คุณถาม : โอกาสในการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นอย่างไร
EXIM ตอบ : การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีโอกาสขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยดังนี้
-ธุรกิจท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีโรงแรมและร้านอาหารเกิดใหม่จำนวนมาก โดยคาดว่าจะมีโรงแรมระดับ 4-5 ดาว เพิ่มขึ้นจาก 45 แห่งในปี 2546 เป็น 125 แห่งภายในปี 2548 ทำให้ความต้องการเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเพิ่มขึ้น
-ประชากรมีกำลังซื้อสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากมูลค่าส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
ทั้งนี้ ปัจจุบันสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่สำคัญเป็นอันดับ 1 ของไทยในตะวันออกกลาง โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่าส่งออก 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 10% จากปี 2546 โดยเป็นสินค้าที่ทำจากพลาสติกสูงถึง 55% ของมูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าวทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เครื่องแก้วคิดเป็น 22% ถ้วยชามทำด้วยเซรามิก 11% เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำจากเหล็ก 9% และอื่นๆ 4% อย่างไรก็ตาม ไทยมีคู่แข่งสำคัญในการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวไปตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 กลุ่มคือ
-ตลาดระดับล่างและกลางที่แข่งขันกันด้วยราคาได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย
-ตลาดระดับบนที่แข่งขันกันด้วยคุณภาพ โดยเฉพาะสินค้าที่ทำด้วยแก้วและเซรามิกซึ่งเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร เป็นผู้ผลิตและส่งออกสำคัญของโลกมาเป็นเวลานาน
ผู้ประกอบการของไทยจึงควรวางตำแหน่งสินค้าของตนเองให้ชัดเจนว่าจะทำตลาดในระดับใด แล้วเร่งพัฒนาการผลิตและการออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันและใช้ตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประตูเพื่อกระจายสินค้าสู่ประเทศอื่นๆในตะวันออกกลาง
คุณถาม : ภาพรวมการลงทุนจากต่างประเทศในกัมพูชาปี 2547 เป็นอย่างไร
EXIM ตอบ : ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2547 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board:CIB) อนุมัติโครงการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 36 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งตามประเทศผู้ลงทุนสำคัญดังนี้
ประเทศ จำนวนโครงการ เงินลงทุน
มูลค่า(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สัดส่วน(%)
1.จีน 13 16.6 50.0
2.มาเลเซีย 6 5.8 17.5
3.ไต้หวัน 6 3.1 9.3
4.เกาหลีใต้ 2 2.0 6.0
5.สหราชอาณาจักร 2 1.5 4.5
6.สหรัฐอเมริกา 2 1.1 3.3
7.สิงคโปร์ 3 1.1 3.3
8.ไทย 1 1.0 3.0
9.แคนาดา 1 1.0 3.0
รวม 36 33.2 100.0
ที่มา: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ไทยจัดเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับ 8 ในกัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป รองลงมาได้แก่ ไม้แปรรูป สินค้าเกษตรแปรรูป และโทรคมนาคม ตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการที่กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 148 ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization:WTO) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2547 ประกอบกับความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 คาดว่าจะส่งผลให้การเมืองในกัมพูชาเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้าไปลงทุนมากขึ้น
คุณถาม : จังหวัดใดในเวียดนามที่เป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่สำคัญจากต่างประเทศ
เอ็กซิมตอบ : ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมารัฐบาลเวียดนามมีนโยบายชัดเจนในการเปิดประเทศมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกภายในปี 2548 ส่งผลให้มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ จากข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2547 จังหวัดที่มีมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศสะสมสูงสุด 10 อันดับแรกที่ได้รับการอนุมัติจาก Ministry of Planning and Investment (MPI) ของเวียดนาม มีรายละเอียดตามตารางดังนี้
จังหวัด จำนวนโครงการ เงินลงทุน
มูลค่า(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สัดส่วน(%)
1.Ho Chi Minh City 1,523 11,171.1 26.4
2.Hanoi 530 8,011.2 19.0
3.Dong Nai 569 7,236.7 17.1
4.Binh Duong 844 3,987.9 9.4
5.Ba Ria-Vung Tau 99 2,101.5 5.0
6.Haiphong 154 1,699.4 4.0
7.Lam Dong 65 884.2 2.1
8.Long An 84 614.2 1.5
9.Hai Duong 66 591.6 1.4
10.Vin Phuc 822 5,369.7 12.7
รวม 4,824 42,247.3 100.0
ที่มา:หนังสือพิมพ์ Vietnam Investment Review ฉบับวันที่ 6-12 กันยายน 2547
เป็นที่น่าสังเกตว่านครโฮจิมินห์เป็นแหล่งที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดในเวียดนามทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน โดยมีสัดส่วนมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศสูงถึง 26% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ปัจจัยสนับสนุนสำคัญ อาทิการเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของประเทศ ความพร้อมของระบบสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่งที่สะดวก บุคลากรมีทักษะ ความรู้ และความสามารถสูง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเอื้ออำนวย รวมทั้งเป็นตลาดขนาดใหญ่เนื่องจากจำนวนประชากรในนครโฮจิมินห์และบริเวณใกล้เคียงมีมากถึง 10 ล้านคน--จบ--
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2548--
-พห-
EXIM ตอบ : การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีโอกาสขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยดังนี้
-ธุรกิจท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีโรงแรมและร้านอาหารเกิดใหม่จำนวนมาก โดยคาดว่าจะมีโรงแรมระดับ 4-5 ดาว เพิ่มขึ้นจาก 45 แห่งในปี 2546 เป็น 125 แห่งภายในปี 2548 ทำให้ความต้องการเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเพิ่มขึ้น
-ประชากรมีกำลังซื้อสูงขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากมูลค่าส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศทรงตัวอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
ทั้งนี้ ปัจจุบันสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่สำคัญเป็นอันดับ 1 ของไทยในตะวันออกกลาง โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่าส่งออก 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 10% จากปี 2546 โดยเป็นสินค้าที่ทำจากพลาสติกสูงถึง 55% ของมูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าวทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เครื่องแก้วคิดเป็น 22% ถ้วยชามทำด้วยเซรามิก 11% เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำจากเหล็ก 9% และอื่นๆ 4% อย่างไรก็ตาม ไทยมีคู่แข่งสำคัญในการส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวไปตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 กลุ่มคือ
-ตลาดระดับล่างและกลางที่แข่งขันกันด้วยราคาได้แก่ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดีย
-ตลาดระดับบนที่แข่งขันกันด้วยคุณภาพ โดยเฉพาะสินค้าที่ทำด้วยแก้วและเซรามิกซึ่งเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร เป็นผู้ผลิตและส่งออกสำคัญของโลกมาเป็นเวลานาน
ผู้ประกอบการของไทยจึงควรวางตำแหน่งสินค้าของตนเองให้ชัดเจนว่าจะทำตลาดในระดับใด แล้วเร่งพัฒนาการผลิตและการออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าเพื่อให้สามารถแข่งขันและใช้ตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประตูเพื่อกระจายสินค้าสู่ประเทศอื่นๆในตะวันออกกลาง
คุณถาม : ภาพรวมการลงทุนจากต่างประเทศในกัมพูชาปี 2547 เป็นอย่างไร
EXIM ตอบ : ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2547 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board:CIB) อนุมัติโครงการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 36 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งตามประเทศผู้ลงทุนสำคัญดังนี้
ประเทศ จำนวนโครงการ เงินลงทุน
มูลค่า(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สัดส่วน(%)
1.จีน 13 16.6 50.0
2.มาเลเซีย 6 5.8 17.5
3.ไต้หวัน 6 3.1 9.3
4.เกาหลีใต้ 2 2.0 6.0
5.สหราชอาณาจักร 2 1.5 4.5
6.สหรัฐอเมริกา 2 1.1 3.3
7.สิงคโปร์ 3 1.1 3.3
8.ไทย 1 1.0 3.0
9.แคนาดา 1 1.0 3.0
รวม 36 33.2 100.0
ที่มา: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ไทยจัดเป็นประเทศผู้ลงทุนอันดับ 8 ในกัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป รองลงมาได้แก่ ไม้แปรรูป สินค้าเกษตรแปรรูป และโทรคมนาคม ตามลำดับ
ทั้งนี้ จากการที่กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 148 ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization:WTO) อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2547 ประกอบกับความสำเร็จในการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 คาดว่าจะส่งผลให้การเมืองในกัมพูชาเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้าไปลงทุนมากขึ้น
คุณถาม : จังหวัดใดในเวียดนามที่เป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่สำคัญจากต่างประเทศ
เอ็กซิมตอบ : ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมารัฐบาลเวียดนามมีนโยบายชัดเจนในการเปิดประเทศมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกภายในปี 2548 ส่งผลให้มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ จากข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2547 จังหวัดที่มีมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศสะสมสูงสุด 10 อันดับแรกที่ได้รับการอนุมัติจาก Ministry of Planning and Investment (MPI) ของเวียดนาม มีรายละเอียดตามตารางดังนี้
จังหวัด จำนวนโครงการ เงินลงทุน
มูลค่า(ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สัดส่วน(%)
1.Ho Chi Minh City 1,523 11,171.1 26.4
2.Hanoi 530 8,011.2 19.0
3.Dong Nai 569 7,236.7 17.1
4.Binh Duong 844 3,987.9 9.4
5.Ba Ria-Vung Tau 99 2,101.5 5.0
6.Haiphong 154 1,699.4 4.0
7.Lam Dong 65 884.2 2.1
8.Long An 84 614.2 1.5
9.Hai Duong 66 591.6 1.4
10.Vin Phuc 822 5,369.7 12.7
รวม 4,824 42,247.3 100.0
ที่มา:หนังสือพิมพ์ Vietnam Investment Review ฉบับวันที่ 6-12 กันยายน 2547
เป็นที่น่าสังเกตว่านครโฮจิมินห์เป็นแหล่งที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดในเวียดนามทั้งจำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน โดยมีสัดส่วนมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศสูงถึง 26% ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ปัจจัยสนับสนุนสำคัญ อาทิการเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของประเทศ ความพร้อมของระบบสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่งที่สะดวก บุคลากรมีทักษะ ความรู้ และความสามารถสูง สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเอื้ออำนวย รวมทั้งเป็นตลาดขนาดใหญ่เนื่องจากจำนวนประชากรในนครโฮจิมินห์และบริเวณใกล้เคียงมีมากถึง 10 ล้านคน--จบ--
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2548--
-พห-