แท็ก
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
สาธารณรัฐประชาชนจีน
แลกเปลี่ยนเงินตรา
กระทรวงการคลัง
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในเรื่องความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่าง ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการประชุมวันนี้ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้เจรจาและจัดทำร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับสาธารณรัฐประชาชนจีน (BSA Thailand-People's Republic of China) ในวงเงินจำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2. ความตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN + 3) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประเทศสมาชิก ในกรณีหากประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่อง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถขอแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ความตกลงทวิภาคีฯ ดังกล่าวกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญา และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
3. ร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับสาธารณรัฐประชาชนจีน
มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 ความตกลงทวิภาคีฯ ดังกล่าวเป็นลักษณะที่ประเทศไทยสามารถกู้จากสาธารณรัฐประชาชนจีนฝ่ายเดียว (One way) และอยู่ในรูปการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับเงินบาท ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
3.2 จำนวนวงเงินที่ประเทศไทยจะเบิก-ถอนได้สูงสุด จำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
3.3 การกู้เงินแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง อย่างไรก็ตาม การเบิก-ถอนหรือการต่ออายุจะต้องดำเนินการภายใน 3 ปี นับตั้งแต่สัญญามีผลบังคับใช้
3.4 ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราจะสามารถเบิก-ถอนได้ก็ต่อเมื่อประเทศผู้ขอกู้เข้าโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือกำลังจะเข้าโครงการในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตามประเทศ ผู้ขอกู้สามารถเบิก-ถอนเงินได้จำนวนร้อยละ 10 ของวงเงินทั้งหมดเป็นเวลา 180 วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการของ IMF
3.5 รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้ความตกลงทวิภาคีฯ
4. โดยที่ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้ลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น (BSA Thailand-Japan) ในวงเงิน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐแล้ว
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขสำคัญของความตกลงฯ ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน (BSA Thailand-China) มีลักษณะเช่นเดียวกับ BSA Thailand-Japan ต่างเพียงที่วงเงินของจีนที่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
5. ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้ มีความสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
5.1 เป็นมาตรการป้องกัน (Preventive Measure) เนื่องจากเป็นกลไกที่ช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Surveillance Mechanism)
5.2 เป็นกลไกเสริมกลไกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Supplementary to the IMF) กล่าวคือ ความตกลงทวิภาคีจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเสริมกับความช่วยเหลือจาก IMF ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน
5.3 เป็นกลไกเพิ่มเติม (Additional Facility) โดยประเทศคู่สัญญาสามารถเบิก-ถอนเงินจำนวนหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF หรือไม่ผูกติดกับเงื่อนไขของ IMF
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำความเห็นทางกฎหมายประกอบความตกลงทวิภาคีฯ ก่อนที่จะมีการลงนามระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 73/2544 30 ตุลาคม 2544--
-อน-
1. กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้เจรจาและจัดทำร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับสาธารณรัฐประชาชนจีน (BSA Thailand-People's Republic of China) ในวงเงินจำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2. ความตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN + 3) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประเทศสมาชิก ในกรณีหากประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่อง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถขอแลกเปลี่ยนเงินตราภายใต้ความตกลงทวิภาคีฯ ดังกล่าวกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญา และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
3. ร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับสาธารณรัฐประชาชนจีน
มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 ความตกลงทวิภาคีฯ ดังกล่าวเป็นลักษณะที่ประเทศไทยสามารถกู้จากสาธารณรัฐประชาชนจีนฝ่ายเดียว (One way) และอยู่ในรูปการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับเงินบาท ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
3.2 จำนวนวงเงินที่ประเทศไทยจะเบิก-ถอนได้สูงสุด จำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
3.3 การกู้เงินแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง อย่างไรก็ตาม การเบิก-ถอนหรือการต่ออายุจะต้องดำเนินการภายใน 3 ปี นับตั้งแต่สัญญามีผลบังคับใช้
3.4 ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราจะสามารถเบิก-ถอนได้ก็ต่อเมื่อประเทศผู้ขอกู้เข้าโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือกำลังจะเข้าโครงการในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตามประเทศ ผู้ขอกู้สามารถเบิก-ถอนเงินได้จำนวนร้อยละ 10 ของวงเงินทั้งหมดเป็นเวลา 180 วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการของ IMF
3.5 รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้ความตกลงทวิภาคีฯ
4. โดยที่ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้ลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น (BSA Thailand-Japan) ในวงเงิน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐแล้ว
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขสำคัญของความตกลงฯ ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน (BSA Thailand-China) มีลักษณะเช่นเดียวกับ BSA Thailand-Japan ต่างเพียงที่วงเงินของจีนที่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
5. ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้ มีความสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
5.1 เป็นมาตรการป้องกัน (Preventive Measure) เนื่องจากเป็นกลไกที่ช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Surveillance Mechanism)
5.2 เป็นกลไกเสริมกลไกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Supplementary to the IMF) กล่าวคือ ความตกลงทวิภาคีจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเสริมกับความช่วยเหลือจาก IMF ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน
5.3 เป็นกลไกเพิ่มเติม (Additional Facility) โดยประเทศคู่สัญญาสามารถเบิก-ถอนเงินจำนวนหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF หรือไม่ผูกติดกับเงื่อนไขของ IMF
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำความเห็นทางกฎหมายประกอบความตกลงทวิภาคีฯ ก่อนที่จะมีการลงนามระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีนต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 73/2544 30 ตุลาคม 2544--
-อน-