13/11/44 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการหารือในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ที่ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 ว่า ได้พบกับ นาย Zoellick หัวหน้าผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยฝ่ายไทยได้ขอหารือเพื่อผลักดัน 2 ประเด็นหลัก คือ ยาและข้าวหอมมะลิไทยในกรอบ WTO ซึ่งในเรื่องยานั้น สหรัฐฯ เห็นด้วยในหลักการและเข้าใจปัญหาของประเทศกำลังพัฒนา และกำลังหาทางปรับถ้อยคำในร่างปฏิญญารัฐมนตรี เพื่อให้ความมั่นใจแก่ประเทศกำลังพัฒนาว่าจะสามารถซื้อยาที่จำเป็นแก่ชีวิตในราคาพอสมควร โดยไม่ถูกจำกัดโดยเงื่อนไขของความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
ส่วนในเรื่องข้าวหอมมะลิไทยนั้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ถ้อยคำในร่างปฏิญญาครอบคลุมข้อกังวลของไทยที่จะขยายความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) ให้มากกว่าไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้เปิดโอกาสให้สามารถเจรจาขยายไปถึงข้าวหอมมะลิไทยได้ตามที่ไทยต้องการ ดังนั้นจึงได้คงถ้อยคำเดิมไว้ และเมื่อเปิดการเจรจาแล้วจะได้มีการเจรจาในรายละเอียดต่อไปในเรื่องการป้องกัน (prevention) และการเยียวยา (remedy) เพื่อให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างยุติธรรมระหว่างเจ้าของพันธุ์พืช กับผู้นำพันธุ์พืชไปเผยแพร่ นอกจากนี้ทางสหรัฐฯ ยังตอบรับในเรื่องการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีไทย-สหรัฐฯ ที่กรุงเทพฯในเดือนมีนาคม 2545 ด้วย
นายอดิศัยยังได้กล่าวเพิ่มเติม ถึงการหารือสองฝ่ายกับนาย Hsin — I Lin รัฐมนตรีเศรษฐกิจของไต้หวัน ว่าไต้หวันได้ประกาศยกเลิกการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าลวดเกลียวของไทยแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยได้เคยขอความร่วมมือไว้ในการประชุม APEC นอกจากนี้ ไต้หวันยังได้เปิดตลาดข้าว จากเดิมที่เคยนำเข้าข้าวเหนียวในปริมาณเล็กน้อย โดยได้อนุญาตให้นำเข้าข้าวไม่จำกัดประเภทปริมาณ 144,000 ตัน และได้เปิดตลาดมะพร้าวอ่อน เป็นโควต้ารวม 8,000 — 10,000 ตันต่อปี จากเดิมที่เคยกำหนดโควต้านำเข้าจากไทยไว้เพียง 22 ตัน
สำหรับข้อกังวลของไทยที่ไต้หวันห้ามนำเข้าไก่ เนื่องจากข้อจำกัดด้านสุขอนามัยนั้น ไต้หวันพร้อมที่จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโรงงานของไทยทันที และไต้หวันยังพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการร่วมมืพัฒนาผู้ประกอบการขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะผู้ส่งออก และผู้ประกอบการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ไทยยังได้หารือกับไต้หวันถึงความร่วมมือในการขยายการลงทุน ซึ่งการลงทุนในไทยของไต้หวันเพิ่มขึ้น 10% โดยไต้หวันลงทุนในไทยเป็นลำดับ 3 รองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ส่วนการเจรจาทวิภาคีกับประเทศกาตาร์นั้น นายอดิศัย ได้หารือกับนาย Kamai Yusif Hussayn AL รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของกาตาร์ ซึ่งไทยได้แสดงความชื่นชมการทำหน้าที่เจ้าภาพครั้งนี้ได้ดีและมีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งไทยได้แสดงความยินดีที่กาตาร์ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 15 และขอให้นาย Kamal ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของคณะกรรมการจัดงานเอเชี่ยนเกมส์สนับสนุนไทยในเรื่องการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสร้างหมู่บ้านนักกีฬา และสนามกีฬาเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ได้จัดทำเอกสารคุณสมบัติเบื้องต้นและนำเสนอกาตาร์แล้วเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา
นอกจากนั้น รมว.พาณิชย์ไทยยังได้พบกับ Massani Tukape รัฐมนตรีการค้าของปาปัวนิวกินีด้วย ปาปัวนิวกินีมีประชากรทั้งสิ้น 5 ล้านคน แต่ไม่ได้ผลิตข้าวเลยจึงต้องนำเข้าทั้งหมด โดยในแต่ละปีนำเข้าข้าวประมาณ 500,000 ตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจากออสเตรเลีย โดยมีบางส่วนเป็นข้าวไทยที่นำมาบรรจุหีบห่อใหม่ในออสเตรเลีย จึงเป็นโอกาสดีหากไทยสามารถส่งไปขายที่ปาปัวนิวกินีได้โดยตรง และในโอกาสนี้ ไทยกับปาปัวนิวกินีได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องการค้าผ่านบัญชี (account trade ) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขยายการค้าระหว่างกันด้วย
สำหรับพม่านั้น ไทยได้หารือกับ พลจัตวา พี โซน รัฐมนตรีพาณิชย์ของพม่า เพื่อหาแนวทางขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยรัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวถึงเรื่องการหารือในการประชุมระดับผู้นำเอเปคที่เซี่ยงไฮ้เกี่ยวกับการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และยังได้กล่าวถึงเรื่องที่พม่าจะจัดงานแสดงสินค้าในปลายเดือนนี้ว่า จะเป็นโอกาสอันดีที่จะลงนามในความร่วมมือเรื่อง ระบบการค้าแบบจดบัญชี หรือ Account trade ด้วย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขยายการค้าระหว่างกันต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้หารือความร่วมมือเรื่องข้าว โดยไทยแจ้งต่อพม่าว่า ได้ร่วมมือกับเวียดนามในการรักษาระดับราคาข้าวในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้นและปากีสถานได้ตอบรับจะเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย ซึ่งพม่าก็ยินดีที่จะร่วมมือและรับที่จะเข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในต้นปี 2545 ที่กรุงเทพฯ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
ส่วนในเรื่องข้าวหอมมะลิไทยนั้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ถ้อยคำในร่างปฏิญญาครอบคลุมข้อกังวลของไทยที่จะขยายความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) ให้มากกว่าไวน์และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้เปิดโอกาสให้สามารถเจรจาขยายไปถึงข้าวหอมมะลิไทยได้ตามที่ไทยต้องการ ดังนั้นจึงได้คงถ้อยคำเดิมไว้ และเมื่อเปิดการเจรจาแล้วจะได้มีการเจรจาในรายละเอียดต่อไปในเรื่องการป้องกัน (prevention) และการเยียวยา (remedy) เพื่อให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างยุติธรรมระหว่างเจ้าของพันธุ์พืช กับผู้นำพันธุ์พืชไปเผยแพร่ นอกจากนี้ทางสหรัฐฯ ยังตอบรับในเรื่องการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีไทย-สหรัฐฯ ที่กรุงเทพฯในเดือนมีนาคม 2545 ด้วย
นายอดิศัยยังได้กล่าวเพิ่มเติม ถึงการหารือสองฝ่ายกับนาย Hsin — I Lin รัฐมนตรีเศรษฐกิจของไต้หวัน ว่าไต้หวันได้ประกาศยกเลิกการไต่สวนเพื่อใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าลวดเกลียวของไทยแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยได้เคยขอความร่วมมือไว้ในการประชุม APEC นอกจากนี้ ไต้หวันยังได้เปิดตลาดข้าว จากเดิมที่เคยนำเข้าข้าวเหนียวในปริมาณเล็กน้อย โดยได้อนุญาตให้นำเข้าข้าวไม่จำกัดประเภทปริมาณ 144,000 ตัน และได้เปิดตลาดมะพร้าวอ่อน เป็นโควต้ารวม 8,000 — 10,000 ตันต่อปี จากเดิมที่เคยกำหนดโควต้านำเข้าจากไทยไว้เพียง 22 ตัน
สำหรับข้อกังวลของไทยที่ไต้หวันห้ามนำเข้าไก่ เนื่องจากข้อจำกัดด้านสุขอนามัยนั้น ไต้หวันพร้อมที่จะส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโรงงานของไทยทันที และไต้หวันยังพร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการร่วมมืพัฒนาผู้ประกอบการขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะผู้ส่งออก และผู้ประกอบการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ไทยยังได้หารือกับไต้หวันถึงความร่วมมือในการขยายการลงทุน ซึ่งการลงทุนในไทยของไต้หวันเพิ่มขึ้น 10% โดยไต้หวันลงทุนในไทยเป็นลำดับ 3 รองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ส่วนการเจรจาทวิภาคีกับประเทศกาตาร์นั้น นายอดิศัย ได้หารือกับนาย Kamai Yusif Hussayn AL รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของกาตาร์ ซึ่งไทยได้แสดงความชื่นชมการทำหน้าที่เจ้าภาพครั้งนี้ได้ดีและมีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งไทยได้แสดงความยินดีที่กาตาร์ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 15 และขอให้นาย Kamal ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของคณะกรรมการจัดงานเอเชี่ยนเกมส์สนับสนุนไทยในเรื่องการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสร้างหมู่บ้านนักกีฬา และสนามกีฬาเพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ได้จัดทำเอกสารคุณสมบัติเบื้องต้นและนำเสนอกาตาร์แล้วเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา
นอกจากนั้น รมว.พาณิชย์ไทยยังได้พบกับ Massani Tukape รัฐมนตรีการค้าของปาปัวนิวกินีด้วย ปาปัวนิวกินีมีประชากรทั้งสิ้น 5 ล้านคน แต่ไม่ได้ผลิตข้าวเลยจึงต้องนำเข้าทั้งหมด โดยในแต่ละปีนำเข้าข้าวประมาณ 500,000 ตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจากออสเตรเลีย โดยมีบางส่วนเป็นข้าวไทยที่นำมาบรรจุหีบห่อใหม่ในออสเตรเลีย จึงเป็นโอกาสดีหากไทยสามารถส่งไปขายที่ปาปัวนิวกินีได้โดยตรง และในโอกาสนี้ ไทยกับปาปัวนิวกินีได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่องการค้าผ่านบัญชี (account trade ) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขยายการค้าระหว่างกันด้วย
สำหรับพม่านั้น ไทยได้หารือกับ พลจัตวา พี โซน รัฐมนตรีพาณิชย์ของพม่า เพื่อหาแนวทางขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน โดยรัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวถึงเรื่องการหารือในการประชุมระดับผู้นำเอเปคที่เซี่ยงไฮ้เกี่ยวกับการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และยังได้กล่าวถึงเรื่องที่พม่าจะจัดงานแสดงสินค้าในปลายเดือนนี้ว่า จะเป็นโอกาสอันดีที่จะลงนามในความร่วมมือเรื่อง ระบบการค้าแบบจดบัญชี หรือ Account trade ด้วย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการขยายการค้าระหว่างกันต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้หารือความร่วมมือเรื่องข้าว โดยไทยแจ้งต่อพม่าว่า ได้ร่วมมือกับเวียดนามในการรักษาระดับราคาข้าวในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้นและปากีสถานได้ตอบรับจะเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย ซึ่งพม่าก็ยินดีที่จะร่วมมือและรับที่จะเข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในต้นปี 2545 ที่กรุงเทพฯ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-