แท็ก
อุตสาหกรรม
ภาวะธุรกิจอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2543
การผลิต : เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.5 (หากไม่รวมผลผลิตสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4)
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+21.1%) ขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งโรงกลั่นไทยออยล์ประสบอัคคีภัยต้องหยุดกลั่นเกือบทั้งเดือน หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+19.4%) ขยายตัวตามการผลิตรถยนต์นั่ง ที่ผู้ประกอบการได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อจูงใจให้ปริมาณจำหน่ายเป็นไปตามเป้าหมาย ประกอบกับการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น หมวดวัสดุก่อสร้าง (+12.1%) ขยายตัวตามการส่งออกปูนซิเมนต์ และความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการบูรณะภายหลังภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+12.0%) ขยายตัวตามการส่งออกในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ และปีใหม่
สำหรับ หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (-40.9%) ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดยาสูบ (-14.2%) ยังคงลดลง เนื่องจากสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศราคาถูก ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของโรงงานยาสูบลดลง
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 3 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ตามการผลิตสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+31.6%) หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+28.5%) และหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+25.6%) ที่ส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นมาก
การใช้กำลังการผลิต : ลดลงจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 55.1 แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 58.0
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม(75.4%) ลดลงเนื่องจากบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน) เปิดการผลิตโรงกลั่นโรงที่สอง ซึ่งใช้กำลังการผลิตไม่ถึงร้อยละ 50 ทำให้การใช้กำลังการผลิตทั้งหมวดลดลงจากเดือนก่อน หมวดยานยนต์ (41.5%) ลดลง เนื่องจากมีการเร่งผลิตมากในช่วงก่อนหน้าเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ และหมวดอิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (58.8%) ลดลง เนื่องจากช่วงก่อนหน้ามีการเร่งผลิตมาก เพื่อสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงวันหยุดเทศกาล
สำหรับหมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอาหาร(51.1%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตน้ำตาลทราย ที่มีวัตถุดิบอ้อยเข้าสู่โรงงานมาก เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นในปีการผลิตนี้สูงกว่าปีก่อน หมวดวัสดุก่อสร้าง (47.9%) เพิ่มขึ้นตามการส่งออกปูนซีเมนต์ ประกอบกับความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการบูรณะอาคารสิ่งก่อสร้างภายหลังภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ และหมวดเครื่องดื่ม(49.5%) เป็นการเพิ่มขึ้นตามการผลิตเบียร์เป็นสำคัญ เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปีใหม่
สำหรับการใช้กำลังการผลิตในปี 2543 อยู่ที่ระดับร้อยละ 56.1 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 60 ในปีก่อน ตามการใช้กำลังการผลิตอุตสาหกรรมสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิต : เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.5 (หากไม่รวมผลผลิตสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4)
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+21.1%) ขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งโรงกลั่นไทยออยล์ประสบอัคคีภัยต้องหยุดกลั่นเกือบทั้งเดือน หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+19.4%) ขยายตัวตามการผลิตรถยนต์นั่ง ที่ผู้ประกอบการได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อจูงใจให้ปริมาณจำหน่ายเป็นไปตามเป้าหมาย ประกอบกับการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น หมวดวัสดุก่อสร้าง (+12.1%) ขยายตัวตามการส่งออกปูนซิเมนต์ และความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากการบูรณะภายหลังภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+12.0%) ขยายตัวตามการส่งออกในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ และปีใหม่
สำหรับ หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (-40.9%) ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดยาสูบ (-14.2%) ยังคงลดลง เนื่องจากสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศราคาถูก ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของโรงงานยาสูบลดลง
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 3 แต่หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ตามการผลิตสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (+31.6%) หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+28.5%) และหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+25.6%) ที่ส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นมาก
การใช้กำลังการผลิต : ลดลงจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม ลดลงจากเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 55.1 แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 58.0
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม(75.4%) ลดลงเนื่องจากบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด (มหาชน) เปิดการผลิตโรงกลั่นโรงที่สอง ซึ่งใช้กำลังการผลิตไม่ถึงร้อยละ 50 ทำให้การใช้กำลังการผลิตทั้งหมวดลดลงจากเดือนก่อน หมวดยานยนต์ (41.5%) ลดลง เนื่องจากมีการเร่งผลิตมากในช่วงก่อนหน้าเพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ และหมวดอิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (58.8%) ลดลง เนื่องจากช่วงก่อนหน้ามีการเร่งผลิตมาก เพื่อสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงวันหยุดเทศกาล
สำหรับหมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอาหาร(51.1%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตน้ำตาลทราย ที่มีวัตถุดิบอ้อยเข้าสู่โรงงานมาก เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นในปีการผลิตนี้สูงกว่าปีก่อน หมวดวัสดุก่อสร้าง (47.9%) เพิ่มขึ้นตามการส่งออกปูนซีเมนต์ ประกอบกับความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการบูรณะอาคารสิ่งก่อสร้างภายหลังภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ และหมวดเครื่องดื่ม(49.5%) เป็นการเพิ่มขึ้นตามการผลิตเบียร์เป็นสำคัญ เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปีใหม่
สำหรับการใช้กำลังการผลิตในปี 2543 อยู่ที่ระดับร้อยละ 56.1 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 60 ในปีก่อน ตามการใช้กำลังการผลิตอุตสาหกรรมสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-