กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงทางคมนาคมตามแนวตะวันออก - ตะวันตก
(สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9)
ภูมิหลัง
1. สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9 เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาระบบโครงข่ายถนนเชื่อมโยง 4 ประเทศ คือ พม่า ไทย ลาว และเวียดนาม ตามแผนการพัฒนาเชื่อมโยงเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก (East-West Transport Corridor) ภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Makong Sub-Region-GMS)
2. การพัฒนาระบบโครงข่ายถนน ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งตะวันออก เชื่อมโยงเฉพาะไทย ลาว และเวียดนาม ประกอบด้วย สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดองฮา-ดานัง) ส่วนด้านตะวันตก เชื่อมโยงเฉพาะไทยและพม่า (แม่สอด-เมียวดี-เมาะละแหม่ง)
3. ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรีของ GMS ครั้งที่ 8 ที่ฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนกันยายน 2541 ได้กำหนดให้โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายถนนเชื่อมโยงทางบกตามแนวมตะวันออก-ตะวันตก โดยเฉพาะด้านตะวันออก มีลำดับความสำคัญสูงสุด และกำหนดให้เส้นทางนี้เป็น Pilot Project ตามแนวคิดการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามันอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังได้ขอให้ ADB จัดทำ "GMS Pre-Investment Study" เพื่อศึกษาและประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนา economic corridor เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการสนับสนุนภาคเอกชนเข้าไปลงทุนตามแผนงาน/โครงการต่อไป
สถานะล่าสุด
1. การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2
- การออกแบบในส่วนถนนเชื่อมโยงสะพานระยะทาง 5 กม. และตัวสะพาน 1.5 กม. แล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2543 โดยได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากญี่ปุ่น (JICA)
- ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสะพานประมาณ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ไทยและลาว ได้ลงนามในสัญญาร่วมกันที่จะใช้เงินกู้จากญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation - JBIC) เมื่อ 18 มีนาคม 2544 และ อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาลงนามในสัญญาเงินกู้กับ JBIC
- จะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2003 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2006
2. การก่อสร้างเส้นทางหมายเลข 9 (ในลาว) ระยะทางประมาณ 210 กม.
- ได้รับความช่วยเหลือในการปรับปรุงเส้นทางแบบให้เปล่าจากญี่ปุ่น (JICA) และ ADB
- ค่าใช้จ่ายประมาณ 120.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เริ่มดำเนินการปรับปรุงเส้นทางบางส่วนแล้วและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2004
3. การก่อสร้างเส้นทางหมายเลข 9 (ในเวียดนาม) ระยะทางประมาณ 83 กม.
- ใช้งบประมาณในการปรับปรุงเส้นทางจากเงินกู้ของ ADB ซึ่งได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ไปแล้วเมื่อ 23 กันยายน 2000 งบประมาณการอีกส่วนหนึ่งจะมาจากของเวียดนามเอง
- ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเส้นทาง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการปรับปรุงท่าเรือดานังพร้อมทางเข้า 88.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- คาดว่าการปรับปรุงเส้นทางและท่าเรือจะแล้วเสร็จในปี 2004
4. Pre-Investment Study
- ADB ได้จัดทำ Pre-Investment Study เสร็จแล้ว เมื่อเดือนมีนาคม 2544 โดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่อาวุโส GMS ในการประชุม GMS Mid Term Review Cum Senior Offical Meeting ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544
- ขั้นตอนต่อไป คือ การนำเสนอแนวทางตามผลการศึกษา ต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของ GMS ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 27-29 พฤศจิกายน ศกนี้ ที่กรุงย่างกุ้งเพื่อให้การรับรองต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ-
-นห-
การพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงทางคมนาคมตามแนวตะวันออก - ตะวันตก
(สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9)
ภูมิหลัง
1. สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9 เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการพัฒนาระบบโครงข่ายถนนเชื่อมโยง 4 ประเทศ คือ พม่า ไทย ลาว และเวียดนาม ตามแผนการพัฒนาเชื่อมโยงเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก (East-West Transport Corridor) ภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Makong Sub-Region-GMS)
2. การพัฒนาระบบโครงข่ายถนน ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งตะวันออก เชื่อมโยงเฉพาะไทย ลาว และเวียดนาม ประกอบด้วย สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 และเส้นทางหมายเลข 9 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต-ดองฮา-ดานัง) ส่วนด้านตะวันตก เชื่อมโยงเฉพาะไทยและพม่า (แม่สอด-เมียวดี-เมาะละแหม่ง)
3. ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรีของ GMS ครั้งที่ 8 ที่ฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนกันยายน 2541 ได้กำหนดให้โครงการพัฒนาระบบโครงข่ายถนนเชื่อมโยงทางบกตามแนวมตะวันออก-ตะวันตก โดยเฉพาะด้านตะวันออก มีลำดับความสำคัญสูงสุด และกำหนดให้เส้นทางนี้เป็น Pilot Project ตามแนวคิดการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลจีนใต้กับทะเลอันดามันอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ยังได้ขอให้ ADB จัดทำ "GMS Pre-Investment Study" เพื่อศึกษาและประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนา economic corridor เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการสนับสนุนภาคเอกชนเข้าไปลงทุนตามแผนงาน/โครงการต่อไป
สถานะล่าสุด
1. การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2
- การออกแบบในส่วนถนนเชื่อมโยงสะพานระยะทาง 5 กม. และตัวสะพาน 1.5 กม. แล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2543 โดยได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากญี่ปุ่น (JICA)
- ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสะพานประมาณ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ไทยและลาว ได้ลงนามในสัญญาร่วมกันที่จะใช้เงินกู้จากญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation - JBIC) เมื่อ 18 มีนาคม 2544 และ อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาลงนามในสัญญาเงินกู้กับ JBIC
- จะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2003 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2006
2. การก่อสร้างเส้นทางหมายเลข 9 (ในลาว) ระยะทางประมาณ 210 กม.
- ได้รับความช่วยเหลือในการปรับปรุงเส้นทางแบบให้เปล่าจากญี่ปุ่น (JICA) และ ADB
- ค่าใช้จ่ายประมาณ 120.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เริ่มดำเนินการปรับปรุงเส้นทางบางส่วนแล้วและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2004
3. การก่อสร้างเส้นทางหมายเลข 9 (ในเวียดนาม) ระยะทางประมาณ 83 กม.
- ใช้งบประมาณในการปรับปรุงเส้นทางจากเงินกู้ของ ADB ซึ่งได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ไปแล้วเมื่อ 23 กันยายน 2000 งบประมาณการอีกส่วนหนึ่งจะมาจากของเวียดนามเอง
- ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเส้นทาง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการปรับปรุงท่าเรือดานังพร้อมทางเข้า 88.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- คาดว่าการปรับปรุงเส้นทางและท่าเรือจะแล้วเสร็จในปี 2004
4. Pre-Investment Study
- ADB ได้จัดทำ Pre-Investment Study เสร็จแล้ว เมื่อเดือนมีนาคม 2544 โดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่อาวุโส GMS ในการประชุม GMS Mid Term Review Cum Senior Offical Meeting ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2544
- ขั้นตอนต่อไป คือ การนำเสนอแนวทางตามผลการศึกษา ต่อที่ประชุมระดับรัฐมนตรีของ GMS ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 27-29 พฤศจิกายน ศกนี้ ที่กรุงย่างกุ้งเพื่อให้การรับรองต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ-
-นห-