ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒๖
วันศุกร์ที่ ๑๐ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของสำนักปลัดกระทรวงฯ
ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๒,๒๒๒,๕๒๑,๓๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๕๕๖,๑๑๘,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๕๑,๕๙๖,๑๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะมูลฝอย
อากาศเป็นพิษ น้ำเสีย เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจาก
ปัญหาดังกล่าวนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง แต่จะเห็นได้ว่า
ปัจจุบันมีการแก้ปัญหาที่ล่าช้า สำนักงานปลัดฯ ชี้แจงว่า ขณะนี้การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้จัดทำ
แผนแม่บท ๒ เรื่อง คือ มลพิษทางน้ำและอากาศ ขยะมูลฝอย โดยเพิ่มขีดความสามารถในการ
ดำเนินการและจัดทำแผนแม่บทร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประการสำคัญ เช่น การสร้าง
จิตสำนึกทางวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น โดยผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสร้างเตาเผาขยะ
การสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนทางด้านงบประมาณจะดำเนินการไปตามความสำคัญและเร่งด่วน
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติและประชาชน
จะต้องได้รับประโยชน์สูงสุด
๒. คณะกรรมาธิการให้ข้อเสนอแนะงานวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะการสูบน้ำด้วย
พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) แทนการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและ
งบประมาณในการสูบน้ำ ฉะนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้
ผลิตผลด้านการเกษตรเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้น เช่น การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากมันสำปะหลัง
นอกจากนี้โครงการวิจัยด้านต่าง ๆ ควรจะได้มีการศึกษาความเป็นไปได้และ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น รวมทั้งให้มีการนำผลการวิจัยต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แก่เกษตรกร
เพื่อใช้ในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
๓. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาล
ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไปศึกษาในต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ควรมีการ
คัดเลือก ประเมินผล และควรมีการตรวจสอบวัดผลนักเรียนที่มีความชำนาญด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีอย่างแท้จริง เพื่อมิให้มีการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยสูญเปล่า ควรมีการติดตาม
ด้วยว่าในส่วนนักเรียนทุนที่ไปเรียนในต่างประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับมาทำงานใน
หน่วยงานของรัฐหรือไม่ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในต่างประเทศที่มีความสำคัญมาพัฒนา
ประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๔. คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขุดคลองส่งน้ำ กระทรวง
วิทยาศาสตร์ฯ ควรที่จะมีการพัฒนาและปรับปรุงเป็นการส่งน้ำด้วยท่อ เพื่อให้ประชาชนได้รับ
ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปด้วย
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๕,๒๐๖,๖๓๑,๒๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๗,๗๙๓,๓๖๘,๘๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๔
(ยอดถึงหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒๖
วันศุกร์ที่ ๑๐ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของสำนักปลัดกระทรวงฯ
ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๒,๒๒๒,๕๒๑,๓๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๕๕๖,๑๑๘,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๕๑,๕๙๖,๑๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะมูลฝอย
อากาศเป็นพิษ น้ำเสีย เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจาก
ปัญหาดังกล่าวนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง แต่จะเห็นได้ว่า
ปัจจุบันมีการแก้ปัญหาที่ล่าช้า สำนักงานปลัดฯ ชี้แจงว่า ขณะนี้การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้จัดทำ
แผนแม่บท ๒ เรื่อง คือ มลพิษทางน้ำและอากาศ ขยะมูลฝอย โดยเพิ่มขีดความสามารถในการ
ดำเนินการและจัดทำแผนแม่บทร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประการสำคัญ เช่น การสร้าง
จิตสำนึกทางวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น โดยผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสร้างเตาเผาขยะ
การสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนทางด้านงบประมาณจะดำเนินการไปตามความสำคัญและเร่งด่วน
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติและประชาชน
จะต้องได้รับประโยชน์สูงสุด
๒. คณะกรรมาธิการให้ข้อเสนอแนะงานวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะการสูบน้ำด้วย
พลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) แทนการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและ
งบประมาณในการสูบน้ำ ฉะนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้
ผลิตผลด้านการเกษตรเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้น เช่น การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากมันสำปะหลัง
นอกจากนี้โครงการวิจัยด้านต่าง ๆ ควรจะได้มีการศึกษาความเป็นไปได้และ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น รวมทั้งให้มีการนำผลการวิจัยต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แก่เกษตรกร
เพื่อใช้ในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
๓. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาล
ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไปศึกษาในต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ควรมีการ
คัดเลือก ประเมินผล และควรมีการตรวจสอบวัดผลนักเรียนที่มีความชำนาญด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีอย่างแท้จริง เพื่อมิให้มีการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยสูญเปล่า ควรมีการติดตาม
ด้วยว่าในส่วนนักเรียนทุนที่ไปเรียนในต่างประเทศ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้กลับมาทำงานใน
หน่วยงานของรัฐหรือไม่ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในต่างประเทศที่มีความสำคัญมาพัฒนา
ประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๔. คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขุดคลองส่งน้ำ กระทรวง
วิทยาศาสตร์ฯ ควรที่จะมีการพัฒนาและปรับปรุงเป็นการส่งน้ำด้วยท่อ เพื่อให้ประชาชนได้รับ
ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปด้วย
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๕,๒๐๖,๖๓๑,๒๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๗,๗๙๓,๓๖๘,๘๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๔
(ยอดถึงหน่วยงานสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ)