แท็ก
คณะรัฐมนตรี
1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าคอยระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
น้ำนมดิบ : การจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2543 งวดที่ 2
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 ให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2543 จำนวน 50,600 ตัน เป็นโควตาสำรองอีก 5,000 ตัน โดยแบ่งโควตาเป็น 2 งวด ๆ ละ 6 เดือน เพื่อให้การบริหารโควตาไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ซึ่งได้แบ่งกลุ่มผู้นำเข้าเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผู้ผลิตนมพร้อมดื่ม 11,400 ตัน
2. กลุ่มผู้ผลิตนมข้น 25,300 ตัน
3. กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น 12,300 ตัน
4. กลุ่มนิติบุคคลผู้นำเข้านมผงขาดมันเนยเพื่อการค้า 1,600 ตัน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ขอสรุปผลการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2543 ดังนี้
งวดที่ 1 จำนวน 25,300 ตัน แต่มีผู้ขอเพิ่มโควตาอีก 586 ตัน รวม 25,886 ตัน ได้จัดสรรไปตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2543
งวดที่ 2 จำนวนโควตาเดิม 25,300 ตัน แต่เนื่องจากได้เกิดปัญหาน้ำนมดิบในประเทศล้นตลาด สาเหตุเพราะผู้ประกอบการหันไปใช้นมผงขาดมันเนยละลายน้ำแทนนมดิบ ซึ่งจะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศให้สามารถขายน้ำนมดิบได้หมด คณะอนุกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นมจึงได้พิจารณาทบทวนการจัดสรรโควตานมผงขาดมันเนยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการผลิตน้ำนมดิบในประเทศ เพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องได้รับผลกระทบ ซึ่งในคราวประชุมครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 มีมติเปลี่ยนแปลงการจัดสรรโควตานำเข้างวดที่ 2 จากเดิม 25,300 ตัน เป็น 22,980 ตัน ดังนี้ คือ
1. กลุ่มผู้ผลิตนมพร้อมดื่ม เดิมได้รับโควตา 5,700 ตัน ลดลงเหลือ 3,631 ตัน แต่มอบหมายให้ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารโควตา หากผู้ประกอบการรายใดต้องการนำเข้าต้องแจ้งไปที่ชุมนุมฯ โดยจะพิจารณาจัดสรรให้ตามสัดส่วนการรับซื้อ น้ำนมดิบ 20 : 1 ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด
2. กลุ่มผู้ผลิตนมข้น จากเดิม 12,650 ตัน เป็น 14,939 ตัน เนื่องจากมีบางบริษัทได้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการขอเพิ่มโควตา
3. กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น จากเดิม 6,150 ตัน เป็น 3,485 ตัน และแบ่งจัดสรรให้เป็น 2 งวดคือ งวดที่ 1 จะประกาศการจัดสรรให้ในวันที่ 1 กันยายน 2543 งวดที่ 2 จะประกาศในวันที่ 30 กันยายน 2543 ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีเวลาตรวจสอบการใช้ในงวดที่ 1 หากไม่เหมาะสมก็สามารถจะใช้เวลาในช่วงที่เหลืออีก 30 วัน พิจารณาเปลี่ยนแปลงโควตาได้
4. กลุ่มนิติบุคคลผู้นำเข้านมผงขาดมันเนยเพื่อการค้า จากเดิม 800 ตัน เป็น 925 ตัน เนื่องจากมีบริษัทใหม่ขอโควตาเข้ามา แต่การจัดสรรโควตาให้แต่ละราย คณะอนุกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นผู้พิจารณา
ถั่วเหลือง : มติคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ที่ประชุมมีมติ รับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น ครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 ตามที่ประธานคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่นเสนอ ดังนี้
1. เพิ่มเติมเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เข้าเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น
2. อนุมัติให้สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เป็นผู้นำเข้ารายใหม่เมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มเติม โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้นำเข้ามีภาระรับผิดชอบรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองคุณภาพดีจากเกษตรกร ทั้งหมดในราคาที่สูงกว่ากิโลกรัมละ 10 บาท ณ ไร่นา หรือสูงกว่ากิโลกรัมละ 11 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลือง ตลาดกรุงเทพมหานคร และให้เพิ่มขึ้นตามชั้นคุณภาพ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการกำกับดูแลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงเห็นควรกำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองสำหรับการชำระภาษีในโควตาต้องทำสัญญาไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ต่อไป
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 28 ส.ค. - 3 ก.ย. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าคอยระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
น้ำนมดิบ : การจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2543 งวดที่ 2
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2543 ให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2543 จำนวน 50,600 ตัน เป็นโควตาสำรองอีก 5,000 ตัน โดยแบ่งโควตาเป็น 2 งวด ๆ ละ 6 เดือน เพื่อให้การบริหารโควตาไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ซึ่งได้แบ่งกลุ่มผู้นำเข้าเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผู้ผลิตนมพร้อมดื่ม 11,400 ตัน
2. กลุ่มผู้ผลิตนมข้น 25,300 ตัน
3. กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น 12,300 ตัน
4. กลุ่มนิติบุคคลผู้นำเข้านมผงขาดมันเนยเพื่อการค้า 1,600 ตัน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ขอสรุปผลการจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2543 ดังนี้
งวดที่ 1 จำนวน 25,300 ตัน แต่มีผู้ขอเพิ่มโควตาอีก 586 ตัน รวม 25,886 ตัน ได้จัดสรรไปตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2543
งวดที่ 2 จำนวนโควตาเดิม 25,300 ตัน แต่เนื่องจากได้เกิดปัญหาน้ำนมดิบในประเทศล้นตลาด สาเหตุเพราะผู้ประกอบการหันไปใช้นมผงขาดมันเนยละลายน้ำแทนนมดิบ ซึ่งจะมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ดังนั้น เพื่อเป็นการปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศให้สามารถขายน้ำนมดิบได้หมด คณะอนุกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นมจึงได้พิจารณาทบทวนการจัดสรรโควตานมผงขาดมันเนยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการผลิตน้ำนมดิบในประเทศ เพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องได้รับผลกระทบ ซึ่งในคราวประชุมครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 มีมติเปลี่ยนแปลงการจัดสรรโควตานำเข้างวดที่ 2 จากเดิม 25,300 ตัน เป็น 22,980 ตัน ดังนี้ คือ
1. กลุ่มผู้ผลิตนมพร้อมดื่ม เดิมได้รับโควตา 5,700 ตัน ลดลงเหลือ 3,631 ตัน แต่มอบหมายให้ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารโควตา หากผู้ประกอบการรายใดต้องการนำเข้าต้องแจ้งไปที่ชุมนุมฯ โดยจะพิจารณาจัดสรรให้ตามสัดส่วนการรับซื้อ น้ำนมดิบ 20 : 1 ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด
2. กลุ่มผู้ผลิตนมข้น จากเดิม 12,650 ตัน เป็น 14,939 ตัน เนื่องจากมีบางบริษัทได้ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการขอเพิ่มโควตา
3. กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น จากเดิม 6,150 ตัน เป็น 3,485 ตัน และแบ่งจัดสรรให้เป็น 2 งวดคือ งวดที่ 1 จะประกาศการจัดสรรให้ในวันที่ 1 กันยายน 2543 งวดที่ 2 จะประกาศในวันที่ 30 กันยายน 2543 ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีเวลาตรวจสอบการใช้ในงวดที่ 1 หากไม่เหมาะสมก็สามารถจะใช้เวลาในช่วงที่เหลืออีก 30 วัน พิจารณาเปลี่ยนแปลงโควตาได้
4. กลุ่มนิติบุคคลผู้นำเข้านมผงขาดมันเนยเพื่อการค้า จากเดิม 800 ตัน เป็น 925 ตัน เนื่องจากมีบริษัทใหม่ขอโควตาเข้ามา แต่การจัดสรรโควตาให้แต่ละราย คณะอนุกรรมการพัฒนาโคนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นผู้พิจารณา
ถั่วเหลือง : มติคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 ที่ประชุมมีมติ รับทราบมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น ครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 ตามที่ประธานคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่นเสนอ ดังนี้
1. เพิ่มเติมเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เข้าเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและพืชน้ำมันอื่น
2. อนุมัติให้สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย และสมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เป็นผู้นำเข้ารายใหม่เมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มเติม โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้นำเข้ามีภาระรับผิดชอบรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองคุณภาพดีจากเกษตรกร ทั้งหมดในราคาที่สูงกว่ากิโลกรัมละ 10 บาท ณ ไร่นา หรือสูงกว่ากิโลกรัมละ 11 บาท ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลือง ตลาดกรุงเทพมหานคร และให้เพิ่มขึ้นตามชั้นคุณภาพ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการกำกับดูแลการปฏิบัติตามเงื่อนไขการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงเห็นควรกำหนดให้ผู้มีสิทธินำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองสำหรับการชำระภาษีในโควตาต้องทำสัญญาไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ต่อไป
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 34 ประจำวันที่ 28 ส.ค. - 3 ก.ย. 2543--
-สส-