ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดนครศรีธรรมราชประกอบด้วย 18 อำเภอกับ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ปากพนัง เชียรใหญ่ ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ ชะอวด หัวไทร บางขัน ทุ่งสง นาบอน ทุ่งใหญ่ ฉวาง ลานสกา พรหมคีรี พิปูน ท่าศาลา สิชล ขนอม กิ่งอำเภอพระพรหม และกิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา
พื้นที่รวม 9,895 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,184,900 ไร่ มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 255 กิโลเมตร
จำนวนประชากรเมื่อสิ้นปี 2542 มีทั้งสิ้น1,525,557 คน มากที่สุดในภาคใต้ และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 39,363บาท ต่ำเป็นอันดับ 3 รองจากพัทลุงและนราธิวาส ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ประมง เหมืองแร่ อุตสาหกรรม การค้า และบริการ
สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (ราคาคงที่ ปี 2531) ปี 2539 มีมูลค่าทั้งสิ้น 40,971.4 ล้านบาท โดยโครงสร้างการผลิตเป็นภาคเกษตรกรรมร้อยละ 31.5 ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากพืชผลและประมงเป็นสำคัญ รองลามาได้แก่สาขาการค้าปลีกค้าส่งร้อยละ 16.8 สาขาการก่อสร้างร้อยละ 7.4 และบริการร้อยละ 8.3 ของผลิตภัณฑ์จังหวัด
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
ศักยภาพด้านการเกษตร
พื้นที่เพาะปลูกผักและผลไม้มีความเหมาะสมและพอเพียงทั้งสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ มีกรจัดทั้งตลาดกลางผักและผลไม้ที่นครศรีธรรมราชเป็นเวลานาน ตลาดมีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรสูงโดยเฉพาะผักและผลไม้ในตลาดอาเซียน ราคาที่ดินไม่สูงจนเกินไป มีแรงงานมากพอ และค่าแรงไม่สูงมากนัก ศักยภาพด้านอุตสาหกรรม
มีวัตถุดิบมากพอป้อนโรงงาน โดยเฉพะไม้ยางพาราและน้ำยาง มีแรงงานจำนวนมาก และราคาไม่สูงจนเกินไป มีโรงงานแยกก๊าซที่อำเภอขนอม ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว
มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และธรรมชาติ มีประเพณีและวัฒนธรรมที่จัดในแต่ละช่วงที่น่าสนใจ มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยการประสานงานกับการอุตสาหกรรม โอกาสการลงทุน
1.โอกาสการลงทุนทางด้านการเกษตร
-การตกลงเกี่ยวกับพิกัดภาษีศุลกากร ทำให้สินค้าทางการเกษตรมีราคาดีขึ้น
-มีการส่งเสริมการลงทุนให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตร
-รัฐบาลมีการส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่นสับปะรดและผลไม้ต่าง ๆ
-การเปิดตลาดการค้าเสรีอาเซียน ทำให้ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรของไทยมีโอกาสส่งออกมากขึ้น
-มีความร่วมมือระหว่างประเทศในสาขาการประมง
2.โอกาสการลงทุนในด้านอุตสาหกรรม
-มีการส่งเสริมการลงทุน โดยให้สิทธิพิเศษในเขต 3 โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่เขตดังกล่าวด้วย
-มีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ จะทำให้การขนส่งและเกิดสิงอำนวยความสะดวก เช่นท่าเรือน้ำลึกและถนนเป็นต้น
-การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์
3.โอกาสการลงทุนในด้านการท่องเที่ยว
-มีรูปแบบการท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ แตกต่างกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้
-สามารถวางแผนการท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกับแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่และตรังได้
-งานประเพณีมีความหมายมากสำหรับชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยว
-มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานประเพณีของจังหวัดทางโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2536
-วางแผนการท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่าเพื่อเป็นทางเลือกใหม่
-นักท่องเที่ยวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่เริ่มให้ความสนใจด้านทะเลของจังหวัดนครศรีธรรมราช
-จังหวัดนครศรีธรรมราชมีโครงการใหญ่เกิดขึ้นมากทำให้โอกาสด้านการท่องเที่ยวมีมากขึ้น โดยเฉพาะด้านที่พักที่มีคุณภาพ
-โครงการเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้มากขึ้น
-การไหลของนักท่องเที่ยวจากสุราษฎร์ธานีและกระบี่ จะช่วยให้ตลาดการท่องเที่ยวดีขึ้น
ข้อเสนอการลงทุน
-โครงการลงทุนด้านการเกษตร
การลงทุนของเอกชน
การทำสวนมังคุด การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง -การเลี้ยงกุ้ง
การเลี้ยงโคเนื้อ การลงทุนของรัฐบาล
1.โครงการจัดตั้งสถาบันการเกษตร
-สถาบันวิจัยพืชสวน
-สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
2.โครงการปรับปรุงและพัฒนาถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน-อำเภอ
การลงทุนร่วมรัฐบาล-เอกชน
1.โครงการตลาดกลางผักและผลไม้นานาชาติ
2.โครงการฟาร์มทางทะเล
-โครงการลงทุนด้านการอุตสาหกรรม
การลงทุนของเอกชน
1.อุตสาหกรรมที่ลงทุนได้ทันที
-อุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการเกษตร
-อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
-อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง
-อุตสาหกรรมห้องเย็นผักและผลไม้
-อุตสาหกรรมการประมง
-อุตสาหกรรมกุ้งแช่แข็ง
-อุตสาหกรรมผลิตอาหารกุ้ง
-อุตสาหกรรมด้านอุปโภคและบริโภค
-อุตสาหกรรมอื่น ๆ
2.อุตสาหกรรมที่พร้อมจะลงทุนในระยะยาว
-อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
-อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน
-อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
-อุตสาหกรรมยิปซั่มบอร์ด
-อุตสาหกรรมเซรามิกส์
-อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
-อุตสาหกรรมพลาสติก
การลงทุนของรัฐบาล
1.โครงการและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
-ท่าเรือน้ำลึก ที่อำเภอขนอม
-โครงการปรับปรุงถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและอำเภอ
-โครงการถนนสี่ช่องจราจรเชื่อมระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้กับพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายโดยเริ่มจากอำเภอขนอม-เมืองนครศรีธรรมราช-ปากพนัง-หัวไทร-สงขลา
-โครงการถนนสี่ช่องจราจรเชื่อมเมืองใหญ่
-อำเภอเมือง-ปากพนัง
-อำเภอเมือง-ทุ่งสง
-อำเภอทุ่งสง-ปากพนัง
-โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรม
-นิคมอุตสาหกรรม
-อำเภอขนอม หรือพื้นที่ใกล้เคียง
-อำเภอทุ่งสง
-เขตอุตสาหกรรม
-อำเภอเมือง
3.โครงการพัฒนาฝีมือแรงงาน
-การลงทุนร่วมรัฐบาล-เอกชน
-โครงการตลาดกลางผักและผลไม้นานาชาติ
-โครงการประชาสัมพันธ์จังหวัด
-โครงการลงทุนด้านการท่องเที่ยว
การลงทุนของเอกชน
1.โครงการลงทุนด้านโรงแรม
2.โครงการลงทุนด้านบริษัทนำเที่ยว
3. โครงการลงทุนด้านร้านอาหาร
4. โครงการลงทุนด้านของที่ระลึก
การลงทุนของรัฐบาล
1.โครงการพื้นฐาน
2.การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
3.การคมนาคม
4.ความปลอดภัย
การลงทุนร่วมรัฐบาล-เอกชน
1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.การปะชาสัมพันธ์
ข้อเสนอแนะให้รัฐบาลแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ
ด้านการเกษตร
1.ลดภาษีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากผักและผลไม้ เช่นน้ำผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
2.ควรมีกฎหมายหรือระบบที่บังคับให้ผู้ทำนากุ้งทุกคนจดทะเบียนการทำนากุ้ง
ด้านการท่องเที่ยว
1.มีการจดทะเบียนรถนำเที่ยวให้ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะให้รัฐบาลมีมาตรการพิเศษ
ด้านการเกษตร
1.หน่วยงานของรัฐกับเอกชนต้องมีมาตรการในการประสานงานร่วมกัน
2.มีการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะ เพื่อประสานงานในการเลี้ยงกุ้ง
3.มีการกำหนดพื้นที่เลี้ยงกุ้ง หรือจัดตั้งนิคมเลี้ยงกุ้ง
4.หามาตรการและวิธีการสกัดการลักลอบนำเข้าโคเนื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านอุตสาหกรรม
1.ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นที่ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกโดยด่วน
ด้านการท่องเที่ยว
1.การเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน ตู้รถไฟและขยายถนนสี่ช่องจราจรเข้าในอำเภอเมือง
2.เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยอาจตั้งโรงเรียนตำรวจขึ้นใหม่
3.การกำหนดมาตรฐานของสินค้าที่ระลึก
4.กำหนดโควตาจดทะเบียนรถยนต์นำเที่ยวให้กับจังหวัดนครศรีธรรมราช
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดนครศรีธรรมราชประกอบด้วย 18 อำเภอกับ 2 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ปากพนัง เชียรใหญ่ ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ ชะอวด หัวไทร บางขัน ทุ่งสง นาบอน ทุ่งใหญ่ ฉวาง ลานสกา พรหมคีรี พิปูน ท่าศาลา สิชล ขนอม กิ่งอำเภอพระพรหม และกิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา
พื้นที่รวม 9,895 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,184,900 ไร่ มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 255 กิโลเมตร
จำนวนประชากรเมื่อสิ้นปี 2542 มีทั้งสิ้น1,525,557 คน มากที่สุดในภาคใต้ และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 39,363บาท ต่ำเป็นอันดับ 3 รองจากพัทลุงและนราธิวาส ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ประมง เหมืองแร่ อุตสาหกรรม การค้า และบริการ
สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (ราคาคงที่ ปี 2531) ปี 2539 มีมูลค่าทั้งสิ้น 40,971.4 ล้านบาท โดยโครงสร้างการผลิตเป็นภาคเกษตรกรรมร้อยละ 31.5 ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากพืชผลและประมงเป็นสำคัญ รองลามาได้แก่สาขาการค้าปลีกค้าส่งร้อยละ 16.8 สาขาการก่อสร้างร้อยละ 7.4 และบริการร้อยละ 8.3 ของผลิตภัณฑ์จังหวัด
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
ศักยภาพด้านการเกษตร
พื้นที่เพาะปลูกผักและผลไม้มีความเหมาะสมและพอเพียงทั้งสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ มีกรจัดทั้งตลาดกลางผักและผลไม้ที่นครศรีธรรมราชเป็นเวลานาน ตลาดมีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรสูงโดยเฉพาะผักและผลไม้ในตลาดอาเซียน ราคาที่ดินไม่สูงจนเกินไป มีแรงงานมากพอ และค่าแรงไม่สูงมากนัก ศักยภาพด้านอุตสาหกรรม
มีวัตถุดิบมากพอป้อนโรงงาน โดยเฉพะไม้ยางพาราและน้ำยาง มีแรงงานจำนวนมาก และราคาไม่สูงจนเกินไป มีโรงงานแยกก๊าซที่อำเภอขนอม ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว
มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และธรรมชาติ มีประเพณีและวัฒนธรรมที่จัดในแต่ละช่วงที่น่าสนใจ มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยการประสานงานกับการอุตสาหกรรม โอกาสการลงทุน
1.โอกาสการลงทุนทางด้านการเกษตร
-การตกลงเกี่ยวกับพิกัดภาษีศุลกากร ทำให้สินค้าทางการเกษตรมีราคาดีขึ้น
-มีการส่งเสริมการลงทุนให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตร
-รัฐบาลมีการส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่นสับปะรดและผลไม้ต่าง ๆ
-การเปิดตลาดการค้าเสรีอาเซียน ทำให้ตลาดส่งออกสินค้าเกษตรของไทยมีโอกาสส่งออกมากขึ้น
-มีความร่วมมือระหว่างประเทศในสาขาการประมง
2.โอกาสการลงทุนในด้านอุตสาหกรรม
-มีการส่งเสริมการลงทุน โดยให้สิทธิพิเศษในเขต 3 โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่เขตดังกล่าวด้วย
-มีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ จะทำให้การขนส่งและเกิดสิงอำนวยความสะดวก เช่นท่าเรือน้ำลึกและถนนเป็นต้น
-การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์
3.โอกาสการลงทุนในด้านการท่องเที่ยว
-มีรูปแบบการท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ แตกต่างกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้
-สามารถวางแผนการท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกับแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่และตรังได้
-งานประเพณีมีความหมายมากสำหรับชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยว
-มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานประเพณีของจังหวัดทางโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2536
-วางแผนการท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่าเพื่อเป็นทางเลือกใหม่
-นักท่องเที่ยวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่เริ่มให้ความสนใจด้านทะเลของจังหวัดนครศรีธรรมราช
-จังหวัดนครศรีธรรมราชมีโครงการใหญ่เกิดขึ้นมากทำให้โอกาสด้านการท่องเที่ยวมีมากขึ้น โดยเฉพาะด้านที่พักที่มีคุณภาพ
-โครงการเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้มากขึ้น
-การไหลของนักท่องเที่ยวจากสุราษฎร์ธานีและกระบี่ จะช่วยให้ตลาดการท่องเที่ยวดีขึ้น
ข้อเสนอการลงทุน
-โครงการลงทุนด้านการเกษตร
การลงทุนของเอกชน
การทำสวนมังคุด การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง -การเลี้ยงกุ้ง
การเลี้ยงโคเนื้อ การลงทุนของรัฐบาล
1.โครงการจัดตั้งสถาบันการเกษตร
-สถาบันวิจัยพืชสวน
-สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
2.โครงการปรับปรุงและพัฒนาถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน-อำเภอ
การลงทุนร่วมรัฐบาล-เอกชน
1.โครงการตลาดกลางผักและผลไม้นานาชาติ
2.โครงการฟาร์มทางทะเล
-โครงการลงทุนด้านการอุตสาหกรรม
การลงทุนของเอกชน
1.อุตสาหกรรมที่ลงทุนได้ทันที
-อุตสาหกรรมต่อเนื่องทางการเกษตร
-อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพารา
-อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง
-อุตสาหกรรมห้องเย็นผักและผลไม้
-อุตสาหกรรมการประมง
-อุตสาหกรรมกุ้งแช่แข็ง
-อุตสาหกรรมผลิตอาหารกุ้ง
-อุตสาหกรรมด้านอุปโภคและบริโภค
-อุตสาหกรรมอื่น ๆ
2.อุตสาหกรรมที่พร้อมจะลงทุนในระยะยาว
-อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
-อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน
-อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
-อุตสาหกรรมยิปซั่มบอร์ด
-อุตสาหกรรมเซรามิกส์
-อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
-อุตสาหกรรมพลาสติก
การลงทุนของรัฐบาล
1.โครงการและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
-ท่าเรือน้ำลึก ที่อำเภอขนอม
-โครงการปรับปรุงถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านและอำเภอ
-โครงการถนนสี่ช่องจราจรเชื่อมระหว่างพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้กับพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายโดยเริ่มจากอำเภอขนอม-เมืองนครศรีธรรมราช-ปากพนัง-หัวไทร-สงขลา
-โครงการถนนสี่ช่องจราจรเชื่อมเมืองใหญ่
-อำเภอเมือง-ปากพนัง
-อำเภอเมือง-ทุ่งสง
-อำเภอทุ่งสง-ปากพนัง
-โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรม
-นิคมอุตสาหกรรม
-อำเภอขนอม หรือพื้นที่ใกล้เคียง
-อำเภอทุ่งสง
-เขตอุตสาหกรรม
-อำเภอเมือง
3.โครงการพัฒนาฝีมือแรงงาน
-การลงทุนร่วมรัฐบาล-เอกชน
-โครงการตลาดกลางผักและผลไม้นานาชาติ
-โครงการประชาสัมพันธ์จังหวัด
-โครงการลงทุนด้านการท่องเที่ยว
การลงทุนของเอกชน
1.โครงการลงทุนด้านโรงแรม
2.โครงการลงทุนด้านบริษัทนำเที่ยว
3. โครงการลงทุนด้านร้านอาหาร
4. โครงการลงทุนด้านของที่ระลึก
การลงทุนของรัฐบาล
1.โครงการพื้นฐาน
2.การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
3.การคมนาคม
4.ความปลอดภัย
การลงทุนร่วมรัฐบาล-เอกชน
1.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.การปะชาสัมพันธ์
ข้อเสนอแนะให้รัฐบาลแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ
ด้านการเกษตร
1.ลดภาษีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากผักและผลไม้ เช่นน้ำผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
2.ควรมีกฎหมายหรือระบบที่บังคับให้ผู้ทำนากุ้งทุกคนจดทะเบียนการทำนากุ้ง
ด้านการท่องเที่ยว
1.มีการจดทะเบียนรถนำเที่ยวให้ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะให้รัฐบาลมีมาตรการพิเศษ
ด้านการเกษตร
1.หน่วยงานของรัฐกับเอกชนต้องมีมาตรการในการประสานงานร่วมกัน
2.มีการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะ เพื่อประสานงานในการเลี้ยงกุ้ง
3.มีการกำหนดพื้นที่เลี้ยงกุ้ง หรือจัดตั้งนิคมเลี้ยงกุ้ง
4.หามาตรการและวิธีการสกัดการลักลอบนำเข้าโคเนื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านอุตสาหกรรม
1.ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นที่ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกโดยด่วน
ด้านการท่องเที่ยว
1.การเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน ตู้รถไฟและขยายถนนสี่ช่องจราจรเข้าในอำเภอเมือง
2.เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยอาจตั้งโรงเรียนตำรวจขึ้นใหม่
3.การกำหนดมาตรฐานของสินค้าที่ระลึก
4.กำหนดโควตาจดทะเบียนรถยนต์นำเที่ยวให้กับจังหวัดนครศรีธรรมราช
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-