บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่
๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ
อีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมรับทราบ
๒. เรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ
อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีวีรชนชาวบ้านบางระจัน
พ.ศ. …. ซึ่ง นายพายัพ ปั้นเกตุ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม พ.ศ. …. ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ
เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายเพื่อตั้งข้อสังเกตของสมาชิก
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๔ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติความลับ
ทางการค้า พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา และลงมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน โดย
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุนัย จุลพงศธร ๒. นายสันติ รัตนสุวรรณ
๓. นายรองพล เจริญพันธุ์ ๔. รองศาสตราจารย์อนันต์ จันทรโอภากร
๕. นายยรรยง พวงราช ๖. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
๗. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ๘. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
๙. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ ๑๐. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
๑๑. นายสุลัยมาลย์ วงษ์พานิช ๑๒. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุน
ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยมีรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
การแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบ
จากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการประกอบ
ธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา และลงมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน โดย
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ ๒. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
๓. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๔. นายพิสิทธิ์ พัฒนะนุกิจ
๕. นายนิพัทธ พุกกะณะสุต ๖. นายสงวน พงษ์มณี
๗. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๘. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๙. นายถาวร เสนเนียม ๑๐. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๑๑. นายมนตรี ด่านไพบูลย์ ๑๒. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการประกอบ
กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยมีรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
การแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบ
จากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๓๕ นาฬิกา
พิทูร พุ่มหิรัญ
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ....
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. ....
********************************
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่
๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษ
อีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔ ตามมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมรับทราบ
๒. เรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ
อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีวีรชนชาวบ้านบางระจัน
พ.ศ. …. ซึ่ง นายพายัพ ปั้นเกตุ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม พ.ศ. …. ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ
เป็นผู้เสนอ
(๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๔) ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. …. ซึ่ง ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายเพื่อตั้งข้อสังเกตของสมาชิก
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๔ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติความลับ
ทางการค้า พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา และลงมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน โดย
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุนัย จุลพงศธร ๒. นายสันติ รัตนสุวรรณ
๓. นายรองพล เจริญพันธุ์ ๔. รองศาสตราจารย์อนันต์ จันทรโอภากร
๕. นายยรรยง พวงราช ๖. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
๗. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ๘. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
๙. นางพรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ ๑๐. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
๑๑. นายสุลัยมาลย์ วงษ์พานิช ๑๒. นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติกองทุน
ฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยมีรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
การแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบ
จากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการประกอบ
ธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติไม่เห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา และลงมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็น
กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน โดย
ตั้งกรรมาธิการฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ ๒. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
๓. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๔. นายพิสิทธิ์ พัฒนะนุกิจ
๕. นายนิพัทธ พุกกะณะสุต ๖. นายสงวน พงษ์มณี
๗. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๘. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๙. นายถาวร เสนเนียม ๑๐. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๑๑. นายมนตรี ด่านไพบูลย์ ๑๒. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ
๔. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการประกอบ
กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยมีรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับ
การแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้รับความเห็นชอบ
จากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๓๕ นาฬิกา
พิทูร พุ่มหิรัญ
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ....
ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. ....
********************************