ข่าวในประเทศ
1. ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันดิบ รายงานข่าวจากคณะกรรมการนโยบายการเงินแจ้งว่า คณะกรรมการฯได้วิเคราะห์ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันดิบ พบว่าผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเทียบเงินบาทต่อดอลลาร์ที่อ่อนลงร้อยละ 1 จะมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 0.05 กระทบต่อเงินเฟ้อทั่วไปร้อยละ 0.10 และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 0.21 สำหรับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น พิจารณาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดดูใบ พบว่าหากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 0.04 กระทบต่อเงินเฟ้อทั่วไปร้อยละ 0.03 และกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 0.02 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯได้แสดงความเป็นห่วงภาวะน้ำมันที่จะเพิ่มขึ้นจากความรุนแรงในตะวันออกกลาง ซึ่งอาจกระทบต่อต้นทุนสินค้าและเงินเฟ้อได้ จึงได้ปรับสมมติฐานใหม่เป็นเฉลี่ย 29 ดอลลาร์/บาร์เรล ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 และเฉลี่ย 28 ดอลลาร์/บาร์เรล ในปี 44 จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 25 ดอลลาร์/บาร์เรล (ไทยโพสต์ 30)
2. ธปท.วิเคราะห์กลไกการทำงานของตลาดเงินระยะสั้น นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่าหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงินใช้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ประเภท 14 วัน ที่ระดับร้อยละ 1.5 เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเป็นเครื่องมือหลักของ ธปท.ในการบริหารสภาพคล่องนั้น ได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่เริ่มใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 22 พ.ค.43 และในช่วง 23 พ.ค.-29 ก.ย.43 เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่าความชันของอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีได้ปรับตัวลดลง และอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีที่มีระยะยาวกว่า 14 ปรับลดลงด้วย แสดงให้เห็นว่ากลไกการทำงานของตลาดเงินระยะสั้นทำงานดีขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีระยะสั้น 1 วันและ 7 วัน ได้ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ปริมาณธุรกรรมของตลาดอาร์พีประเภท 14 วัน ก็สูงขึ้นจากเดิมที่ประมาณร้อยละ 27.2 ของปริมาณธุรกรรมโดยรวม เป็นร้อยละ 51.5 ซึ่งทำให้ ธปท.สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเป็นเครื่องมือหลักของ ธปท.ในการบริหารสภาพคล่อง (วัฏจักร,ไทยโพสต์ 30)
3. ฝ่ายกฎหมาย ธปท.เร่งตรวจสอบการลักลอบขนเงินบาทออกนอกประเทศในลักษณะต่างๆ รายงานจากฝ่ายกฎหมาย ธปท.เปิดเผยว่า ผู้ว่าการ ธปท.ได้มีคำสั่งให้ฝ่ายกฎหมายเร่งตรวจสอบเรื่องการลักลอบขนเงินออกนอกประเทศในลักษณะต่างๆ รวมทั้งโพยก๊วน เนื่องจากการติดตามของ ธปท.ที่ผ่านมา พบว่าการไหลออกของเงินบาทจากช่องทางนี้ได้ดำเนินการมายาวนาน และเป็นจำนวนมากจนน่าเป็นห่วง โดยหากปล่อยให้มีเงินบาทในต่างประเทศเป็นจำนวนมากอาจทำให้เกิดแรงเก็งกำไร กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง นอกจากนี้ ธปท.ยังใช้กฎหมายฟอกเงินเอาผิดในเรื่องการค้าเงินเถื่อน ซึ่งจะช่วยให้สามารถติดตามเงินที่บริษัทค้าเงินเถื่อนฉ้อโกงจากประชาชนกลับคืนมาได้มากขึ้น รวมทั้งการร้องทุกข์กล่าวโทษผู้บริหารสถาบันการเงิน ที่ในกฎหมายระบุว่าการเจตนาเอาเงินหรือทรัพย์สินที่ฉ้อโกงออกนอกประเทศเพื่อฟอกเงิน ถือว่าเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร สามารถติดตามกลับคืนประชาชนได้ทั้งหมด (ไทยรัฐ 30)
ข่าวต่างประเทศ
1. การเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เติบโตร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบมากกว่า 1 ปี นับตั้งแต่เคยขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสที่ 2 ปี 42 และลดลงจากที่เติบโตร้อยละ 5.6 และร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสแรกปี 43 ตามลำดับ จากรายงานครั้งนี้ ยิ่งบ่งชี้ว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. ในช่วงที่ผ่านมา กำลังเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างร้อนแรงชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่า GDP ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวชะลอลงอย่างมาก แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ได้ขยายตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.5ในไตรมาสที่3 หลังจากที่เติบโตชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ชี้ให้เห็นว่า การจ้างงานยังอยู่ในภาวะที่แจ่มใสและรายได้ของผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับสูง เพียงพอที่จะต่อต้านกับเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวชะลอลงในเดือนต่อไป (รอยเตอร์ 27)
2. ปริมาณเงินหมุนเวียน (M3) ในเขตยูโรลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 27 ต.ค.43 ธ.กลางยุโรป (ECB) รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ปริมาณเงินหมุนเวียน (M3) ในเขตยูโร เฉลี่ยย้อนหลัง 12 เดือน ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 จากระดับร้อยละ 5.6 ในเดือน ส.ค.43 โน้มต่ำลงสู่อัตราอ้างอิงของ ECB ที่ระดับร้อยละ 4.5 แต่ยังสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.3 สำหรับ M3 ที่เป็นอัตราเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน ซึ่ง ECB ใช้เป็นเครื่องวัดปริมาณเงิน อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 ต่อปี เท่ากับตัวเลขของเดือน ส.ค.43 ซึ่งได้รับการปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขที่ประกาศก่อนหน้านี้ ที่ระดับร้อยละ 5.3 ต่อปี โดยในเดือน ก.ย.43 สินเชื่อโดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปี จากร้อยละ 7.0 ต่อปีในเดือน ส.ค.43 ขณะที่การให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ต่อปีในเดือน ส.ค.43 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การชะลอตัวของ M3 ในเดือน ก.ย.นี้ จะไม่ส่งผลให้ ECB เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง (รอยเตอร์ 27)
3. ราคาผู้บริโภคในเขตโตเกียวของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน ต.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 27 ต.ค.43 สำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่น รายงานว่า เดือน ต.ค.43 ราคาผู้บริโภคในเขตโตเกียวของญี่ปุ่นเทียบต่อปี ลดลงร้อยละ 1.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือน ก.ย.43 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 แต่หากเทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ย.43 สำหรับราคาผู้บริโภคที่เป็นแกน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด ลดลงร้อยละ 1.0 เทียบต่อปี ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 ขณะเดียวกัน สำนักบริหารฯ เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ราคาผู้บริโภคโดยรวมของทั้งประเทศ ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อปี แต่หากเทียบต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือน ส.ค. 43 (รอยเตอร์ 27)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 ต.ค. 43 43.801 (43.859)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 ต.ค. 43
ซื้อ 43.5909 (43.5963) ขาย 43.8971 (43.9023)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.94 (30.34)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันดิบ รายงานข่าวจากคณะกรรมการนโยบายการเงินแจ้งว่า คณะกรรมการฯได้วิเคราะห์ผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันดิบ พบว่าผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเทียบเงินบาทต่อดอลลาร์ที่อ่อนลงร้อยละ 1 จะมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 0.05 กระทบต่อเงินเฟ้อทั่วไปร้อยละ 0.10 และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 0.21 สำหรับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น พิจารณาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดดูใบ พบว่าหากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 0.04 กระทบต่อเงินเฟ้อทั่วไปร้อยละ 0.03 และกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 0.02 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯได้แสดงความเป็นห่วงภาวะน้ำมันที่จะเพิ่มขึ้นจากความรุนแรงในตะวันออกกลาง ซึ่งอาจกระทบต่อต้นทุนสินค้าและเงินเฟ้อได้ จึงได้ปรับสมมติฐานใหม่เป็นเฉลี่ย 29 ดอลลาร์/บาร์เรล ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 และเฉลี่ย 28 ดอลลาร์/บาร์เรล ในปี 44 จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 25 ดอลลาร์/บาร์เรล (ไทยโพสต์ 30)
2. ธปท.วิเคราะห์กลไกการทำงานของตลาดเงินระยะสั้น นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่าหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงินใช้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ประเภท 14 วัน ที่ระดับร้อยละ 1.5 เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเป็นเครื่องมือหลักของ ธปท.ในการบริหารสภาพคล่องนั้น ได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่เริ่มใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 22 พ.ค.43 และในช่วง 23 พ.ค.-29 ก.ย.43 เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่าความชันของอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีได้ปรับตัวลดลง และอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีที่มีระยะยาวกว่า 14 ปรับลดลงด้วย แสดงให้เห็นว่ากลไกการทำงานของตลาดเงินระยะสั้นทำงานดีขึ้น ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีระยะสั้น 1 วันและ 7 วัน ได้ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ปริมาณธุรกรรมของตลาดอาร์พีประเภท 14 วัน ก็สูงขึ้นจากเดิมที่ประมาณร้อยละ 27.2 ของปริมาณธุรกรรมโดยรวม เป็นร้อยละ 51.5 ซึ่งทำให้ ธปท.สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเป็นเครื่องมือหลักของ ธปท.ในการบริหารสภาพคล่อง (วัฏจักร,ไทยโพสต์ 30)
3. ฝ่ายกฎหมาย ธปท.เร่งตรวจสอบการลักลอบขนเงินบาทออกนอกประเทศในลักษณะต่างๆ รายงานจากฝ่ายกฎหมาย ธปท.เปิดเผยว่า ผู้ว่าการ ธปท.ได้มีคำสั่งให้ฝ่ายกฎหมายเร่งตรวจสอบเรื่องการลักลอบขนเงินออกนอกประเทศในลักษณะต่างๆ รวมทั้งโพยก๊วน เนื่องจากการติดตามของ ธปท.ที่ผ่านมา พบว่าการไหลออกของเงินบาทจากช่องทางนี้ได้ดำเนินการมายาวนาน และเป็นจำนวนมากจนน่าเป็นห่วง โดยหากปล่อยให้มีเงินบาทในต่างประเทศเป็นจำนวนมากอาจทำให้เกิดแรงเก็งกำไร กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง นอกจากนี้ ธปท.ยังใช้กฎหมายฟอกเงินเอาผิดในเรื่องการค้าเงินเถื่อน ซึ่งจะช่วยให้สามารถติดตามเงินที่บริษัทค้าเงินเถื่อนฉ้อโกงจากประชาชนกลับคืนมาได้มากขึ้น รวมทั้งการร้องทุกข์กล่าวโทษผู้บริหารสถาบันการเงิน ที่ในกฎหมายระบุว่าการเจตนาเอาเงินหรือทรัพย์สินที่ฉ้อโกงออกนอกประเทศเพื่อฟอกเงิน ถือว่าเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร สามารถติดตามกลับคืนประชาชนได้ทั้งหมด (ไทยรัฐ 30)
ข่าวต่างประเทศ
1. การเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) เติบโตร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบมากกว่า 1 ปี นับตั้งแต่เคยขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสที่ 2 ปี 42 และลดลงจากที่เติบโตร้อยละ 5.6 และร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสแรกปี 43 ตามลำดับ จากรายงานครั้งนี้ ยิ่งบ่งชี้ว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. ในช่วงที่ผ่านมา กำลังเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างร้อนแรงชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่า GDP ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวชะลอลงอย่างมาก แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ ได้ขยายตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.5ในไตรมาสที่3 หลังจากที่เติบโตชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ชี้ให้เห็นว่า การจ้างงานยังอยู่ในภาวะที่แจ่มใสและรายได้ของผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอยู่ในระดับสูง เพียงพอที่จะต่อต้านกับเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวชะลอลงในเดือนต่อไป (รอยเตอร์ 27)
2. ปริมาณเงินหมุนเวียน (M3) ในเขตยูโรลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 27 ต.ค.43 ธ.กลางยุโรป (ECB) รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ปริมาณเงินหมุนเวียน (M3) ในเขตยูโร เฉลี่ยย้อนหลัง 12 เดือน ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 จากระดับร้อยละ 5.6 ในเดือน ส.ค.43 โน้มต่ำลงสู่อัตราอ้างอิงของ ECB ที่ระดับร้อยละ 4.5 แต่ยังสูงกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.3 สำหรับ M3 ที่เป็นอัตราเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 เดือน ซึ่ง ECB ใช้เป็นเครื่องวัดปริมาณเงิน อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 ต่อปี เท่ากับตัวเลขของเดือน ส.ค.43 ซึ่งได้รับการปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขที่ประกาศก่อนหน้านี้ ที่ระดับร้อยละ 5.3 ต่อปี โดยในเดือน ก.ย.43 สินเชื่อโดยรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 ต่อปี จากร้อยละ 7.0 ต่อปีในเดือน ส.ค.43 ขณะที่การให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 ต่อปี จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ต่อปีในเดือน ส.ค.43 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การชะลอตัวของ M3 ในเดือน ก.ย.นี้ จะไม่ส่งผลให้ ECB เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง (รอยเตอร์ 27)
3. ราคาผู้บริโภคในเขตโตเกียวของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน ต.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 27 ต.ค.43 สำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่น รายงานว่า เดือน ต.ค.43 ราคาผู้บริโภคในเขตโตเกียวของญี่ปุ่นเทียบต่อปี ลดลงร้อยละ 1.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือน ก.ย.43 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 แต่หากเทียบต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ย.43 สำหรับราคาผู้บริโภคที่เป็นแกน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด ลดลงร้อยละ 1.0 เทียบต่อปี ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 ขณะเดียวกัน สำนักบริหารฯ เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ราคาผู้บริโภคโดยรวมของทั้งประเทศ ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อปี แต่หากเทียบต่อเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือน ส.ค. 43 (รอยเตอร์ 27)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 27 ต.ค. 43 43.801 (43.859)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 27 ต.ค. 43
ซื้อ 43.5909 (43.5963) ขาย 43.8971 (43.9023)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.94 (30.34)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-