เมื่อวันพุธที่ 9 พฤษภาคม 2544 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และมูลนิธิอาเชีย ได้จัดการสัมมนาเรื่อง การสร้างความพร้อมของบุคลากรในด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ณ โรงแรม รอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ 40 ท่าน จาก ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และหน่วยงานราชการ เพื่อประเมินความพร้อมและศักยภาพในด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย และระดมความเห็นและข้อเสนอแนะที่สำคัญเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความพร้อมของบุคลากรที่จะรองรับการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า การพัฒนาบุคลากรของไทยให้มีความพร้อมในการเรียนรู้เทคโนโลยี และสามารถใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้งานเองได้ในประเทศเป็นเรื่องสำคัญ และได้ระบุประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการกำหนดนโยบายการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็ทรอนิกส์ ได้แก่
1. การสร้างบุคลากรในด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ครบวงจร ทั้งในด้านผู้ซื้อ ผู้ขาย คนกลาง โครงสร้างพื้นฐาน การชำระเงิน การขนส่ง และองค์กรรับรองความถูกต้อง นอกจากนี้ จะต้องพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ให้มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สร้างความคุ้นเคยและความเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภค เพื่อรองรับการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. การพัฒนาบุคลากรต้องรวมบุคลากรในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่อยู่ในภาค IT และมิได้อยู่ในภาค IT ให้มีความรู้และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคลากรในระดับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ ต้องมีความรู้ ความสนใจ และรู้จักใช้ IT เพื่อความสำเร็จในการพัฒนา
3. ปฏิรูปการศึกษาด้าน IT ให้มีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สร้างโครงการด้านการศึกษาต่อเนื่องด้านวิชาชีพ IT
4. ควรพัฒนาบุคลากรด้าน IT ให้เป็นวิชาชีพ ซึ่งจะต้องพัฒนาให้มีความรู้ทั้งในด้านทฤษฎี การปฏิบัติ และความชำนาญในการประยุกต์ใช้ ทั้งในเรื่องเทคโนโลยี การทำธุรกิจ และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไป
5. ควรสร้างมาตรฐานสำหรับวิชาชีพด้าน IT ในระดับต่างๆ โดยให้มีการกำหนดมาตรฐานในการพัฒนาบุคลากร จัดตั้งสถาบันมาตรฐานพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการจัดสอบวิชาชีพด้าน IT
6. สร้างและพัฒนาการผลิตแม่แบบ (Trainer) ด้าน IT รุ่นใหม่ๆ การกำหนดเป้าหมายการพัฒนากำลังคน เพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่อง IT และพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถใช้งานในประเทศได้เอง
7. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อนวัตกรรม การสร้างองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานใหม่ๆ
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนาเห็นพ้องกันว่า การสร้างความมั่นใจเรื่อง ระบบการรักษาความปลอดภัย (Security) ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การบริหารจัดการเทคโนโลยี และการนำประโยชน์จากที่ปรึกษาต่างประเทศมาใช้ มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนก็ต้องมีบทบาทในการช่วยประเมินตนเองว่า ต้องการอะไร และสามารถจะช่วยพัฒนาในเรื่องมาตรฐานด้านวิชาชีพอย่างไรบ้าง
สำหรับ การสัมมนาครั้งต่อไป ในวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม 2544 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ จะร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และมูลนิธิอาเชีย จัดการสัมมนาเรื่อง ความพร้อมของไทยด้านกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวทีโลก ณ ห้องกรุงเทพบอลรูม โรงแรมรอยัล ซิตี้ เพื่อเป็นการประเมินความพร้อม นิยามปัญหา และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย โดยจะมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประมาณ 80-100 คน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า การพัฒนาบุคลากรของไทยให้มีความพร้อมในการเรียนรู้เทคโนโลยี และสามารถใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้งานเองได้ในประเทศเป็นเรื่องสำคัญ และได้ระบุประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการกำหนดนโยบายการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็ทรอนิกส์ ได้แก่
1. การสร้างบุคลากรในด้านเทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ครบวงจร ทั้งในด้านผู้ซื้อ ผู้ขาย คนกลาง โครงสร้างพื้นฐาน การชำระเงิน การขนส่ง และองค์กรรับรองความถูกต้อง นอกจากนี้ จะต้องพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ให้มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สร้างความคุ้นเคยและความเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภค เพื่อรองรับการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. การพัฒนาบุคลากรต้องรวมบุคลากรในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่อยู่ในภาค IT และมิได้อยู่ในภาค IT ให้มีความรู้และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคลากรในระดับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ ต้องมีความรู้ ความสนใจ และรู้จักใช้ IT เพื่อความสำเร็จในการพัฒนา
3. ปฏิรูปการศึกษาด้าน IT ให้มีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สร้างโครงการด้านการศึกษาต่อเนื่องด้านวิชาชีพ IT
4. ควรพัฒนาบุคลากรด้าน IT ให้เป็นวิชาชีพ ซึ่งจะต้องพัฒนาให้มีความรู้ทั้งในด้านทฤษฎี การปฏิบัติ และความชำนาญในการประยุกต์ใช้ ทั้งในเรื่องเทคโนโลยี การทำธุรกิจ และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไป
5. ควรสร้างมาตรฐานสำหรับวิชาชีพด้าน IT ในระดับต่างๆ โดยให้มีการกำหนดมาตรฐานในการพัฒนาบุคลากร จัดตั้งสถาบันมาตรฐานพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการจัดสอบวิชาชีพด้าน IT
6. สร้างและพัฒนาการผลิตแม่แบบ (Trainer) ด้าน IT รุ่นใหม่ๆ การกำหนดเป้าหมายการพัฒนากำลังคน เพื่อเผยแพร่ความรู้ในเรื่อง IT และพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยให้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถใช้งานในประเทศได้เอง
7. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อนวัตกรรม การสร้างองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานใหม่ๆ
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนาเห็นพ้องกันว่า การสร้างความมั่นใจเรื่อง ระบบการรักษาความปลอดภัย (Security) ในการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การบริหารจัดการเทคโนโลยี และการนำประโยชน์จากที่ปรึกษาต่างประเทศมาใช้ มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนก็ต้องมีบทบาทในการช่วยประเมินตนเองว่า ต้องการอะไร และสามารถจะช่วยพัฒนาในเรื่องมาตรฐานด้านวิชาชีพอย่างไรบ้าง
สำหรับ การสัมมนาครั้งต่อไป ในวันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม 2544 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ จะร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และมูลนิธิอาเชีย จัดการสัมมนาเรื่อง ความพร้อมของไทยด้านกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเวทีโลก ณ ห้องกรุงเทพบอลรูม โรงแรมรอยัล ซิตี้ เพื่อเป็นการประเมินความพร้อม นิยามปัญหา และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย โดยจะมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประมาณ 80-100 คน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-