นายพิษณุ เหรียญมหาสาร รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2544 คณะกรรมาธิการ House Ways & Means ของสหรัฐอเมริกาได้ผ่านร่างกฎหมายต่ออายุโครงการ GSP ใหม่ ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 โดยสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าทุกรายการ สำหรับสินค้า GSP ที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 จนถึงวันที่ต่ออายุได้ จะสามารถขอคืนภาษีย้อนหลังได้ ทั้งนี้คาดว่าขั้นต่อไปร่างกฎหมายการต่ออายุโครงการ GSP จะถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ Senate Finance ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบก็จะผ่านเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป และเป็นที่คาดว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาสหรัฐฯและเสนอให้ประธานาธิบดีบุช ลงนามประมาณปลายเดือนตุลาคมศกนี้
นายพิษณุฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ศุลกากรสหรัฐฯได้กำหนดรูปแบบการคืนภาษีย้อนหลังไว้ 2 แบบ คือ
1. แบบ Automated Broker Interface (ABI) คือ ในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้า สินค้าสหรัฐฯจะใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์กับศุลกากรสหรัฐฯ โดยใส่รหัสสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิ GSP ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งออนไลน์ไว้ เครื่องก็จะคำนวณจำนวนภาษีที่จะได้รับคืนให้กับผู้นำเข้าและสามารถได้รับการคืนภาษีย้อนหลังโดยอัตโนมัติ
2. แบบยื่นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร คือในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าสินค้า สหรัฐฯจะต้องยื่นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อขอคืนภาษีต่อศุลกากรสหรัฐฯภายในเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ดี ระบบ GSP สหรัฐฯจะจำกัดการใช้สิทธิภายใต้กฎว่าด้วยความจำเป็นในการแข่งขัน (Competitive Need Limits : CNL) กล่าวคือสินค้ารายการใดของประเทศใดมีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯในปีปฏิทินที่ผ่านมาเกินระดับ CNL ข้อใดข้อหนึ่งคือ ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป หรือ มูลค่านำเข้าสหรัฐฯสูงเกินระดับเพดานที่สหรัฐฯกำหนดไว้ของแต่ละปีก็จะถูกตัดสิทธิในปีต่อมา ระดับเพดานสหรัฐฯจะกำหนดเป็นมูลค่าซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุกปี โดยให้เพิ่มขึ้นปีละ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับปี 2543 เท่ากับ 95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนในปี 2544 เท่ากับ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤศจิกายน 2544--
-อน-
นายพิษณุฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ศุลกากรสหรัฐฯได้กำหนดรูปแบบการคืนภาษีย้อนหลังไว้ 2 แบบ คือ
1. แบบ Automated Broker Interface (ABI) คือ ในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้า สินค้าสหรัฐฯจะใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์กับศุลกากรสหรัฐฯ โดยใส่รหัสสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิ GSP ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งออนไลน์ไว้ เครื่องก็จะคำนวณจำนวนภาษีที่จะได้รับคืนให้กับผู้นำเข้าและสามารถได้รับการคืนภาษีย้อนหลังโดยอัตโนมัติ
2. แบบยื่นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร คือในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าสินค้า สหรัฐฯจะต้องยื่นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อขอคืนภาษีต่อศุลกากรสหรัฐฯภายในเวลาที่กำหนด
อย่างไรก็ดี ระบบ GSP สหรัฐฯจะจำกัดการใช้สิทธิภายใต้กฎว่าด้วยความจำเป็นในการแข่งขัน (Competitive Need Limits : CNL) กล่าวคือสินค้ารายการใดของประเทศใดมีมูลค่าส่งออกไปสหรัฐฯในปีปฏิทินที่ผ่านมาเกินระดับ CNL ข้อใดข้อหนึ่งคือ ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป หรือ มูลค่านำเข้าสหรัฐฯสูงเกินระดับเพดานที่สหรัฐฯกำหนดไว้ของแต่ละปีก็จะถูกตัดสิทธิในปีต่อมา ระดับเพดานสหรัฐฯจะกำหนดเป็นมูลค่าซึ่งจะเปลี่ยนแปลงทุกปี โดยให้เพิ่มขึ้นปีละ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับปี 2543 เท่ากับ 95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนในปี 2544 เท่ากับ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤศจิกายน 2544--
-อน-