กรุงเทพฯ 3 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (29 กุมภาพันธ์ 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า พระราชาธิบดีฟาฮัด บิน อับดุลอาซีช (Fahd bin Abdul Aziz) แห่ง ซาอุดิอาระเบียทรงมีบัญชาให้ทางการซาอุดิอาระเบียเชิญคนไทยมุสลิมจำนวน 200-250 คนไปร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะในเทศกาลฮัจญ์ปี 1420 ฮ. (2543) ในฐานะแขกรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นการแสดงออกถึงไมตรีจิตที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนจากพระราชวงศ์แห่งซาอุดิอาระเบียที่มีต่อประเทศไทย
คนไทยทั้งหมดจะเดินทางไปนครเมกกะในวันที่ 8 มีนาคม 2543 โดยเครื่องบินพิเศษเช่าเหมาลำ
สำหรับการเข้าร่วมพิธีฮัจญ์ของประชาชนไทยมุสลิมในปีหนึ่งๆ มีพี่น้องชาวไทยมุสลิมเข้าร่วมประจำทุกปี โดยในปีก่อนหน้าวิกฤติเศรษฐกิจมีจำนวนประมาณ 20,000 กว่าคน แต่ในช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจผู้เดินทางไปร่วมพิธีฮัจญ์ลดลงเหลือประมาณ 7,000 คนต่อปี
หัวหน้าคณะทางการของไทยที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ซึ่งเรียกว่า อะมิรุ้ลฮัจญ์คือ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และในปี 2543 ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ฯ ยังได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาที่นครเมกกะ ในหัวข้อเกี่ยวกับความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 11 มีนาคม 2543
การเชิญคนไทยมุสลิมไปร่วมพิธี ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และถือเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบียด้วย
เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องคนไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปีนี้มีหลายหน่วยราชการที่พร้อมจะมีส่วนร่วม โดยกระทรวงสาธารณสุขจะส่งแพทย์และพยาบาลรวม 14 คน ติดตามไปดูแลและรักษาคนไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีด้วย และสภากาชาดไทยจะส่งแพทย์และเวชภัณฑ์เข้าร่วมการอำนวยความสะดวกด้วย ในขณะที่การบินไทยจะจัดเที่ยวบินพิเศษให้แก่ผู้เข้าร่วมจากไทย โดยจะเพิ่มเที่ยวบินพิเศษหาดใหญ่-นครเมกกะจำนวน 8 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภูเก็ต-นครเมกกะอีก 1 เที่ยวบินเป็นพิเศษ นอกเหนือจากเที่ยวบินปกติที่บินจากกรุงเทพฯ อยู่แล้ว--จบ
วันนี้ (29 กุมภาพันธ์ 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า พระราชาธิบดีฟาฮัด บิน อับดุลอาซีช (Fahd bin Abdul Aziz) แห่ง ซาอุดิอาระเบียทรงมีบัญชาให้ทางการซาอุดิอาระเบียเชิญคนไทยมุสลิมจำนวน 200-250 คนไปร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะในเทศกาลฮัจญ์ปี 1420 ฮ. (2543) ในฐานะแขกรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถือเป็นการแสดงออกถึงไมตรีจิตที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนจากพระราชวงศ์แห่งซาอุดิอาระเบียที่มีต่อประเทศไทย
คนไทยทั้งหมดจะเดินทางไปนครเมกกะในวันที่ 8 มีนาคม 2543 โดยเครื่องบินพิเศษเช่าเหมาลำ
สำหรับการเข้าร่วมพิธีฮัจญ์ของประชาชนไทยมุสลิมในปีหนึ่งๆ มีพี่น้องชาวไทยมุสลิมเข้าร่วมประจำทุกปี โดยในปีก่อนหน้าวิกฤติเศรษฐกิจมีจำนวนประมาณ 20,000 กว่าคน แต่ในช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจผู้เดินทางไปร่วมพิธีฮัจญ์ลดลงเหลือประมาณ 7,000 คนต่อปี
หัวหน้าคณะทางการของไทยที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ซึ่งเรียกว่า อะมิรุ้ลฮัจญ์คือ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และในปี 2543 ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ฯ ยังได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาที่นครเมกกะ ในหัวข้อเกี่ยวกับความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 11 มีนาคม 2543
การเชิญคนไทยมุสลิมไปร่วมพิธี ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และถือเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดิอาระเบียด้วย
เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องคนไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ในปีนี้มีหลายหน่วยราชการที่พร้อมจะมีส่วนร่วม โดยกระทรวงสาธารณสุขจะส่งแพทย์และพยาบาลรวม 14 คน ติดตามไปดูแลและรักษาคนไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีด้วย และสภากาชาดไทยจะส่งแพทย์และเวชภัณฑ์เข้าร่วมการอำนวยความสะดวกด้วย ในขณะที่การบินไทยจะจัดเที่ยวบินพิเศษให้แก่ผู้เข้าร่วมจากไทย โดยจะเพิ่มเที่ยวบินพิเศษหาดใหญ่-นครเมกกะจำนวน 8 เที่ยวบิน และเที่ยวบินภูเก็ต-นครเมกกะอีก 1 เที่ยวบินเป็นพิเศษ นอกเหนือจากเที่ยวบินปกติที่บินจากกรุงเทพฯ อยู่แล้ว--จบ