แต่เดิมแล้วการแสดงผลของข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้พัฒนาโปรแกรม Web Application มักจะใช้ HTML (Hypertext Markup Language) ทำการพัฒนา Application Program เพื่อใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูลออกเป็นลักษณะต่างๆ เช่น ตาราง รูปภาพหรือเสียง ซึ่งจะต้องทำการพัฒนาเป็นแบบเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะ Application สาเหตุเพราะ HTML มีข้อจำกัดที่เป็นกฎเกณฑ์มากมาย ไม่ยืดหยุ่นต่อการแสดงผลที่มีความหลากหลายตาม Application ต่างๆ ได้ เช่น มีชุดคำสั่ง (Tag) เฉพาะเจาะจงตามกฎเกณฑ์มากเกินไป ไม่สามารถสร้างเพิ่มเติมได้ และหากข้อมูลมีการ Update เปลี่ยนแปลงบ่อย ก็จะต้องมีการพัฒนา HTML Code ให้รองรับด้วย สาเหตุนี้จึงได้เกิดแนวคิดพัฒนา Language ที่สามารถรองรับข้อจำกัดของ HTML ขึ้นมาใหม่ โดยเมื่อปี ค.ศ. 1996 Jon Bosak ได้พัฒนาภาษาที่ใช้แสดงข้อมูลบน Web ขึ้นใหม่เรียกว่า XML (Extensible Markup Language) โดยมีพื้นฐานมาจาก SGML (Standard Generalized Markup Language) ซึ่งมีความยืดหยุ่น สามารถรองรับการแสดงผลข้อมูลที่มีความเปลี่ยนแปลงบ่อย แสดงผลข้อมูลที่มีปริมาณมากได้ อนุญาตให้สร้าง Tag ใหม่ได้โดยกำหนดไว้เป็น DTDs (Document Type Definitions) อีกทั้งยังสามารถใช้งานกับ Application Program ที่มีความหลากหลายบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
ในปัจจุบันนี้ XML ถูกนำมาใช้พัฒนา Web Application อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยใช้แสดงผลข้อมูลทั้งแบบ Text Picture และ Multimedia ได้ดี รวมทั้งนำไปใช้ในงานด้านการวิเคราะห์เอกสาร การผลิตเอกสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกรรมแบบ E-Business EDI หรือ E-commerce ได้อีกด้วย
--จุลสารระบบการชำระเงิน/เมษายน 2544--
-ยก-
ในปัจจุบันนี้ XML ถูกนำมาใช้พัฒนา Web Application อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยใช้แสดงผลข้อมูลทั้งแบบ Text Picture และ Multimedia ได้ดี รวมทั้งนำไปใช้ในงานด้านการวิเคราะห์เอกสาร การผลิตเอกสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกรรมแบบ E-Business EDI หรือ E-commerce ได้อีกด้วย
--จุลสารระบบการชำระเงิน/เมษายน 2544--
-ยก-