ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนสิงหาคม 2544 ดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย โดยปัจจัยที่ยังเป็นบวก ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ (ข้าวและมันสำปะหลัง) โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ปริมาณการซื้อ-ขายรถจักรยานยนต์ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและการเกินดุลการค้าชายแดนไทย-ลาวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย รวมทั้งภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคฯเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เนื่องจากผลผลิตเกษตรเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งผลจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐเป็นสำคัญ สำหรับปัจจัยที่เป็นลบ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนธุรกิจ ปริมาณการซื้อ-ขายรถยนต์ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และเงินโอนจากแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศลดลงจากเดือนก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ผลผลิตทางด้านการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน ยังอยู่ในช่วงการเพาะปลูก ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาด ด้านราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยราคาข้าวและมันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลง
ข้าว
การผลิตข้าวในเดือนนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวบางส่วนได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมแต่ความเสียหายไม่มากนัก ด้านการตลาดความต้องการข้าวยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อน ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวมีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,900 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อน เกวียนละ 4,838 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,173 บาท ลดลงร้อยละ 2.7 จากเดือนก่อน เกวียนละ 5,315 บาท
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวสารเจ้า 10% เกวียนละ 903 บาท ลดลงร้อยละ 2.5 ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 994 บาท ลดลงร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนกระสอบละ 1,005 บาท
มันสำปะหลัง
ในช่วงเดือนนี้สถานการณ์ตลาดของหัวมันสำปะหลังสดคึกคักขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณหัวมันสดออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ในส่วนของความต้องการโรงงานยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านราคาเพื่อจูงใจให้เกษตรกรนำผลผลิตออกมาขายเพิ่มขึ้น
ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสดเดือนนี้กิโลกรัมละ 1.20 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.09 บาท ราคาขายส่งเฉลี่ยมันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.62 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.55
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ในช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพดทยอยออกสู่ท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนนี้ราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.9 บาท ลดลงร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 4.0 บาท
อ้อยโรงงาน
จากการติดตามสถานการณ์อ้อยของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล สรุปได้ว่า สภาวะด้านการผลิตอ้อยยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะมีปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่บางจังหวัดของภาค แต่พื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าวและพืชผลอื่น สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อยไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมดังกล่าว การผลิตโดยรวมของอ้อยในเดือนสิงหาคมยังคงเจริญเติบโตดี และคาดว่าผลผลิตอ้อยในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
การส่งเสริมการลงทุน
เดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 7 โครงการ เงินลงทุน 1,833.76 ล้านบาท จ้างคนงาน 3,926 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 133.3 กว่า 14 เท่าตัว และร้อยละ 153.9 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นโครงการในจังหวัดนครราชสีมา (5 โครงการ)
โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประจำเดือนสิงหาคม 2544 มี 7 โครงการ ประกอบด้วย
1. บริษัท ทริปเปิ้ล วี อินเตอร์เทรด จำกัด ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป กำลังการผลิตปีละ 4 ล้านชิ้น ส่งออกทั้งสิ้น เงินลงทุน 48 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 812 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
2. โครงการขยายกิจการ บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด ผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป กำลังการผลิตปีละ 283,500 ตัน เงินลงทุน 188 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 218 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
3. บริษัท ไดโช อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิต SPINDLE MOTOR กำลังการผลิตปีละ 70 ล้านชิ้น เงินลงทุน 600 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 2,500 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
4. บ่ริษัท โมร์ฟาซ อินดรัสทรี่ จำกัด ผลิตเครื่องล้างฟิล์มและอัดรูปถ่ายสี กำลังการผลิตปีละ 480 เครื่อง เงินลงทุน 27 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยร้อยละ 41 ต่างชาติ (เกาหลี) ร้อยละ 59 การจ้างแรงงานไทย 50 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
5. โครงการขยายกิจการ บริษัท เอส.ดับบลิว แอนด์ ซันส์ จักด ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร/ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ / ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า ที่ทำจาก MACHINING กำลังการผลิตปีละ 12 ล้านชิ้น เงินลงทุน 361 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 262 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
6. บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด ผลิตไฟฟ้า กำลังการผลิตปีละ 8.8 เมกกะวัตต์ เงินลงทุน 600 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 25 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด
7. บริษัท ถุงเท้าสยาม จำกัด ผลิตถุงเท้า กำลังการผลิตปีละ 336,000 โหลคู่ เงินลงทุน 9.76 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยร้อยละ 51 ต่างชาติ (อินเดีย) ร้อยละ 49 การจ้างงานแรงงานไทย 59 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์
การจดทะเบียนธุรกิจ
เดือนสิงหาคม 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 592 ราย เงินทุน 370.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.7 และร้อยละ 4.6 จากเดือนก่อน 621 ราย และเงินทุน 388.8 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดการขายส่งขายปลีก ภัตตาคาร และโรงแรมลดลงเป็นสำคัญ ส่วนการเพิ่มทุนจดทะเบียน 26 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.7 จากเดือนก่อน 14 ราย แต่เงินทุน 198.2 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 35.3 จากเดือนก่อน เงินทุน 306.4 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเงินทุนของธุรกิจการขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคาร และโรงแรม สำหรับการเลิกกิจการ 105 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 จากเดือนก่อน 91 ราย ขณะที่เงินทุน 46.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.9 เดือนก่อน เงินทุน 82.9 ล้านบาท
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 257.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดขอนแก่นลดลงเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการลดลงในส่วนของการจัดเก็บภาษีจากเบียร์
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 681.4 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อนที่มีการใช้ไฟฟ้า 664.8 ล้านหน่วย โดยการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ขณะที่การใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นสิงหาคม 2544 มีทั้งสิ้น 35,685.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.5
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในภาคฯ เดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ประมาณ 1,040 คัน และรถบรรทุกส่วนบุคคล 1,370 คัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.3 และร้อยละ 5.4 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ชะลอตัวเป็นประจำทุกปี ขณะที่รถจักรยานยนต์ 18,230 คัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6
อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.3 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.9
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนหน้าลดลงร้อยละ 0.4 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.9
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ทั้งนี้เป็นผลมาจากผลผลิตของผลไม้บางชนิดออกสู่ตลาดลดลงและสินค้าบางชนิดเป็นช่วงนอกฤดูกาล อาทิ ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก มะม่วง ผักคะน้า ผักชี หอม กระเทียมแห้ง เป็นต้น หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้าประเภทปลาและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 1.3 สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 0.4
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าย่อยในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน ลดลงร้อยละ 2.5 (ไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำประปา ลดลงถึงร้อยละ 10.9) จากที่มีการลดค่ากระแสไฟฟ้าให้กับบ้านที่อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน และการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทดีเซลหมุนเร็ว หมวดยานพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 ขณะที่สินค้าหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
ในเดือนสิงหาคมนี้แรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศมีจำนวน 8,395 คน ลดลงร้อยละ 14.6 จากเดือนก่อนที่มีจำนวน 9,827 คน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมี 10,948 คน ลดลงร้อยละ 23.3 แรงงานส่วนใหญ่เดินทางไปทำงานยังประเทศไต้หวัน
อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปทำงานประเทศไต้หวันมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ไต้หวันมีโครงการจำกัดจำนวนแรงงานต่างประเทศบางสาขา รวมทั้งมีมาตรการลดค่าแรงงาน เป็นต้น
แรงงานจังหวัดอุดรธานีเดินทางไปทำงานมากที่สุด 1,479 คน รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 1,284 คน และจังหวัดบุรีรัมย์ 752 คน
การค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมูลค่า 1,385.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.3 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการค้า 1,433.2 ล้านบาท เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออก 1,098.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.7 และมีการนำเข้า 286.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 811.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.2 รายละเอียดมีดังนี้ :-
การส่งออก : มูลค่า 1,098.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 1,117.6 ล้านบาท แยกเป็นสินค้าหมวดต่าง ๆ ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค : ส่งออก 535.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 14.6 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 199.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 23.1 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 143.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 เครื่องดื่ม สุราและน้ำส้มสายชู 24.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงร้อยละ 138.3 และเฟอร์นิเจอร์ 5.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 147.3 ขณะที่สินค้าบริโภคในครัวเรือน 129.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.5 ยารักษาโรค 9.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.3 และ อาหารสัตว์ 3.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.0
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : ส่งออก 109.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.7 จากเดือนก่อน เนื่องจากการลดลงของสินค้าทุกประเภทในหมวดนี้ สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ผ้าผืน 44.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.5 เหล็กและเหล็กกล้า 19.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 35.2 อุปกรณ์ตัดเย็บ 12.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.0 กระดาษและกระดาษแข็ง 4.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.9
สินค้าทุน : ส่งออก 116.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 สินค้าสำคัญได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 1.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 0.8 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 88.7 แก้วและเครื่องแก้ว 14.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.5 ขณะที่วัสดุก่อสร้าง 85.2 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และปุ๋ย 14.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3
น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ : ส่งออก 122.8 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 20.0
การนำเข้า : มูลค่า 286.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.2 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการนำเข้า 315.6 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 223.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.0 พืชไร่ 14.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.5 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 2.2 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 61.4 ส่วนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินแร่ 18.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว หนังโค-กระบือ 4.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 488 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 48 สำนักงาน) ลดลงจากเดือนก่อน 3 สำนักงาน
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 249,160.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งถอนเงินเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 187,431.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76.0 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 76.1 ในเดือนนี้
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,845.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้จำนวนผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้เริ่มลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากมาตรการการจำกัดแรงงานต่างชาติของประเทศไต้หวัน
เดือนสิงหาคม 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 11,574.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อน ซึ่งขาดดุล 11,684.5 ล้านบาท เนื่องจากรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,162.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.7 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีสุราเพิ่มขึ้น ส่วนรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 12,737.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 เป็นผลจากรายจ่ายประจำ 9,031.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.8 ขณะที่รายจ่ายลงทุน 3,706.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.2 จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์ลดลงเป็นสำคัญ
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 87.4 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 96.8 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 70.9 ซึ่งยังคงมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนสิงหาคม 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 63 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 44 ดีขึ้นจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะอยู่ในระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 46.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 43.7 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนการประกอบการแย่ลงจากเดือนก่อน ส่วนปัจจัยด้านการจ้างงานทรงตัวจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.5 ในเดือนหน้า และร้อยละ 52.3 ในช่วง ต.ค.-ธ.ค. 44
2) การแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศลดลงจากเดือนก่อน โดยการแข่งขันยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือน ส.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงจากเดือนก่อน
ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1) ภาครัฐควรดูแลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง
2) ภาครัฐควรเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ล่าช้า 5-6 เดือน) เนื่องจากทำให้ผู้ประกอบการส่งออกขาดสภาพคล่อง
3) การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการออกสู่ตลาดของผลผลิตเกษตร จะทำให้เศรษฐกิจในภาคในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีกระเตื้องขึ้นพอสมควร
4) ภาครัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรที่กำลังจะออกสู่ท้องตลาด เนื่องจากราคาค่อนข้างต่ำมาก โดยเฉพาะราคาข้าว
5) ต้นทุนสินค้าหลายตัวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
6) การส่งออกวัสดุก่อสร้างไป สปป.ลาว คาดว่าจะดีขึ้น เนื่องจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกจักรยานยนต์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประเทศจีนสามารถผลิตรถจักรยานยนต์มาขายแข่งขันในราคาถูกกว่า 2 เท่า
สรุปสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากรายงานการสรุปสถานการณ์น้ำท่วมของสำนักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 5 กันยายน 2544 สรุปความเสียหายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้คือ พื้นที่เกิดน้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ หนองคาย นครพนม เลย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อำนาจเจริญ ยโสธร นครราชสีมา
สรุปความเสียหายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากการเกิดน้ำท่วมส่งผลกระทบดังนี้ คือ จำนวนราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน 1,368,043 คน จำนวนครัวเรือน 289,249 ครัวเรือน จำนวนผู้เสียชีวิต 27 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 1,955 หลัง จำนวนถนน 2,163 สาย สะพาน 127 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 1,691,997 ไร่ ความเสียหายรวม 1,184,205,595 บาท
ยอดการให้สินเชื่อโครงการธนาคารปะชาชนของธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ สิ้นสิงหาคม 2544
Jul-44 Aug-44จำนวนสมาชิก (ราย) 103,787 118,597จำนวนรายที่อนุมัติเงินกู้ (ราย) 21,958 44,710จำนวนเงินกู้ (ล้านบาท) 303.4 603.2
ที่มา : ธนาคารออมสิน ภาค 6 ภาค 7 และภาค 11
โครงการพักชำระหนี้ 3 ปี และลดภาระหนี้ของ ธ.ก.ส.
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2544
(ล้านบาท)
ผู้เข้าโครงการ พักชำระหนี้ จำนวนเงิน ลดภาระหนี้ จำนวนเงิน
(ราย) (ราย) ที่พักชำระหนี้ (ราย) ที่ลดภาระหนี้
มิถุนายน 1,100,435 578,624 24,127.00 521,811 14,626.30
กรกฎาคม 1,133,274 589,138 23,104.20 542,447 16,462.00
สิงหาคม 1,146,381 588,754 3,300.30 557,627 17,915.40
% D ส.ค./ก.ค. 1.2 -0.1 0.9 2.8 8.8
ที่มา : ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
โครงการพักชำระหนี้ 3 ปี และลดภาระหนี้ของ ธ.ก.ส.
สิงหาคม 2544
(ล้านบาท)
ผู้เข้าโครงการ พักชำระหนี้ จำนวนเงิน ลดภาระหนี้ จำนวนเงิน
(ราย) (ราย) ที่พักชำระหนี้ (ราย) ที่ลดภาระหนี้ ประเทศ 2,313,254 1,164,501 52,793.70 1,148,753 41,917.00ภาคฯ 1,146,381 588,754 23,300.30 557,627 17,915.40% ภาค/ประเทศ 49.6 50.6 44.1 48.5 42.7
ที่มา : ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
ผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ณ สิ้นวันที่ 15 สิงหาคม 2544
ภาค จำนวนหมู่บ้าน จำนวนจำจังหวัด จำนวนหมู่บ้าน คิดเป็น
ทั้งหมด ที่ได้รับอนุมัติ ที่ได้รับอนุมัติ ร้อยละ
ภาคเหนือ 15,467 16 2,843 30.6
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31,355 17 3,447 37.1
ภาคกลาง 5,693 6 925 100.0
ภาคตะวันออก 5,068 7 340 3.7
ภาคตะวันตก 5,445 6 1,082 11.6
ภาคใต้ 8,336 12 656 7.0
รวม 71,364 64 9,293 100.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
5 จังหวัด ที่ได้รับการอนุมัติเงินกองทุนหมู่บ้านสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ สิ้น 15 สิงหาคม 2544
จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้าน คิดเป็น
ทั้งหมด ที่ได้รับอนุมัติ ร้อยละ
กาฬสินธุ์ 1,527 1,010 66.1
อุบลราชธานี 2,518 695 27.6
ขอนแก่น 2,182 371 17.0
สุรินทร์ 2,030 207 10.2
ชัยภูมิ 1,441 181 12.6
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ผลผลิตทางด้านการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อยโรงงาน ยังอยู่ในช่วงการเพาะปลูก ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาด ด้านราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย โดยราคาข้าวและมันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลง
ข้าว
การผลิตข้าวในเดือนนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวบางส่วนได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมแต่ความเสียหายไม่มากนัก ด้านการตลาดความต้องการข้าวยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อน ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวมีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,900 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อน เกวียนละ 4,838 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 5,173 บาท ลดลงร้อยละ 2.7 จากเดือนก่อน เกวียนละ 5,315 บาท
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวสารเจ้า 10% เกวียนละ 903 บาท ลดลงร้อยละ 2.5 ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 994 บาท ลดลงร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนกระสอบละ 1,005 บาท
มันสำปะหลัง
ในช่วงเดือนนี้สถานการณ์ตลาดของหัวมันสำปะหลังสดคึกคักขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณหัวมันสดออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ในส่วนของความต้องการโรงงานยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านราคาเพื่อจูงใจให้เกษตรกรนำผลผลิตออกมาขายเพิ่มขึ้น
ราคาขายส่งเฉลี่ยหัวมันสดเดือนนี้กิโลกรัมละ 1.20 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.09 บาท ราคาขายส่งเฉลี่ยมันอัดเม็ดกิโลกรัมละ 2.62 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.55
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ในช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวโพดทยอยออกสู่ท้องตลาดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนนี้ราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.9 บาท ลดลงร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 4.0 บาท
อ้อยโรงงาน
จากการติดตามสถานการณ์อ้อยของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล สรุปได้ว่า สภาวะด้านการผลิตอ้อยยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะมีปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่บางจังหวัดของภาค แต่พื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าวและพืชผลอื่น สำหรับพื้นที่ปลูกอ้อยไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมดังกล่าว การผลิตโดยรวมของอ้อยในเดือนสิงหาคมยังคงเจริญเติบโตดี และคาดว่าผลผลิตอ้อยในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
การส่งเสริมการลงทุน
เดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 7 โครงการ เงินลงทุน 1,833.76 ล้านบาท จ้างคนงาน 3,926 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 133.3 กว่า 14 เท่าตัว และร้อยละ 153.9 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นโครงการในจังหวัดนครราชสีมา (5 โครงการ)
โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประจำเดือนสิงหาคม 2544 มี 7 โครงการ ประกอบด้วย
1. บริษัท ทริปเปิ้ล วี อินเตอร์เทรด จำกัด ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป กำลังการผลิตปีละ 4 ล้านชิ้น ส่งออกทั้งสิ้น เงินลงทุน 48 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 812 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
2. โครงการขยายกิจการ บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด ผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป กำลังการผลิตปีละ 283,500 ตัน เงินลงทุน 188 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 218 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
3. บริษัท ไดโช อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ผลิต SPINDLE MOTOR กำลังการผลิตปีละ 70 ล้านชิ้น เงินลงทุน 600 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 2,500 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
4. บ่ริษัท โมร์ฟาซ อินดรัสทรี่ จำกัด ผลิตเครื่องล้างฟิล์มและอัดรูปถ่ายสี กำลังการผลิตปีละ 480 เครื่อง เงินลงทุน 27 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยร้อยละ 41 ต่างชาติ (เกาหลี) ร้อยละ 59 การจ้างแรงงานไทย 50 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
5. โครงการขยายกิจการ บริษัท เอส.ดับบลิว แอนด์ ซันส์ จักด ผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร/ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ / ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า ที่ทำจาก MACHINING กำลังการผลิตปีละ 12 ล้านชิ้น เงินลงทุน 361 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 262 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
6. บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด ผลิตไฟฟ้า กำลังการผลิตปีละ 8.8 เมกกะวัตต์ เงินลงทุน 600 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยทั้งสิ้น การจ้างแรงงานไทย 25 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด
7. บริษัท ถุงเท้าสยาม จำกัด ผลิตถุงเท้า กำลังการผลิตปีละ 336,000 โหลคู่ เงินลงทุน 9.76 ล้านบาท เป็นหุ้นไทยร้อยละ 51 ต่างชาติ (อินเดีย) ร้อยละ 49 การจ้างงานแรงงานไทย 59 คน โรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์
การจดทะเบียนธุรกิจ
เดือนสิงหาคม 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 592 ราย เงินทุน 370.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.7 และร้อยละ 4.6 จากเดือนก่อน 621 ราย และเงินทุน 388.8 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจในหมวดการขายส่งขายปลีก ภัตตาคาร และโรงแรมลดลงเป็นสำคัญ ส่วนการเพิ่มทุนจดทะเบียน 26 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.7 จากเดือนก่อน 14 ราย แต่เงินทุน 198.2 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 35.3 จากเดือนก่อน เงินทุน 306.4 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเงินทุนของธุรกิจการขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคาร และโรงแรม สำหรับการเลิกกิจการ 105 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 จากเดือนก่อน 91 ราย ขณะที่เงินทุน 46.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 43.9 เดือนก่อน เงินทุน 82.9 ล้านบาท
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 257.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.0 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดขอนแก่นลดลงเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการลดลงในส่วนของการจัดเก็บภาษีจากเบียร์
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 681.4 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อนที่มีการใช้ไฟฟ้า 664.8 ล้านหน่วย โดยการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ขณะที่การใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นสิงหาคม 2544 มีทั้งสิ้น 35,685.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.5
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในภาคฯ เดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ประมาณ 1,040 คัน และรถบรรทุกส่วนบุคคล 1,370 คัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.3 และร้อยละ 5.4 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ชะลอตัวเป็นประจำทุกปี ขณะที่รถจักรยานยนต์ 18,230 คัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6
อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.3 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.9
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนหน้าลดลงร้อยละ 0.4 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.9
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ทั้งนี้เป็นผลมาจากผลผลิตของผลไม้บางชนิดออกสู่ตลาดลดลงและสินค้าบางชนิดเป็นช่วงนอกฤดูกาล อาทิ ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก มะม่วง ผักคะน้า ผักชี หอม กระเทียมแห้ง เป็นต้น หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 สินค้าประเภทปลาและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 สินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 1.3 สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 0.4
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าย่อยในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน ลดลงร้อยละ 2.5 (ไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำประปา ลดลงถึงร้อยละ 10.9) จากที่มีการลดค่ากระแสไฟฟ้าให้กับบ้านที่อยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน และการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทดีเซลหมุนเร็ว หมวดยานพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 ขณะที่สินค้าหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
ในเดือนสิงหาคมนี้แรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศมีจำนวน 8,395 คน ลดลงร้อยละ 14.6 จากเดือนก่อนที่มีจำนวน 9,827 คน และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนมี 10,948 คน ลดลงร้อยละ 23.3 แรงงานส่วนใหญ่เดินทางไปทำงานยังประเทศไต้หวัน
อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปทำงานประเทศไต้หวันมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ไต้หวันมีโครงการจำกัดจำนวนแรงงานต่างประเทศบางสาขา รวมทั้งมีมาตรการลดค่าแรงงาน เป็นต้น
แรงงานจังหวัดอุดรธานีเดินทางไปทำงานมากที่สุด 1,479 คน รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 1,284 คน และจังหวัดบุรีรัมย์ 752 คน
การค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมูลค่า 1,385.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.3 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการค้า 1,433.2 ล้านบาท เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออก 1,098.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.7 และมีการนำเข้า 286.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 811.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.2 รายละเอียดมีดังนี้ :-
การส่งออก : มูลค่า 1,098.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 1,117.6 ล้านบาท แยกเป็นสินค้าหมวดต่าง ๆ ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค : ส่งออก 535.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 14.6 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 199.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 23.1 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 143.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 เครื่องดื่ม สุราและน้ำส้มสายชู 24.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงร้อยละ 138.3 และเฟอร์นิเจอร์ 5.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 147.3 ขณะที่สินค้าบริโภคในครัวเรือน 129.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.5 ยารักษาโรค 9.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 39.3 และ อาหารสัตว์ 3.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.0
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : ส่งออก 109.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.7 จากเดือนก่อน เนื่องจากการลดลงของสินค้าทุกประเภทในหมวดนี้ สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ผ้าผืน 44.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.5 เหล็กและเหล็กกล้า 19.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 35.2 อุปกรณ์ตัดเย็บ 12.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.0 กระดาษและกระดาษแข็ง 4.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 22.9
สินค้าทุน : ส่งออก 116.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 สินค้าสำคัญได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 1.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 0.8 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 88.7 แก้วและเครื่องแก้ว 14.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.5 ขณะที่วัสดุก่อสร้าง 85.2 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และปุ๋ย 14.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3
น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ : ส่งออก 122.8 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 20.0
การนำเข้า : มูลค่า 286.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.2 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการนำเข้า 315.6 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 223.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.0 พืชไร่ 14.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.5 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 2.2 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 61.4 ส่วนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินแร่ 18.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว หนังโค-กระบือ 4.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.6
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 488 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 48 สำนักงาน) ลดลงจากเดือนก่อน 3 สำนักงาน
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 249,160.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งถอนเงินเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 187,431.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
สำหรับอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76.0 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 76.1 ในเดือนนี้
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,845.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้จำนวนผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้เริ่มลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากมาตรการการจำกัดแรงงานต่างชาติของประเทศไต้หวัน
เดือนสิงหาคม 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 11,574.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อน ซึ่งขาดดุล 11,684.5 ล้านบาท เนื่องจากรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,162.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.7 จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีสุราเพิ่มขึ้น ส่วนรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 12,737.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 เป็นผลจากรายจ่ายประจำ 9,031.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.8 ขณะที่รายจ่ายลงทุน 3,706.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.2 จากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุนและหมวดครุภัณฑ์ลดลงเป็นสำคัญ
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 87.4 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 96.8 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 70.9 ซึ่งยังคงมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนสิงหาคม 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 63 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 44 ดีขึ้นจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จะอยู่ในระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ส.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 46.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 43.7 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนการประกอบการแย่ลงจากเดือนก่อน ส่วนปัจจัยด้านการจ้างงานทรงตัวจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.5 ในเดือนหน้า และร้อยละ 52.3 ในช่วง ต.ค.-ธ.ค. 44
2) การแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศลดลงจากเดือนก่อน โดยการแข่งขันยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือน ส.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ลดลงจากเดือนก่อน
ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1) ภาครัฐควรดูแลให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง
2) ภาครัฐควรเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ล่าช้า 5-6 เดือน) เนื่องจากทำให้ผู้ประกอบการส่งออกขาดสภาพคล่อง
3) การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ รวมทั้งการออกสู่ตลาดของผลผลิตเกษตร จะทำให้เศรษฐกิจในภาคในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีกระเตื้องขึ้นพอสมควร
4) ภาครัฐควรดูแลราคาพืชผลเกษตรที่กำลังจะออกสู่ท้องตลาด เนื่องจากราคาค่อนข้างต่ำมาก โดยเฉพาะราคาข้าว
5) ต้นทุนสินค้าหลายตัวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น
6) การส่งออกวัสดุก่อสร้างไป สปป.ลาว คาดว่าจะดีขึ้น เนื่องจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกจักรยานยนต์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากประเทศจีนสามารถผลิตรถจักรยานยนต์มาขายแข่งขันในราคาถูกกว่า 2 เท่า
สรุปสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากรายงานการสรุปสถานการณ์น้ำท่วมของสำนักงานเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 5 กันยายน 2544 สรุปความเสียหายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้คือ พื้นที่เกิดน้ำท่วมรวมทั้งสิ้น 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ หนองคาย นครพนม เลย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อำนาจเจริญ ยโสธร นครราชสีมา
สรุปความเสียหายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากการเกิดน้ำท่วมส่งผลกระทบดังนี้ คือ จำนวนราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน 1,368,043 คน จำนวนครัวเรือน 289,249 ครัวเรือน จำนวนผู้เสียชีวิต 27 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 1,955 หลัง จำนวนถนน 2,163 สาย สะพาน 127 แห่ง พื้นที่ทางการเกษตร 1,691,997 ไร่ ความเสียหายรวม 1,184,205,595 บาท
ยอดการให้สินเชื่อโครงการธนาคารปะชาชนของธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ สิ้นสิงหาคม 2544
Jul-44 Aug-44จำนวนสมาชิก (ราย) 103,787 118,597จำนวนรายที่อนุมัติเงินกู้ (ราย) 21,958 44,710จำนวนเงินกู้ (ล้านบาท) 303.4 603.2
ที่มา : ธนาคารออมสิน ภาค 6 ภาค 7 และภาค 11
โครงการพักชำระหนี้ 3 ปี และลดภาระหนี้ของ ธ.ก.ส.
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2544
(ล้านบาท)
ผู้เข้าโครงการ พักชำระหนี้ จำนวนเงิน ลดภาระหนี้ จำนวนเงิน
(ราย) (ราย) ที่พักชำระหนี้ (ราย) ที่ลดภาระหนี้
มิถุนายน 1,100,435 578,624 24,127.00 521,811 14,626.30
กรกฎาคม 1,133,274 589,138 23,104.20 542,447 16,462.00
สิงหาคม 1,146,381 588,754 3,300.30 557,627 17,915.40
% D ส.ค./ก.ค. 1.2 -0.1 0.9 2.8 8.8
ที่มา : ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
โครงการพักชำระหนี้ 3 ปี และลดภาระหนี้ของ ธ.ก.ส.
สิงหาคม 2544
(ล้านบาท)
ผู้เข้าโครงการ พักชำระหนี้ จำนวนเงิน ลดภาระหนี้ จำนวนเงิน
(ราย) (ราย) ที่พักชำระหนี้ (ราย) ที่ลดภาระหนี้ ประเทศ 2,313,254 1,164,501 52,793.70 1,148,753 41,917.00ภาคฯ 1,146,381 588,754 23,300.30 557,627 17,915.40% ภาค/ประเทศ 49.6 50.6 44.1 48.5 42.7
ที่มา : ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
ผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ณ สิ้นวันที่ 15 สิงหาคม 2544
ภาค จำนวนหมู่บ้าน จำนวนจำจังหวัด จำนวนหมู่บ้าน คิดเป็น
ทั้งหมด ที่ได้รับอนุมัติ ที่ได้รับอนุมัติ ร้อยละ
ภาคเหนือ 15,467 16 2,843 30.6
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31,355 17 3,447 37.1
ภาคกลาง 5,693 6 925 100.0
ภาคตะวันออก 5,068 7 340 3.7
ภาคตะวันตก 5,445 6 1,082 11.6
ภาคใต้ 8,336 12 656 7.0
รวม 71,364 64 9,293 100.0
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
5 จังหวัด ที่ได้รับการอนุมัติเงินกองทุนหมู่บ้านสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ สิ้น 15 สิงหาคม 2544
จำนวนหมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้าน คิดเป็น
ทั้งหมด ที่ได้รับอนุมัติ ร้อยละ
กาฬสินธุ์ 1,527 1,010 66.1
อุบลราชธานี 2,518 695 27.6
ขอนแก่น 2,182 371 17.0
สุรินทร์ 2,030 207 10.2
ชัยภูมิ 1,441 181 12.6
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-