ในปี 2543 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยส่วนใหญ่ยังขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนในเกณฑ์สูง โดยเป็นการผลิตเพื่อส่งออกมากกว่าเพื่อจำหน่ายในประเทศ เนื่องจากตลาดในประเทศยังฟื้นตัวไม่มากนัก ประกอบกับบริษัทต่างชาติที่เป็นผู้ร่วมทุนช่วยขยายตลาดส่งออกให้และมีการย้ายฐานการผลิตมาลงทุนในไทยและขยายกำลังการผลิตเพื่อรองรับความ Added) ให้เกิดขึ้นในประเทศได้มากที่สุด
สำหรับปี 2544 คาดว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวค่อนข้างน้อยตามภาวะเศรษฐกิจ และมีการแข่งขันทางด้านราคาสูง ในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวได้ แต่มีอัตราที่ชะลอลงจากต้องการของตลาดต่างประเทศที่ยังขยายตัวได้ดีตามอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 23.4 (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25 คือ แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 52.3) รองลงมาได้แก่ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ คอมเพรสเซอร์ และเตาอบไมโครเวฟ ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ที่สำคัญ ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า และแผงวงจรไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม มูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์ฯ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 36.2 เนื่องจากการผลิตเพื่อส่งออกยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่นำเข้าในสัดส่วนที่สูงตามนโยบายของบริษัทต่างชาติที่ร่วมทุน ประกอบกับผู้ผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศยังไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ
แม้ว่าไทยยังคงเกินดุลการค้าผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2543 เป็นมูลค่า 6,507.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่อัตราเพิ่มของมูลค่านำเข้าที่สูงกว่าอัตราเพิ่มของมูลค่าส่งออกได้ส่งผลให้การเกินดุลดังกล่าวลดลง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมนี้ยังต้องเร่งปรับตัวในด้านโครงสร้างการผลิต โดยลดการพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนนำเข้าไปพร้อมกับการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value ปี 2543 ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่เป็นตลาดหลัก ซึ่งจะเห็นได้จากการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 ที่มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 6,277.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย อาทิ เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ลดลงประมาณร้อยละ 1.5 | 5 ซึ่งนอกจากจะเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาชะลอตัวแล้ว ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของสหรัฐอเมริกาก็เริ่มอิ่มตัว เพราะบริษัทต่างๆ ได้สั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีไปเป็นจำนวนมากตั้งแต่ช่วงปี 2542 และ 2543 แล้ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
สำหรับปี 2544 คาดว่าตลาดในประเทศจะขยายตัวค่อนข้างน้อยตามภาวะเศรษฐกิจ และมีการแข่งขันทางด้านราคาสูง ในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวได้ แต่มีอัตราที่ชะลอลงจากต้องการของตลาดต่างประเทศที่ยังขยายตัวได้ดีตามอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 23.4 (ในรูปดอลลาร์ สรอ.) ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25 คือ แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 52.3) รองลงมาได้แก่ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ คอมเพรสเซอร์ และเตาอบไมโครเวฟ ผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ที่สำคัญ ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า และแผงวงจรไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม มูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์ฯ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 36.2 เนื่องจากการผลิตเพื่อส่งออกยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่นำเข้าในสัดส่วนที่สูงตามนโยบายของบริษัทต่างชาติที่ร่วมทุน ประกอบกับผู้ผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศยังไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ
แม้ว่าไทยยังคงเกินดุลการค้าผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2543 เป็นมูลค่า 6,507.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่อัตราเพิ่มของมูลค่านำเข้าที่สูงกว่าอัตราเพิ่มของมูลค่าส่งออกได้ส่งผลให้การเกินดุลดังกล่าวลดลง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมนี้ยังต้องเร่งปรับตัวในด้านโครงสร้างการผลิต โดยลดการพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนนำเข้าไปพร้อมกับการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value ปี 2543 ตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่เป็นตลาดหลัก ซึ่งจะเห็นได้จากการส่งออกในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 ที่มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 6,277.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ในขณะที่มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย อาทิ เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ลดลงประมาณร้อยละ 1.5 | 5 ซึ่งนอกจากจะเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาชะลอตัวแล้ว ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของสหรัฐอเมริกาก็เริ่มอิ่มตัว เพราะบริษัทต่างๆ ได้สั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีไปเป็นจำนวนมากตั้งแต่ช่วงปี 2542 และ 2543 แล้ว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-