ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันไม่นำเงินบาทไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแน่นอน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า หากมีการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.จาก ธปท.มากขึ้นจนทำให้ ธปท.มีเงินบาทมากขึ้นนั้น ธปท.
จะไม่มีการนำเงินบาทที่ได้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแน่นอน เนื่องจากตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ ประกอบกับ
จำนวนเงินบาทที่ได้มานั้นจะดูแลไม่ให้มีการขายเงินดอลลาร์ สรอ.มากเกินไปจนเกิดความเสียหายขึ้น อย่างไรก็
ตาม ธปท.จะสามารถซื้อพันธบัตรหรือสินทรัพย์เฉพาะที่เป็นเงินตราต่างประเทศเท่านั้น และเงินบาทที่ได้มาจะนำไป
ใช้สำหรับการไถ่ถอนพันธบัตรที่ ธปท.เป็นผู้ออก (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
2. นรม.เสนอแนวทางการนำภาษีสุรา บุหรี่มาใช้ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค รองโฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ นรม.ประชุมหารือร่วมกับ ก.คลัง ก.สาธารณสุข อธิบดีกรม
สรรพสามิต สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวทางการนำภาษีที่จัดเก็บจากสุรา บุหรี่ ยาสูบ (Sin Tax) มาใช้ในโครงการหลัก
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เนื่องจากสินค้าดังกล่าวทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการรักษาสุขภาพประชาชนมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องการจัดระบบการใช้เงินจากภาษี
ดังกล่าว พร้อมทั้งกำหนดวงเงินที่เหมาะสมจัดการให้โครงการ ทั้งนี้ มอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รักษาการ
รอง นรม.สำนักงบประมาณ ก.คลัง ไปหารือในรายละเอียด ซึ่งจะนำเงินภาษี Sin Tax ที่สำนักงานส่งเสริม
สุขภาพและสิ่งแวดล้อม (สสส.) ได้รับมาใช้เพียงบางส่วนเท่านั้นในเบื้องต้นคาดว่าประมาณร้อยละ 60-70 ของ
ภาษี (ข่าวสด, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, โลกวันนี้)
3. ที่ประชุมคณะอนุกรรมการเอฟทีมีมติไม่ปรับขึ้นค่าเอฟทีงวดใหม่ ปลัด ก.พลังงาน ในฐานะประธาน
คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการเอฟทีมีมติ
เห็นชอบไม่ปรับขึ้นค่าเอฟทีงวดใหม่ (ก.พ.-พ.ค.48) ทำให้ค่าเอฟทีที่เรียกเก็บยังคงอยู่ในระดับ 43.28 สตางค์
ต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟที่ประชาชนต้องจ่ายจึงอยู่ที่ระดับ 2.69 บาทต่อหน่วยเท่าเดิม ทั้งนี้
สาเหตุที่ไม่ปรับขึ้นเนื่องจากที่ผ่านมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บ.ปตท.จำกัด ได้บริหารต้น
ทุนในการผลิตไฟฟ้าได้ผลระดับหนึ่ง โดยในส่วนของ กฟผ.ได้ปรับให้มีการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงที่มีต้นทุน
ต่ำ และลดการใช้เชื้อเพลิงที่มีต้นทุนสูงหรือน้ำมันเตาลงไปได้ นอกจากนี้ ปตท.ยังได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุง
ประสิทธิภาพการทำงานด้วยการจัดหาก๊าซธรรมชาติต่อความต้องการสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ
(โลกวันนี้, ไทยรัฐ, มติชน, บ้านเมือง, สยามรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
4. ก.คลังยอมรับบอนด์เอสพีวีเสี่ยงต่อการลงทุนแต่ผลตอบแทนคุ้มค่า รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง (สศค.) ก.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานเพื่อการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ
Special Purpose Vehicle (เอสพีวี) ว่า มีการสรุปหลักการจัดตั้งเอสพีวีว่า เป็นองค์กรที่เป็นตัวกลางในการ
บริหารโครงการและระดมทุนสำหรับสินค้าในทุกประเภท ระยะแรกจะเริ่มจากสินค้าประเภทวัวก่อน และจัดตั้งใน
ลักษณะโฮลดิ้ง คอมปานี ที่มีทุนจดทะเบียนประมาณ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีความเสี่ยงจากการลงทุน แต่
ผลตอบแทนที่ได้รับจะสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความเสี่ยงจากการเลี้ยงวัวของเกษตรกรนั้นจะมี
บริษัทประกันภัยมารับประกันความเสี่ยงในผลผลิต โดยอาจดึงบรรษัทค้ำประกันสินเชื่อขนาดย่อมมาค้ำประกัน
(กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ม.ค.48 ลดลงร้อยละ 0.3 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน รายงาน
จากวอชิงตันเมื่อ 15 ก.พ.48 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ม.ค.48 ลดลงร้อยละ
0.3 สาเหตุจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงอย่างมาก ขณะที่ยอดขายปลีกซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
สำหรับยอดขายปลีกหลังปรับฤดูกาลก็ลดลงร้อยละ 0.3 เช่นกัน ซึ่งเป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 ที่ลด
ลงในระดับเดียวกัน ส่วนยอดขายปลีกซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์หลังปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์และแข็ง
แกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.47 ที่ร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ รายงานของ ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์และ
ส่วนประกอบลดลงร้อยละ 3.3 ในเดือน ม.ค.48 ขณะที่ยอดขายจากร้านขายเสื้อผ้าและสินค้าทั่วไปรวมถึงสถานี
บริการน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ชดเชยกับยอดขายเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ก่อสร้างที่ปรับตัวลด
ลง อนึ่ง นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยอดขายปลีกที่ลดลงสะท้อนว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงชะลอตัวและการเติบโต
ของเศรษฐกิจจะยังไม่เริ่มฟื้นตัวในปี 48 (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะถดถอยอีกครั้งเมื่อ GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 หดตัวร้อยละ 0.1
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 16 ก.พ.48 GDP ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 47 หลังปรับตัวเลขด้วยอัตราเงินเฟ้อ
แล้วหดตัวร้อยละ 0.1 จากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 นับเป็นการหดตัวเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน
หลังจากหดตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 3 ปี 47 ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ในภาวะถดถอยอีกครั้งตามนิยามว่า
เศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกันถือว่าอยู่ในภาวะถดถอย โดยหากเทียบต่อปีแล้ว GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 47
หลังปรับตัวเลขด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วหดตัวร้อยละ 0.5 ซึ่งต่างจากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 มาก อัน
เป็นผลจากการส่งออกและการใช้จ่ายในประเทศลดลง โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 55
ของ GDP ลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ในขณะที่ความต้องการนอกประเทศหรือยอดส่งออกสุทธิหลังหัก
ยอดนำเข้าแล้วลดลงและมีส่วนทำให้ GDP ของไตรมาสที่ 4 ปี 47 ลดลงร้อยละ 0.2 นับเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อ
กันที่ความต้องการนอกประเทศทำให้ GDP ลดลง โดยเป็นผลจากการส่งออกซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของ
GDP และเป็นตัวหลักในการผลักดันให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชะลอตัวลงซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิต
อุตสาหกรรมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในที่สุด อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ขยายตัวถึงร้อยละ 2.6 ในปี 47
สูงสุดนับตั้งแต่ปี 39 โดยเศรษฐกิจขยายตัวมากในช่วงต้นปีและค่อย ๆ ชะลอตัวลงเมื่อเวลาผ่านไป (รอยเตอร์)
3. IW ปรับลดพยากรณ์เศรษฐกิจของเยอรมนีปี 48 ลงเหลือร้อยละ 1.5 รายงานจากกรุง
เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 ก.พ.48 Institute for the German Economy (IW) ปรับลด
การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 48 ลงเหลือร้อยละ 1.5 จากเดิมร้อยละ 2.0 หลังจากที่
ตัวเลขการเติบโตในไตรมาสสุดท้ายปี 47 ลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกของตัว
เลขรายไตรมาสนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 46 นอกจากนี้ สนง.สถิติกลางของรัฐยังได้เผยแพร่ข้อมูลที่ได้มีการปรับตัว
เลขแล้วแสดงให้เห็นว่าไม่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 47 และปรับลดตัวเลขภาพรวมการเติบโตทาง
เศรษฐกิจปี 47 ลงเหลือร้อยละ 1.6 จากเดิมร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ตาม IW ยังเชื่อว่าการใช้จ่ายเพื่อการ
บริโภคและการลงทุนในปีนี้จะปรับตัวดีขึ้น แต่ภาคการก่อสร้างอาจจะปรับตัวลดลง (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือนม.ค. ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่ำกว่าเป้าหมายของธ.กลาง
รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 48 ทางการอังกฤษเปิดเผยว่าในเดือนม.ค. 48 อัตราเงินเฟ้อของ
อังกฤษอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำกว่าเป้าหมายที่ธ.กลางกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 เนื่องจากราคา
น้ำมันถูกลงในขณะที่ราคาอาหารและสาธารณูปโภคสูงขึ้นจึงสามารถชดเชยกันไปได้ ก่อนหน้านั้นมีแนวโน้มที่ธ.กลาง
อังกฤษอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เพื่อลดความกดดันด้านเงินเฟ้อจากการที่ต้นทุนราคาวัตถุดิบที่สูง
ขึ้น แต่ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาธ.กลางอังกฤษก็ยังคงไม่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายแต่อย่างใด โดยยังคงไว้ที่ระดับร้อยละ 4.75 อย่างไรก็ตามในระยะนี้ ธ.กลางอังกฤษยังต้องระมัดระวัง
ความเคลื่อนไหวด้านเงินเฟ้อมากกว่าที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ก.พ. 48 15 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.428 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2345/38.5205 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 736.91/25.48 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 39.26 39.29 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 20.09*/14.59 20.09*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 15 ก.พ. 48
-ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันไม่นำเงินบาทไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแน่นอน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า หากมีการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ.จาก ธปท.มากขึ้นจนทำให้ ธปท.มีเงินบาทมากขึ้นนั้น ธปท.
จะไม่มีการนำเงินบาทที่ได้ไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแน่นอน เนื่องจากตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ ประกอบกับ
จำนวนเงินบาทที่ได้มานั้นจะดูแลไม่ให้มีการขายเงินดอลลาร์ สรอ.มากเกินไปจนเกิดความเสียหายขึ้น อย่างไรก็
ตาม ธปท.จะสามารถซื้อพันธบัตรหรือสินทรัพย์เฉพาะที่เป็นเงินตราต่างประเทศเท่านั้น และเงินบาทที่ได้มาจะนำไป
ใช้สำหรับการไถ่ถอนพันธบัตรที่ ธปท.เป็นผู้ออก (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
2. นรม.เสนอแนวทางการนำภาษีสุรา บุหรี่มาใช้ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค รองโฆษก
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ นรม.ประชุมหารือร่วมกับ ก.คลัง ก.สาธารณสุข อธิบดีกรม
สรรพสามิต สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวทางการนำภาษีที่จัดเก็บจากสุรา บุหรี่ ยาสูบ (Sin Tax) มาใช้ในโครงการหลัก
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เนื่องจากสินค้าดังกล่าวทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบประมาณในการรักษาสุขภาพประชาชนมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องการจัดระบบการใช้เงินจากภาษี
ดังกล่าว พร้อมทั้งกำหนดวงเงินที่เหมาะสมจัดการให้โครงการ ทั้งนี้ มอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รักษาการ
รอง นรม.สำนักงบประมาณ ก.คลัง ไปหารือในรายละเอียด ซึ่งจะนำเงินภาษี Sin Tax ที่สำนักงานส่งเสริม
สุขภาพและสิ่งแวดล้อม (สสส.) ได้รับมาใช้เพียงบางส่วนเท่านั้นในเบื้องต้นคาดว่าประมาณร้อยละ 60-70 ของ
ภาษี (ข่าวสด, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, โลกวันนี้)
3. ที่ประชุมคณะอนุกรรมการเอฟทีมีมติไม่ปรับขึ้นค่าเอฟทีงวดใหม่ ปลัด ก.พลังงาน ในฐานะประธาน
คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (เอฟที) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการเอฟทีมีมติ
เห็นชอบไม่ปรับขึ้นค่าเอฟทีงวดใหม่ (ก.พ.-พ.ค.48) ทำให้ค่าเอฟทีที่เรียกเก็บยังคงอยู่ในระดับ 43.28 สตางค์
ต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟที่ประชาชนต้องจ่ายจึงอยู่ที่ระดับ 2.69 บาทต่อหน่วยเท่าเดิม ทั้งนี้
สาเหตุที่ไม่ปรับขึ้นเนื่องจากที่ผ่านมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ บ.ปตท.จำกัด ได้บริหารต้น
ทุนในการผลิตไฟฟ้าได้ผลระดับหนึ่ง โดยในส่วนของ กฟผ.ได้ปรับให้มีการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงที่มีต้นทุน
ต่ำ และลดการใช้เชื้อเพลิงที่มีต้นทุนสูงหรือน้ำมันเตาลงไปได้ นอกจากนี้ ปตท.ยังได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุง
ประสิทธิภาพการทำงานด้วยการจัดหาก๊าซธรรมชาติต่อความต้องการสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ
(โลกวันนี้, ไทยรัฐ, มติชน, บ้านเมือง, สยามรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
4. ก.คลังยอมรับบอนด์เอสพีวีเสี่ยงต่อการลงทุนแต่ผลตอบแทนคุ้มค่า รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง (สศค.) ก.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานเพื่อการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ
Special Purpose Vehicle (เอสพีวี) ว่า มีการสรุปหลักการจัดตั้งเอสพีวีว่า เป็นองค์กรที่เป็นตัวกลางในการ
บริหารโครงการและระดมทุนสำหรับสินค้าในทุกประเภท ระยะแรกจะเริ่มจากสินค้าประเภทวัวก่อน และจัดตั้งใน
ลักษณะโฮลดิ้ง คอมปานี ที่มีทุนจดทะเบียนประมาณ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยอมรับว่ามีความเสี่ยงจากการลงทุน แต่
ผลตอบแทนที่ได้รับจะสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในแง่ของความเสี่ยงจากการเลี้ยงวัวของเกษตรกรนั้นจะมี
บริษัทประกันภัยมารับประกันความเสี่ยงในผลผลิต โดยอาจดึงบรรษัทค้ำประกันสินเชื่อขนาดย่อมมาค้ำประกัน
(กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ม.ค.48 ลดลงร้อยละ 0.3 ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน รายงาน
จากวอชิงตันเมื่อ 15 ก.พ.48 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ม.ค.48 ลดลงร้อยละ
0.3 สาเหตุจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงอย่างมาก ขณะที่ยอดขายปลีกซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
สำหรับยอดขายปลีกหลังปรับฤดูกาลก็ลดลงร้อยละ 0.3 เช่นกัน ซึ่งเป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 ที่ลด
ลงในระดับเดียวกัน ส่วนยอดขายปลีกซึ่งไม่รวมยอดขายรถยนต์หลังปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นสูงกว่าการคาดการณ์และแข็ง
แกร่งที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.47 ที่ร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ รายงานของ ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์และ
ส่วนประกอบลดลงร้อยละ 3.3 ในเดือน ม.ค.48 ขณะที่ยอดขายจากร้านขายเสื้อผ้าและสินค้าทั่วไปรวมถึงสถานี
บริการน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ชดเชยกับยอดขายเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ก่อสร้างที่ปรับตัวลด
ลง อนึ่ง นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยอดขายปลีกที่ลดลงสะท้อนว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงชะลอตัวและการเติบโต
ของเศรษฐกิจจะยังไม่เริ่มฟื้นตัวในปี 48 (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะถดถอยอีกครั้งเมื่อ GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 หดตัวร้อยละ 0.1
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 16 ก.พ.48 GDP ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 47 หลังปรับตัวเลขด้วยอัตราเงินเฟ้อ
แล้วหดตัวร้อยละ 0.1 จากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 นับเป็นการหดตัวเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน
หลังจากหดตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 3 ปี 47 ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ในภาวะถดถอยอีกครั้งตามนิยามว่า
เศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกันถือว่าอยู่ในภาวะถดถอย โดยหากเทียบต่อปีแล้ว GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 47
หลังปรับตัวเลขด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วหดตัวร้อยละ 0.5 ซึ่งต่างจากที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 มาก อัน
เป็นผลจากการส่งออกและการใช้จ่ายในประเทศลดลง โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 55
ของ GDP ลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่ 4 ปี 47 ในขณะที่ความต้องการนอกประเทศหรือยอดส่งออกสุทธิหลังหัก
ยอดนำเข้าแล้วลดลงและมีส่วนทำให้ GDP ของไตรมาสที่ 4 ปี 47 ลดลงร้อยละ 0.2 นับเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อ
กันที่ความต้องการนอกประเทศทำให้ GDP ลดลง โดยเป็นผลจากการส่งออกซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของ
GDP และเป็นตัวหลักในการผลักดันให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชะลอตัวลงซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิต
อุตสาหกรรมและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในที่สุด อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ขยายตัวถึงร้อยละ 2.6 ในปี 47
สูงสุดนับตั้งแต่ปี 39 โดยเศรษฐกิจขยายตัวมากในช่วงต้นปีและค่อย ๆ ชะลอตัวลงเมื่อเวลาผ่านไป (รอยเตอร์)
3. IW ปรับลดพยากรณ์เศรษฐกิจของเยอรมนีปี 48 ลงเหลือร้อยละ 1.5 รายงานจากกรุง
เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 ก.พ.48 Institute for the German Economy (IW) ปรับลด
การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 48 ลงเหลือร้อยละ 1.5 จากเดิมร้อยละ 2.0 หลังจากที่
ตัวเลขการเติบโตในไตรมาสสุดท้ายปี 47 ลดลงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกของตัว
เลขรายไตรมาสนับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 46 นอกจากนี้ สนง.สถิติกลางของรัฐยังได้เผยแพร่ข้อมูลที่ได้มีการปรับตัว
เลขแล้วแสดงให้เห็นว่าไม่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ปี 47 และปรับลดตัวเลขภาพรวมการเติบโตทาง
เศรษฐกิจปี 47 ลงเหลือร้อยละ 1.6 จากเดิมร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ตาม IW ยังเชื่อว่าการใช้จ่ายเพื่อการ
บริโภคและการลงทุนในปีนี้จะปรับตัวดีขึ้น แต่ภาคการก่อสร้างอาจจะปรับตัวลดลง (รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือนม.ค. ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่ำกว่าเป้าหมายของธ.กลาง
รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 48 ทางการอังกฤษเปิดเผยว่าในเดือนม.ค. 48 อัตราเงินเฟ้อของ
อังกฤษอยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ต่ำกว่าเป้าหมายที่ธ.กลางกำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 เนื่องจากราคา
น้ำมันถูกลงในขณะที่ราคาอาหารและสาธารณูปโภคสูงขึ้นจึงสามารถชดเชยกันไปได้ ก่อนหน้านั้นมีแนวโน้มที่ธ.กลาง
อังกฤษอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เพื่อลดความกดดันด้านเงินเฟ้อจากการที่ต้นทุนราคาวัตถุดิบที่สูง
ขึ้น แต่ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาธ.กลางอังกฤษก็ยังคงไม่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายแต่อย่างใด โดยยังคงไว้ที่ระดับร้อยละ 4.75 อย่างไรก็ตามในระยะนี้ ธ.กลางอังกฤษยังต้องระมัดระวัง
ความเคลื่อนไหวด้านเงินเฟ้อมากกว่าที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ก.พ. 48 15 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.428 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.2345/38.5205 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 736.91/25.48 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 39.26 39.29 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 20.09*/14.59 20.09*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 15 ก.พ. 48
-ธนาคารแห่งประเทศไทย--