 พ.ย. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดการค้าปลีกหลังปรับเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. 44 ลดลงร้อยละ 1 และร้อยละ 2.1 เทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ เนื่องจากจำนวนวันทำการค้าในเดือน ก.ย.44 มีน้อยกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ว่า ยังเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าการใช้จ่ายที่ลดลงของผู้บริโภคในเยอรมนีได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายใน สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อความเชื่อมั่นของธุรกิจ และทำให้เกิดการลดการจ้างงานลง(รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14 พ.ย.44 44.399 (44.376)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 14พ.ย. 44ซื้อ 44.2329 (44.1709) ขาย 44.5330 (44.4582)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,800) ขาย 5,900 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 16.96 (19.39)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.29 (13.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.29 (12.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นในเดือน ต.ค. 44 ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค. 44 ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย. 44 โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 61.8 จาก 56.4 ดัชนีฯ เกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 51.1 จาก 42.4 ดัชนีฯ เกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคตอยู่ที่ระดับ 72.4 จาก 70.5 ดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ระดับ 56.2 จาก 50.5 ดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสหางานในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 45.2 จาก 44.5 ดัชนีฯ เกี่ยวกับโอกาสหางานทำในอนาคตอยู่ที่ระดับ 67.2 จาก 56.5 และดัชนีฯ เกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 83.2 จาก 82.6 ในเดือน ก.ย. 44 (เดลินิวส์ 15)
2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เตรียมออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเตรียมออกประมูลตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ 2 รุ่น วงเงิน 6.5 พัน ล.บาท โดยจะออกประมูลในวันที่ 26 พ.ย. 44 วงเงิน 3.5 พัน ล.บาท อายุ 28 วัน และวันที่ 3 ธ.ค. 44 วงเงิน 3 พัน ล.บาท อายุ 27 วัน ซึ่งเป็นการกู้เงินระยะสั้นจากตลาดเงินเพื่อนำมาชำระคืนหนี้เดิมที่ครบกำหนดชำระคืน หลังจากที่เลื่อนการออกตั๋วฯ มาตั้งแต่เดือน มิ.ย. 44 (ไทยโพสต์ 15)
3. ปริมาณธุรกรรมการหักบัญชีระหว่างธนาคารเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 44 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงยอดการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ในไตรมาส 3 ปี 44 ว่า ปริมาณเช็คเรียกเก็บมีจำนวน 14 ล.ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3,865.78 พัน ล.บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ร้อยละ 3.1 และ 4.5 ตามลำดับ เป็นผลจากภาวะการอุปโภคบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง ประกอบกับ ธพ.ขนาดใหญ่และสาขา ธ.ต่างประเทศมีการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณเช็คเรียกคืนมีจำนวนทั้งสิ้น 345,028 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 34.60 พัน ล.บาท ลดลงจากไตรมาส 2 ร้อยละ 1.4 และ 1.2 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับทรงตัวที่ร้อยละ 2.5 และ 0.9 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ส่วนเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณทั้งสิ้น 207,291 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 16.20 พัน ล.บาท ลดลงจากไตรมาส 2 ร้อยละ 1.4 และ 8.5 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คคืนคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับทรงตัวที่ร้อยละ 1.5 และ 0.4 ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 (โลกวันนี้ 15)
4. บีโอไอและยูเอฟเจร่วมมือส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในไทย รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในวันที่ 14 พ.ย.44 รมว.คลังได้เป็นประธานลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกลุ่มธนาคารยูไนเต็ดไฟแนนเชียล ออฟ แจแปน (ยูเอฟเจ) เพื่อความร่วมมือส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยการดำเนินการภายใต้เอ็นโอยู จะมีการจัดกิจกรรมพบผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย การเดินสายสัมมนากับนักลงทุนญี่ปุ่นกลุ่มย่อยในเมืองหลัก และการตั้งศูนย์สนับสนุนและแนะนำนักลงทุนญี่ปุ่นที่จะมาลงทุนในไทย(มติชน 15)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการค้าปลีกของ สรอ. เพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 14 พ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การค้าปลีกโดยรวม หลังปรับฤดูกาลในเดือน ต.ค. 44 มีมูลค่า 306.83 พัน ล. ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 หลังจากลดลงร้อยละ 2.2 ในเดือน ก.ย. 44 และเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากที่นักวิเคราะห์ของวอลล์สตรีทคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าผู้บริโภคได้หันกลับมาใช้จ่ายซื้อสินค้าอย่างมากหลังจากเกิดการก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการซื้อรถยนต์และเสื้อผ้าที่มีราคาถูก โดยยอดการขายรถยนต์มีมูลค่า 87.4 พัน ล. ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4 หลังจากลดลงร้อยละ 4.5 ในเดือนก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมการขายรถยนต์ ยอดการค้าปลีกในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 หลังจากลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือนก่อน และสูงเกินกว่าที่คาดหมายไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์ 14)
2. บริษัทล้มละลายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 ปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 พ.ย. 44 บริษัทวิจัยเอกชน Teikoku Databank เปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 44 บริษัทล้มละลายมีจำนวน 1,911 บริษัท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นจำนวนสูงที่สุดเป็นเดือนที่ 3 ในรอบ 17 ปีตั้งแต่เดือน พ.ค. และมี.ค. 27 ที่มีจำนวน 1,984 และ 1,926 บริษัทตามลำดับ ส่วนยอดหนี้สินของบริษัทล้มละลายในเดือน ต.ค. 44 มีมูลค่าทั้งสิ้น 1.71 ล้านล้านเยน (14.07 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 87.5 จากเดือน ต.ค. 43 ซึ่งเป็นเดือนที่มีบริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ Kyoei ล้มละลาย ทั้งนี้ บริษัทล้มละลายในเดือน ต.ค.44 จำนวน 1,452 บริษัท หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ยอดรวม ส่วนใหญ่เป็นผลจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยติดต่อกันยาวนาน และจะเลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจาก ธพ. อยู่ภายใต้แรงกดดันให้ปล่อยสินเชื่ออย่างเข้มงวด นอกจากนั้น Teikoku ยังกล่าวเตือนว่า ในปี 44 มูลค่าหนี้สินของบริษัทล้มละลายอาจจะสูงถึง 20 ล้านล้านเยน หากญี่ปุ่นประสบปัญหาบริษัทล้มละลายเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง ม.ค. - ต.ค. 44 ยอดหนี้ของบริษัทล้มละลายมีมูลค่าทั้งสิ้น 12.77 ล้านล้านเยน นับเป็นมูลค่าสูงที่สุดเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดหนี้สินมีมูลค่า 21.93 ล้านล้านเยน (รอยเตอร์14)
3. ยอดการค้าปลีกของเยอรมนีลดลงในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 14 พ.ย. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดการค้าปลีกหลังปรับเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. 44 ลดลงร้อยละ 1 และร้อยละ 2.1 เทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ เนื่องจากจำนวนวันทำการค้าในเดือน ก.ย.44 มีน้อยกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ว่า ยังเป็นการเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าการใช้จ่ายที่ลดลงของผู้บริโภคในเยอรมนีได้รับผลกระทบจากการก่อการร้ายใน สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อความเชื่อมั่นของธุรกิจ และทำให้เกิดการลดการจ้างงานลง(รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 14 พ.ย.44 44.399 (44.376)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 14พ.ย. 44ซื้อ 44.2329 (44.1709) ขาย 44.5330 (44.4582)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,800) ขาย 5,900 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 16.96 (19.39)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.29 (13.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.29 (12.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-