บทสรุปนักลงทุน
ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ เป็นอุปกรณ์ประดับยนต์ที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ใช้ทดแทนล้อรถยนต์ที่ทำจากเหล็กหล่อหรือล้อกะทะเหล็ก ซึ่งนอกจากจะใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ววัสดุที่ใช้ในการผลิตคืออลูมิเนียม ซึ่งมีน้ำหนักเบา และระบายความร้อนได้ดี จึงช่วยเสริมความปลอดภัยในการขับขี่อีกด้วย ผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในไทยมีประมาณ 20 ราย แต่ที่จัดได้ว่าเป็นรายใหญ่มีจำนวนไม่มากและเกือบทั้งหมดเป็นการร่วมทุนกับต่างชาติ ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการผลิตต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เน้นการใช้เครื่องจักรในการผลิตมากกว่าแรงงานคนและมีขนาดเงินลงทุนมาก โดยกว่าร้อยละ 70 ของการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองตลาดในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ และตลาดอะไหล่ทดแทน
ตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในช่วงปี 2540-2541 ทำให้ยอดจำหน่ายในประเทศลดลงถึงร้อยละ 25 และ 61 ตามลำดับ จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงและหันไปจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่มีความจำเป็นกับการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทแม่ในต่างประเทศโดยการขยายตลาดส่งออกเดิม
และจัดหาตลาดส่งออกใหม่เพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันมีการโยกคำสั่งการผลิตส่วนหนึ่งมาผลิตที่ประเทศไทยแทน ซึ่งทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตในปีนี้โดยเฉลี่ยสูงกว่าปีก่อน ดังนั้นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติมีการส่งออกในปีนี้เป็นสัดส่วนสูงมากกว่าร้อยละ 60 ของการผลิตจริง ส่งผลให้ความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์โดยรวมในปี 2541 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 อยู่ที่ 1.444 ล้านวง หลังจากที่ลดลงร้อยละ 16 ในปี 2540 สำหรับปี 2542 จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัว ประชาชนมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาจากยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรก เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกับปีก่อนกว่าร้อยละ 30 อันส่งผลต่อปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว ในขณะที่ผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ที่เป็นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติยังคงมีนโยบายผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น จะทำให้ความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14 เป็น 1.652 ล้านวง คาดว่า แนวโน้มตลาดอลูมิเนียมอัลลอยด์ในปี 2543 จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 ตามกำลังซื้อของผู้
บริโภคที่มีเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจไทย
การลงทุนตั้งโรงงานผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ ขนาดกำลังผลิต 200,000 วงต่อปี ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 200 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุนด้านเครื่องจักร 166 ล้านบาท นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการผลิตอีกประมาณ 20 ล้านบาท โดยโครงสร้างต้นทุนการผลิตเป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 52 รองลงมาได้แก่ ค่าโสหุ้ยในการผลิตและค่าเสื่อมเครื่องจักรร้อยละ 42 และค่าแรงงานร้อยละ 5 สำหรับผลตอบแทนของการทำอุตสาหกรรมนี้ อยู่ราวร้อยละ 8 ของยอดขาย
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ หรือที่รู้จักกันดีว่า ล้อแม็กซ์ เป็นอุปกรณ์ประดับยนต์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้ทดแทนล้อรถยนต์ที่ทำจากเหล็กหล่อหรือล้อกะทะเหล็ก ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามตามลวดลายและขนาดที่มีให้เลือกหลายรูปแบบแล้ว วัตถุดิบที่ใช้ในการผสมคืออลูมิเนียม มีน้ำหนักเบาและระบายความร้อนได้ดี ประกอบกับขนาดหน้ากว้างของล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ กว้างกว่า
ล้อรถยนต์ที่ทำจากเหล็กหล่อหรือล้อกะทะเหล็กและมีให้เลือกหลายขนาด จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าล้อปกติในการขับเคลื่อนรถยนต์
กว่าร้อยละ 70 ของตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ของไทยเป็นตลาดในประเทศ โดยอาจจำแนกลักษณะตลาดตามความต้องการใช้ออกเป็นสองตลาด คือ 1) ตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ ความต้องการใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะการประกอบของรถยนต์แต่ละยี่ห้อและแต่ละรุ่น ส่งผลให้ความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในตลาดนี้ในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตรถยนต์ที่ใช้
ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์เป็นมาตรฐาน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันที่มีรถยนต์หลายค่ายและมีการแข่งขันรุนแรง ทำให้การผลิตรถยนต์เกือบทุกรุ่นมีการใช้ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์เป็นอุปกรณ์ติดรถยนต์ เนื่องจากสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้มากขึ้น และ 2) ตลาดอะไหล่ทดแทน เป็นการจำหน่ายให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่มีรสนิยมในการตกแต่งรถยนต์ตามสมัยนิยมหรือตามแฟชั่น ทำให้เมื่อซื้อรถยนต์ที่ไม่มีล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ติดเป็นมาตรฐานจากโรงงาน จึงนิยมนำมาเปลี่ยนเป็นล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ตามร้านค้าตัวแทนจำหน่ายเพื่อให้ตัวรถมีความสวยงามยิ่งขึ้น หรือผู้บริโภคบางกลุ่มอาจมีการเปลี่ยนล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์เนื่องจากต้องการลวดลายใหม่ ดังนั้นล้ออลูมิเนียมในตลาดทดแทนจึงมีสินค้ามากมายทุกระดับทั้งที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
ด้านตลาดส่งออก จากการที่ตลาดคู่ค้ามีความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ที่ได้ตามมาตรฐานโลก ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ประกอบกับผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในตลาดโลกมีจำนวนมาก และมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีการผลิตโดยเฉลี่ยของผู้ประกอบการไทย ปัจจุบันจึงมีผู้ประกอบการไทยเพียงไม่กี่รายที่ทำการผลิตเพื่อส่งออก นอกเหนือจากจำหน่ายภายในประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังประเทศของบริษัทแม่ผู้ร่วมทุน และ/หรือเป็นการส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าที่บริษัทแม่เป็นผู้จัดหาให้สำหรับตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ด้านการนำเข้า นับตั้งแต่ ก.ค. 2540 ค่าเงินบาทไทยอ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและภาวะเศรษฐกิจไทยถดถอยอย่างรุนแรง อีกทั้งการนำเข้าต้องเสียอัตราภาษีศุลกากรถึงร้อยละ 42 ของราคานำเข้า ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์นำเข้าจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเนื่องจากมีราคาจำหน่ายสูงกว่าล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ที่ผลิตในประเทศไทยค่อนข้างมากเกือบเท่าตัว
ตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์มีการเติบโตสูงสุดในช่วงปี 2533-2538 โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี ตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้ความต้องการใช้รถยนต์ในช่วงดังกล่าวมีอัตราการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ในขณะเดียวกับที่มีการย้ายฐานการผลิตและประกอบรถยนต์เข้ามาในไทยของนักลงทุนต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่นและยุโรป เป็นต้น การผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ส่วนหนึ่งจึงถูกป้อนเข้าโรงงานเพื่อใช้ติดตั้งให้กับรถยนต์เกือบทุกรุ่นที่ประกอบจากโรงงานเหมือนอุปกรณ์ติดรถยนต์ประเภทอื่น อย่างไรก็ตาม ในปี 2539 ตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเทศซึ่งเป็นตลาดหลัก ขยายตัวในอัตราชะลอลง และประสบปัญหาตลาดหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงปี 2540-2541 จากภาวะการถดถอยอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจไทย ผู้บริโภคมีอำนาจซื้อลดลงและเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมากขึ้น เมื่อพิจารณาสถิติการจำหน่ายรถยนต์ ซึ่งจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทหนึ่ง ในปี 2540 ลดลงจากปี 2539 ร้อยละ 38 เป็น 347,002 คัน และลดลงอีกร้อยละ 59 เป็น 141,527 คัน ในปี 2541 สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในภาพรวมหดตัวลงมาก โดยในปี 2540 ความต้องการใช้อยู่ที่ 1.365 ล้านวง ลดลงร้อยละ 16 อย่างไรก็ตาม ในปี 2541 ผู้ผลิตได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดโดยเฉพาะบริษัทที่มีผู้ร่วมทุนเป็นชาวต่างชาติ ด้วยการมุ่งตลาดส่งออกมากขึ้นทดแทนตลาดในประเทศโดยมีบริษัทแม่เป็นผู้จัดหาตลาดให้ ในขณะเดียวกันบริษัทแม่มีการโยกฐานการผลิตบางส่วนมาในไทยมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตทั้งระบบต่ำกว่าประเทศของตน การผลิตล้ออลูมิเนียมอัล
ลอยด์เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดต่างประเทศจึงเพิ่มขึ้นสูงมาก ทำให้ในภาพรวมแล้วความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในปี 2541 อยู่ที่ 1.444 ล้านวง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6
คาดว่าความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในปี 2542 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14 อยู่ที่ 1.652 ล้านวง จากเหตุผลสนับสนุนคือ 1)ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศในช่วง 9 เดือนแรกปี 2542 อยู่ที่ 50,284 คัน และ 43,437 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกับปีก่อนกว่าเท่าตัว และร้อยละ 33 ตามลำดับ จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จึงคาดว่าปริมาณการผลิตรถยนต์และยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศตลอดปี 2542 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 74 และ 31 เป็น 275,000 และ 185,500 คัน ตามลำดับ ทำให้คาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์มีมากขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 65 และ 2)ผู้ประกอบการที่มีชาวต่างชาติเป็นผู้ร่วมทุน บริษัทแม่ในต่างประเทศยังคงมีนโยบายขยายการส่งออกอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ยอดการส่งออกในปี 2542 จะยังเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากผลการสำรวจผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติ 4 ราย พบว่ายอดขายในช่วง 6 เดือนแรกปี 2542 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกับปีก่อนเฉลี่ยเกินกว่าร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการในตลาดอะไหล่ทดแทนยังคงซบเซาต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากการที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มีความเชื่อมั่นกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจึงระมัดระวังในการใช้จ่าย นอกจากนี้ผลการสำรวจตัวแทนจำหน่ายล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในตลาดอะไหล่ทดแทนถึงสถานการณ์ด้านการตลาดทั่วไป พบว่า ในช่วงครึ่งแรกปี 2542 ยังคงมีผู้บริโภคบางรายนำล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์มาจำนำกับทางร้าน เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนใช้จ่าย แต่ก็ไม่มากเท่ากับปีที่ผ่านมา
สำหรับปี 2543 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง จะทำให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ขยายตัวและส่งผลให้ตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเทศขยายตัวดีทั้งในตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์และในตลาดอะไหล่ทดแทน ในขณะที่ด้านตลาดส่งออกก็จะยังขยายตัวต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 1-2 ปีที่ผ่านมา
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ปัจจุบันมีผู้ผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ประมาณ 20 ราย กำลังการผลิตสูงสุดรวม 3.273 ล้านวง/ปี ในจำนวนนี้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Office of the Board of Investment: BOI) 7 ราย (ไม่รวมผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการขออนุมัติการลงทุน 2 ราย)
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ผู้ประกอบการที่มีผู้ร่วมทุนเป็นชาวต่างชาติ1/ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท เอนไกไทย จำกัด 133,600,600
บริษัท สยาม เลมเมอร์ซ จำกัด 108,000,000
บริษัท อาซาฮี สมบูรณ์ อลูมิเนียม 310,000,000
บริษัท ยาชิโยดา อัลลอยวีล จำกัด 40,000,000
ผู้ประกอบการชาวไทย
บริษัท เฟอร์สตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด 294,316,000
บริษัท แมส อัลลอยด์ วิลด์ (ประเทศไทย) จำกัด 144,450,000
บริษัท เจ อาร์ ดี (ไทยแแลนด์) จำกัด 32,140,000
บริษัท ทรัพย์ไพศาลอุตสาหกรรม จำกัด 20,575,000
บริษัท ท็อปวีล จำกัด 16,500,000
บริษัท ซิตี้คอร์พ อัลลอยส์ จำกัด 5,500,000
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
หมายเหตุ: 1/ เป็นผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ในประเทศไทยและตลาดโลก
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายล้ออลูมิเมียมอัลลอยด์สามารถจำแนกตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดังนี้คือ กรณีรับจ้างผลิตให้กับตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ในไทยและต่างประเทศ ผู้ผลิตจะติดต่อกับลูกค้าโดยตรงโดยมีการส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อแต่ละล็อตและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดอะไหล่ทดแทน นิยมใช้การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้มีการกระจายสินค้าไปตามภูมิภาคได้อย่างทั่วถึงการผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ ได้แก่ Aluminium Alloy Ingot มีลักษณะเป็นแท่งสีเทาเงิน แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีแร่บอกไซด์ที่ใช้ในการถลุงเป็นอลูมิเนียม ดังนั้น Aluminium Alloy Ingot ทั้งหมดที่ใช้ในประเทศไทยจึงเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยแหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย รัสเซีย และสาธารณรัฐบาห์เรน อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมสามารถหาซื้อ Aluminium Alloy Ingot ได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้เช่นกัน เช่น บริษัท นิเคไทย อลูมิเนียม จำกัด บริษัท โสภณพรรณ จำกัด และบริษัท เอกพล อลูมิเนียม จำกัด เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 52
วัตถุดิบนำเข้า 100
2. ค่าแรงงาน 5
3. ค่าเสื่อมราคา และอื่น ๆ 43
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
การผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1.!การใช้ระบบกำลังอัดต่ำ (Low Pressure) เป็นการดูดโลหะผลมที่กำลังหลอมละลายเข้าไปในแม่แบบที่เป็นสูญญากาศ
2.!การใช้ระบบกำลังอัดสูง (High Pressure) เป็นการฉีดโลหะที่กำลังหลอมละลายเข้าไปในแม่แบบ
3.!การเทลงในแม่แบบ (Gravity Die Casting) วิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเทศไทย เป็นการนำเอาโลหะที่หลอมละลายแล้ว เทลงไปในแม่แบบเพื่อหล่อเป็นตัวล้อ นำมาตัดแต่งให้ได้รูปทรง ผ่านการชุบ อบให้แห้ง แล้วผ่านกระบวนการกลึงการเจาะรูตามใบสั่งซื้อและ/หรือตามสเป๊คของรุ่น และการพ่นสี โดยในทุกขั้นตอนการผลิตจะมี
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าเสมอและการผลิตวิธีนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้หลักของแรงเหวี่ยงเข้ามาช่วยในการผลิต เพื่อให้โมเลกุลของโลหะผสมยึดเกาะติดกันแน่น ก่อให้เกิดความแข็งแรงและทนทาน
ภาพที่ 1: ขั้นตอนการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ แบบ Gravity Die Casting
Aluminium Ingot Melting
Casting & Cutting
Heat Treatment
CNC Machining
Value & PCD Hole
Air Leak Testing
Painting
Final Inspecting
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
จากกรรมวิธีการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การหลอม การหล่อ การชุบ/อบ การกลึง และการพ่นสี ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต้องการใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูง โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในการหล่อ และการกลึง ผู้ผลิตจึงนิยมนำเข้าจากต่างประเทศโดยตรง และ/หรือผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ ส่วนขั้นตอนการหลอม และการชุบ/อบ มีโรงงานผลิตและประกอบเครื่องจักรในไทย รับทำเครื่องจักรตามคำสั่งของลูกค้า แบบเหมาทำและติดตั้งให้ทั้งระบบ อาทิ บริษัท โคโย แมนนิวแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามผู้ประกอบการที่ร่วมทุนกับชาวต่างชาติ พบว่าเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหมดจะนำเข้าโดยมีบริษัทแม่ต่างประเทศเป็นผู้จัดหาให้ อาทิ บริษัท เอนไกไทย จำกัด ผู้ผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีการนำเข้าเครื่องจักรในทุกกระบวนการผลิตจากบริษัท เอนไก เอนจิเนียริ่ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเพื่อส่งตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ ควรตั้งอยู่ใกล้กับทำเลที่ตั้งของลูกค้าหลัก มีการคมนาคมขนส่งสะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 13-17 นิ้ว และน้ำหนักอยู่ในช่วง 2.2-2.8 กิโลกรัม ปริมาณการขนส่งต่อเที่ยวรถจึงทำได้ไม่มากนักทำให้มีต้นทุนการขนส่งค่อนข้างสูง กรณีการลงทุนตั้งโรงงานผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ขนาดกำลังการผลิต 200,000 วงต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 20 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 200 ล้านบาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 20 ล้านบาท
- ค่าเครื่องจักร 166 ล้านบาท
- ค่ายานพาหนะและอื่น ๆ 14 ล้านบาท
2. เงินทุนหมุนเวียน 20 ล้านบาท/ปี
บุคลากร อุตสาหกรรมผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ ใช้บุคลากรประมาณ 90 คน เป็นพนักงานในโรงงาน 80 คน พนักงานในสำนักงาน 6 คน และพนักงานระดับบริหาร 4 คน มีรายละเอียดดังนี้
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 คนงาน จำนวน 58 คน
1.2 ช่าง จำนวน 15 คน
1.3! วิศวกร จำนวน 5 คน
1.4 หัวหน้าโรงงาน/ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ จำนวน 2 คน
2.! พนักงานในสำนักงาน ประกอบด้วย
2.1 พนักงานบัญชี/การเงิน จำนวน 2 คน
2.2 พนักงานการตลาด จำนวน 3 คน
2.3 พนักงานฝ่ายจัดซื้อ จำนวน 1 คน
3. พนักงานบริหาร จำนวน 4 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
1. ต้นทุนขาย
1.1! ต้นทุนวัตถุดิบ
- Aluminium Alloy Ingot 85,000,000 บาทต่อปี
1.2 ต้นทุนแรงงาน 20,000,000 บาทต่อปี
1.3 ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 16,000,000 บาทต่อปี
1.4 ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 29,000,000 บาทต่อปี
รวมต้นทุนขาย 150,000,000 บาทต่อปี
2.!ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
2.1 เงินเดือน 6,000,000 บาทต่อปี
2.2 สาธารณูปโภค
- ค่าโทรศัพท์/โทรเลข/ไปรษณีย์ 500,000 บาทต่อปี
2.3! ค่าขนส่ง
- ค่าพาหนะ/ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 700,000 บาทต่อปี
- ค่าขนส่ง/ค่าใช้จ่ายส่งออก 1,500,000 บาทต่อปี
2.4 ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 3,300,000 บาทต่อปี
รวมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 12,000,000 บาทต่อปี
3.!ค่าดอกเบี้ยจ่าย 4,000,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 8 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายโดยเฉลี่ยประมาณ 160,000 วง/ปี ราคาเฉลี่ยต่อหน่วย 1,130 บาท คิดเป็นรายได้ 180.80 ล้านบาท/ปี
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. ด้านการส่งออกและการนำเข้า การนำเข้าส่งออก ต้องผ่านพิธีการศุลกากร กรมศุลกากร
2. ด้านภาษีศุลกากร
การนำเข้าอลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป (Aluminium Ingot) รหัสฮาร์โมไนซ์ 7601-100-906 อลูมิเนียมไม่เจือ และรหัสฮาร์โมไนซ์ 7601-200-908 อลูมิเนียมเจือ เสียพิกัดอัตราศุลกากรร้อยละ 1 ของราคานำเข้า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป
3. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
4. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
ผู้สนใจและประสงค์จะขอรับการส่งเสริมการลงทุน จะขอเอกสารเผยแพร่คำแนะนำด้านการลงทุนและแบบฟอร์มคำขอรับการส่งเสริม (กกท.01) ได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งสำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร โทรศัพท์ (662)537-8111-55 และสำนักงานในภูมิภาค ได้แก่ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ
(เชียงใหม่) โทรศัพท์ (053)203-397-400 ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออก (ชลบุรี) โทรศัพท์ (038)491-820 ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 (นครราชสีมา) โทรศัพท์ (044) 213-184 ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 1 (สงขลา) โทรศัพท์ (074) 347-161-5 และศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 2 (สุราษฎ์ธานี) โทรศัพท์ (077)213-698-9
5. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
ปัจจุบัน นอกเหนือจาก ISO 9001 ซึ่งเป็นมาตราฐานผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดี ในโรงงานผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกแล้ว ในอุตสาหกรรมการผลิตและประกอบรถยนต์ยังมีอีกหนึ่งมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ได้แก่ QS 9000 เป็นมาตรฐานระบบบริหารงานที่กลุ่มโรงงานผู้ประกอบรถยนต์รายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ฟอร์ด เยเนอรัลมอเตอร์ และไครสเลอร์ กำหนดใช้กับผู้ผลิตชิ้นส่วน ข้อกำหนดของ QS 9000 กว่า 300 ข้อ จึงมีความเข้มงวดและครอบคลุมข้อกำหนดของ ISO 9001 ทั้งหมด ข้อกำหนดเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากลูกค้าโรงงานประกอบรถยนต์ทั่วโลกและจะนำมาใช้ทดแทนการตรวจติดตามผู้ผลิตชิ้นส่วนจากลูกค้าโดยตรง ดังนั้นผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในไทย หากจะพัฒนาระบบการผลิตและการบริหารงานให้เป็นมาตรฐาน สากล เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาดการค้าเสรี ระบบ ISO 9001 และ QS 9000 จึงเป็นเป้าหมายของผู้ประกอบการที่จะต้องบรรลุให้ได้ นอกจากนี้มาตรฐานอื่นๆที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมในประเทศไทย เช่น JWL ของประเทศญี่ปุ่น VIA ของประเทศญี่ปุ่นและ TUF ของยุโรป เป็นต้น--จบ--
-ชต-
ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ เป็นอุปกรณ์ประดับยนต์ที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ใช้ทดแทนล้อรถยนต์ที่ทำจากเหล็กหล่อหรือล้อกะทะเหล็ก ซึ่งนอกจากจะใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ววัสดุที่ใช้ในการผลิตคืออลูมิเนียม ซึ่งมีน้ำหนักเบา และระบายความร้อนได้ดี จึงช่วยเสริมความปลอดภัยในการขับขี่อีกด้วย ผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในไทยมีประมาณ 20 ราย แต่ที่จัดได้ว่าเป็นรายใหญ่มีจำนวนไม่มากและเกือบทั้งหมดเป็นการร่วมทุนกับต่างชาติ ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการผลิตต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เน้นการใช้เครื่องจักรในการผลิตมากกว่าแรงงานคนและมีขนาดเงินลงทุนมาก โดยกว่าร้อยละ 70 ของการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองตลาดในประเทศ ซึ่งประกอบด้วยตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ และตลาดอะไหล่ทดแทน
ตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในช่วงปี 2540-2541 ทำให้ยอดจำหน่ายในประเทศลดลงถึงร้อยละ 25 และ 61 ตามลำดับ จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงและหันไปจับจ่ายใช้สอยในสิ่งที่มีความจำเป็นกับการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทแม่ในต่างประเทศโดยการขยายตลาดส่งออกเดิม
และจัดหาตลาดส่งออกใหม่เพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ลดลงอย่างมาก ในขณะเดียวกันมีการโยกคำสั่งการผลิตส่วนหนึ่งมาผลิตที่ประเทศไทยแทน ซึ่งทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตในปีนี้โดยเฉลี่ยสูงกว่าปีก่อน ดังนั้นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติมีการส่งออกในปีนี้เป็นสัดส่วนสูงมากกว่าร้อยละ 60 ของการผลิตจริง ส่งผลให้ความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์โดยรวมในปี 2541 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 อยู่ที่ 1.444 ล้านวง หลังจากที่ลดลงร้อยละ 16 ในปี 2540 สำหรับปี 2542 จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัว ประชาชนมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาจากยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรก เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกับปีก่อนกว่าร้อยละ 30 อันส่งผลต่อปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว ในขณะที่ผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ที่เป็นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติยังคงมีนโยบายผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น จะทำให้ความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14 เป็น 1.652 ล้านวง คาดว่า แนวโน้มตลาดอลูมิเนียมอัลลอยด์ในปี 2543 จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 ตามกำลังซื้อของผู้
บริโภคที่มีเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจไทย
การลงทุนตั้งโรงงานผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ ขนาดกำลังผลิต 200,000 วงต่อปี ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 200 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุนด้านเครื่องจักร 166 ล้านบาท นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการผลิตอีกประมาณ 20 ล้านบาท โดยโครงสร้างต้นทุนการผลิตเป็นค่าวัตถุดิบร้อยละ 52 รองลงมาได้แก่ ค่าโสหุ้ยในการผลิตและค่าเสื่อมเครื่องจักรร้อยละ 42 และค่าแรงงานร้อยละ 5 สำหรับผลตอบแทนของการทำอุตสาหกรรมนี้ อยู่ราวร้อยละ 8 ของยอดขาย
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ หรือที่รู้จักกันดีว่า ล้อแม็กซ์ เป็นอุปกรณ์ประดับยนต์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ใช้ทดแทนล้อรถยนต์ที่ทำจากเหล็กหล่อหรือล้อกะทะเหล็ก ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามตามลวดลายและขนาดที่มีให้เลือกหลายรูปแบบแล้ว วัตถุดิบที่ใช้ในการผสมคืออลูมิเนียม มีน้ำหนักเบาและระบายความร้อนได้ดี ประกอบกับขนาดหน้ากว้างของล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ กว้างกว่า
ล้อรถยนต์ที่ทำจากเหล็กหล่อหรือล้อกะทะเหล็กและมีให้เลือกหลายขนาด จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าล้อปกติในการขับเคลื่อนรถยนต์
กว่าร้อยละ 70 ของตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ของไทยเป็นตลาดในประเทศ โดยอาจจำแนกลักษณะตลาดตามความต้องการใช้ออกเป็นสองตลาด คือ 1) ตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ ความต้องการใช้ขึ้นอยู่กับลักษณะการประกอบของรถยนต์แต่ละยี่ห้อและแต่ละรุ่น ส่งผลให้ความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในตลาดนี้ในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตรถยนต์ที่ใช้
ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์เป็นมาตรฐาน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันที่มีรถยนต์หลายค่ายและมีการแข่งขันรุนแรง ทำให้การผลิตรถยนต์เกือบทุกรุ่นมีการใช้ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์เป็นอุปกรณ์ติดรถยนต์ เนื่องจากสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้มากขึ้น และ 2) ตลาดอะไหล่ทดแทน เป็นการจำหน่ายให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่มีรสนิยมในการตกแต่งรถยนต์ตามสมัยนิยมหรือตามแฟชั่น ทำให้เมื่อซื้อรถยนต์ที่ไม่มีล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ติดเป็นมาตรฐานจากโรงงาน จึงนิยมนำมาเปลี่ยนเป็นล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ตามร้านค้าตัวแทนจำหน่ายเพื่อให้ตัวรถมีความสวยงามยิ่งขึ้น หรือผู้บริโภคบางกลุ่มอาจมีการเปลี่ยนล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์เนื่องจากต้องการลวดลายใหม่ ดังนั้นล้ออลูมิเนียมในตลาดทดแทนจึงมีสินค้ามากมายทุกระดับทั้งที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
ด้านตลาดส่งออก จากการที่ตลาดคู่ค้ามีความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ที่ได้ตามมาตรฐานโลก ซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ประกอบกับผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในตลาดโลกมีจำนวนมาก และมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีการผลิตโดยเฉลี่ยของผู้ประกอบการไทย ปัจจุบันจึงมีผู้ประกอบการไทยเพียงไม่กี่รายที่ทำการผลิตเพื่อส่งออก นอกเหนือจากจำหน่ายภายในประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังประเทศของบริษัทแม่ผู้ร่วมทุน และ/หรือเป็นการส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าที่บริษัทแม่เป็นผู้จัดหาให้สำหรับตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ด้านการนำเข้า นับตั้งแต่ ก.ค. 2540 ค่าเงินบาทไทยอ่อนตัวเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักและภาวะเศรษฐกิจไทยถดถอยอย่างรุนแรง อีกทั้งการนำเข้าต้องเสียอัตราภาษีศุลกากรถึงร้อยละ 42 ของราคานำเข้า ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์นำเข้าจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเนื่องจากมีราคาจำหน่ายสูงกว่าล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ที่ผลิตในประเทศไทยค่อนข้างมากเกือบเท่าตัว
ตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์มีการเติบโตสูงสุดในช่วงปี 2533-2538 โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี ตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้ความต้องการใช้รถยนต์ในช่วงดังกล่าวมีอัตราการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ในขณะเดียวกับที่มีการย้ายฐานการผลิตและประกอบรถยนต์เข้ามาในไทยของนักลงทุนต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่นและยุโรป เป็นต้น การผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ส่วนหนึ่งจึงถูกป้อนเข้าโรงงานเพื่อใช้ติดตั้งให้กับรถยนต์เกือบทุกรุ่นที่ประกอบจากโรงงานเหมือนอุปกรณ์ติดรถยนต์ประเภทอื่น อย่างไรก็ตาม ในปี 2539 ตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเทศซึ่งเป็นตลาดหลัก ขยายตัวในอัตราชะลอลง และประสบปัญหาตลาดหดตัวอย่างรุนแรงในช่วงปี 2540-2541 จากภาวะการถดถอยอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจไทย ผู้บริโภคมีอำนาจซื้อลดลงและเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมากขึ้น เมื่อพิจารณาสถิติการจำหน่ายรถยนต์ ซึ่งจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยประเภทหนึ่ง ในปี 2540 ลดลงจากปี 2539 ร้อยละ 38 เป็น 347,002 คัน และลดลงอีกร้อยละ 59 เป็น 141,527 คัน ในปี 2541 สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในภาพรวมหดตัวลงมาก โดยในปี 2540 ความต้องการใช้อยู่ที่ 1.365 ล้านวง ลดลงร้อยละ 16 อย่างไรก็ตาม ในปี 2541 ผู้ผลิตได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดโดยเฉพาะบริษัทที่มีผู้ร่วมทุนเป็นชาวต่างชาติ ด้วยการมุ่งตลาดส่งออกมากขึ้นทดแทนตลาดในประเทศโดยมีบริษัทแม่เป็นผู้จัดหาตลาดให้ ในขณะเดียวกันบริษัทแม่มีการโยกฐานการผลิตบางส่วนมาในไทยมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตทั้งระบบต่ำกว่าประเทศของตน การผลิตล้ออลูมิเนียมอัล
ลอยด์เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดต่างประเทศจึงเพิ่มขึ้นสูงมาก ทำให้ในภาพรวมแล้วความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในปี 2541 อยู่ที่ 1.444 ล้านวง เพิ่มขึ้นร้อยละ 6
คาดว่าความต้องการล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในปี 2542 จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14 อยู่ที่ 1.652 ล้านวง จากเหตุผลสนับสนุนคือ 1)ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศในช่วง 9 เดือนแรกปี 2542 อยู่ที่ 50,284 คัน และ 43,437 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกับปีก่อนกว่าเท่าตัว และร้อยละ 33 ตามลำดับ จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จึงคาดว่าปริมาณการผลิตรถยนต์และยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศตลอดปี 2542 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 74 และ 31 เป็น 275,000 และ 185,500 คัน ตามลำดับ ทำให้คาดว่าจะทำให้ความต้องการใช้ล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์มีมากขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 65 และ 2)ผู้ประกอบการที่มีชาวต่างชาติเป็นผู้ร่วมทุน บริษัทแม่ในต่างประเทศยังคงมีนโยบายขยายการส่งออกอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ยอดการส่งออกในปี 2542 จะยังเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จากผลการสำรวจผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติ 4 ราย พบว่ายอดขายในช่วง 6 เดือนแรกปี 2542 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกับปีก่อนเฉลี่ยเกินกว่าร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการในตลาดอะไหล่ทดแทนยังคงซบเซาต่อไปอีกระยะหนึ่ง จากการที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่มีความเชื่อมั่นกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจึงระมัดระวังในการใช้จ่าย นอกจากนี้ผลการสำรวจตัวแทนจำหน่ายล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในตลาดอะไหล่ทดแทนถึงสถานการณ์ด้านการตลาดทั่วไป พบว่า ในช่วงครึ่งแรกปี 2542 ยังคงมีผู้บริโภคบางรายนำล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์มาจำนำกับทางร้าน เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนใช้จ่าย แต่ก็ไม่มากเท่ากับปีที่ผ่านมา
สำหรับปี 2543 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง จะทำให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ขยายตัวและส่งผลให้ตลาดล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเทศขยายตัวดีทั้งในตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์และในตลาดอะไหล่ทดแทน ในขณะที่ด้านตลาดส่งออกก็จะยังขยายตัวต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 1-2 ปีที่ผ่านมา
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ปัจจุบันมีผู้ผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ประมาณ 20 ราย กำลังการผลิตสูงสุดรวม 3.273 ล้านวง/ปี ในจำนวนนี้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Office of the Board of Investment: BOI) 7 ราย (ไม่รวมผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการขออนุมัติการลงทุน 2 ราย)
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ผู้ประกอบการที่มีผู้ร่วมทุนเป็นชาวต่างชาติ1/ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท เอนไกไทย จำกัด 133,600,600
บริษัท สยาม เลมเมอร์ซ จำกัด 108,000,000
บริษัท อาซาฮี สมบูรณ์ อลูมิเนียม 310,000,000
บริษัท ยาชิโยดา อัลลอยวีล จำกัด 40,000,000
ผู้ประกอบการชาวไทย
บริษัท เฟอร์สตาร์ (ประเทศไทย) จำกัด 294,316,000
บริษัท แมส อัลลอยด์ วิลด์ (ประเทศไทย) จำกัด 144,450,000
บริษัท เจ อาร์ ดี (ไทยแแลนด์) จำกัด 32,140,000
บริษัท ทรัพย์ไพศาลอุตสาหกรรม จำกัด 20,575,000
บริษัท ท็อปวีล จำกัด 16,500,000
บริษัท ซิตี้คอร์พ อัลลอยส์ จำกัด 5,500,000
ที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม
หมายเหตุ: 1/ เป็นผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ในประเทศไทยและตลาดโลก
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายล้ออลูมิเมียมอัลลอยด์สามารถจำแนกตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดังนี้คือ กรณีรับจ้างผลิตให้กับตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ในไทยและต่างประเทศ ผู้ผลิตจะติดต่อกับลูกค้าโดยตรงโดยมีการส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อแต่ละล็อตและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนตลาดอะไหล่ทดแทน นิยมใช้การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้มีการกระจายสินค้าไปตามภูมิภาคได้อย่างทั่วถึงการผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ ได้แก่ Aluminium Alloy Ingot มีลักษณะเป็นแท่งสีเทาเงิน แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีแร่บอกไซด์ที่ใช้ในการถลุงเป็นอลูมิเนียม ดังนั้น Aluminium Alloy Ingot ทั้งหมดที่ใช้ในประเทศไทยจึงเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยแหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย รัสเซีย และสาธารณรัฐบาห์เรน อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมสามารถหาซื้อ Aluminium Alloy Ingot ได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้เช่นกัน เช่น บริษัท นิเคไทย อลูมิเนียม จำกัด บริษัท โสภณพรรณ จำกัด และบริษัท เอกพล อลูมิเนียม จำกัด เป็นต้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 52
วัตถุดิบนำเข้า 100
2. ค่าแรงงาน 5
3. ค่าเสื่อมราคา และอื่น ๆ 43
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
การผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
1.!การใช้ระบบกำลังอัดต่ำ (Low Pressure) เป็นการดูดโลหะผลมที่กำลังหลอมละลายเข้าไปในแม่แบบที่เป็นสูญญากาศ
2.!การใช้ระบบกำลังอัดสูง (High Pressure) เป็นการฉีดโลหะที่กำลังหลอมละลายเข้าไปในแม่แบบ
3.!การเทลงในแม่แบบ (Gravity Die Casting) วิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในประเทศไทย เป็นการนำเอาโลหะที่หลอมละลายแล้ว เทลงไปในแม่แบบเพื่อหล่อเป็นตัวล้อ นำมาตัดแต่งให้ได้รูปทรง ผ่านการชุบ อบให้แห้ง แล้วผ่านกระบวนการกลึงการเจาะรูตามใบสั่งซื้อและ/หรือตามสเป๊คของรุ่น และการพ่นสี โดยในทุกขั้นตอนการผลิตจะมี
การตรวจสอบคุณภาพสินค้าเสมอและการผลิตวิธีนี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้หลักของแรงเหวี่ยงเข้ามาช่วยในการผลิต เพื่อให้โมเลกุลของโลหะผสมยึดเกาะติดกันแน่น ก่อให้เกิดความแข็งแรงและทนทาน
ภาพที่ 1: ขั้นตอนการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ แบบ Gravity Die Casting
Aluminium Ingot Melting
Casting & Cutting
Heat Treatment
CNC Machining
Value & PCD Hole
Air Leak Testing
Painting
Final Inspecting
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
จากกรรมวิธีการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การหลอม การหล่อ การชุบ/อบ การกลึง และการพ่นสี ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต้องการใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูง โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้ในการหล่อ และการกลึง ผู้ผลิตจึงนิยมนำเข้าจากต่างประเทศโดยตรง และ/หรือผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ ส่วนขั้นตอนการหลอม และการชุบ/อบ มีโรงงานผลิตและประกอบเครื่องจักรในไทย รับทำเครื่องจักรตามคำสั่งของลูกค้า แบบเหมาทำและติดตั้งให้ทั้งระบบ อาทิ บริษัท โคโย แมนนิวแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามผู้ประกอบการที่ร่วมทุนกับชาวต่างชาติ พบว่าเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตทั้งหมดจะนำเข้าโดยมีบริษัทแม่ต่างประเทศเป็นผู้จัดหาให้ อาทิ บริษัท เอนไกไทย จำกัด ผู้ผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีการนำเข้าเครื่องจักรในทุกกระบวนการผลิตจากบริษัท เอนไก เอนจิเนียริ่ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ทำการผลิตเพื่อส่งตลาดโรงงานผลิตและประกอบรถยนต์ ควรตั้งอยู่ใกล้กับทำเลที่ตั้งของลูกค้าหลัก มีการคมนาคมขนส่งสะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 13-17 นิ้ว และน้ำหนักอยู่ในช่วง 2.2-2.8 กิโลกรัม ปริมาณการขนส่งต่อเที่ยวรถจึงทำได้ไม่มากนักทำให้มีต้นทุนการขนส่งค่อนข้างสูง กรณีการลงทุนตั้งโรงงานผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ขนาดกำลังการผลิต 200,000 วงต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 20 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 200 ล้านบาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 20 ล้านบาท
- ค่าเครื่องจักร 166 ล้านบาท
- ค่ายานพาหนะและอื่น ๆ 14 ล้านบาท
2. เงินทุนหมุนเวียน 20 ล้านบาท/ปี
บุคลากร อุตสาหกรรมผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ ใช้บุคลากรประมาณ 90 คน เป็นพนักงานในโรงงาน 80 คน พนักงานในสำนักงาน 6 คน และพนักงานระดับบริหาร 4 คน มีรายละเอียดดังนี้
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 คนงาน จำนวน 58 คน
1.2 ช่าง จำนวน 15 คน
1.3! วิศวกร จำนวน 5 คน
1.4 หัวหน้าโรงงาน/ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ จำนวน 2 คน
2.! พนักงานในสำนักงาน ประกอบด้วย
2.1 พนักงานบัญชี/การเงิน จำนวน 2 คน
2.2 พนักงานการตลาด จำนวน 3 คน
2.3 พนักงานฝ่ายจัดซื้อ จำนวน 1 คน
3. พนักงานบริหาร จำนวน 4 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
1. ต้นทุนขาย
1.1! ต้นทุนวัตถุดิบ
- Aluminium Alloy Ingot 85,000,000 บาทต่อปี
1.2 ต้นทุนแรงงาน 20,000,000 บาทต่อปี
1.3 ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 16,000,000 บาทต่อปี
1.4 ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 29,000,000 บาทต่อปี
รวมต้นทุนขาย 150,000,000 บาทต่อปี
2.!ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
2.1 เงินเดือน 6,000,000 บาทต่อปี
2.2 สาธารณูปโภค
- ค่าโทรศัพท์/โทรเลข/ไปรษณีย์ 500,000 บาทต่อปี
2.3! ค่าขนส่ง
- ค่าพาหนะ/ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 700,000 บาทต่อปี
- ค่าขนส่ง/ค่าใช้จ่ายส่งออก 1,500,000 บาทต่อปี
2.4 ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 3,300,000 บาทต่อปี
รวมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 12,000,000 บาทต่อปี
3.!ค่าดอกเบี้ยจ่าย 4,000,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 8 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายโดยเฉลี่ยประมาณ 160,000 วง/ปี ราคาเฉลี่ยต่อหน่วย 1,130 บาท คิดเป็นรายได้ 180.80 ล้านบาท/ปี
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. ด้านการส่งออกและการนำเข้า การนำเข้าส่งออก ต้องผ่านพิธีการศุลกากร กรมศุลกากร
2. ด้านภาษีศุลกากร
การนำเข้าอลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป (Aluminium Ingot) รหัสฮาร์โมไนซ์ 7601-100-906 อลูมิเนียมไม่เจือ และรหัสฮาร์โมไนซ์ 7601-200-908 อลูมิเนียมเจือ เสียพิกัดอัตราศุลกากรร้อยละ 1 ของราคานำเข้า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป
3. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
4. การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
ผู้สนใจและประสงค์จะขอรับการส่งเสริมการลงทุน จะขอเอกสารเผยแพร่คำแนะนำด้านการลงทุนและแบบฟอร์มคำขอรับการส่งเสริม (กกท.01) ได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งสำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร โทรศัพท์ (662)537-8111-55 และสำนักงานในภูมิภาค ได้แก่ ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคเหนือ
(เชียงใหม่) โทรศัพท์ (053)203-397-400 ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออก (ชลบุรี) โทรศัพท์ (038)491-820 ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 (นครราชสีมา) โทรศัพท์ (044) 213-184 ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 1 (สงขลา) โทรศัพท์ (074) 347-161-5 และศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 2 (สุราษฎ์ธานี) โทรศัพท์ (077)213-698-9
5. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
ปัจจุบัน นอกเหนือจาก ISO 9001 ซึ่งเป็นมาตราฐานผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดี ในโรงงานผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกแล้ว ในอุตสาหกรรมการผลิตและประกอบรถยนต์ยังมีอีกหนึ่งมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ได้แก่ QS 9000 เป็นมาตรฐานระบบบริหารงานที่กลุ่มโรงงานผู้ประกอบรถยนต์รายใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ฟอร์ด เยเนอรัลมอเตอร์ และไครสเลอร์ กำหนดใช้กับผู้ผลิตชิ้นส่วน ข้อกำหนดของ QS 9000 กว่า 300 ข้อ จึงมีความเข้มงวดและครอบคลุมข้อกำหนดของ ISO 9001 ทั้งหมด ข้อกำหนดเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากลูกค้าโรงงานประกอบรถยนต์ทั่วโลกและจะนำมาใช้ทดแทนการตรวจติดตามผู้ผลิตชิ้นส่วนจากลูกค้าโดยตรง ดังนั้นผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ในไทย หากจะพัฒนาระบบการผลิตและการบริหารงานให้เป็นมาตรฐาน สากล เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันในตลาดการค้าเสรี ระบบ ISO 9001 และ QS 9000 จึงเป็นเป้าหมายของผู้ประกอบการที่จะต้องบรรลุให้ได้ นอกจากนี้มาตรฐานอื่นๆที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการผลิตล้ออลูมิเนียมในประเทศไทย เช่น JWL ของประเทศญี่ปุ่น VIA ของประเทศญี่ปุ่นและ TUF ของยุโรป เป็นต้น--จบ--
-ชต-