สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--26 ม.ค.--รอยเตอร์
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
กาแฟ : รับจำนำกาแฟเพื่อแก้ไขปัญหาราคาตกต่ำ
ในปี 2542/43 แม้ว่าผลผลิตกาแฟโลกจะลดลงจาก 6,413 พันตันของปีที่ผ่านมาเป็น 6,267 พันตัน หรือลดลงร้อยละ 2.28 ก็ตาม แต่ผลผลิตกาแฟโรบัสตาของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.70 เนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมทั้งของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.38 , 3.08 และ 46.33 ตามลำดับ ประกอบกับขณะนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตกาแฟของเวียดนามออกสู่ตลาดมาก ส่งผลให้ราคาในตลาดโลกโน้มลดลงโดยราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดลอนดอน ณ เดือนธันวาคม 2542 ส่งมอบเดือนมีนาคม 2543 อยู่ที่ระดับ 1,252.75 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (47.74 บาท/กก.) ลดลงเป็น 1,101.75 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (40.93 บาท/กก.) ในเดือนมกราคม 2543 ทำให้ราคากาแฟที่เกษตรกรขายได้ลดลงจาก 32.15 บาทในเดือนธันวาคมเป็น 29.14 บาทในเดือนมกราคม 2543 เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟได้รับความเดือดร้อนและเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือ
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ จากปัญหาตกต่ำในคราวประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2543 โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำกิโลกรัมละ 34.00 บาท และให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) รับจำนำเหมือนเช่นการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยรัฐฯ จะชดเชยภาระดอกเบี้ยและให้ค่าใช้จ่ายและค่าเก็บรักษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) ราคารับจำนำ กก. ละ 32.30 บาท (ร้อยละ 95 ของราคาเป้าหมาย)
2) เป้าหมายให้ อคส.รับจำนำเมล็ดกาแฟจากเกษตรกร จำนวน 20,000 ตัน
3)ให้องค์กรที่ดูแลสถาบันและกลุ่มเกษตรกรมีส่วนร่วมวางหลักเกณฑ์กำกับและตรวจสอบผลผลิตที่นำมาจำนำกับ อคส.
4) ระยะเวลาการรับจำนำและชำระคืนเงินกู้ ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำเมล็ดกาแฟ 25 มกราคม ถึง 25 มีนาคม 2543 และกำหนดให้ไถ่ถอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ หากเกษตรกรต้องการจะถ่ายถอนภายใน 3 เดือนต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 3
5) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งเป็นค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าใช้จ่ายดำเนินการ (ได้แก่ ค่าเช่าโกดัง ค่ากรรมกร ค่ากระสอบ ฯลฯ) และค่าดำเนินการเหมาจ่าย รวมทั้งสิ้น 22 ล้านบาท
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
หอมแดง : ราคามีแนวโน้มต่ำลง
จากการที่เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจังหวัดลำพูน ได้มีหนังสือร้องเรียนผ่านกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาราคาหอมแดงตกต่ำ ซึ่งเป็นช่วงผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดในระยะนี้ เนื่องจากว่าเกษตรกรบางส่วนของจังหวัดลำพูนปีนี้ปลูกหอมแดงเร็วกว่าปกติ ทำให้มีผลผลิตออกมาพร้อมกับแหล่งอื่น ๆ คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ และศรีสะเกษ ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการค้ากำลังรับซื้อผลผลิตในแหล่งอื่นและยังรอดูท่าทีตลาดภายในและตลาดส่งออกอยู่ จึงยังไม่ได้เข้าไปรับซื้อหอมแดงที่กำลังออกในพื้นที่นี้มากนัก ทำให้ตลาดยังไม่คึกคักเท่าที่ควร ราคารับซื้อจึงอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ สำหรับผลผลิตหอมแดงในฤดูการผลิต ปี 2542/43 ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้พยากรณ์ผลผลิตหอมแดงว่าจะมีประมาณ 205,539 ตัน เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5.78 โดยที่จังหวัดลำพูนปีนี้มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 36.60 ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนราคาเกษตรกรขายได้หอมแดงสดทั้งใบของจังหวัดลำพูนขณะนี้กิโลกรัมละ 3-4 บาท
กรมการค้าภายใน จึงได้ทำการอนุมัติเงินเร่งด่วนจำนวน 10 ล้านบาท จัดสรรให้ผู้เข้าร่วมโครงการ นำไปแทรกแซงตลาดรับซื้อหอมแดงจังหวัดลำพูนในราคานำตลาด เมื่อราคาหอมแดงที่เกษตรกรขายได้ต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำ โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำเทียบเคียงกับราคาที่จังหวัดศรีสะเกษ และปรับเพิ่มลดตามขนาดและคุณภาพสินค้า คือ ราคาเป้าหมายนำ หอมแดงแห้งหัวใหญ่ชนิดคละกิโลกรัมละ 10.00 บาท หอมแดงแห้งหัวเล็กชนิดคละกิโลกรัมละ 6.74 บาท
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
โคนม : การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
สืบเนื่องจากปัญหานมล้นประมาณวันละ 200 ตัน ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไม่สามารถขายน้ำนมดิบได้ บางครั้งต้องเทนมทิ้ง สาเหตุเนื่องมาจากปัญหาขาดสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อีกประการหนึ่งมาจากผู้ประกอบการที่ผลิตนมพร้อมดื่มให้แก่โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนหลายรายมักจะนำนมหางนมผง หรือ Whole milk powder มาละลายน้ำทำเป็นนมพร้อมดื่ม เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการใช้น้ำนมดิบ จึงทำให้เกษตรกรขายน้ำนมดิบไม่ได้
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ
1) ให้กระทรวงศึกษาธิการเจียดงบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน จำนวน 300 ล้านบาท มาจัดซื้อนมโดยวิธีพิเศษ กับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) โดยให้ อ.ส.ค. เป็นแกนกลางในการประสานงานกับผู้ประกอบการที่รับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำนมดิบล้นในช่วงปิดเทอม
2) ให้หน่วยงานราชการที่ได้รับงบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซื้อนมพร้อมดื่มที่ผลิตจากน้ำนมดิบจากเกษตรกรในประเทศเท่านั้น โดยให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ เป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้ผู้ประกอบการเพื่อใช้แสดงต่อโรงเรียนในการจำหน่ายนมพร้อมดื่มให้กับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
3) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาแนวทางดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับผู้นำเข้านมผงธรรมดาที่มีไขมันเกิน 1.5% (Whole milk powder) เพื่อไม่ให้กระทบต่อระเบียบปฏิบัติของ WTO
4) คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตนมผงเลี้ยงทารกเพื่อรองรับผลผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกร เมื่อคราวประชุมวันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 และได้มีมติรับทราบผลการดำเนินการและมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตนมผงเลี้ยงทารกมีความเป็นรูปธรรมเป็นกิจการและมีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ เช่น แผนการดำเนินงาน แนวทางการบริหารจัดการ ผู้รับผิดชอบ ความมั่นคงของกิจการ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 17 - 23 ม.ค. 2543--
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
กาแฟ : รับจำนำกาแฟเพื่อแก้ไขปัญหาราคาตกต่ำ
ในปี 2542/43 แม้ว่าผลผลิตกาแฟโลกจะลดลงจาก 6,413 พันตันของปีที่ผ่านมาเป็น 6,267 พันตัน หรือลดลงร้อยละ 2.28 ก็ตาม แต่ผลผลิตกาแฟโรบัสตาของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.70 เนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมทั้งของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.38 , 3.08 และ 46.33 ตามลำดับ ประกอบกับขณะนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตกาแฟของเวียดนามออกสู่ตลาดมาก ส่งผลให้ราคาในตลาดโลกโน้มลดลงโดยราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดลอนดอน ณ เดือนธันวาคม 2542 ส่งมอบเดือนมีนาคม 2543 อยู่ที่ระดับ 1,252.75 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (47.74 บาท/กก.) ลดลงเป็น 1,101.75 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (40.93 บาท/กก.) ในเดือนมกราคม 2543 ทำให้ราคากาแฟที่เกษตรกรขายได้ลดลงจาก 32.15 บาทในเดือนธันวาคมเป็น 29.14 บาทในเดือนมกราคม 2543 เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟได้รับความเดือดร้อนและเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการช่วยเหลือ
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ จากปัญหาตกต่ำในคราวประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2543 โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำกิโลกรัมละ 34.00 บาท และให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) รับจำนำเหมือนเช่นการรับจำนำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยรัฐฯ จะชดเชยภาระดอกเบี้ยและให้ค่าใช้จ่ายและค่าเก็บรักษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) ราคารับจำนำ กก. ละ 32.30 บาท (ร้อยละ 95 ของราคาเป้าหมาย)
2) เป้าหมายให้ อคส.รับจำนำเมล็ดกาแฟจากเกษตรกร จำนวน 20,000 ตัน
3)ให้องค์กรที่ดูแลสถาบันและกลุ่มเกษตรกรมีส่วนร่วมวางหลักเกณฑ์กำกับและตรวจสอบผลผลิตที่นำมาจำนำกับ อคส.
4) ระยะเวลาการรับจำนำและชำระคืนเงินกู้ ระยะเวลาดำเนินการรับจำนำเมล็ดกาแฟ 25 มกราคม ถึง 25 มีนาคม 2543 และกำหนดให้ไถ่ถอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 เดือนนับถัดจากเดือนที่รับจำนำ หากเกษตรกรต้องการจะถ่ายถอนภายใน 3 เดือนต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 3
5) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งเป็นค่าชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าใช้จ่ายดำเนินการ (ได้แก่ ค่าเช่าโกดัง ค่ากรรมกร ค่ากระสอบ ฯลฯ) และค่าดำเนินการเหมาจ่าย รวมทั้งสิ้น 22 ล้านบาท
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
หอมแดง : ราคามีแนวโน้มต่ำลง
จากการที่เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจังหวัดลำพูน ได้มีหนังสือร้องเรียนผ่านกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาราคาหอมแดงตกต่ำ ซึ่งเป็นช่วงผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดในระยะนี้ เนื่องจากว่าเกษตรกรบางส่วนของจังหวัดลำพูนปีนี้ปลูกหอมแดงเร็วกว่าปกติ ทำให้มีผลผลิตออกมาพร้อมกับแหล่งอื่น ๆ คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ และศรีสะเกษ ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการค้ากำลังรับซื้อผลผลิตในแหล่งอื่นและยังรอดูท่าทีตลาดภายในและตลาดส่งออกอยู่ จึงยังไม่ได้เข้าไปรับซื้อหอมแดงที่กำลังออกในพื้นที่นี้มากนัก ทำให้ตลาดยังไม่คึกคักเท่าที่ควร ราคารับซื้อจึงอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ สำหรับผลผลิตหอมแดงในฤดูการผลิต ปี 2542/43 ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้พยากรณ์ผลผลิตหอมแดงว่าจะมีประมาณ 205,539 ตัน เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5.78 โดยที่จังหวัดลำพูนปีนี้มีผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 36.60 ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนราคาเกษตรกรขายได้หอมแดงสดทั้งใบของจังหวัดลำพูนขณะนี้กิโลกรัมละ 3-4 บาท
กรมการค้าภายใน จึงได้ทำการอนุมัติเงินเร่งด่วนจำนวน 10 ล้านบาท จัดสรรให้ผู้เข้าร่วมโครงการ นำไปแทรกแซงตลาดรับซื้อหอมแดงจังหวัดลำพูนในราคานำตลาด เมื่อราคาหอมแดงที่เกษตรกรขายได้ต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำ โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำเทียบเคียงกับราคาที่จังหวัดศรีสะเกษ และปรับเพิ่มลดตามขนาดและคุณภาพสินค้า คือ ราคาเป้าหมายนำ หอมแดงแห้งหัวใหญ่ชนิดคละกิโลกรัมละ 10.00 บาท หอมแดงแห้งหัวเล็กชนิดคละกิโลกรัมละ 6.74 บาท
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
โคนม : การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
สืบเนื่องจากปัญหานมล้นประมาณวันละ 200 ตัน ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไม่สามารถขายน้ำนมดิบได้ บางครั้งต้องเทนมทิ้ง สาเหตุเนื่องมาจากปัญหาขาดสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อีกประการหนึ่งมาจากผู้ประกอบการที่ผลิตนมพร้อมดื่มให้แก่โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนหลายรายมักจะนำนมหางนมผง หรือ Whole milk powder มาละลายน้ำทำเป็นนมพร้อมดื่ม เพราะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการใช้น้ำนมดิบ จึงทำให้เกษตรกรขายน้ำนมดิบไม่ได้
คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ
1) ให้กระทรวงศึกษาธิการเจียดงบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน จำนวน 300 ล้านบาท มาจัดซื้อนมโดยวิธีพิเศษ กับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) โดยให้ อ.ส.ค. เป็นแกนกลางในการประสานงานกับผู้ประกอบการที่รับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำนมดิบล้นในช่วงปิดเทอม
2) ให้หน่วยงานราชการที่ได้รับงบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซื้อนมพร้อมดื่มที่ผลิตจากน้ำนมดิบจากเกษตรกรในประเทศเท่านั้น โดยให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ เป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้ผู้ประกอบการเพื่อใช้แสดงต่อโรงเรียนในการจำหน่ายนมพร้อมดื่มให้กับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
3) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาแนวทางดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับผู้นำเข้านมผงธรรมดาที่มีไขมันเกิน 1.5% (Whole milk powder) เพื่อไม่ให้กระทบต่อระเบียบปฏิบัติของ WTO
4) คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตนมผงเลี้ยงทารกเพื่อรองรับผลผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกร เมื่อคราวประชุมวันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 และได้มีมติรับทราบผลการดำเนินการและมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตนมผงเลี้ยงทารกมีความเป็นรูปธรรมเป็นกิจการและมีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ เช่น แผนการดำเนินงาน แนวทางการบริหารจัดการ ผู้รับผิดชอบ ความมั่นคงของกิจการ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 17 - 23 ม.ค. 2543--