ข่าวในประเทศ
1. ธปท. ชี้แจงวิธีปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เนื่องจากยังมีสถาบันการเงินบางแห่งปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทและมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ธปท. จึงได้ออกหนังสือเพื่อชี้แจงแนวทางการรับซื้อเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทจากผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (NR) ที่กำหนดส่งมอบในวันเดียวกัน โดย ธปท. ไม่มีนโยบายให้สถาบันการเงินปล่อยกู้เงินบาทโดยตรงแก่ NR ไม่ว่าจะมีธุรกรรมรองรับหรือไม่ และไม่ว่าจะมีสินทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมหรือไม่ นอกจากนั้นยังให้รวมถึงการที่สถาบันการเงินเข้าไปรองรับหรือค้ำประกันในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของ NR ด้วย ซึ่งอาจมีผลให้สถาบันการเงินจ่ายเงินบาทให้แก่ผู้อื่นแทน NR ในอนาคต สำหรับบุคคลธรรมดา ธปท. ผ่อนผันให้สถาบันการเงินไม่ต้องขออนุญาตในกรณีเป็นการรับซื้อเงินตราต่างประเทศที่ต่ำกว่า 2 แสนบาท/ราย/วัน ส่วนที่เกิน 2 แสนบาทแต่ไม่เกิน 5 ล.บาท/ราย/วัน แม้สถาบันการเงินไม่ต้องขออนุญาต ธปท. แต่ต้องเก็บหลักฐานไว้ให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลาอย่างน้อย 3 ปี ส่วนการซื้อขายเงินตราตั้งแต่ 5 ล.บาทแต่ไม่เกิน 50 ล.บาท สถาบันการเงินสามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องส่งหลักฐานให้ ธปท. ทราบทันที สำหรับการรับซื้อเงินตราที่มีวงเงินเกินกว่า 50 ล./วัน/รายการ กำหนดให้สถาบันการเงินต้องขออนุญาตจาก ธปท. ก่อน และไม่อนุญาตให้รับซื้อเงินตราต่างประเทศจาก NR ที่มีกำหนดส่งมอบในวันเดียวกัน หรือกำหนดส่งมอบในวันรุ่งขึ้นสำหรับกรณีที่ไม่มีธุรกรรมการค้าหรือการลงทุนในประเทศรองรับ (ผู้จัดการรายวัน,ไทยรัฐ 6)
2. สรุปเอ็นพีแอลเดือน ม.ค.44 ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของระบบสถาบันการเงินในเดือน ม.ค.44 มีจำนวนทั้งสิ้น 859.6 พัน ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 จำนวน 1.6 พัน ล.บาท โดยเป็นเอ็นพีแอลของ ธพ.จำนวน 825.3 พัน ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.66 ของสินเชื่อรวมซึ่งมีจำนวน 4,813.7 พัน ล.บาท ทั้งนี้ เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือน ม.ค.44 ทำได้น้อยลง และลูกหนี้รายใหญ่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว สำหรับสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือน ม.ค.44 เท่ากับร้อยละ 17.86 ลดลงจากร้อยละ 17.91 ในเดือน ธ.ค.43 และการเปลี่ยนแปลงเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 31.4 พัน ล.บาท โดยเป็นเอ็นพีแอลใหม่ 12.9 พัน ล.บาท เป็นเอ็นพีแอลรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 18.5 พัน ล.บาท ในส่วนของเอ็นพีแอลที่ลดลงมีจำนวน 29.8 พัน ล.บาท สำหรับการเปลี่ยนแปลงเอ็นพีแอลพิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงิน เป็นธนาคารเอกชนเพิ่มขึ้น 5.4 พัน ล.บาท ธนาคารของรัฐลดลง 3.3 พัน ล.บาท สาขาธนาคารต่างประเทศเพิ่มขึ้น 0.04 พัน ล.บาท และบริษัทเงินทุนลดลง 0.5 พัน ล.บาท นอกจากนี้ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.กล่าวว่า แนวโน้มเอ็นพีแอลจะยังสามารถลดลงได้ต่อเนื่อง เนื่องจากมาตรการกระตุ้นอำนาจซื้อและการใช้จ่ายในประเทศของรัฐบาล (สยามรัฐ 6)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะธุรกิจนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ5 มี.ค. 44 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน ก.พ. 44 ดัชนีภาวะธุรกิจนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 51.7 จากที่ลดลงอย่างมากถึง 11 จุด ในเดือน ม.ค. 44 อยู่ที่ระดับ 50.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง รายงานครั้งนี้แสดงว่า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ สรอ.ไม่ได้รุนแรงมากอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ (รอยเตอร์5)
2. บริษัทต่างๆใน สรอ.ประกาศลดการจ้างงานในเดือน ก.พ.44 เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากเดือน ก.พ.43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 5 มี.ค.44 Gray &Christmas รายงานว่า เดือน ก.พ.44 บริษัทต่างๆใน สรอ. ประกาศเลิกจ้างคนงาน จำนวน 101,731 คน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 35,415 คน เมื่อเทียบปีต่อปี แต่ลดลงร้อยละ 28 จากเดือน ม.ค.44 ที่มีจำนวน 142,208 คน เป็นการลดลงเป็นรายเดือนสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการสำรวจในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ตลาดการเงินมีความเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยต่อรายงานดังกล่าว โดยยังคงติดตามรายงานตัวเลขการจ้างงานรายเดือนที่จะประกาศในวันศุกร์ที่ 9 มี.ค. นี้อย่างใกล้ชิด และคาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมจะเพิ่มขึ้นเพียง 62,000 คน ในเดือน ก.พ.44 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นจำนวน 268,000 คน ในเดือน ม.ค.44 (รอยเตอร์ 6)
3. ดัชนีภาคบริการของเยอรมนีในเดือน ก.พ. 44ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 42 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 5 มี.ค. 44 สถาบันวิจัย NTC ของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ก.พ. 44 ภาวะธุรกิจภาคบริการที่ปรับฤดูกาล ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.2 จากระดับ 53.2 ในเดือน ม.ค. 44 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่เดือน พ.ค. 42 ขณะที่ดัชนีรายได้ของธุรกิจใหม่ ลดลงอยู่ที่ระดับ 49.1 จากระดับ 50.4 ในเดือน ม.ค. 44 นับว่าต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ค. 42 เช่นกัน เนื่องจากค่าบริการโดยเฉลี่ยของธุรกิจฯ ลดลงอยู่ที่ระดับ 49.8 จากระดับ 50.0 ลดลงเป็นครั้งแรกนับแต่เดือน ธ.ค. 42 นอกจากนั้นรายได้จากธุรกิจใหม่ยังได้รับผลกระทบด้านลบจากการคาดการณ์ของบริษัทต่างๆ ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.พ. 44 ดัชนีการจ้างงาน ก็ลดลงอยู่ที่ระดับ 49.8 จากระดับ 50.5 ในเดือน ม.ค. 44 (รอยเตอร์5)
4. จีนอาจขาดดุลงบประมาณ 31 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปี 44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 5 มี.ค.44 รมว.คลังของจีน ประมาณการว่า ปี 44 จีนจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 259.81 พัน ล.หยวน (31 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) และคาดว่ารายจ่ายจะมีจำนวน 1.1 ล้านล้านหยวน และรายได้จะมีจำนวน 842.3 พัน ล.หยวน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 43 ร้อยละ 8.2 และ 11.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ การใช้จ่ายเงิน งปม.ของจีนได้เพิ่มขึ้นมาก เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 44 นี้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลมีแผนจะออกพันธบัตรมูลค่า 500.4 พัน ล.หยวน ซึ่งรวมทั้งพันธบัตรพิเศษจำนวน 150 พัน ล.หยวน สำหรับการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน (รอยเตอร์ 6)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 มี.ค. 44 43.507 (43.337) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 5 มี.ค. 44ซื้อ 43.3269 (43.0943) ขาย 43.6391 (43.4099)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.90 (23.25)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. ชี้แจงวิธีปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เนื่องจากยังมีสถาบันการเงินบางแห่งปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทและมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ธปท. จึงได้ออกหนังสือเพื่อชี้แจงแนวทางการรับซื้อเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทจากผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ (NR) ที่กำหนดส่งมอบในวันเดียวกัน โดย ธปท. ไม่มีนโยบายให้สถาบันการเงินปล่อยกู้เงินบาทโดยตรงแก่ NR ไม่ว่าจะมีธุรกรรมรองรับหรือไม่ และไม่ว่าจะมีสินทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมหรือไม่ นอกจากนั้นยังให้รวมถึงการที่สถาบันการเงินเข้าไปรองรับหรือค้ำประกันในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของ NR ด้วย ซึ่งอาจมีผลให้สถาบันการเงินจ่ายเงินบาทให้แก่ผู้อื่นแทน NR ในอนาคต สำหรับบุคคลธรรมดา ธปท. ผ่อนผันให้สถาบันการเงินไม่ต้องขออนุญาตในกรณีเป็นการรับซื้อเงินตราต่างประเทศที่ต่ำกว่า 2 แสนบาท/ราย/วัน ส่วนที่เกิน 2 แสนบาทแต่ไม่เกิน 5 ล.บาท/ราย/วัน แม้สถาบันการเงินไม่ต้องขออนุญาต ธปท. แต่ต้องเก็บหลักฐานไว้ให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลาอย่างน้อย 3 ปี ส่วนการซื้อขายเงินตราตั้งแต่ 5 ล.บาทแต่ไม่เกิน 50 ล.บาท สถาบันการเงินสามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องส่งหลักฐานให้ ธปท. ทราบทันที สำหรับการรับซื้อเงินตราที่มีวงเงินเกินกว่า 50 ล./วัน/รายการ กำหนดให้สถาบันการเงินต้องขออนุญาตจาก ธปท. ก่อน และไม่อนุญาตให้รับซื้อเงินตราต่างประเทศจาก NR ที่มีกำหนดส่งมอบในวันเดียวกัน หรือกำหนดส่งมอบในวันรุ่งขึ้นสำหรับกรณีที่ไม่มีธุรกรรมการค้าหรือการลงทุนในประเทศรองรับ (ผู้จัดการรายวัน,ไทยรัฐ 6)
2. สรุปเอ็นพีแอลเดือน ม.ค.44 ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของระบบสถาบันการเงินในเดือน ม.ค.44 มีจำนวนทั้งสิ้น 859.6 พัน ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 จำนวน 1.6 พัน ล.บาท โดยเป็นเอ็นพีแอลของ ธพ.จำนวน 825.3 พัน ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.66 ของสินเชื่อรวมซึ่งมีจำนวน 4,813.7 พัน ล.บาท ทั้งนี้ เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือน ม.ค.44 ทำได้น้อยลง และลูกหนี้รายใหญ่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว สำหรับสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือน ม.ค.44 เท่ากับร้อยละ 17.86 ลดลงจากร้อยละ 17.91 ในเดือน ธ.ค.43 และการเปลี่ยนแปลงเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 31.4 พัน ล.บาท โดยเป็นเอ็นพีแอลใหม่ 12.9 พัน ล.บาท เป็นเอ็นพีแอลรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 18.5 พัน ล.บาท ในส่วนของเอ็นพีแอลที่ลดลงมีจำนวน 29.8 พัน ล.บาท สำหรับการเปลี่ยนแปลงเอ็นพีแอลพิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงิน เป็นธนาคารเอกชนเพิ่มขึ้น 5.4 พัน ล.บาท ธนาคารของรัฐลดลง 3.3 พัน ล.บาท สาขาธนาคารต่างประเทศเพิ่มขึ้น 0.04 พัน ล.บาท และบริษัทเงินทุนลดลง 0.5 พัน ล.บาท นอกจากนี้ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.กล่าวว่า แนวโน้มเอ็นพีแอลจะยังสามารถลดลงได้ต่อเนื่อง เนื่องจากมาตรการกระตุ้นอำนาจซื้อและการใช้จ่ายในประเทศของรัฐบาล (สยามรัฐ 6)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะธุรกิจนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ. 44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ5 มี.ค. 44 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน ก.พ. 44 ดัชนีภาวะธุรกิจนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 51.7 จากที่ลดลงอย่างมากถึง 11 จุด ในเดือน ม.ค. 44 อยู่ที่ระดับ 50.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง รายงานครั้งนี้แสดงว่า การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ สรอ.ไม่ได้รุนแรงมากอย่างที่เคยคาดการณ์ไว้ (รอยเตอร์5)
2. บริษัทต่างๆใน สรอ.ประกาศลดการจ้างงานในเดือน ก.พ.44 เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจากเดือน ก.พ.43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 5 มี.ค.44 Gray &Christmas รายงานว่า เดือน ก.พ.44 บริษัทต่างๆใน สรอ. ประกาศเลิกจ้างคนงาน จำนวน 101,731 คน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 35,415 คน เมื่อเทียบปีต่อปี แต่ลดลงร้อยละ 28 จากเดือน ม.ค.44 ที่มีจำนวน 142,208 คน เป็นการลดลงเป็นรายเดือนสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการสำรวจในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ตลาดการเงินมีความเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยต่อรายงานดังกล่าว โดยยังคงติดตามรายงานตัวเลขการจ้างงานรายเดือนที่จะประกาศในวันศุกร์ที่ 9 มี.ค. นี้อย่างใกล้ชิด และคาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมจะเพิ่มขึ้นเพียง 62,000 คน ในเดือน ก.พ.44 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นจำนวน 268,000 คน ในเดือน ม.ค.44 (รอยเตอร์ 6)
3. ดัชนีภาคบริการของเยอรมนีในเดือน ก.พ. 44ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 42 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 5 มี.ค. 44 สถาบันวิจัย NTC ของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ก.พ. 44 ภาวะธุรกิจภาคบริการที่ปรับฤดูกาล ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.2 จากระดับ 53.2 ในเดือน ม.ค. 44 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่เดือน พ.ค. 42 ขณะที่ดัชนีรายได้ของธุรกิจใหม่ ลดลงอยู่ที่ระดับ 49.1 จากระดับ 50.4 ในเดือน ม.ค. 44 นับว่าต่ำกว่าระดับ 50 เป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ค. 42 เช่นกัน เนื่องจากค่าบริการโดยเฉลี่ยของธุรกิจฯ ลดลงอยู่ที่ระดับ 49.8 จากระดับ 50.0 ลดลงเป็นครั้งแรกนับแต่เดือน ธ.ค. 42 นอกจากนั้นรายได้จากธุรกิจใหม่ยังได้รับผลกระทบด้านลบจากการคาดการณ์ของบริษัทต่างๆ ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.พ. 44 ดัชนีการจ้างงาน ก็ลดลงอยู่ที่ระดับ 49.8 จากระดับ 50.5 ในเดือน ม.ค. 44 (รอยเตอร์5)
4. จีนอาจขาดดุลงบประมาณ 31 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปี 44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 5 มี.ค.44 รมว.คลังของจีน ประมาณการว่า ปี 44 จีนจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 259.81 พัน ล.หยวน (31 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) และคาดว่ารายจ่ายจะมีจำนวน 1.1 ล้านล้านหยวน และรายได้จะมีจำนวน 842.3 พัน ล.หยวน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 43 ร้อยละ 8.2 และ 11.1 ตามลำดับ ทั้งนี้ การใช้จ่ายเงิน งปม.ของจีนได้เพิ่มขึ้นมาก เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 44 นี้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลมีแผนจะออกพันธบัตรมูลค่า 500.4 พัน ล.หยวน ซึ่งรวมทั้งพันธบัตรพิเศษจำนวน 150 พัน ล.หยวน สำหรับการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน (รอยเตอร์ 6)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 5 มี.ค. 44 43.507 (43.337) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 5 มี.ค. 44ซื้อ 43.3269 (43.0943) ขาย 43.6391 (43.4099)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.90 (23.25)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-