แท็ก
กรมประมง
1. สถานการณ์การผลิต กรมประมงยืนยันจะต้องยกเลิกการทำประมงอวนรุนทั่วประเทศ
รายงานข่าวจากกรมประมงแจ้งว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ อธิบดีกรมประมงได้เชิญ ตัวแทนชาวประมงอวนรุนชายฝั่งประมาณ 150 คน จาก 22 จังหวัด มาชี้แจงแนวทาง ช่วยเหลือภายหลังยกเลิกอาชีพพร้อมทั้งสอบถามปัญหาและมาตรการที่จะให้กรมประมงช่วยเหลือ เพื่อนำไปจัดทำแผนช่วยเหลือระดับประเทศต่อไป
ทั้งนี้ ในการหารือได้มีตัวแทนชาวประมงอวนรุน จังหวัดสมุทรสาคร และนครศรีธรรมราช เสนอให้กรมประมงประกาศยกเลิกอาชีพอวนรุนเป็นรายจังหวัด โดยอ้างว่าบางจังหวัดไม่ได้มีปัญหาขัดแย้งกับประมงพื้นบ้านเหมือนกับ จ.ปัตตานี อย่างไรก็ตาม กรมประมงยืนยันว่า จะต้องรณรงค์ให้มีการยกเลิกอวนรุนทั่วประเทศไม่เฉพาะปัตตานี ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนชดเชย และซื้ออุปกรณ์เครื่องมือคืน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 13-16 กค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 724.88 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 303.08 ตัน สัตว์น้ำจืด 421.80 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.53 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.53 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.23 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 23.27 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 32.12 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ตลาดกุ้งในออสเตรเลียให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยมาก
นายบรรพต หงษ์ทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวถึง สถานการณ์การตลาดสินค้ากุ้งในออสเตรเลียว่า ปัจจุบันออสเตรเลียนำเข้ากุ้งในปริมาณมาก แม้จะเป็นประเทศผู้ผลิตกุ้งประเทศหนึ่ง ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี ร้อยละ 80 เป็นการนำเข้ากุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง และมีการนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับ 1 โดยมี เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย และแคลิโดเนียเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะพม่ามีต้นทุนต่ำกว่าไทยมาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันออสเตรเลียให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยมาก หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอาหารจะเน้นหนักด้านการควบคุมคุณภาพ เนื่องจาก ออสเตรเลียเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญของโลกประเทศหนึ่ง โดยได้มีการตั้งหน่วยงานหลายหน่วยงานเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทะเล ทำหน้าที่ควบคุมดูแล วิธีการจับและควบคุมคุณภาพ ตลอดจนอุดหนุนด้านการเงินในรูปของเงินกู้อีกด้วย ดังนั้น การส่งออกสินค้ากุ้งของไทยเข้าไปยังตลาดออสเตรเลีย จึงต้องเน้นด้านคุณภาพและ สุขอนามัยเป็นพิเศษ รวมทั้งเรื่องสารเคมีตกค้างหรือปนเปื้อนด้วย ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.88 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.63 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.75 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 325.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 349.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 402.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 405.63 บาท ของสัปดาห์ 3.13 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.85 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.24 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
26 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 24-28 กค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 24-30 ก.ค. 2543--
-สส-
รายงานข่าวจากกรมประมงแจ้งว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ อธิบดีกรมประมงได้เชิญ ตัวแทนชาวประมงอวนรุนชายฝั่งประมาณ 150 คน จาก 22 จังหวัด มาชี้แจงแนวทาง ช่วยเหลือภายหลังยกเลิกอาชีพพร้อมทั้งสอบถามปัญหาและมาตรการที่จะให้กรมประมงช่วยเหลือ เพื่อนำไปจัดทำแผนช่วยเหลือระดับประเทศต่อไป
ทั้งนี้ ในการหารือได้มีตัวแทนชาวประมงอวนรุน จังหวัดสมุทรสาคร และนครศรีธรรมราช เสนอให้กรมประมงประกาศยกเลิกอาชีพอวนรุนเป็นรายจังหวัด โดยอ้างว่าบางจังหวัดไม่ได้มีปัญหาขัดแย้งกับประมงพื้นบ้านเหมือนกับ จ.ปัตตานี อย่างไรก็ตาม กรมประมงยืนยันว่า จะต้องรณรงค์ให้มีการยกเลิกอวนรุนทั่วประเทศไม่เฉพาะปัตตานี ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผนชดเชย และซื้ออุปกรณ์เครื่องมือคืน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 13-16 กค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 724.88 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 303.08 ตัน สัตว์น้ำจืด 421.80 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.53 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.53 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.23 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 23.27 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 32.12 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ตลาดกุ้งในออสเตรเลียให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยมาก
นายบรรพต หงษ์ทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวถึง สถานการณ์การตลาดสินค้ากุ้งในออสเตรเลียว่า ปัจจุบันออสเตรเลียนำเข้ากุ้งในปริมาณมาก แม้จะเป็นประเทศผู้ผลิตกุ้งประเทศหนึ่ง ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี ร้อยละ 80 เป็นการนำเข้ากุ้งสดและกุ้งแช่แข็ง และมีการนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับ 1 โดยมี เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย และแคลิโดเนียเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะพม่ามีต้นทุนต่ำกว่าไทยมาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันออสเตรเลียให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยมาก หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอาหารจะเน้นหนักด้านการควบคุมคุณภาพ เนื่องจาก ออสเตรเลียเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลที่สำคัญของโลกประเทศหนึ่ง โดยได้มีการตั้งหน่วยงานหลายหน่วยงานเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารทะเล ทำหน้าที่ควบคุมดูแล วิธีการจับและควบคุมคุณภาพ ตลอดจนอุดหนุนด้านการเงินในรูปของเงินกู้อีกด้วย ดังนั้น การส่งออกสินค้ากุ้งของไทยเข้าไปยังตลาดออสเตรเลีย จึงต้องเน้นด้านคุณภาพและ สุขอนามัยเป็นพิเศษ รวมทั้งเรื่องสารเคมีตกค้างหรือปนเปื้อนด้วย ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.88 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.63 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.75 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 325.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 349.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 402.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 405.63 บาท ของสัปดาห์ 3.13 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.85 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.24 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
26 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.07 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 24-28 กค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 24-30 ก.ค. 2543--
-สส-