กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงกลาโหม จะเป็น เจ้าภาพจัดการสัมมนาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ : ความเกี่ยวกันของกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Law of the Armed Conflict (LoAC): The Relevance of the LoAC to Peacekeeping) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7 —10 สิงหาคม 2544 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ การสัมมนาดังกล่าวเป็นกิจกรรมหนึ่งในกรอบความร่วมมือของอาเซียน ว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ASEAN Regional Forum (ARF) โดยได้รับเงินสนับสนุนในการจัดสัมมนาจากคณะกรรมการกาชาดสากล (International Committee of the Red Cross — ICRC) ในการสัมมนาครั้งนี้ ประเทศไทยได้เชิญผู้แทนจากประเทศ ARF ทั้ง 23 ประเทศเข้าร่วม โดยจะเป็นผู้แทนจากทั้งกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของประเทศ ARF รวมทั้งจากหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ
การจัดสัมมนาครั้งนี้สืบเนื่องจากการสัมมนาครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนธันวาคม 2542 และเป็นหนึ่งในมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในกรอบ ARF โดยเฉพาะระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร โดยที่ประเทศ ARF มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพในภูมิภาคมากขึ้น การสัมมนาจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยมุ่งหารือในประเด็นต่างๆ เช่น
- การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยความขัดกันทางอาวุธ (LoAC)
- ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
- แสวงหาแนวทางเพื่อจัดตั้งเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือนที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพของประเทศ ARF ในอนาคต
- สร้างความตื่นตัวให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของตน
- หาแนวทางกระชับความร่วมมือระหว่างฝ่ายปฏิบัติการกับกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้ คือ ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ จะได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธในกรอบของการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ตลอดจนการประสานงานกับองค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เช่น คณะกรรมการกาชาดสากล เป็นต้น การสัมมนายังเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการรักษาสันติภาพ ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ของไทยที่เข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพที่ติมอร์ตะวันออก และช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างฝ่ายทหารกับพลเรือนในการรักษาสันติภาพ นอกจากนี้ การสัมมนาฯ ยังจะช่วยกระชับและส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ARF และช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของฝ่ายทหารในกระบวนการ ARF ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
ด้วยประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงกลาโหม จะเป็น เจ้าภาพจัดการสัมมนาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ : ความเกี่ยวกันของกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Law of the Armed Conflict (LoAC): The Relevance of the LoAC to Peacekeeping) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7 —10 สิงหาคม 2544 ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ การสัมมนาดังกล่าวเป็นกิจกรรมหนึ่งในกรอบความร่วมมือของอาเซียน ว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ASEAN Regional Forum (ARF) โดยได้รับเงินสนับสนุนในการจัดสัมมนาจากคณะกรรมการกาชาดสากล (International Committee of the Red Cross — ICRC) ในการสัมมนาครั้งนี้ ประเทศไทยได้เชิญผู้แทนจากประเทศ ARF ทั้ง 23 ประเทศเข้าร่วม โดยจะเป็นผู้แทนจากทั้งกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมของประเทศ ARF รวมทั้งจากหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ
การจัดสัมมนาครั้งนี้สืบเนื่องจากการสัมมนาครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนธันวาคม 2542 และเป็นหนึ่งในมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในกรอบ ARF โดยเฉพาะระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร โดยที่ประเทศ ARF มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพในภูมิภาคมากขึ้น การสัมมนาจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยมุ่งหารือในประเด็นต่างๆ เช่น
- การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยความขัดกันทางอาวุธ (LoAC)
- ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
- แสวงหาแนวทางเพื่อจัดตั้งเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือนที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพของประเทศ ARF ในอนาคต
- สร้างความตื่นตัวให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของตน
- หาแนวทางกระชับความร่วมมือระหว่างฝ่ายปฏิบัติการกับกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้ คือ ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ จะได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธในกรอบของการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ตลอดจนการประสานงานกับองค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เช่น คณะกรรมการกาชาดสากล เป็นต้น การสัมมนายังเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการรักษาสันติภาพ ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ของไทยที่เข้าร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพที่ติมอร์ตะวันออก และช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างฝ่ายทหารกับพลเรือนในการรักษาสันติภาพ นอกจากนี้ การสัมมนาฯ ยังจะช่วยกระชับและส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก ARF และช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของฝ่ายทหารในกระบวนการ ARF ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-