ตลาดเอเชียใต้ เป็นตลาดใหม่ในเอเชียที่มีศักยภาพและมีลู่ทางที่จะสามารถขยายบทบาททางการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเป้าหมายในภูมิภาคนี้ อันได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา และเนปาล ซึ่งตลาดทั้ง 5 แห่งมีประชากรถึงประมาณ 1,200 ล้านคน
ปัจจุบันรัฐบาลและนักธุรกิจไทยได้เล็งเห็นช่องทางของโอกาสในการขยายตลาดการค้าไปยังภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบ และสินค้าที่อำนวยความสะดวกแก่การดำรงชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์/ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ยานพาหนะ เป็นต้น
ถ้ามองในด้านศักยภาพและโอกาสของสินค้าไทยนับว่าประเทศไทยยังมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะขยายตลาดนี้ในอนาคต โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้.-
- ประชากรรวมประมาณ 1,200 ล้านคน ซึ่งมีความต้องการสินค้าอุปโภคและบริโภคเป็นจำนวนมาก ถ้าไทยสามารถเปิดตลาดนี้ได้
- ประเทศในกลุ่มนี้หลายประเทศกำลังเข้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศอย่างจริงจังเช่น อินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ ทำให้เป็นตลาดเปิดสำหรับวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป
- อำนาจการซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะนำไปสู่การขยายตัวในการจับจ่ายใช้สอยและความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่อชีวิตเพิ่มขึ้น
- กลุ่มประเทศดังกล่าวยังเป็นตลาด Conservative ซึ่งหากประเทศไทยสามารถเข้าตลาดนี้ได้เร็วกว่าประเทศอื่นก็จะได้เปรียบในเชิงการครอบครองส่วนแบ่งการตลาด
เนื่องจากตลาดในเอเชียใต้ยังมีข้อกีดกันทั้งในด้านภาษี (Tariff Barriers) และไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Barriers) ดังนั้น การคัดเลือกสินค้าเพื่อการเจาะตลาดจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ จากการศึกษาถึงโอกาสของสินค้าที่ประเทศส่งออกไปยังประเทศเอเชียใต้ที่มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดประกอบด้วย 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่
- กลุ่มวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
- สินค้าสำเร็จรูป
- สินค้าเกษตร
อนึ่งสินค้าที่น่าจะมีศักยภาพสำคัญในการเจาะตลาดเอเชียใต้น่าจะได้แก่ สินค้าที่เน้นการขยายตัวของเศรษฐกิจเช่น ปูนซีเมนต์ ไม้ และเฟอร์นิเจอร์ เหล็กและเหล็กกล้า ฯลฯ สินค้าที่อำนวยความสะดวกแก่การดำรงชีวิตได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ นาฬิกา คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ฯลฯ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ได้แก่ ยางพารา เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะมีโอกาสแข่งขันได้สูงในตลาดเอเชียใต้ปัญหาและอุปสรรคในการเจาะตลาด
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยยังมีความรู้ความเข้าใจในตลาดเอเชียใต้น้อย
- ขาดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกอย่างต่อเนื่อง
- ตลาดเอเชียใต้เป็นตลาด Conservative ยังมีระบบและรูปแบบการตลาดแบบดั้งเดิม เช่น การกีดกันสินค้าต่างประเทศ เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ การค้ายังเป็นรูปแบบของการขายแบบ Door to Door การค้าภายในประเทศยังจำเป็นต้องอาศัยนักธุรกิจที่เป็นคนของประเทศนั้น ยังมีระบบการผูกขาดทางธุรกิจการค้า ภาครัฐฯ ยังมีบทบาทในการสร้างความไม่เป็นธรรมทางการค้ากับนักธุรกิจต่างชาติ การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก และสื่อประชาสัมพันธ์ยังมีข้อจำกัดในบางประเทศ เป็นต้น
- แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีจำนวนประชากรหนาแน่นแต่อำนาจการซื้อยังต่ำ อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดหมายได้ว่าในอนาคตที่ไม่ไกลนัก ประเทศเหล่านี้ซึ่งมีการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศที่รวดเร็วจะส่งผลต่อการเติบโตของรายได้ประชาชาติ รายได้ของประชากรต่อหัวและเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนมากขึ้น
- ประเทศเหล่านี้ยังให้ความเข้มงวดในด้านการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปของมาตรการทางภาษี และมาตรการที่มิใช่ภาษี มีการปกป้องการนำเข้าสินค้าอาหารและสินค้าบริโภคอุปโภคที่จำเป็น บางสินค้าที่มีการกำหนดให้ผู้ผลิตต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น อินเดียกำหนดให้บริษัทโค๊กต้องใช้วัตถุดิบที่ผลิตในอินเดีย เป็นต้น ทำให้การส่งออกอาหารไปยังประเทศเหล่านี้ทำได้ยาก
- ประเทศเหล่านี้ยังมีอุปสรรคในด้านการเมืองระหว่างประเทศและความมั่นคงภายในเช่นอินเดียกับปากีสถานความไม่สงบในศรีลังกา เป็นต้น ดังนั้น การเจาะตลาดจึงไม่สามารถทำในลักษณะกลุ่มภูมิภาค แต่จะต้องดำเนินการในลักษณะทวิภาคี คือ การเจรจาเปิดตลาดเป็นรายประเทศและต้องให้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งกับประเทศที่มีปัญหาระหว่างกัน
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 20/2543 วันที่ 31 ตุลาคม 2543--
-อน-
ปัจจุบันรัฐบาลและนักธุรกิจไทยได้เล็งเห็นช่องทางของโอกาสในการขยายตลาดการค้าไปยังภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบ และสินค้าที่อำนวยความสะดวกแก่การดำรงชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์/ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ยานพาหนะ เป็นต้น
ถ้ามองในด้านศักยภาพและโอกาสของสินค้าไทยนับว่าประเทศไทยยังมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะขยายตลาดนี้ในอนาคต โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้.-
- ประชากรรวมประมาณ 1,200 ล้านคน ซึ่งมีความต้องการสินค้าอุปโภคและบริโภคเป็นจำนวนมาก ถ้าไทยสามารถเปิดตลาดนี้ได้
- ประเทศในกลุ่มนี้หลายประเทศกำลังเข้าสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศอย่างจริงจังเช่น อินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ ทำให้เป็นตลาดเปิดสำหรับวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป
- อำนาจการซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งน่าจะนำไปสู่การขยายตัวในการจับจ่ายใช้สอยและความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่อชีวิตเพิ่มขึ้น
- กลุ่มประเทศดังกล่าวยังเป็นตลาด Conservative ซึ่งหากประเทศไทยสามารถเข้าตลาดนี้ได้เร็วกว่าประเทศอื่นก็จะได้เปรียบในเชิงการครอบครองส่วนแบ่งการตลาด
เนื่องจากตลาดในเอเชียใต้ยังมีข้อกีดกันทั้งในด้านภาษี (Tariff Barriers) และไม่ใช่ภาษี (Non Tariff Barriers) ดังนั้น การคัดเลือกสินค้าเพื่อการเจาะตลาดจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ จากการศึกษาถึงโอกาสของสินค้าที่ประเทศส่งออกไปยังประเทศเอเชียใต้ที่มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดประกอบด้วย 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่
- กลุ่มวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
- สินค้าสำเร็จรูป
- สินค้าเกษตร
อนึ่งสินค้าที่น่าจะมีศักยภาพสำคัญในการเจาะตลาดเอเชียใต้น่าจะได้แก่ สินค้าที่เน้นการขยายตัวของเศรษฐกิจเช่น ปูนซีเมนต์ ไม้ และเฟอร์นิเจอร์ เหล็กและเหล็กกล้า ฯลฯ สินค้าที่อำนวยความสะดวกแก่การดำรงชีวิตได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ นาฬิกา คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ฯลฯ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ได้แก่ ยางพารา เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะมีโอกาสแข่งขันได้สูงในตลาดเอเชียใต้ปัญหาและอุปสรรคในการเจาะตลาด
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทยยังมีความรู้ความเข้าใจในตลาดเอเชียใต้น้อย
- ขาดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกอย่างต่อเนื่อง
- ตลาดเอเชียใต้เป็นตลาด Conservative ยังมีระบบและรูปแบบการตลาดแบบดั้งเดิม เช่น การกีดกันสินค้าต่างประเทศ เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ การค้ายังเป็นรูปแบบของการขายแบบ Door to Door การค้าภายในประเทศยังจำเป็นต้องอาศัยนักธุรกิจที่เป็นคนของประเทศนั้น ยังมีระบบการผูกขาดทางธุรกิจการค้า ภาครัฐฯ ยังมีบทบาทในการสร้างความไม่เป็นธรรมทางการค้ากับนักธุรกิจต่างชาติ การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก และสื่อประชาสัมพันธ์ยังมีข้อจำกัดในบางประเทศ เป็นต้น
- แม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีจำนวนประชากรหนาแน่นแต่อำนาจการซื้อยังต่ำ อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดหมายได้ว่าในอนาคตที่ไม่ไกลนัก ประเทศเหล่านี้ซึ่งมีการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศที่รวดเร็วจะส่งผลต่อการเติบโตของรายได้ประชาชาติ รายได้ของประชากรต่อหัวและเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนมากขึ้น
- ประเทศเหล่านี้ยังให้ความเข้มงวดในด้านการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปของมาตรการทางภาษี และมาตรการที่มิใช่ภาษี มีการปกป้องการนำเข้าสินค้าอาหารและสินค้าบริโภคอุปโภคที่จำเป็น บางสินค้าที่มีการกำหนดให้ผู้ผลิตต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น อินเดียกำหนดให้บริษัทโค๊กต้องใช้วัตถุดิบที่ผลิตในอินเดีย เป็นต้น ทำให้การส่งออกอาหารไปยังประเทศเหล่านี้ทำได้ยาก
- ประเทศเหล่านี้ยังมีอุปสรรคในด้านการเมืองระหว่างประเทศและความมั่นคงภายในเช่นอินเดียกับปากีสถานความไม่สงบในศรีลังกา เป็นต้น ดังนั้น การเจาะตลาดจึงไม่สามารถทำในลักษณะกลุ่มภูมิภาค แต่จะต้องดำเนินการในลักษณะทวิภาคี คือ การเจรจาเปิดตลาดเป็นรายประเทศและต้องให้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งกับประเทศที่มีปัญหาระหว่างกัน
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 20/2543 วันที่ 31 ตุลาคม 2543--
-อน-